Code 401 : 22/04/54 จะผ่าน 1111 หรือจะลงมาที่ 1100

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2554

ATT Code :จะผ่าน 1111 หรือจะลงมาที่ 1100

1. เข้าที่.... SET ไม่สามารถผ่าน 1111 มาได้ ทำให้ CandleStick เกิดเป็น Hanging Man
2. ระวัง.... SET ย้อนกลับลงมาปิดต่ำกว่า 1104-1007... แต่ถ้าไม่ย้อนลงก็ มองไปที่ 1111 จุด อีกครั้ง
3. ไป.... ถ้าต่ำกว่า 1104 ก้จะลงมาที่ 1100 ได้.... แต่ถ้าสูงกว่า 1111 ก็มองไปที่ 1117





สรุปสภาวะการซื้อขายในวันพฤหัส 21/04/54 นี้ : ยังไม่สามารถผ่าน 1111 ไปได้ แต่ Main Indicators ยังดูดีอยู่
1. SET ปิด 1,109.92 ไม่สามารถปิดเหนือ 1111 ได้
2. MACD มีค่าเพิ่มขึ้นอีก... และ MACD Osc ก็เริ่มแข็งแรงขึ้นตามมา
3. Volume, STO และ RSI ยืนยันความแข็งแรง
4. STO, RSI, %R และ CCI เข้ามาอยู่ในเขต Overbought... ยังไม่เป็นไร แต่ %R และ CCI เริ่มย่อลงมาแล้ว
5. CandleStick เกิดเป็น Hanging Man

แนวโน้มในวันศุกร์ที่ 22/04/54 นี้ : จะผ่าน 1111 หรือจะลงมาที่ 1100
1. Main Indicators ทุกตัวแข็งแรงดี.... ลุ้น SET ไปต่อได้...
2. แต่ CandleStick เป็น Hanging Man ทำให้ SET มีโอกาสที่จะกลับตัวลงมาได้
3. ให้จับตาดูว่า %R และ CCI ที่เริ่มย่อลงมาแล้ว.... จะตัดลงมาเป็น Sell Signal หรือไม่

โดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับ : 1107 /1104 /1100
แนวต้าน : 1111 / 1117 /1120

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis

22 เมษ. 54 ( +2.56 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338
ไม่ต่ำกว่า 1100.87 ยังปรับตัวขึ้นต่อได้
จากสภาวะ RSI Overbought ในภาพระยะวัน ถ้าต่ำกว่า 1100.87 จุดต่ำสุดของวันพุธ

ดัชนีมีความเสี่ยงที่จะปรับตัว “ชั่วคราว” กลับลงไปบริเวณ 1080 – 90 ใกล้จุดต่ำสุดของสัปดาห์นี้ และตลาดอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกสักระยะ แกว่งตัวย่ำฐานในกรอบประมาณ 1080– 1110 หรือระหว่างจุดต่ำสุดถึงจุดสูงสุดของสัปดาห์นี้ ในรูปแบบที่อาจจะเป็น ExpandingFlat

แต่ตราบใด ไม่ต่ำกว่า 1100.87 จุดต่ำสุดของวันพุธ ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อและมีเป้าหมายเดือน พค. บริเวณ 1160 - 90 จุด ในรูปแบบของ Double zigzag

หุ้นเด่น
IVL
ปรับตัวทะลุกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะวันขึ้นมาได้ ทยอยซื้อแถว 55.00 – 55.50 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 56.50 จุดสูงสุดวันพฤหัส เป้าหมายระยะสัปดาห์ขึ้นไป64.50 – 66.50( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 54.50 )

KBANK
ปรับตัวทะลุกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะชั่วโมง รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 130.00จุดสูงสุดวันพฤหัส เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน132.00 – 134.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 127.50 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
BBL ไม่ต่ำกว่า 176.50 ขึ้น 182 – 183
BANPU แกว่งตัว 768 - 786
IVL รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
CPF ไม่ต่ำกว่า 28 ขึ้น 30 – 31
IRPC แกว่งตัว 6.05 – 6.30
PTT ต่ำกว่า 382 ลง 378 – 380
TOP ต่ำกว่า 85 ลง 81 – 83
JAS ไม่ต่ำกว่า 3 ขึ้น 3.56 – 3.66
BAY เกิน 28.25 ขึ้น 28.75 – 29.25
KTB ไม่ต่ำกว่า 19.60 ขึ้น 21 – 21.30


