-----------------------------------------------------------------------------



-----------------------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------------------
ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 1.21% รับความหวังทางออกวิกฤติหนี้กรีซ
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สองในวันอังคารจากความเชื่อมั่นที่ว่าวิกฤติหนี้ของกรีซใกล้ที่จะมีทางออกแล้ว แม้ปริมาณการซื้อขายที่ระดับต่ำบ่งชี้ถึงความวิตกที่ยังคงมีอยู่ในตลาด
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 145.13 จุดหรือ 1.21% สู่ 12,188.69, ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 16.57 จุดหรือ 1.29% สู่ 1,296.67 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น 41.03 จุดหรือ 1.53% สู่ 2,729.31
ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ระดับต่ำราว 5.91 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งต่ำกว่าระดับเฉลี่ยต่อวันของปีนี้ที่ราว 7.57 พันล้านหุ้น
นักลงทุนได้เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์และเทคโนโลยี โดยเพิ่มการลงทุนก่อนสิ้นไตรมาสและก่อนฤดูการเปิดเผยผลประกอบการในเดือนก.ค.
ความผันผวนยังคงเพิ่มขึ้นซึ่งบ่งชี้ว่านักลงทุนยังระมัดระวังในการซื้อขายหุ้น โดยดัชนีความผันผวน (VIX) อยู่ที่ 19.23 ซึ่งอยู่ในระดับสูง
กรีซจะลงมติในวันพุธนี้ต่อมาตรการลดงบประมาณซึ่งสำคัญต่อการขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ตลาดยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อโน้มน้าวให้ธนาคารและบริษัทประกันในยุโรปยืดเวลาการชำระหนี้ของกรีซโดยสมัครใจ (รอยเตอร์)
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:ความหวังเรื่องกรีซหนุนน้ำมันดิบปิดบวก 2.52%
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้น 2.52 % ในวันอังคาร ซึ่งถือเป็นการทะยานขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 6 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากความหวังที่ว่า กรีซจะดำเนินมาตรการคลี่คลายวิกฤติหนี้สิน และได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ด้วย
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนส.ค.ทะยานขึ้น 2.28 ดอลลาร์ หรือ 2.52 % มาปิดตลาดที่ 92.89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 90.44-92.96 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 2.79 ดอลลาร์ สู่ 108.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวันที่ 109.05 ดอลลาร์
บริษัทมาสเตอร์การ์ดระบุในรายงานสเปนดิงพัลซ์ว่า อุปสงค์ในน้ำมันเบนซินค้าปลีกโดยเฉลี่ยในสหรัฐดิ่งลง 1.8 % เมื่อเทียบกับสัปดาห์เดียวกันในปีก่อน และลดลง 0.2 % จากสัปดาห์ก่อน
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 มิ.ย.ในวันพุธนี้
การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) รายงานหลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคารว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 2.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว, สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 945,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 91,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันทรงตัว (รอยเตอร์)
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ความหวังเรื่องกรีซหนุนราคาทองขยับขึ้น
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับขึ้นในวันอังคาร โดยปรับขึ้นเหนือ 1,500 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากร่วงลง 3 วันติดต่อกัน ในขณะที่นักลงทุนมีความหวังว่า กรีซจะผ่านมาตรการรัดเข็มขัด และปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อยูโรและสินค้าโภคภัณฑ์
ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.ในตลาดสหรัฐเคลื่อนตัวในช่วง 1,495.50-1,507.00 ดอลลาร์
