Code 395 :11/04/54 SET หลุด BB-T ลงมาแล้ว และ Indicators บางตัว จาก Overbought เริ่มเข้า Sell Signal แล้ว

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2554

ATT Code : 11/04/54 SET หลุด BB-T ลงมาแล้ว และ Indicators บางตัว จาก Overbought เริ่มเข้า Sell Signal แล้ว

เข้าที่.... SET เข้ามาอยู่ในเขต Overbought... ลงมาหลุด BB-T เริ่มมี Sell Signal เบาๆ ปรากฏให้เห็นแล้ว
ระวัง.... Indicators ที่อยู่ในเขต Overbought มีบางตัวเกิด Sell Signal แล้ว
ไป.... รอ MACD เกิด Sell Signal ขึ้นมา... ก็ลงได้แน่






สรุปสภาวะการซื้อขายในวันศุกร์ 08/04/54 นี้ : มีแรงขายออกมา ทำให้ SET ปิดหลุด BB-T
แสดงให้เห็นชัดเลยว่า SET มีแรงขายออกมามาก เพราะหลุดเส้น BB-T แล้ว ยังลงมาปิดต่ำกว่า Low ของเมื่อวานนี้ ส่งผลให้ Indicatos ต่างๆ เกิด Sell Signal ขึ้นมาแล้ว

แนวโน้มในวันจันทร์ที่ 11/04/54 นี้ : SET หลุด BB-T ลงมาแล้ว จาก Overbought เริ่มเข้า Sell Signal แล้ว
จาก Minor Indicators ที่อยู่ในเขต Overbought เริ่มลงมาตัดเส้น Sell Signal แล้ว นอกจากนี้ยังมี Main Indicators ตั้เส้น Sell Signal ลงมาด้วย

โดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับ : 1078 และ 1082 จุด
แนวต้าน : 1089 / 1092

Indicators ต่างๆ ของวันก่อนหน้านี้ :
Main Buy Signal = MACD + RSI
Main Sell Signal = Slow Stochastic + Candle Stick ต่ำกว่า BB-T และเป็นแท่งแดงต่ำกว่าราคาเปิดเมื่อวันก่อน
2 Indicators = Main Buy Signal
0 Indicators = Minor Buy Signal
4 Indicators = Overbought
0 Indicators = Bearish Divergence
3 Indicators = Sell Signal

-------------------------------------------
Main Signal
1. Alert MACD (B)+(Werak)
Major = Buy Signal : 1. MACD >. Signal.... และ Minor =Uptrend ยังดีอยู่โดย 2. MACD > 0)
(+/-) MACD Oscillator มีค่าลดลงมา จาก 3.51 เป็น 2.65

2. Alert Slow Sto (S)
(-) Slow Stochastic : %K(93.48) < %D(93.49)... %K ตัด %D ลงมาแล้วเป็นวันแรก แต่ตัดลงนิดเดียวเอง

3. Alert RSI (B)+(Weak)+(Overbought)
(+/-) RSI(71.5) > MAV9(69.3) : RSI สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ย... แต่เริ่มย่อลงมาแล้ว

------------------------------------------
Minor Signal
4. Alert William %R (S)
%R ตัดเส้น -10 ลงมาแล้ว: เป็น Sell Signal เบาๆ
(-) Williams %R เริ่มมีค่าอ่อนลงมา จาก (0) เป็น (-16)... %R ตัดเส้น -10 ลงมาเป็นวันแรก

5. Alert CCI (B)+ (Overbought)
CCI ตัดเส้น 100 ลงมาแล้ว: เป็น Sell Signal เบาๆ
(-) CCI มีค่าลดลงมาจาก 125.7 มาที่ 94.15

6. Alert ADX (B)
(+) เส้น ADX : DI+(44) > DI-(9)...

------------------------------------------
Support
7. OBV - : Weak
(-) OBV มีค่าลดลง

