Code 406 : 29/04/54 มีโอกาสเกิด Dead Cross สูง

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2554

ATT Code : มีโอกาสเกิด Dead Cross สูง
1. เข้าที่.... หลังจากที่เปิดโดดขึ้นไปตาม DJIA แล้ว.... แต่ก็มีแรงขายทำกำไรออกมาแรง
2. ระวัง.... จับตา การเกิด Dead Cross... หลังจากที่ SET หลุดเส้น EMA5 และ EMA10. ลงมา
3. ไป.... ถ้า EMA5 ต่ำกว่า EMA10... เกิด Dead Cross = Bearish // แต่ถ้า EMA5 ลงมาชน EMA10. แล้วเด้งขึ้น ก็จะกลับเป็น Bullish อีกครั้ง



สรุปสภาวะการซื้อขายในวันพฤหัส 28/04/54 นี้ : Rebound แต่เจอแรงขายหนักๆ
1. SET เปิดโดดตามตลาดทั่วโลกที่อยู่ในแดนบวก... แต่หลังจากนั้นก็มีแรงขายทำกำไรออกมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับ HSKI ก็ลงมาติดลบด้วย
2. SET เปิดต่ำกว่า EMA5. และ EMA10. ลงมาปิดที่ 1092.31
2. Mains Indicators ทุกตัวปรับค่าลงหมด... ยืนยันทิศทางขาลงยังแข็งแรงอยู่ = Strenght to Bearish
3. นอกจากนี้ %K ยังตัดเส้น 80 ลงมาด้วย = Sell Signal
4. Vol > MAV5... ลงมาพร้อม volume ด้วย = ยันยันการลง

แนวโน้มในวันศุกร์ที่ 29/04/54 นี้ : มีโอกาสเกิด Dead Cross สูง
1. หลังจากที่ SET หลุดเส้น EMA5 และ EMA 10... มีแนวโน้มลงได้อีก สู่ EMA25 ที่ 1088 ได้
2. Candle Stick ปรับตัวลงเป็นแท่งแดง ต่ำกว่าราคาปิด 1096.95 ของวันที 26/04/54.... มีแนวโน้มลงสู่ 1084 ได้
3. STO : %K ต่ำกว่าเส้น 80 แล้ว... มีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้อีก
4. ถ้า SET ยังมีแรงขายลงสู่ EMA25... มีโอกาสที่จะเกิด Dead Cross ได้
5. แต่ถ้า EMA 5 ลงมาชน EMA10. แล้วยังไม่ตัดลง เป็น Dead Cross... แล้วมีแรงซื้อกลับเข้ามา ก็ยังพอมีโอกาสที่จะเด้งกลับขึ้นมาได้ vแต่ต้องดู Indicator ด้วยว่า มีตัวไหนที่วกกลับขึ้นมาได้บ้างรึป่าว

โดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับ : EMA25. 1088 / 1084
แนวต้าน : EMA10. 1095 / EMA5. 1098

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
29 เมษ. 54 ( -9.04 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ต่ำกว่า 1091.29 ปรับตัวลง 1075 – 80จุด
แนวโน้มวันศุกร์นี้ ดัชนียังมีโอกาสที่จะแกว่งตัวต่อไปในกรอบเล็ก 1092 - 1107 หรือระหว่างจุดต่ำสุดของวันอังคาร ถึงจุดสูงสุดของวันพุธ

และยังคงมีความเสี่ยงอยู่ว่า หากมีการปรับตัวลง ต่ำกว่า 1091.29 จุดต่ำสุดของวันอังคาร ดัชนีมีโอกาสปรับตัวลงต่อแถว 1075 –80 จุด (จะกลายเป็นการแกว่งตัวย่ำฐานในกรอบใหญ่ 1070 – 1110)

ขณะที่ แนวโน้มหลักของตลาดยังคงเป็น“ขาขึ้น” โดยเฉพาะการปรับตัว เกิน 1113.63จุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว จะถือเป็นสัญญาณการปรับตัวขึ้นอีกครั้งของตลาด มีเป้าหมายเดือน พค. บริเวณ 1185 - 95 จุด ในรูปแบบที่คาดว่าเป็น Double zigzag