วอลุ่มการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่า 100,000 ล็อต หรืออยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 30 วันราว 55 % โดยวอลุ่มการซื้อขายทองอยู่ในระดับต่ำในระยะนี้เพราะนักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่ตลาดหุ้น
ดัชนีรอยเตอร์/เจฟฟรีส์ ซีอาร์บีสำหรับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ 19 ประเภท มีแนวโน้มว่าอาจพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์ในวันอังคาร ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบทะยานขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
นักวิเคราะห์ของ CitiFX กล่าวว่า ราคาทองอาจเผชิญกับแนวต้านทางเทคนิคที่ 1,520 ดอลลาร์
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันอังคารมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนส.ค. 1,500.20 + 3.80
เงินเดือนก.ค. 33.638 + 5.30(เซนต์)
พลาตินั่มเดือนก.ค. 1,691.70 + 18.70
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 733.40 + 10.55 (รอยเตอร์)
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโรบวกรับความหวังกรีซอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัด
ยูโรปรับตัวขึ้นในวันอังคาร ขณะที่นักลงทุนคาดว่ากรีซจะผ่านมาตรการรัดเข็มขัดที่จำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ แม้เทรดเดอร์กล่าวว่า ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทางออกในระยะยาวจะจำกัดการปรับตัวขึ้นของยูโรก็ตาม
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 81.100 เยน เทียบกับระดับปิดวันจันทร์ที่ 80.880 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4363 ดอลลาร์และ 116.49 เยน เทียบกับระดับปิดวันจันทร์ที่ 1.4282 ดอลลาร์และ 115.53 เยน
ความเห็นเกี่ยวกับเงินเฟ้อจากนายฌอง-คล็อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) หนุนความต้องการยูโรด้วย โดยตลาดคาดว่า อีซีบีจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า แม้มีปัญหาหนี้ในกรีซและที่อื่นๆก็ตาม
รัฐสภากรีซจะลงมติในวันพุธและพฤหัสบดีนี้เกี่ยวกับมาตรการปรับลดค่าใช้จ่าย, การขึ้นภาษี และการแปรรูปกิจการของรัฐเป็นของเอกชน ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาณ์และปอนด์ ส่วนดอลลาร์ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเยน แต่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส (รอยเตอร์)
ตลาดเงิน Emerging Asia:วอน,ริงกิตแข็งค่า ขณะนักเก็งกำไรขายสกุลเงินอื่น
วอนและริงกิตแข็งค่าขึ้นแต่กลุ่มนักเก็งกำไรยังคงขายสกุลเงินอื่นๆในเอเชีย ซึ่งบ่งชี้ว่า ความต้องการดอลลาร์ในช่วงปลายไตรมาส และการลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงมติมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐสภากรีซในสัปดาห์นี้ จะสกัดช่วงขาขึ้นของสกุลเงินเอเชีย
วอนดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่กลุ่มผู้ต่อเรือของเกาหลีใต้เข้าซื้อวอนเพื่อชำระบัญชีในปลายไตรมาส แต่วอนก็อ่อนค่าลงจากการพุ่งขึ้นในช่วงเช้า มาอยู่ใกล้เส้นค่าเฉลี่ยรอบ 60 วัน ขณะที่กลุ่มนักลงทุนซื้อคืนดอลลาร์
รูเปียห์อ่อนค่าลงแตะ 8,625 ต่อดอลลาร์ จากการจ่ายเงินปันผลรอบครึ่งปีของบริษัท และความวิตกเกี่ยวกับเงินทุนไหลออกเนื่องจากวิกฤติหนี้ของกรีซ ดีลเลอร์กล่าวว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียขายดอลลาร์อีกครั้ง เพื่อหนุนรูเปียห์ โดยพบว่าธนาคารกลางเข้าแทรกแซงที่ระดับ 8,627 ต่อดอลลาร์
บาทนำขบวนสกุลเงินเอเชียร่วงลง หลังจากที่เคยพุ่งขึ้นถึง 1.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงต้นปีนี้ แต่ก็อ่อนค่าลง และดิ่งลง 2.6% นับตั้งแต่ต้นปีนี้ บาท/ดอลลาร์ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือนจากความต้องการดอลลาร์ในช่วงปลายไตรมาส และแรงขายบาทของธนาคารต่างชาติ แต่ดีลเลอร์กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยขายดอลลาร์ออกมาเพื่อสกัดการร่วงลงของบาท/ดอลลาร์ที่บริเวณ 30.96 และ 30.98 เมื่อดูจากปัจจัยทางเทคนิค บาท/ดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลงอีก ขณะที่จุดต่ำสุดของปีนี้อยู่ที่ 31.29 (รอยเตอร์)