8. Alert Volume (S)
(-) Volume < Avg 5 D

****************
Historical Technics
****************
Buy Signal:
1. (+)MACD กลับมาเป็น Buy Signal อีกครั้ง(22/03/54)
2. (+) DI+ ตัดเส้น 20 ขึ้นมา... แสดงว่า UpTrend มีความแข็งแรง
3. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = Major เป็น Bullish + Uptrend... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)
4. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA10 (976.12 )ขึ้นมา... Major เป็น Golden Cross = Buy Signal (17/02/54)
5. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)
6. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) : Stronger (09/03/54)
7. (+) SET สูงกว่าเส้น 10 วัน และ 5 วัน แล้ว : Stronger (21/03/54)


Overbought:
1. (+/-) Slow Sto : %K(81) > %D(73) = Overbought (23/03/54)
2. (+/-) Alert William %R > -10 = Overbought (30/03/54)
3. (+/-) Alert CCI > 100 =(Overbought) (30/03/54)
4. (+/-) Alert RSI > 71 =(Overbought) (01/04/54)

Sell Signal :
1. (+) Slow Sto : %K(93.48) < %D(93.49) = Sell Signal (08/04/54)
2. (-) SET < BB-T และ ราคาเปิดของวันก่อน

Bearish Divergence :
Oversold : None


-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
11 เมษ. 54 ( -6.52 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

อยู่ในช่วงเวลาของการปรับฐาน ...
ตลาดน่าจะอยู่ ในช่วงเวลาของการปรับฐาน มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวกลับลงไปแถว1064 – 74 จุด หรือประมาณ Fibonacci Ratio 38.2% นับจากจุดต่ำสุดของวันที่ 29 มีค.

จากนั้นตลาดมีโอกาสที่จะ ย่ำฐานและแกว่งตัวในกรอบ 1064 – 92 จุด สำหรับภาพหนึ่งถึงสองสัปดาห์ข้างหน้า

และตราบใดไม่ต่ำกว่า 1032 จุด เส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน ถือว่าแนวโน้มหลักของตลาดยังคงเป็น “ขาขึ้น” มีเป้าหมายเดือน สค. 1300
Aug target 1300 จุด ในรูปแบบของ Zigzag wave C ต่อไป

หุ้นเด่น
PTTEP
ยังสามารถปรับตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25ชั่วโมงได้ รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 197.00จุดสูงสุดวันศุกร์ เป้าหมายสองสามวัน
200 – 202( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 195.00 )

DTAC
กำลังปรับตัวในกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะวัน รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 48.75 กรอบบนของสามเหลี่ยม เป้าหมายสองสามวัน
50.50 – 52.50( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 48.25 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTT ปรับตัวลง 366 - 372
PTTCH ปรับตัวลง 160 – 161
IVL ปรับตัวลง 51 – 52
IRPC ปรับตัวลง 5.90 – 6.10
PTTAR ปรับตัวลง 40 – 41
SCB ปรับตัวลง 112 - 113
PTTEP รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
TRUE ต่ำกว่า 4.80 ลง 4.20 – 4.40
CPF ไม่ต่ำกว่า 25 ขึ้น 26.50 - 27
TTA แกว่งตัว 20.30 – 20.80

-----------------------------------------------------------------------------
E FinanceThai : เล่นหุ้นหลังสงกรานต์
โบรกฯ ประสานเสียง หุ้นไทยหลังสงกรานต์ยังขาขึ้น ดัชนีฯ ลุ้นแตะแนวต้าน 1,100-1,120 จุด เชียร์ลงทุนหุ้นพลังงาน-แบงก์ ให้น้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” ด้าน กิมเอ็ง เชียร์ เก็บหุ้นที่ยังไม่สะท้อนปัจจัยบวก ผลงาน1Q54 ฟากโนมูระ พัฒนสิน ชี้ ดัชนีฯหุ้นไทยจะสร้างจุดสูงสุดใหม่ ภายในQ2-ต้นQ3 ปีนี้ ให้เป้าหมายที่บริเวณ 1,125-1,212 จุด
จากกระแสเงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยประกอบกับ แนวโน้มราคาน้ำมันโลกที่ยังพุ่งแรงไม่หยุด ส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยทะยานบวกอย่างต่อเนื่องช่วงก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ แต่หลังจากสงกรานต์แล้ว หุ้นไทยจะมีทิศทางอย่างไรต่อไป

