

เบอร์นันเก้เตือนศก.สหรัฐเสี่ยงชะลอตัวปีหน้า
เหตุภาคการเงิน,ตลาดที่อยู่อาศัยอ่อนแอ
เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) เมื่อคืนนี้ โดยเบอร์นันเก้เตือนว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงเผชิญกับความเสี่ยงที่จะฉุดรั้งเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงในปีหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะอ่อนแอของตลาดที่อยู่อาศัย และความเสี่ยงด้านอื่นๆที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหมดไปในเร็วๆนี้
"ความเสี่ยงที่จะฉุดรั้งเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวลงถึงปีหน้านั้น ยังคงมีอยู่ ซึ่งอาจจะรวมถึงภาวะอ่อนแอในภาคการเงินและปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัย ปัจจัยลบเหล่านี้อาจจะมีผลกระทบที่รุนแรงและยืดเยื้อยาวนานกว่าที่เราคาดไว้" เบอร์นันเก้กล่าวกับสื่อมวลชน ซึ่งนับเป็นการแถลงข่าวหลังการประชุมเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์
เมื่อผู้สื่อข่าวขอให้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัยซึ่งเผชิญกับภาวะซบเซามาอย่างยาวนานและยังคงฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจนั้น เบอร์นันเก้กลาวว่า "ตลาดที่อยู่อาศัยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจ ซึ่งเฟดก็จับตาดูสถานการณ์ในตลาดอย่างใกล้ชิด" อย่างไรก็ตาม เบอร์นันเก้ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการใช้มาตรการใหม่ๆที่จะสร้างแรงจูงใจในการซื้อที่อยู่อาศัย
สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า เบอร์นันเก้ระบุว่า ผลกระทบของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นซึ่งมีต่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐนั้น มีแนวโน้มที่จะ "บรรเทาลง" ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนวิกฤตหนี้ของกรีซนั้น เบอร์นันเก้ได้แสดงความเห็นว่า "ปัญหาหนี้กรีซถือเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากมาก หากกรีซผิดนัดชำระหนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยุโรปและจะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย"
เมือผู้สื่อข่าวถามว่าเฟดจะคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งรวมถึงการตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีกนานเท่าใด เบอร์นันเก้ตอบว่า "เฟดจะยังไม่ใช้มาตรการคุมเข้มด้านการเงินอย่างน้อยก็ในการประชุม 2-3 ครั้งข้างหน้านี้ หรืออาจจะนานกว่านั้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าทางเศรษฐกิจ สถานการณ์เงินเฟ้อ และอัตราว่างงาน"
การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของเบอร์นันเก้มีขึ้นภายหลังการประชุมคณะกรรมการเอฟโอเอ็มซี โดยที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0-0.25 % พร้อมกับยืนยันว่าจะยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) หรือโครงการซื้อพันธบัตรมูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์ ในวันที่ 30 มิ.ย.ตามแผนการที่วางไว้
นอกจากนี้ คณะกรรมการยังได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายนประเทศ (เฟด) ที่แท้จริง ลงสู่ระดับ 2.7-2.9% ในปี 2554 ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ในการประชุมเดือนเม.ย.ว่าจะขยายตัว 3.1-3.3%
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงคืนนี้ (22 มิ.ย.) หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แสดงมุมมองในด้านลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ และไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะเฟดจะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม (QE3) หลังจากมาตรการ QE2 หมดอายุลงในช่วงสิ้นเดือนนี้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้รับปัจจัยลบหลังจากเฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐทั้งในปีนี้และปีหน้า
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 80.34 จุด หรือ 0.66% ปิดที่ 12,109.67 จุด
ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง 8.38 จุด หรือ 0.65% ปิดที่ 1,287.14 จุด
และดัชนี Nasdaq อ่อนตัวลง 18.07 จุด หรือ 0.67% ปิดที่ 2,669.19 จุด
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ประมาณ 3.9 พันล้านหุ้น
มีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วน 3 ต่อ 2
DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดร่วง 0.66% หลังเฟดลดคาดการณ์จีดีพีสหรัฐ
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันพุธ หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้า โดยไม่ได้ระบุถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 80.34 จุดหรือ 0.66%สู่ 12,109.67, ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 8.38 จุดหรือ 0.65% สู่ 1,287.14และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวลง 18.07 จุดหรือ 0.67% สู่ 2,669.19
ปริมาณการซื้อขายเบาบางเพียง 6.2 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค,ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งต่ำกว่าระดับเฉลี่ยต่อวันของปีนี้ที่ 7.58 พันล้านหุ้น
จำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วนเกือบ 17 ต่อ 12 ในตลาดนิวยอร์ค และ 17 ต่อ 8 ในตลาด Nasdaq