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (28 มิ.ย.) ลบ 4 จุด หรือ 0.28% สู่ระดับ 1438
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
27 มิ.ย. 1442 +18
24 มิ.ย. 1424 +10
23 มิ.ย. 1414 +8
22 มิ.ย. 1406 -3
21 มิ.ย. 1409 -9 (รอยเตอร์)
29-06-54>> แนวโน้มขาลง... SETI มีแท่งเทียนสีดำ ประกอบกับได้รับแรงกดดันจาก MACD ปิดต่ำกว่าเส้น Zero Line รวมทั้ง SETI ยังไม่ตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นขึ้นมา นอกจากนี้ยังไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ในระยะสั้นจึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาลง
ดังนั้นในระยะสั้นเราแนะนำ “ขาย”
KTB ปิด 18.00 บาท
ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่และแท่งเทียนมีสีขาว ประกอบกับIndicators ทุกตัวได้ให้ค่าสัญญาณเป็นบวก แนวโน้มเป็นดีด
ตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 18.80-19.30 บาท แนวรับที่ 17.70-17.50 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 17.30 บาท
BH ปิด 35.25 บาท
ปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นทุกเส้น ประกอบกับ Modified Stochasticและ MACD ให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 16.00-16.50 บาท แนวรับที่ 15.20-15.00บาท
COLOR ปิด 4.94 บาท
แท่งเทียนมีสีดำเต็มแท่ง และปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้น แนวโน้มปรับตัวลงต่อ
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 5.05-5.15 บาท แนวรับที่ 4.70-4.30 บาท
PTL ปิด 20.00 บาท
MACD ปิดต่ำกว่าเส้น Zero Line และปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นทุกเส้น แนวโน้มปรับตัวลงต่อ
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 20.30-20.50 บาท แนวรับที่ 19.00-18.00บาท
-----------------------------------------------------------------------------
ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:หุ้นแบงก์ทะยานหนุนดาวโจนส์ปิดพุ่ง 0.91%
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวขึ้นในวันจันทร์หลังร่วงลง 3 วัน โดยหุ้นกลุ่มธนาคารพุ่งขึ้นรับข่าวข้อกำหนดการเพิ่มทุนอยู่ในระดับที่น่าพอใจและความเชื่อมั่นเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดของกรีซ แต่นักลงทุนเตือนเกี่ยวกับความหวังในระดับสูง
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 108.98 จุดหรือ 0.91% สู่ 12,043.56, ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 11.65 จุดหรือ 0.92% สู่ 1,280.10 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น 35.39 จุดหรือ 1.33% สู่ 2,688.28
ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ราว 6 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งต่ำกว่าระดับเฉลี่ยต่อวันของปีนี้ที่ราว 7.57 พันล้านหุ้น
จำนวนหุ้นบวกมากกว่าหุ้นลบในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 ทั้งในตลาดนิวยอร์ค และ Nasdaq
ตลาดขานรับสัญญาณความแข็งแกร่งในวันจันทร์ แต่นักลงทุนระมัดระวังเกี่ยวกับความเชื่อมั่นมากเกินไป หลังดัชนี S&P 500 ร่วงลงมากถึง 7% นับตั้งแต่เดือนเม.ย. และปริมาณการซื้อขายในวันจันทร์ต่ำกว่าระดับเฉลี่ย
ดัชนี S&P หุ้นกลุ่มการเงินพุ่งขึ้น 1.1% โดยหุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาบวก 3.1% และหุ้นเจพีมอร์แกน เชสปรับตัวขึ้น 1%
นักลงทุนหวังว่ารัฐสภากรีซจะอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดในสัปดาห์นี้
นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศสกล่าวว่า รัฐบาลของเขามีข้อตกลงกับธนาคารของฝรั่งเศสเกี่ยวกับการยืดเวลาชำระหนี้ของกรีซเป็นพันธบัตรใหม่อายุ 30 ปี
ข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐชะงักงันในเดือนพ.ค. ขณะที่การผลิตเขตมิดเวสต์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (รอยเตอร์)
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:กังวลศก.กดน้ำมันดิบปิดร่วง 55 เซนต์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ในขณะที่ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐร่วงลงในเดือนพ.ค. และจีนยอมรับว่าจีนจะประสบความยากลำบากในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อในปีนี้
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 55 เซนต์ หรือ 0.6 % มาปิดตลาดที่ 90.61 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 89.61-91.30 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนบวกขึ้น 87 เซนต์ สู่ 105.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 102.28-106.40 ดอลลาร์
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 มิ.ย.ในวันพุธนี้ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบอาจลดลง 600,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินอาจเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจเพิ่มขึ้น 0.1 % (รอยเตอร์)
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองร่วงขณะนักลงทุนขายสินทรัพย์ปลอดภัย
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐปิดร่วงลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์เศรษฐกิจในทางบวก ในขณะที่นักลงทุนคาดว่ากรีซจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นในการชำระหนี้ และปัจจัยดังกล่าวส่งผลลบต่อความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย
ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.เคลื่อนตัวในช่วง 1,490.80-1,506.10 ดอลลาร์
ราคาโลหะเงินในตลาดสปอตดิ่งลง 2 % สู่ 33.58 ดอลลาร์ โดยร่วงลงตามราคาโลหะอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ
ความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากการที่นักการเมืองสหรัฐเริ่มต้นการเจรจาในวันจันทร์เรื่องการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันจันทร์มีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนส.ค. 1,496.40 - 4.50
เงินเดือนก.ค. 33.585 -105.30 (เซนต์)
พลาตินั่มเดือนก.ค. 1,673.00 - 4.60
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 722.85 - 7.35 (รอยเตอร์)
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโรทะยานรับความหวังกรีซอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัด
ยูโรปรับตัวขึ้นในวันจันทร์ ขณะที่นักลงทุนคาดว่า รัฐสภากรีซจะอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดด้านการคลังซึ่งจำเป็นต่อการขอรับความช่วยเหลือฉุกเฉินและหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 80.870 เยน เทียบกับระดับปิดวันศุกร์ที่ 80.410 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4279 ดอลลาร์และ 115.50 เยน เทียบกับระดับปิดวันศุกร์ที่ 1.4190 ดอลลาร์และ 114.12 เยน
แผนการของฝรั่งเศสที่จะยืดเวลาชำระหนี้ให้กับกรีซช่วยหนุนยูโรด้วย
รัฐสภากรีซจะลงมติต่อมาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มภาษีวงเงิน 2.8 หมื่นล้านยูโรในวันพุธนี้ และรัฐสภาจะลงมติในวันพฤหัสบดีต่อร่างกฏหมายที่ประกอบด้วยมาตรการที่เฉพาะเจาะจงในการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัด
ยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และเยน ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนและฟรังก์สวิส
ยูโรร่วงลงในช่วงเช้าหลังมูดี้ส์เปิดเผยว่าธนาคารของกรีซสูญเสียเงินฝากของลูกค้าภาคเอกชนราว 8% แล้วในปีนี้ และอาจขาดแคลนเงินสดอย่างรุนแรงหากเงินฝากไหลออกถึง 35%
ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นซึ่งช่วยหนุนยูโรฟื้นตัว
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยูโรยังคงเปราะบางต่อแรงขายจากความเห็นใดๆจากเจ้าหน้าที่ยุโรปที่อาจสร้างความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลการลงมติมาตรการรัดเข็มขัดของกรีซ (รอยเตอร์)
ตลาดเงิน Emerging Asia:เงินเอเชียร่วง คาดปัจจัยการเมืองฉุดบาทแตะระดับ 31
ริงกิตและเปโซร่วงทะลุระดับแนวรับทางเทคนิคในช่วงสั้นๆ ขณะที่สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่าลงจากคำสั่งซื้อคืนดอลลาร์ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการลงมติมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐสภากรีซในสัปดาห์นี้
ดีลเลอร์บางรายกล่าวว่า เงินเอเชียอาจเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มเติม จากความต้องการดอลลาร์ในช่วงปลายไตรมาสเพื่อโอนเงินทุนกลับประเทศของกลุ่มนักลงทุนสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะสิ้นสุดลงในเดือนนี้ แต่สกุลเงินเอเชียอาจจะได้รับแรงหนุน ขณะที่กลุ่มผู้ส่งออกในภูมิภาคจะเข้าซื้อเงินเอเชียในช่วงปลายไตรมาส 2
ริงกิตร่วงทะลุเส้นค่าเฉลี่ยรอบ 200 วัน ซึ่งเป็นสัญญาณทางเทคนิคระยะยาว ขณะที่นักลงทุนซื้อคืนดอลลาร์ แต่ริงกิตก็ฟื้นตัวขึ้นบ้างเมื่อยูโรดีดตัวขึ้น
เปโซอ่อนค่าลงทะลุระดับ 43.596 ต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยรอบ 200 วัน แต่หลังจากนั้นก็ฟื้นตัวขึ้นบ้าง
บาท/ดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 4 เดือน โดยร่วงทะลุระดับ 30.69 บาท/ดอลลาร์ถูกกดดันจากความต้องการดอลลาร์ของกลุ่มผู้นำเข้าทอง และความวิตกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางเทคนิค บาท/ดอลลาร์มีโอกาสที่จะอ่อนค่าลงอีก โดยอาจแตะระดับ 31.10 และถ้าอ่อนค่าทะลุระดับดังกล่าว บาท/ดอลลาร์ก็อาจจะร่วงลงสู่ 31.19 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.
ดอลลาร์สิงคโปร์ร่วงต่ำกว่าระดับ 1.2430 ต่อดอลลาร์จากแรงขายของธนาคารในยุโรป
วอนอ่อนค่าลงทะลุเส้นค่าเฉลี่ยรอบ 60 วันจากแรงซื้อคืนดอลลาร์ แต่ดีลเลอร์กล่าวว่า ทางการได้สกัดการร่วงลงของวอนด้วยการเข้าแทรกแซงขายดอลลาร์ออกมา (รอยเตอร์)
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (27 มิ.ย.) บวก 18 จุด หรือ 1.26% สู่ระดับ 1442
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
24 มิ.ย. 1424 +10
23 มิ.ย. 1414 +8
22 มิ.ย. 1406 -3
21 มิ.ย. 1409 -9
20 มิ.ย. 1418 -5 (รอยเตอร์)
>> แนวโน้มขาลง...
SETI ปรับตัวลดลงมาปิดมีแท่งเทียนสีดำ ในขณะที่ปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นทุกเส้น ประกอบกับการดีดตัวในช่วงที่ผ่านมาทำจุดสูงสุดที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาลง
ดังนั้นในระยะสั้นเราแนะนำ “ขาย”
ASIAN ปิด 3.72 บาท
แท่งเทียนปิดมีสีขาวพร้อมวอลุ่มหนุน และ MACD ยืนเหนือเส้น Zero Line ได้ แนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร” แนวต้านที่ 4.00-4.24 บาท แนวรับที่ 3.68-3.64 บาท Cut loss หากราคาต่ำกว่า 3.60 บาท
TGPRO ปิด 0.34 บาท
ราคาปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้นพร้อมวอลุ่มหนุน และ MACDให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มแกว่งตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร” แนวต้านที่ 0.37-0.40 บาท แนวรับที่ 0.33-0.32 บาท Cut loss หากราคาต่ำกว่า 0.31 บาท
GUNKUL ปิด 14.20 บาท
ปิดมีแท่งเทียนสีดำยาวเต็มแท่ง ในขณะที่ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย” แนวต้านที่ 14.60-15.00 บาท แนวรับที่ 13.00-12.00บาท
PTT ปิด 324 บาท
ราคาปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้นพร้อมวอลุ่มหนุน และ Modified Stochastic ให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย” แนวต้านที่ 327-330 บาท แนวรับที่ 317-310 บาท