-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
แบงก์เจ๋ง Q1/54 กำไรโต 47.88%
กลุ่มแบงก์โชว์ผลงาน Q1/54 แจ่มกำไรโต 47.88% สูงเกินคาด SCB โตสุด 104.73% ขณะที่ KK รั้งท้ายกำไรหดกว่า 26.07%ด้านโบรกฯคาด แนวโน้ม Q2/54 ผลงานโตต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของสินเชื่อ แถมรับอานิสงส์ ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น แนะซื้อ BBL, KBANK, KTB และ SCB
เข้าสู่ช่วงเทศกาลประกาศผลงานไตรมาส 1/54 ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มแรกที่ประกาศคือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ล่าสุดประกาศมาแล้ว 10 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB) และ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (KK) บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (TCAP) บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)(TISCO) ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB) และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)(BAY)
ปรากฎว่ามีกำไรเพิ่มขึ้น 47.88% โดยมีกำไรรวม 37,886.26 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 25,619.42 ล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้น 12,266.84 ล้านบาท
ทั้งนี้ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ 3 อันดับแรกที่มีผลประกอบการเติบโตโดดเด่นสุดในกลุ่ม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะSCB ที่มีกำไรเพิ่มขึ้น ถึง 104.73% โดย Q1/54 มีกำไร 13,051.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,676.58 ล้านบาท จากQ1/53 ที่มีกำไร 6,374.71 ล้านบาท ขณะที่ KTB มีกำไรอันดับ 2 กำไรเพิ่มเป็น 78.53% โดยQ1/54 มีกำไร 5,488.76 ล้านบาท จาก Q1/53 มีกำไร 3,074.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2414.46 ล้านบาท ตามมาด้วย KBANK โดยQ1/54 มีกำไร 6,113.88 ล้านบาท จาก Q1/53 ที่มีกำไร 4,105.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2008.21 ล้านบาทหรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 48.91%
อย่างไรก็ตาม TMB และ BAY ถือเป็นแบงก์ที่มีกำไรเพิ่มขึ้นสูงกว่า30% โดย TMB มีกำไรเพิ่มขึ้น 38.79% โดยกำไร Q1/54 อยู่ที่ 1,095.78 ล้านบาท จาก Q1/53 มีกำไร 789.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 306.27 ล้านบาท ขณะที่ BAY มีกำไรเพิ่มขึ้น 35.67% โดยใน Q1/54 มีกำไร 2,808.14 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 2,069.70 ล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้น 738.44 %
ด้าน TISCO มีกำไร Q1/54 อยู่ที่ 828.59 ล้านบาทจาก Q1/53 มีกำไร 712.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 116.32 ล้านบาทหรือ 16.33% ขณะที่ BBL มีกำไรเพิ่มขึ้น 8.11% โดยในQ1/54 มีกำไร 6,468.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 485.73 ล้านบาทกจาก Q1/53 มีกำไร 5,983.07 ล้านบาท
ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ 3 อันดับแรกที่มีผลประกอบการชะลอตัวสุดในกลุ่ม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะ KKที่มีกำไรลดลงมากสุด 26.07% โดย Q1/54 มีกำไร 605.18 ล้านบาท ลดลงจาก Q1/53 ที่มีกำไร 818.68 ล้านบาท กำไรลดลง 213.5 ล้านบาท ตามาด้วย CIMBT กำไรลดลง 19.11% จากQ1/54 ที่มีกำไร281.58 ล้านบาทลดลงจาก Q1/53 ที่มีกำไร 348.13 ล้านบาท กำไรลดลง 66.55 ล้านบาท และTCAP กำไรลดลง 14.82% จาก Q1/54 มีกำไร 1,144.26 ล้านบาท จากQ1/53 มีกำไร 1,343.38 ล้านบาทลดลง 199.12 ล้านบาท
อย่าไงรก็ตามความเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มแบงก์วานนี้(21 เม.ย.54) มีทั้งเคลื่อนไหวในแดนบวกและแดนลบ โดย BAY -KTB KBANK และTISCO ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ขณะที่ BBL-TCAP TMB ปรับตัวลดลง ส่วน SCB และ CIMBT ราคาไม่เปลี่ยนแปลง