* โบรกฯ ประสานเสียง หุ้นไทยหลังสงกรานต์ ยังขาขึ้น ดัชนีฯ ลุ้นแตะแนวต้าน 1,100-1,120 จุด แนะลงทุน หุ้นพลังงาน-แบงก์
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระพัฒนสิน เปิดเผยว่า แนวโน้มการเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นไทย หลังจากวันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์แล้ว ดัชนีฯยังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อ เนื่องจากเชื่อว่าจะมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเป็นขาขึ้น โดยมีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ระดับ 1,100-1,120 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1,070 จุด
"หากประเมินตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายนของทุกปีแล้วจะพบว่าดัชนีฯจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในทิศทางเชิงบวก และให้ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน แม้ว่าปีก่อนจะไม่ดีนักจากเหตุความไม่สงบทางการเมือง ทำให้การลงทุนไม่คึกคักนัก ซึ่งปีนี้แรงซื้อต่างชาติก็เข้ามาในหุ้นกลุ่มหลัก อาทิ พลังงาน แต่หลังสงกรานต์อาจจะเจอกับแรงขายหุ้นกลุ่มแบงก์บ้าง เพราะแรงขายจากนักลงทุนที่เก็งกำไรไปก่อนหน้าแล้ว ซึ่งอาจจะทำให้ดัชนีฯฟื้นตัวอย่างมีกรอบจำกัด"นายชัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าจะมีแรงเก็งกำไรเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารบ้างจากการประกาศผลประกอบการไตรมาส1/54 ในวันที่ 20 เมษายนนี้ เพราะคาดว่าผลประกอบการจะออกมาเติบโตโดดเด่น และยังได้รับอานิสงส์จากดอกเบี้ยขาขึ้น แต่อาจจะเจอกับแรงขายทำกำไรออกมาจากนักลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไรไปแล้วก่อนหน้านี้
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน หลังจากสิ้นสุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ตลาดฯจะเปิดทำการอีกเพียง 10 วันทำการเท่านั้น แต่ถือว่าดัชนีฯยังเป็นขาขึ้น จึงควรเข้าลงทุนหุ้นตัวหลัก อาทิ กลุ่มพลังงาน และธนาคาร
ด้านนายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย หลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีโอกาสขึ้นไปแตะแนวต้าน 1,100 จุดได้ จากแรงซื้อในหุ้นกลุ่มพลังงาน เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยเฉพาะน้ำมันไนเม็กเพิ่มขึ้นไปแตะที่ 111 ดอลลาร์/บาร์เรลแล้ว ถือเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนบรรกาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่ก็ต้องระมัดระวังแรงขายเช่นกันหากราคาปรับเพิ่มขึ้นสูง อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 20 เม.ย.กลุ่มธนาคารจะประกาศผลประกอบการ ซึ่งอาจจะเกิดภาวะ Sale on Fact ในหุ้นกลุ่มธนาคารได้
"แรงซื้อจากต่างชาติยังคงไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังสงกรานต์ก็เชื่อว่าจะยังเห็นอยู่ แต่อาจจะชะลอไปบ้าง เพราะได้ซื้อติดต่อกัน 12 วันทำการแล้ว" เทิดศักดิ์ กล่าว
กลยุทธ์ลงทุน ยังคงเข้าเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มโภคภัณฑ์ได้ เพราะยังได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มขึ้น โดยประเมินแนวต้าน 1,100 จุด และประเมินแนวรับ 1,080 จุด

