Code 45 : Thailand Exit ???

วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน 2553

ATT-Code : Thailand Exit ??? ...หน้าเหลี่ยม หรือ หน้าหล่อ
ทางออกประเทศไทย จะไปทางไหนดี ซ้ายสุด ขวาสุด ก็ไม่ได้ ต้องถอยหลังคนละก้าว แล้วก็มาพบกันครึ่งทางหนะดีที่สุด เพราะทั้ง 2 ฝ่าย ก็ไม่อยากให้ฝ่ายตนเองเสียเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะมันไม่ใช่ Zero Sum Game ฝ่ายหนึ่งได้ ฝ่ายหนึ่งเสีย มันควรต้อง Win-Win ทั้งคู่ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะออกมาอย่างไร แต่ที่สำคัญ ประชาชนคนไทยต้องชนะ ประเทศไทยต้องชนะ ขอให้มันผ่านไปได้แล้วกัน

ความสูญเสี่ยที่เกิดขึ้น ก็ต้องแสดงความเสียใจด้วยครับ แต่มันจะย้อนเวลากลับไปได้อย่างไร เพื่อแก้ปํญหาที่ผ่านมา แต่อนาคตที่กำลังมาถึงนะสิ จะจบกันอย่างไร

ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นนั้น มันหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อมั่นและการลงทุนของประเทศ วันพร่งนี้ ไม่รู้ว่าตลาดเปิดมาจะเป็นอย่างไร นักลงทุนต้องตัดสินใจบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นของตนเอง ถ้าไม่มั่นใจ ก็ออกมาก่อน คอยดูสถานการณ์ รอให้เหตุการณ์สงบนิ่งแล้วค่อยเข้าใหม่ แต่ถ้ามั่นใจว่า ตลาดจะลงไปแล้ว สักพักก็จะกลับขึ้นมาเหมือนเดิม ก็ถือไว้ต่อ เพราะพื้นฐานของนักลงทุนแต่ละท่านก็แตกต่างกันไป ขอให้มั่นใจตามกลยุทธ์ของท่านเอง

--------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย

TNNThailand : ปัจจัยการเมืองกดดันตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้า



ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าถูกกดดันจากปัจจัยทางการเมือง หลังนักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิอีกครั้งโดยมองแนวรับไว้ที่ 756 จุด

10 เม.ย. 53 : ตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีปิดที่ 789.66 จุด ลดลงร้อยละ 1.43 จาก 801.15 จุด ในสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 30,782 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อย กลับมาซื้อสุทธิกว่า 5 พันล้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างชาติ เริ่มเทขายออกมาบ้าง แต่ยังคงซื้อสุทธิกว่า 1 พันล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ รวมกันกว่า 6 พันล้านบาท

โดยวันจันทร์ ดัชนีหุ้นไทยปิดปรับตัวขึ้น ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค โดยได้รับแรงหนุนจากเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่วนในวันอังคาร ตลาดหุ้นไทยปิดทำการเนื่องในวันจักรี หลังจากเปิดทำการอีกครั้งในวันพุธ ดัชนีปิดบวกเล็กน้อย แม้จะมีแรงขายทำกำไรออกมาในช่วงบ่าย แต่ดัชนียังแกว่งตัวอยู่ในแดนบวกได้

ก่อนจะปิดลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 800 จุด ในวันถัดมา จากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ และแรงขายทำกำไรหลังจากที่ดัชนีปรับตัวขึ้นมามากในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธินับเป็นครั้งแรกในรอบ 31 วันทำการ อย่างไรก็ตาม ในวันศุกร์ ดัชนีลดช่วงติดลบลง โดยมีแรงซื้อกลับในช่วงท้ายตลาด ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์หน้า บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ดัชนีอาจแกว่งตัวในกรอบแคบท่ามกลางธุรกรรมที่เบาบาง โดยพัฒนาการทางการเมือง จะยังคงมีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทย ส่วนปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญ คงจะต้องติดตามค่าเงินหยวน ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน การปรับตัวของตลาดหุ้นภูมิภาค ตลอดจนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 769 จุด และ 756 จุด ขณะที่ แนวต้านคาดว่า จะอยู่ที่ 820 จุด และ 834 จุด ตามลำดับ

ส่วนเงินบาทในประเทศ สัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าได้ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ โดยช่วงต้นสัปดาห์ ความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ยืดเยื้อกดดันเงินบาทให้อ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ สวนทางกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้นท่ามกลางการคาดการณ์การแข็งค่าของค่าเงินหยวน อย่างไรก็ตาม เงินบาทสามารถหักล้างช่วงติดลบลงทั้งหมด และกลับไปปรับตัวแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย และแรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ

ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองหลังการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าใกล้ระดับ 32 บาท 40 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับแรงขายสุทธิหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ก่อนจะกลับมาแข็งค่าที่ระดับ 32 บาท 21สตางค์ ในวันศุกร์ ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์เงินหยวน

ส่วนเงินบาทในสัปดาห์หน้า อาจเคลื่อนไหวในกรอบ 32 บาท 10 สตางค์ ถึง 32 บาท 50 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง สัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย และทิศทางของสกุลเงิน/ตลาดหุ้นในภูมิภาค

--------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น