โดยBBL ปิดที่ 177.50 บาท ลดลง 5.00 บาท หรือ 2.74% มูลค่าการซื้อขาย 4,492.20ล้านบาท
KTB ปิดที่ 20.20 บาท เพิ่มขึ้น 0.40 บาทหรือ 2.02% มูลค่าการซื้อขาย 1,341.84 ล้านบาท
KBANK ปิดที่ 130.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.50บาท หรือ 1.17% มูลค่าการซื้อขาย 1,176.13 ล้านบาท
SCB ปิดที่ 116.00 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 916.15 ล้านบาท
TMB ปิดที่ 2.34 บาท ลดลง 0.02 บาท หรือ 0.85% มูลค่าการซื้อขาย 314.09 ล้านบาท
BAY ปิดที่ 28.25บาท เพิ่มขึ้น0.75 บาทหรือ 2.73% มูลค่าการซื้อขาย 1,350.15ล้านบาท
KK ปิดที่ 35.75บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 1.38 % มูลค่าการซื้อขาย 129.72 ล้านบาท
TCAP ปิดที่ 31.75 บาท ลดลง 1.00 บาท หรือ 3.05% มูลค่าการซื้อขาย 739.42 ล้านบาท
TISCO ปิดที่ 41.50บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท หรือ 0.61 % มูลค่าการซื้อขาย 135.56 ล้านบาท
CIMBT ปิดที่ 3.30บาท ไม่เปลียนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 7.87ล้านบาท
ขณะที่ SET Index ปิดที่ 1,109.92จุด เพิ่มขึ้น 2.56จุด หรือ 0.23% มูลค่าการซื้อขาย 46,289.37ล้านบาท

***โบรกฯ ระบุ ผลงานกลุ่มแบงก์Q1/54สูงเกินคาด แนะซื้อ BBL, KBANK, KTB และ SCB ***
นักวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า การประกาศผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/54 ถือว่าส่วนใหญ่มีผลประกอบการสูงกว่าที่คาด แต่ขณะเดียวกันก็มีบางแห่งที่ต่ำกว่าที่คาดไว้เช่นกัน อาทิ BBL และ TCAP เป็นต้น โดยในไตรมาสดังกล่าว ยอดสินเชื่อเดือนขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สภาพคล่องในระบบเริ่มดีขึ้น จากปริมาณเงินฝากที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ส่วนแนวโน้มในไตรมาส 2/54 หากไม่นับรวมผลกำไรพิเศษ คาดว่าผลประกอบการจะยังคงดีขึ้น จากความต่อเนื่องของการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสแรก และได้รับอานิสงส์จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งคาดว่าในไตรมาสนี้การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ระยะสั้นจะลดลง และให้น้ำหนักการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาวมากกว่า รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนั้นจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ก็จะดีขึ้นด้วย
สำหรับหุ้นในกลุ่มธนาคารที่แนะนำซื้อ ได้แก่ BBL, KBANK, KTB และ SCB โดย BBL มีราคาเป้าหมาย 215 บาท ซึ่งคาดหวังการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ยังคงมีปริมาณความต้องการสินเชื่อสูง และกลุ่มที่เป็นลูกค้าหลักของ BBL โดยคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อของ BBL ในปี 54 ที่ 11.6% ขณะที่การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องจะเริ่มส่งผลดีต่อ NIM ของ BBL มากขึ้นเรื่อยๆ ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมจะยังคงเติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรายังคงประมาณการการเติบโตของกำไรสุทธิของ BBL ในปีนี้ที่ระดับสูง 22.7%
ด้าน KBANK มีราคาเป้าหมายที่ 148 บาท พร้อมทั้งคาดว่าการเติบโตของสินเชื่อปีนี้จะอยู่ที่ 9.1% ขณะที่ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมคาดหวังการเติบโตในระดับสูงกว่า 15% อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานของ KBANK อาจจะยังได้รับแรงกดดันจากค่าใช้จ่าย K-Transformation ที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงในปีนี้ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานของ KBANK ยังคงแข็งแกร่ง และยังคงรักษาจุดแข็งในด้านการทำธุรกิจ SME ไว้ได้ดี
SCB ให้ราคาเป้าหมายที่ 145 บาท โดยได้มีการปรับประมาณการกำไรสุทธิของ SCB ขึ้นเป็น 3.73 หมื่นล้านบาท จากเดิม 3.0 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 24.4% รวมถึงปรับประมาณการการเติบโตของสินเชื่อขึ้นจาก 10.9% เป็น 15.7% จากการเติบโตของสินเชื่อที่ดีกว่าที่คาดไว้ ในช่วงครึ่งปีแรก โดยเป็นการขยายตัวในทุกภาคธุรกิจ ทั้ง Corporate, SME, และ Retail ซึ่งหลังจากปรับประมาณการทำให้กำไรสุทธิปี 2554 เติบโต 54% จากปีก่อนหน้า โดยเป็นการเติบโตของกำไรปกติสูงถึง 33.5% สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ส่วน KTB ให้ราคาเหมาะสม 21.00

