

ตลาดหุ้นนิวยอร์ก:แผนช่วยกรีซคืบหน้า หนุนดาวโจนส์ปิดบวก 42.84 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อคืน 17 มิ.ย. หลังจากที่วิกฤตหนี้กรีซเริ่มปรากฎให้เห็นถึงสัญญาณในเชิงบวก ท่ามกลางความคืบหน้าจากการหารือระหว่างเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ได้บรรลุร่างข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือกรีซครั้งใหม่
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 42.84 จุด หรือ 0.36% ปิดที่ 12,004.36 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 3.86 จุด หรือ 0.30% ปิดที่ 1,271.50 จุด แต่ดัชนี Nasdaq ปรับตัวลดลง 7.22 จุด หรือ 0.28% ปิดที่ 2,616.48 จุด
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กสัปดาห์นี้เริ่มฟื้นตัวขึ้นบ้างแล้ว หลังจากเมื่อช่วงสัปดาห์ก่อนๆ การซื้อขายในวอลล์สตรีทค่อนข้างซบเซา จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจหลายรายการซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะการฟื้นตัวที่ช้าลง ขณะที่มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หรือ QE2 จะสิ้นสุดลงในปลายเดือนนี้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะเผชิญกับความเสี่ยงหากปราศจากซึ่งมาตรการกระตุ้นของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาในสัปดาห์นี้ เนื่องจากการรายงานข้อมูลล่าสุดได้ทำให้เกิดความหวังว่า เศรษฐกิจอาจดีขึ้นหลังจากที่ร่วงลงในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ –อินโฟเควสท์
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:กังวลศก.กดราคาน้ำมันดิบปิดดิ่งลง 1.94 ดอลล์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงกว่า 2 % ในวันศุกร์ ในขณะที่ความกังวลอย่างต่อเนื่องเรื่องปัญหาหนี้สินกรีซและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐกดดันราคาน้ำมันให้ร่วงลง
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ค.ดิ่งลง 1.94 ดอลลาร์ หรือ 2.04 % มา ปิดตลาดที่ 93.01 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 91.84-95.40 ดอลลาร์ โดยระดับปิดวันศุกร์ถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ปิดที่ 86.20 ดอลลาร์ ในวันที่ 18 ก.พ.เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนร่วงลง 81 เซนต์ หรือ 0.71 % สู่ 113.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยระดับปิดวันศุกร์ถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ปิดที่ 112.53 ดอลลาร์ในวันที่ 24 พ.ค.เป็นต้นมา
เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปิดตลาดสัปดาห์นี้รูดลง 6.28 ดอลลาร์ หรือ 6.3 % ซึ่งถือเป็นการร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 พ.ค. ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ดิ่งลง 5.57 ดอลลาร์ หรือ 4.69 %
กระทรวงคมนาคมสหรัฐรายงานว่า ปริมาณการใช้ทางหลวงสหรัฐลดลง 2.4 % ในเดือนเม.ย.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน (รอยเตอร์)
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองปิดปรับขึ้นตามยูโร/ดอลล์
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้นในวันศุกร์ ในขณะที่ยูโร/ดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากความหวังที่ว่าจะมีการออกมาตรการให้ความช่วยเหลือกรีซชุดใหม่ หลังจากเยอรมนีและฝรั่งเศสร่วมมือกันในการหาหนทางช่วยเหลือกรีซ
ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.เคลื่อนตัวในช่วง 1,523.20-1,543.00 ดอลลาร์
วอลุ่มการซื้อขายอยู่ที่ระดับเกือบครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ย 30 วัน
ราคาทองปรับขึ้นเกือบ 5 % ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และปิดตลาดสัปดาห์นี้ด้วยการขยับขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ดี ราคาทองไม่สามารถทะยานขึ้นเหนือสถิติสูงสุดที่ 1,575 ดอลลาร์ ที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือนพ.ค.ได้ เพราะว่าราคาทองได้รับแรงกดดันจากปัจจัยทางเทคนิค, ความแข็งแกร่งของดอลลาร์ และการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบในระยะนี้
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันศุกร์มีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนส.ค. 1,539.10 + 9.20
เงินเดือนก.ค. 35.748 + 18.90 (เซนต์)
พลาตินั่มเดือนก.ค. 1,752.10 - 8.60
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 743.70 - 17.80 (รอยเตอร์)
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโรปรับตัวขึ้นรับความหวังกรีซได้รับเงินช่วยเหลือ
ยูโรปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกันเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในวันศุกร์และอาจปรับตัวขึ้นต่อในสัปดาห์นี้จากความหวังที่ว่ากรีซจะได้รับเงินช่วยเหลือครั้งใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดทั่วโลก
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 80.000 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสบดีที่ 80.600 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4303 ดอลลาร์และ 114.44 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสดบีที่ 1.4210 ดอลลาร์และ 114.57 เยน