* เอเซียพลัส ชู กลุ่มพลังงาน -แบงก์ ให้น้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด”
บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอ้างอิงดูไบ และไนเม็กซ์ปัจจุบันอยู่ที่ 112.19 และ 108.20 เหรียญฯต่อบาร์เรล ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึง 20% โดยมีปัจจัยผลักดันหลักมาจากปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกที่ได้ขยายตัวในวงกว้างอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2554 เริ่มจาก ซาอุดิอาระเบีย, เยเมน, บาร์เรน, อียิปต์ และลิเบีย เป็นต้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันที่ออกสู่ตลาดโลกโดยรวมปรับตัวลดลง อาทิเช่น เหตุการณ์ในปัจจุบันการเกิดปัญหาขึ้นในลิเบียส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันของประเทศลิเบียลดลงเหลือเพียง 3.9 แสนบาร์เรลต่อวัน จาก 1.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งฝ่ายวิจัยคาดปัญหาในตะวันออกกลางยังคงยืดเยื้ออีกระยะหนึ่ง จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ยังช่วยหนุนให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ทางด้านพื้นฐานก็เป็นไปตามที่ประเมินไว้ว่าความต้องการใช้น้ำมันในปี 2554 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามการคาดสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวทั้งในทวีปยุโรป และสหรัฐ ซึ่งจากการพยากรณ์ของ IEA (International Energy Agency) คาดว่าจะอยู่ที่ราว 1.7%yoy หรือคิดเป็นปริมาณ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาเฉลี่ยอยู่ที่ 89.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในส่วนของ Supply เองนั้น แม้จะมีปริมาณการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่คาดว่ากลุ่ม OPEC จะยังเป็นกลไกสำคัญที่ทำหน้าที่คอยทำการควบคุมปริมาณการผลิตที่จะออกสู่ตลาดไว้ เพื่อรักษาฐานราคาน้ำมันให้ทรงตัวไว้ในระดับสูง
ฝ่ายวิจัยได้ทำการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบเป็น 100 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากเดิม 85 เหรียญฯต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 17.6%เพื่อสะท้อนราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายวิจัยมีมุมมองว่าราคาน้ำมันนับจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2554 น่าทรงตัวที่ระดับเกิน 100 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากปัจจัยหนุนที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดังกล่าวส่งผลบวกโดยตรงต่อหุ้นกลุ่มน้ำมันทั้ง PTTEP และ PTT เนื่องจากราคาขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแปรผันโดยตรงกับราคาน้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ภายหลังการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันจะทำให้ประมาณการกำไรปี 2554 ของ PTTEP และ PTT ปรับตัวสูงขึ้น 10.7% และ 5.5% จากประมาณการเดิมตามลำดับ และมูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2554 ภายใต้ประมาณการใหม่ อ้างอิงวิธี DCF ของ PTTEP และ PTT เท่ากับ 255.98 บาทต่อหุ้น และ 440.39 บาทต่อหุ้น
ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มน้ำมัน “มากกว่าตลาด” โดยคงคำแนะนำซื้อลงทุนทั้ง PTTEP และ PTT ราคาตลาดปัจจุบันยังมี Upside จาก Fair Value ปี 2554 ใหม่ ถึง % และ % ตามลำดับ ซึ่งนอกจากปัจจัยบวกในส่วนของราคาน้ำมันที่อยู่ในทิศทางขาขึ้นแล้วนั้น PTTEP ยังมีปัจจัยบวกในส่วนของปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นและปัญหามอนทาราที่คลี่คลายลงไป ส่วน PTT นั้น ยังได้รับประโยชน์จากธุรกิจปิโตรเคมี และโรงกลั่นที่อยู่ในช่วงขาขึ้นเช่นกัน อีกทั้งพิจารณา PER และ EPS Growth ของหุ้นกลุ่มปิโตรเลียม และถ่านหิน ในภูมิภาค พบว่า PTTEP และ PTT ถือเป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรที่โดดเด่น และ PER ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาค จึงคาดในระยะ 3 เดือน ข้างหน้าราคาหุ้นน่าจะมีโอกาส Outperform ตลาดสูง
สำหรับ หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (ธ.พ.) บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ธ.พ. 9 แห่งคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 1Q54 เท่ากับ 3.56 หมื่นล้านบาท เติบโตถึง 35.1% qoq และทำระดับสูงสุดในรายไตรมาสในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยบวกหนุนหลายประการ ทั้งในส่วนของสินเชื่อสุทธิที่เห็นการเติบโตเชิงรุกถึง 4.7% qoq ซึ่งเป็นการเติบโตจากทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SME และรายย่อย (ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์) ค่อนข้างสูงเกินเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยที่คาดไว้ทั้ง ปี 2554 ที่ 10.4% yoy ขณะที่ NIM ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7bp จากงวดที่ผ่านมาสู่ระดับ 3.81% โดยได้รับผลบวกจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทในระดับเฉลี่ย 0.30-0.40% แม้ด้านต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายจะเห็นการปรับตัวสูงขึ้นของดอกเบี้ยออมทรัพย์ แต่ผลบวกจาก Yield ที่เพิ่มขึ้นสามารถหักล้างผลกระทบได้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ใน 1Q54 ค่อนข้างทรงตัวได้จากงวดที่ผ่านมา แม้จะเป็นช่วง low season ก็ตาม เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ในส่วนของสินเชื่อ (กลุ่มรายใหญ่) ที่บันทึกเข้ามามากในงวดนี้ จึงช่วยพยุงรายได้ค่าธรรมเนียมฯ รวมไว้ได้ ด้านคุณภาพหนี้ แม้พบว่า ธ.พ. บางแห่ง (โดยมากเป็น ธ.พ.ในกลุ่มเช่าซื้อรถยนต์) จะมี NPL เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่ได้มีนัยฯ จนน่ากังวล โดยระดับการตั้งสำรองหนี้ฯ โดยรวมแล้ว ยังลดลงกว่า 3.1% จากงวดที่ผ่านมา (ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของ TMB, TISCO และ BAY ขณะที่คาด KK และ TCAP จะมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นมาก) ส่วน Cost to income ratio ใน 1Q54 ปรับตัวลดลงมาที่ 56.9% จาก 59.7% ในงวดที่ผ่านมา จากการลดลงของค่าใช้จ่ายตามฤดูกาล โดยรวมแล้ว คาดการณ์กำไรสุทธิ 1Q54 คิดเป็นสัดส่วนถึง 29% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2554 ที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ ธ.พ. ที่ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะมีกำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นมากใน 1Q54 ได้แก่ SCB (จากการบันทึกรายได้พิเศษจากการตีมูลค่าเพิ่มของเงินลงทุนใน SCNYL ขึ้นกว่า 5.1 พันล้านบาท) KK (จากค่าใช้จ่ายพิเศษที่ลดลงจาก 4Q54 กว่า 583 ล้านบาท สำหรับความเสียหายจากการผิดสัญญาในการเข้าประมูลทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา) และ KTB (จากการบันทึกเงินปันผลรับจากกองทุนวายุภักษ์กว่า 820 ล้านบาทในงวดนี้)
ฝ่ายวิจัยยังค่อนข้างเชื่อมั่นต่อภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อและผลการดำเนินงานใน 2Q54 (จากธุรกิจไม่รวมรายการพิเศษ) ว่าจะเป็นไปในทิศทางบวกต่อเนื่องจาก 1Q54 แม้ปกติแล้วในช่วง 1H จะเป็นช่วง low season ของสินเชื่อ แต่จะไม่เกิดรูปแบบดังกล่าวขึ้นในปี 2554 เนื่องจากความต้องการสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อรายใหญ่ที่ได้ทยอยอนุมัติไปตั้งแต่ปี 2553ยังมีเข้ามาต่อเนื่องสำหรับโครงการลงทุนต่างๆ ทั้งในส่วนของโครงการภาครัฐ และภาคเอกชนที่รับเหมางานจากภาครัฐซึ่งจะเห็นการเติบโตของความต้องการสินเชื่อเด่นชัดมากขึ้นในปี 2554 ภายหลังจากที่โครงการภาครัฐได้นำร่องการลงทุนไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว นอกจากนี้ ความต้องการสินเชื่อที่เกิดจากการขยายฐานเข้าไปลงทุนในต่างประเทศหรือการซื้อ/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ โดยอาศัยโอกาสในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามากในปี 2553 ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การเติบโตของกลุ่มสินเชื่อรายใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ และมีความต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มสินเชื่อ SME พบว่าความต้องการสินเชื่ออยู่ในระดับสูงมากเช่นกัน จากสาเหตุข้างต้นที่ฝ่ายวิจัยนำเสนอ โดยมีปัจจัยผลักดันจากสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อาทิ ยาง ปาล์ม และนำตาล ทำให้ ธ.พ.ส่วนใหญ่ถึงขั้นต้องเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชีให้แก่ลูกหนี้มากขึ้นสำหรับการผลิตและสต็อคสินค้าในปริมาณที่เท่าเดิม ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อแนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อสุทธิในปี 2554 ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าจะเติบโตได้เกินเป้าหมายที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 10.4% yoy (SCB และ BAY ประกาศแล้วว่าจะมีการปรับเพิ่มเป้าหมายสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2554 ขึ้น)
ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด สำหรับหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. เพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองการดำเนินธุรกิจของ ธ.พ. ที่จะเป็นไปในทิศทางบวกมากขึ้นในปี 2554 โดยคาด EPS ปี 2554-55 จะเติบโตในระดับ 11.5%yoy และ 11.6%yoy ตามลำดับ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังเลือกหุ้น Top picks ได้แก่ BBL และ KBANK เนื่องจากได้รับผลบวกสูงสุดจากการเติบโตของสินเชื่อรายใหญ่ และ SME ในปี 2554 อีกทั้งยังมี upside ที่ดีให้เข้าลงทุน คำแนะนำการลงทุนมากกว่าตลาด