*** บล.กรุงศรีอยุธยา คาดแนวโน้มกลุ่มแบงก์ Q2/54 ขยายตัวต่อเนื่อง แนะนำ ซื้อ SCB, KBANK และ TISCO ***
นักวิเคราะห์ บล.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาส 1/54 ของธนาคารพาณิชย์ พบว่า SCB, TISCO และ KTB ออกมาดีกว่าที่คาด ขณะที่ TCAP และ KK ถือว่าต่ำกว่าที่คาดเช่นกัน แต่โดยภาพรวมแล้วมีการเติบโตที่ดีขึ้น ทั้งรายได้ค่าธรรมเนียม และสินเชื่อรวมที่ทั้งระบบขยายตัวถึง 14% ขณะที่ NIN อาจลดลงบ้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น และต้นทุนดอกเบี้ยจ่างที่เพิ่มขึ้น
ส่วนแนวโน้มไตรมาส 2/54 น่าจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ และอาจสืบเนื่องมายังสินเชื่อของภาคธุรกิจดังกล่าวให้ชะลอลง ขณะเดียวกัน NIM จะอยู่ในภาวะทรงตัว ไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าทิศทางดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น เป็นเพราะภาวะการแข่งขันในตลาดที่ยังคงสูง
ทั้งนี้แนะนำ ซื้อ SCB, KBANK และ TISCO โดย SCB มีมูลค่าพื้นฐานอยู่ที่ 131 บาท อิงจาก Target P/BV ที่ 2.5 เท่า (ROE 17%, Ke 10.5%)จากมุมมองบวกต่อการดำเนินกลยุทธ์เชิงรุกกระตุ้นสินเชื่อเติบโตโดดเด่น นอกจากนี้ การซื้อกิจการ SCNYL จะเสริมประสิทธิภาพในการทำ Cross selling และเป็นการสนับสนุนกลยุทธ์ Universal banking แข็งแกร่งขึ้น
ด้าน KBANK มีมูลค่าพื้นฐานที่ 152 บาท อิงจาก Target P/BV ที่ 2.4 เท่า (ROE 17%, Ke 10.7%) โดยพื้นฐานยังแข็งแกร่ง และสินเชื่อใน Q2 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามทิศทางการขยายการลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การทำ Cross selling ที่มีประสิทธิภาพทำให้แนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตสูงต่อเนื่องในปี 54 สนับสนุนให้ ROE ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ส่วน TISCO มีมูลค่าพื้นฐาน 45 บาท โดยคงประมาณการกำไรสุทธิปี 54 ที่ 3.29 พันล้านบาท และแม้สินเชื่อใน Q2 มีแนวโน้มจะขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของยอดขายรถยนต์ที่ได้รับการกระตุ้นจากงาน Motor Show แต่ด้วยผลกระทบจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นทำให้ต้นทุนการเงินมีแนวโน้มจะเร่งตัวขึ้นเร็วกว่ารายได้ดอกเบี้ย ซึ่งจะกดดัน NIM มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องใน Q2

**CNS เชียร์ KTB -SCB เด่นสุด ***
ด้านบทวิเคราะห์ บล. โนมูระ พัฒนสิน (CNS)ประเมิน กลุ่มแบงก์ 1QFY11F รวม 3.39 หมื่นล้านบาท (+33% y-y, +30% q-q) เด่นสุด KTB SCB โดยคาดว่ากลุ่มธนาคารที่ศึกษาจะมีกำไรสุทธิใน 1QFY11F รวม 3.39 หมื่นล้านบาท (+33% y-y, +30% q-q) โดยการเติบโตที่แข็งแกร่งทั้ง y-y และ q-q ผลักดันหลักๆจาก
1) สินเชื่อที่คาดว่าจะเติบโตถึงกว่า ~14% y-y และ %4 q-qผลักดันหลักๆจากสินเชื่อรายใหญ่ โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการซื้อกิจการที่ยังมีต่อเนื่องจากช่วงสิ้นปี FY10;
2) ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (NIM) ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ~10 bps y-y และ ~5 bps q-q (NIM ไม่รวมเงินปันผลรับจากกองทุนวายุภักษ์น่าจะปรับลดลง~2 bps q-q)
3) ค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ปรับลดลง q-q
4) รายได้ค่าธรรมเนียมที่ยังเติบโตแข็งแกร่ง y-y แต่ลดลง q-qตามปกติจากปัจจัยของฤดูกาล
และ 5) ในงวด 1QFY11F ธนาคาร 4 แห่ง (KTB, SCB, TCAP และ BAY) จะมีการบันทึกรายได้เงินปันผลรับจากกองทุนวายุภักษ์รวมกว่า 1.6 พันล้านบาท เทียบกับงวด 4QFY10 ที่ไม่มีรายได้ดังกล่าว