นักลงทุนผิดหวังกับแถลงการณ์จากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดและใช้เป็นเหตุผลในการเทขายหุ้นออกมาหลังจากตลาดทะยานขึ้นติดต่อกัน 4 วันจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
เฟดระบุในแถลงการณ์ว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอีกระยะหนึ่ง และย้ำว่าจะยุติโครงการซื้อพันธบัตรวงเงิน 6 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนนี้
เฟดได้ปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ลงสู่ 2.7-2.9% จากการคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ที่ 3.1-3.3% และยังปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีหน้าลงสู่ 3.3-3.7% ต่ำกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อน--จบ--
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:ตัวเลขสต็อกน้ำมันหนุนน้ำมันดิบปิดบวก 1.24 ดอลล์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดพุ่งขึ้นกว่า 1 % ในวันพุธโดยได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐ และจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ในระหว่างวันว่าดอลลาร์อาจจะอยู่ในระดับอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 1.24 ดอลลาร์ หรือ 1.32 %มาปิดตลาดที่ 95.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 93.24-95.70ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 3.26ดอลลาร์ สู่ 114.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวันที่114.48 ดอลลาร์
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยคาดว่าเศรษฐกิจอาจเติบโต 2.7-2.9 % ในปีนี้ ลดลงจาก 3.1-3.3 %ที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเม.ย. นอกจากนี้ เฟดยังคาดว่าเศรษฐกิจอาจเติบโต3.3-3.7 % ในปี 2012 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ครั้งก่อน
เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม และระบุว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมากต่อไปอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดี เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และเฟดระบุว่าอัตราการเติบโตน่าจะปรับขึ้นในเร็วๆนี้
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล สู่ 363.8 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มิ.ย., สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 142.0
ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 500,000 บาร์เรล สู่ 214.6 ล้านบาร์เรล,สต็อกน้ำมัน heating oil เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล สู่ 33.6 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 3.1 % สู่ 89.2 %--จบ--
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองปิดขยับขึ้นเล็กน้อย
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปิดขยับขึ้นในวันพุธ โดยในช่วงแรกราคาทองสปอตได้ทะยานขึ้นแตะ 1,557.75 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค. โดยวันนั้นเป็นวันที่ราคาทองทำสถิติสูงสุดที่ 1,575.79 ดอลลาร์
ราคาทองลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา หลังจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยืดเวลาในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและปัจจัยดังกล่าวหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น
วอลุ่มการซื้อขายสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.อยู่ในระดับต่ำกว่า 130,000 สัญญา ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 30 วันราว 40 %
ราคาทองเคลื่อนตัวออกจากกรอบ 1,510-1,550 ดอลลาร์ในวันพุธ หลังจากอยู่ในกรอบดังกล่าวมานาน 1 เดือน โดยนักวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคของบาร์เคลย์สกล่าวว่า เป้าหมายถัดไปของราคาทองอยู่ที่ราว 1,575 ดอลลาร์
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันพุธมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนส.ค. 1,553.40 + 7.00
เงินเดือนก.ค. 36.739 + 36.00 (เซนต์)
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันพุธมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนก.ค. 1,752.40 + 5.20
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 768.85 + 4.10 --จบ--
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ดอลล์แข็งค่ารับเฟดไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วันในวันพุธหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้บ่งชี้ถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป แม้ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 80.330 เยน เทียบกับระดับปิดวันอังคารที่ 80.260 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4347 ดอลลาร์และ 115.27 เยน เทียบกับระดับปิดวันอังคารที่ 1.4406 ดอลลาร์และ 115.63 เยน
เฟดระบุว่าอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐดำเนินไปอย่างเชื่องช้ากว่าที่คาดไว้ แต่ระบุว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นเร็วๆนี้
เฟดระบุในแถลงการณ์หลังการประชุม 2 วันว่า จะยุติโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE2) ในช่วงสิ้นเดือนนี้ และจะนำเงินต้นไปลงทุนต่อ
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์อันเป็นผลจากแรงขายทำกำไรและวิกฤติหนี้กรีซที่ดำเนินต่อไปนั้นถ่วงยูโรลงด้วย โดยตลาดจะรอผลการลงมติของรัฐสภากรีซต่อมาตรการรัดเข็มขัดในวันที่ 28 มิ.ย.