* ฟาก กิมเอ็ง เชียร์ เก็บหุ้นที่ยังไม่สะท้อนปัจจัยบวก ผลงาน1Q54 หลังสงกรานต์
บทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง เชื่อว่า SET INDEX มีโอกาสทะลุแนว 1,100 จุด นำโดยกลุ่มธนาคาร เพื่อเก็งกำไรต่อการประชุมกนง.วันที่ 20 เม.ย. และงบการเงิน 1Q54 ภายในวันที่ 21 เม.ย. ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญในสัปดาห์นี้ อยู่ที่ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนคือ อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าน่าจะถึงระดับสูงสุดของปีนี้ในเดือนมี.ค.หรือเม.ย. หากเป็นเช่นนั้น ย่อมทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจร้อนแรงของจีนคลี่คลายลง และอาจกลายเป็นจุดที่ดึงเม็ดเงินทุนต่างชาติเข้าเอเชียได้เช่นกัน พร้อมกับการรายงาน GDP ใน 1Q54 ของจีน
บล.กิมเอ็ง เสนอให้นักลงทุน “กลับมาทยอยขายทำกำไรราว 15% ของพอร์ตบริเวณ 1,100 จุด ” และถือพอร์ตส่วนที่เหลือ หรืออาจจัดสรรเข้าสะสมหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนปัจจัยบวกของผลการดำเนินงานใน 1Q54 ที่จะมีการประมาณการในช่วงหลังจากเทศกาลสงกรานต์นี้ น่าจะเป็นตัวเลือกของการลงทุนช่วงสั้นนี้ พร้อมกับเก็งกำไรต่อกระแสเงินทุนต่างชาติในรอบนี้ด้วยเช่นกัน