***BBL แจง กำไรQ1/54 เพิ่มขึ้น สะท้อนการขยายตัวของสินเชื่อและเงินฝาก***
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ(BBL) กล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาส 1 สะท้อนถึงความก้าวหน้าของธนาคารในด้าน การขยายสินเชื่อ การขยายเงินฝาก และการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากพลวัติการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและระบบโดยรวม นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถรักษาความแข็งแกร่งในด้านสภาพคล่องและเงินกองทุนอย่างต่อเนื่อง
เงินให้สินเชื่อของธนาคารมีการขยายตัวเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน โดยเงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2554 มีจำนวน 1,305,795 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49,184 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2553 หรือเพิ่มขึ้น 159.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.9 จาก ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2553 จากการที่ภาคธุรกิจยังคงมีความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนตามภาวะการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดี อีกทั้งความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้ในการปรับปรุงระบบการผลิตและเพื่อขยายธุรกิจยังคงมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ภาวะการแข่งขันด้านราคาในตลาดสินเชื่อยังคงมีอยู่ในระดับสูง ประกอบกับต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมากจากการที่เงินฝากดอกเบี้ยต่ำเริ่มทยอยครบกำหนด และจากการที่สถาบันการเงินมีการแข่งขันระดมเงินฝาก ส่วนหนึ่งเพื่อบริหารสภาพคล่อง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการขยายสินเชื่อในอนาคต ดังนั้น ธนาคารจึงมีแรงกดดันที่สูงขึ้นด้านราคาทั้งในด้านการให้สินเชื่อและแหล่งเงินทุน ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.62 ในไตรมาส 1 ปี 2553 เป็นร้อยละ 2.55 ในไตรมาสนี้
ธนาคารสามารถขยายฐานเงินฝากได้เพิ่มขึ้นจำนวน 51,825 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7 จากสิ้นปี 2553 ส่งผลให้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 เงินฝากของธนาคารมีจำนวน 1,446,213 ล้านบาท โดยมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ในระดับร้อยละ 90.3 ใกล้เคียงกับร้อยละ 90.1 ณ สิ้นปี 2553
ธนาคารมีรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายได้หลักยังคงมาจากธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต และ ธุรกรรมโอนเงิน นอกจากนี้รายได้ค่าธรรมเนียมจากการค้ำประกันอาวัลและบริการประกันชีวิตผ่านธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันส์) ยังคงมีการเติบโตในอัตราที่ดี
ธนาคารมีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ลดลงร้อยละ 5.1 จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 8,099 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้น 669 ล้านบาทหรือร้อยละ 9.0 จากไตรมาส 1 ปี 2553 ในขณะที่รายได้จากการดำเนินงานเติบโตร้อยละ 6.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 ธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ 43,387 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.8 ของเงินให้สินเชื่อรวม เทียบกับร้อยละ 3.0 ณ สิ้นปี 2553 จากการที่ธนาคารประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ และจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้คุณภาพสินเชื่อของธนาคารดีขึ้นเป็นลำดับ
ในไตรมาสนี้ธนาคารตั้งค่าใช้จ่ายเผื่อหนี้สูญจำนวน 1,760 ล้านบาท ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2554 ธนาคารมีสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 73,937 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ร้อยละ 170.4
ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 มีจำนวน 237,669 ล้านบาท โดยเมื่อนับรวมกำไรสุทธิครึ่งหลังของปี 2553 และไตรมาสแรกของปี 2554 และหักด้วยเงินปันผลที่จะจ่ายในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ธนาคารจะมีอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นและเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง อยู่ในระดับที่ประมาณร้อยละ 16.7 และร้อยละ 13.2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งและสามารถสนับสนุนให้ธนาคารดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต

***KTB แจงกำไร Q1/54 โต 79% สูงสุดเป็นประวัติการณ์***
ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย(KTB) เปิดเผยผลประกอบธนาคารในไตรมาสที่ 1/2554 เปรียบเทียบกับไตรมาส 1/2553 ว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิ 5,489 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,415 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 79 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุหลักเกิดจาก รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2,470 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28 รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 394 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17 ในไตรมาส 1/2554 ธนาคารมียอดสินเชื่อ 1,301,249 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2553 จำนวน 51,619 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 มียอดเงินฝาก 1,295,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47,434 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ขณะเดียวกันคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารปรับตัวดีขึ้น โดยสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) มีจำนวน 67,875 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2553 จำนวน 8,382 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 11 ทำให้สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิ (Net NPL) ณ 31 มีนาคม 2554 ลดลงเหลือร้อยละ 2.69
ทางด้านอัตรารายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (NIM) ปรับตัวดีขึ้นจากระดับร้อยละ 2.29 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.47 อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ลดลงจากร้อยละ 62 มาอยู่ที่ร้อยละ 49 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ร้อยละ 14.11 โดยมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 8.71

*** บิ๊ก BAY พอใจกำไรQ1/54เพิ่มขึ้น 35.9%***
ขณะที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) แจ้งว่ากำไรสุทธิ Q1/54 จำนวน 2,820 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2553 และเพิ่มขึ้น 24.5% จากไตรมาส 4/2553 โดยเป็นกำไรจากการดำเนินงาน จำนวน 6,635 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.0% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2553 และ เพิ่มขึ้น 12.7% จากไตรมาส 4/2553 ด้าน สินเชื่อที่มีคุณภาพ เพิ่มขึ้น 65,273 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาส 1/2553 และเพิ่มขึ้น 10,880 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาส 4/2553 ส่วนการเติบโตของแหล่งเงิน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 57,844 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาส 1/2553 และเพิ่มขึ้น 14,280 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาส 4/2553 ขณะที่สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 36,457 ล้านบาท จาก 38,149 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 4/2553 ด้านคุณภาพสินทรัพย์ สัดส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ จัดให้มั่นคงสูงขึ้นที่ระดับ 92% จาก 89% ขณะที่ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ ยังแข็งแกร่งที่ระดับ 4.62%
ด้านนายมาร์ค อาร์โนลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเครือกรุงศรี กล่าวว่า พอใจกับการเริ่มต้นปี 2554 ด้วยความแข็งแกร่ง ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีนี้แสดงถึงการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก จากกำไรสุทธิที่เติบโตเพิ่มขึ้น 35.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 8.4% มาอยู่ที่ระดับ 9,191 ล้านบาท และยอดสินเชื่อเติบโตตามเป้าหมาย ในขณะที่งบดุลมีความแข็งแกร่งมากขึ้น นอกจากนี้ คุณภาพสินทรัพย์ได้ปรับตัวดีขึ้นโดยสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงมาอยู่ที่ระดับ 36,457 ล้านบาท หรือจาก 5.4% มาอยู่ที่ 5.0% ของยอดสินเชื่อรวม ขณะเดียวกันสัดส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 89% สู่ระดับ 92%
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 ตามงบการเงินรวม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีสินทรัพย์รวม 870,410 ล้านบาท มีสินเชื่อรวม 658,148 ล้านบาท มีเงินฝาก 572,270 ล้านบาท และมีอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ที่ระดับ 16.8% โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ระดับ 12.1%


ตารางเทียบผลกำไรสุทธิ ไตรมาส 1/54 กับ ไตรมาส 1/53 (หน่วย:ล้านบาท)

ปี 2554 ปี 2553 เปลี่ยนแปลง %

BBL 6,468.80 5,983.07 485.73 8.11
SCB 13,051.29 6,374.71 6,676.58 104.73
KTB 5,488.76 3,074.30 2,414.46 78.53
KBANK 6,113.88 4,105.67 2,008.21 48.91
BAY 2,808.14 2,069.70 738.44 35.67
TCAP 1,144.26 1,343.38 -199.12 -14.82
TMB 1,095.78 789.51 306.27 38.79
TISCO 828.59 712.27 116.32 16.33
KK 605.18 818.68 -213.5 -26.07
CIMBT 281.58 348.13 -66.55 -19.11

รวม 37,886.26 25,619.42 12,266.84 47.88

ที่มา eFinanceThai.com


-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น