ผู้นำของเยอรมนีและฝรั่งเศสเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า ได้ทำข้อตกลงสำหรับกรีซซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมโดยสมัครใจของภาคเอกชน
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การซื้อขายยังเป็นไปอย่างระมัดระวังขณะที่รมว.คลังยูโรโซนประชุมกันในวันอาทิตย์และวันจันทร์ และผู้นำอียูจะประชุมสุดยอดในสัปดาห์นี้ ขณะที่จะมีการลงมติไว้วางใจรัฐบาลกรีซในคืนวันอังคาร
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศมติการประชุมในวันพุธนี้เวลา 1815 GMT หรือราวเวลา 01.15 น.ตามเวลาไทยในวันพฤหัสบดี และนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดจะแถลงข่าวตามมา
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐย่ำแย่ลงในเดือนนี้จากความวิตกครั้งใหม่เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ข้อมูลยอดขายบ้านมือสอง, ยอดขายบ้านใหม่, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน และตัวเลขประมาณการณ์ครั้งสุดท้ายของจีดีพีไตรมาสแรก (รอยเตอร์)
ตลาดเงิน Emerging Asia:สกุลเงินเอเชียอ่อนค่าหลังดีดตัวเก็งหยวนแข็งค่า
ดอลลาร์สิงคโปร์และริงกิตดีดตัวขึ้นจากการคาดการณ์ที่ว่าจีนจะยังคงหนุนหยวนให้แข็งค่าขึ้น แต่สกุลเงินทั้ง 2 ก็ได้ชะลอตัวหลังจากนั้น ขณะที่กรีซประสบความยากลำบากในการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ และนักลงทุนพากันลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง
นักวิเคราะห์และดีลเลอร์กล่าวว่า เงินเอเชียยังคงเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์หนี้ของกรีซ แม้การคาดการณ์ที่ว่าหยวนจะแข็งค่าขึ้นอีกอาจจะช่วยหนุนในระยะสั้นก็ตาม
ดอลลาร์สิงคโปร์ และริงกิตแข็งค่าขึ้น 0.4% และ 0.3% เมื่อ เทียบกับดอลลาร์สหรัฐตามลำดับจากการคาดการณ์ว่า จีนจะขยายช่วงซื้อขายหยวน แต่หลังจากนั้นสกุลเงินทั้ง 2 ก็อ่อนค่าลง ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับยูโรโซนทำให้นักลงทุนชะลอการเข้าซื้อขายอย่างมาก นักวิเคราะห์บางรายระบุว่า เป็นไปไม่ได้ที่จีนจะขยายช่วงซื้อขายหยวนในสุดสัปดาห์นี้
วอนปรับตัวขึ้น 0.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยแข็งค่าทะลุเส้นค่าเฉลี่ยรอบ 60 วันที่ 1,087.3 จากคำสั่งขายดอลลาร์ตัดขาดทุนเนื่องจากนักลงทุนมีความระมัดระวังเกี่ยวกับโอกาสที่เจ้าหน้าที่จะแทรกแซงขายดอลลาร์ออกมา
เปโซร่วงลง และอ่อนค่าลงมากกว่าสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาค ขณะที่นักลงทุนซื้อคืนดอลลาร์ หลังจากเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ย และเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์
รูเปียห์ร่วงลงจากคำสั่งซื้อคืนดอลลาร์ของกองทุน และธนาคารต่างประเทศ แต่พบว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียขายดอลลาร์ที่ระดับ 8,600 เทียบดอลลาร์
บาท/ดอลลาร์ภาคบ่ายอยู่ในทิศทางแข็งค่า และยังมีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าได้ต่อเล็กน้อยในสัปดาห์หน้า หากยูโรแข็งค่าต่อเนื่อง ขณะที่ข่าวการแก้ปัญหาหนี้กรีซ ยังคงมีผลต่อทิศทางเงินบาทและสกุลเงินในเอเชีย อยู่ที่ 30.57/59 จาก 30.56/61 ช่วงเช้า ขณะที่ในตลาด offshore อยู่ที่ 30.55/60 จาก 30.56/63 ช่วงเช้า (รอยเตอร์)
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดวันศุกร์ที่ 1423 ลบ 1 จุด
ลอนดอน--20 มิ.ย.--รอยเตอร์
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวันศุกร์ (17 มิ.ย.) ลบ 1 จุด หรือ 0.07% สู่ระดับ 1423
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
16 มิ.ย. 1424 +19
15 มิ.ย. 1405 +5
14 มิ.ย. 1400 -12
13 มิ.ย. 1412 -6
10 มิ.ย. 1418 -10
>> แนวโน้มขาลง...
�� SETI ปรับตัวลดลงมาปิดมีแท่งเทียนสีดำและปิดต่ำกว่าเส้นค่าเแลี่ยระยะสั้นทุกเส้น ประกอบกับMACD ยังคงอยู่ต่ำกว่าเส้น Zero Line และ ให้ค่าสัญญาณลบ จึงทำให้ SETI ยังคงมีแนวโน้มเป็นขาลง
�� ดังนั้นในระยะสั้นเราแนะนำ “ขาย”
ADVANC ปิด 101.00 บาท
ปิดมีแท่งเทียนสีขาวเต็มแท่งพร้อมวอลุ่มหนุน และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร” แนวต้านที่ 105.00-110.00 บาท แนวรับที่100.00-98.50 บาท Cut loss หากราคาต่ำกว่า 97.00 บาท
DTAC ปิด 58.00 บาท
MACD ยืนเหนือเส้น Zero Line อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาปรับตัวขึ้นมาพร้อมวอลุ่มหนุน แนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร” แนวต้านที่ 60.00-64.00 บาท แนวรับที่ 57.50-57.00 บาท Cut loss หากราคาต่ำกว่า 56.00 บาท
DCON ปิด 3.80 บาท
เส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้นเรียงตัวกันแบบ Bullish และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร” แนวต้านที่ 3.90-4.04 บาท แนวรับที่ 3.76-3.70 บาท Cut loss หากราคาต่ำกว่า 3.64 บาท
PICO ปิด 3.62 บาท
ราคาปิดยืนเหนือเส้นค่าเแลี่ยได้ทุกเส้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับMACD ยืนเหนือเส้น Zero Line ได้ แนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร” แนวต้านที่ 3.80-4.00 บาท แนวรับที่ 3.60-3.56 บาท Cut loss หากราคาต่ำกว่า 3.50 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น