*ฟาก โนมูระ พัฒนสิน ชี้ ดัชนีฯหุ้นไทยจะสร้างจุดสูงสุดใหม่ ภายในQ2-ต้นQ3 ปีนี้ ให้เป้าหมายที่บริเวณ 1,125-1,212 จุด
บทวิเคราะห์ บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า สำหรับมุมมองระยะ3เดือนข้างหน้า CNS คงคำแนะนำ ซื้อสะสมเมื่ออ่อนตัว โดยคาดว่า ดัชนีฯหุ้นไทยจะสร้างจุดสูงสุดใหม่ –ดูรายงานกลยุทธ์ล่าสุด (สูงสุดเดิม ปี 2011: 1,056.44 จุด) ภายในไตรมาส 2-ต้นไตรมาส 3 ปีนี้ โดยมีเป้าหมายที่บริเวณ 1,125-1,212 จุด (เทคนิคคาด 1,130 จุด) เราคงแนะนำ ซื้อเพิ่ม/ ถือ (แนะนำซื้อเมื่อปรับฐานใน 1Q11 ไปแล้ว) โดยแนะนำหุ้นตามประเด็นการลงทุนดังต่อไปนี้
1) Political play: โดยสถิติหุ้นไทย จะปรับสูงขึ้นก่อนการเลือกตั้ง แนะนำ กลุ่มแบงก์ บันเทิง อสังหาฯ รับเหมาฯ สื่อสารฯค้าปลีก และอาหาร (ADVANC STEC STPI MCOT SCB CPALL ฯลฯ)
2) Earning play: คาดกำไร 1Q11F เติบโตโดดเด่น หรือมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไร แนะนำ กลุ่มโรงกลั่นแบงก์ อาหาร ถ่านหิน (TOP PTTAR KBANK BBL KTB GFPT BANPU)
3) M&A: การควบรวมกิจการ PTTAR PTTCH เก็งกำไร ESSO GSTEEL
4) Japan recovery: การบูรณะฟื้นฟูประเทศญี่ปุ่น แนะนำ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ นิคมอุตสาหกรรม (รอซื้อเมื่ออ่อนตัว หรือเมื่อมีข่าวธุรกิจในญี่ปุ่นเริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ)