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยนและฟรังก์สวิส ขณะที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเยน และดัชนีดอลลาร์บวก 0.4% สู่ 74.834
ตลาดเงิน Emerging Asia:วอนนำสกุลเงินเอเชียดีดตัวรับผลโหวตกรีซ,รอประชุมเฟด
สกุลเงินเอเชียเผชิญแนวต้านจากความวิตกที่ยังมีอยู่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของปัญหาหนี้กรีซ แต่ก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ยูโรฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับ 1.44 ดอลลาร์
นักลงทุนกำลังรอฟังความเห็นของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดในการแถลงข่าวหลังการประชุมนโยบายในคืนนี้ ท่ามกลางสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะทำให้เฟดเตรียมแผนรับความเป็นไปได้ที่ว่าสถานการณ์ต่างๆอาจจะเลวร้ายลง
คาดว่าเฟดจะยอมรับว่าเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอีกครั้งในแถลงการณ์หลังการประชุม แต่ผู้กำหนดนโยบายอาจจะยังไม่ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวในระยะนี้
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดที่ 1406 ลบ 3 จุด
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (22 มิ.ย.) ลบ 3 จุดหรือ 0.21% สู่ระดับ 1406
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
21 มิ.ย. 1409 -9
20 มิ.ย. 1418 -5
17 มิ.ย. 1423 -1
16 มิ.ย. 1424 +19
15 มิ.ย. 1405 +5
--จบ--
แนวโน้มขาลง...
SETI ปิดปรับตัวลดลงและมีแท่งเทียนสีดำเต็มแท่ง ประกอบกับได้รับแรงกดดันจาก MACDปิดต่ำกว่าเส้น Zero Line รวมทั้ง SETI ยังไม่ตัดเส้น EMA(15) วันขึ้นมา นอกจากนี้ยังไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ในระยะสั้นจึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาลง
ดังนั้นในระยะสั้นเราแนะนำ “ขาย”
EARTH ปิด 3.96 บาท
ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่และแท่งเทียนมีสีขาวพร้อมปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับ Indicators ทุกตัวได้ให้ค่าสัญญาณเป็นบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้นชัดเจน
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 4.10-4.30 บาท แนวรับที่ 3.92-3.88 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 3.84 บ
MAJOR ปิด 15.50 บาท
ปิดมีแท่งเทียนสีขาว และ Modified Stochastic และ RSIให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นแกว่งตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 16.00-16.50 บาท แนวรับที่ 15.20-15.00 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 14.80 บาท
RAIMON ปิด 1.27 บาท
แท่งเทียนมีสีขาวพร้อมมีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น และปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้น แนวโน้มแกว่งตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 1.36-1.40 บาท แนวรับที่ 1.25-
1.23 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 1.21 บาท
SCC ปิด 345 บาท
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาปิดมีแท่งเทียนสีขาว ประกอบกับ Indicators ทุกตัวได้ให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มดีดตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 350-354 บาท แนวรับที่ 342-340 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 338 บาท
-----------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น