* สมาคมนักวิเคราะห์ มั่นใจการเมือง-ศก.ปรับเพิ่มดัชนี สิ้นปี 54 เพิ่มเป็น 1181 จุด ชู BANPU, BBL, KBANK, PTT, SCB, TOP เด่น
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งล่าสุด สรุปได้ว่า ปัจจัยบวกสำคัญมาจากกระแสเงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้าไทยอย่างต่อเนื่อง การเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นช่วงกลางปีนี้ แนวโน้มการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลกและสหรัฐ การขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ดีขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 54 ที่เฉลี่ย 4.4% และปี 55 ที่เฉลี่ย 4.8% ในขณะที่คาดว่าอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ปี 54 จะปรับตัวลดลงเป็นเฉลี่ย 13.8% (จากฐานกำไรปี 53 ที่สูง)
ปัญหาสำคัญที่นักวิเคราะห์แนะภาครัฐจับตา ได้แก่ ปัญหาค่าครองชีพ ภัยธรรมชาติ และการแข็งค่าของเงินบาท พร้อมเสนอมาตรการสำคัญที่ควรเร่งดำเนินการ คือ มาตรการด้านการลงทุน โดยเร่งการลงทุนภาครัฐ มาตรการควบคุมเงินเฟ้อ และมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
คำแนะนำแก่นักลงทุน สำหรับการลงทุนระยะกลาง-ยาว แนะนำให้ลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี มีอัตราเงินปันผลสูง ในขณะที่ราคายังไม่สูงมากนัก โดยทยอยสะสมในช่วงตลาดปรับฐาน ทั้งนี้ ควรศึกษาข้อมูลหุ้นที่จะเข้าลงทุน และติดตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเตรียมพร้อมรับความผันผวนของตลาด และเตรียมกลยุทธ์รองรับในกรณีที่ตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
สำหรับการลงทุนระยะสั้น เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนให้มากขึ้น เนื่องจากตลาดในระยะนี้เป็นตลาดขาขึ้น มีความเสี่ยงสูง ควรเลือกหุ้นที่รับประโยชน์จากการเลือกตั้ง การฟื้นฟูหลังสถานการณ์น้ำท่วม และวิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่น ควรดูจังหวะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว และขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยที่ต้องจับตามอง ควรติดตามทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ (กระแสเงินทุนต่างชาติ) และภายในประเทศ (การเมือง) อย่างใกล้ชิด
หุ้นแนะนำ หุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ BANPU, BBL, KBANK, PTT, SCB, TOP เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร) สำหรับหุ้นที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่าราคาเต็มมูลค่า หรือเกินมูลค่าแล้ว ได้แก่ TMB, TRUE เป็นต้น



-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น