หุ้นเด่น
STPI
กำลังปรับตัวในกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะสัปดาห์ รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 28.25กรอบบนของสามเหลี่ยม เป้าหมายระยะสัปดาห์ขึ้นไป 29.50 – 31.50( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 26.75 )

SAMART
กำลังปรับตัวในกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะเดือน รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 9.70 กรอบบนของสามเหลี่ยม เป้าหมายระยะสัปดาห์ขึ้นไป 10.70 – 13.70( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 9.25 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
JAS ต่ำกว่า 3.58 ลง3 – 3.40
CPF ปรับฐาน 29 - 29.50
TTA ไม่ต่ำกว่า 21.40 ขึ้น 23.60 – 25
SCC เกิน 377 ขึ้น 383 – 386
IRPC แกว่งตัว 6.10 – 6.40
PTT แกว่งตัว 373 – 380
PTTEP แกว่งตัว 186 – 190
GFPT แกว่งตัว 10.60 – 11.60
BANPU แกว่งตัว 744 - 754
IVL แกว่งตัว 53.50 – 54.50

-----------------------------------------------------------------------------
EFinance Thai : กระทิงรอจังหวะสิงหุ้นไทย
'มาร์ค โมเบียส' คาดตลาดหุ้นทั่วโลกยังเป็นภาวะกระทิง หลังเฟด คงดบ. ที่ 0-0.25% พร้อมเดินหน้ามาตรการ QE2 จนถึงกลางปีนี้ ด้านวงการมอง ตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย รับอานิสงส์เม็ดเงินไหลเข้า แต่ระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน แนะปรับพอร์ต ถือหุ้น Real Sector ที่มี PER ต่ำ และ Dividend Yield ในระดับปานกลางคือ BCP, TPIPL และ GFPT หรือเล่นหุ้นรายตัวที่มีความปลอดภัย หรือหุ้นที่มีปันผล
จากกรณีที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) อยู่ในกรอบ 0-0.25% โดยย้ำว่าเฟดจะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจากเงินเฟ้อได้ดีดตัวขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน เฟดย้ำถึงความตั้งใจในการซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐจำนวน 6 แสนล้านดอลลาร์ หรือการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) จนถึงสิ้นสุดไตรมาส 2/2554 นอกจากนี้ เฟดยังคงจับตาแนวโน้มเศรษฐกิจและความคืบหน้าทางการเงิน และจะใช้เครื่องมือด้านนโยบายหากมีความจำเป็นเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและควบคุมเงินเฟ้อ
ด้านผู้เชี่ยวชาญการลงทุนระดับโลก คาดตลาดหุ้นทั่วโลกยังเป็นภาวะกระทิง หลังเฟดยังคงเดินหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ QE2 ถึงเดือนมิ.ย. ด้านนักวิเคราะห์ มอง ทิศทางเงินทุนจากทางฝั่งสหรัฐฯ มีโอกาสไหลเข้ามาในตลาดทุนไทยต่อไป
ขณะที่วานนี้ ตลาดหุ้นไทย เผชิญแรงขายทำกำไร หลังก่อนหน้านี้ดัชนีดีดตัวขึ้นมามากแล้ว ปิดตลาด SET Index อยู่ที่ 1092.31จุด ลดลง 9.04 จุดหรือ 0.82% มูลค่าการซื้อขาย 34,530.30ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังคงมีสถานะซื้อสุทธิ 2250 ล้านบาท ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 28 เม.ย. นักลงทุนต่างชาติยังมีสถานะซื้อสุทธิ 30,219.76 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มการซื้อขายวันนี้ คาดว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบแต่หากมีการอ่อนตัวลงมา ก็คาดว่าจะไม่มากนัก โดยมองแนวรับที่ 1,090 จุด และแนวต้านที่ 1,100 และ 1,105 จุด

***'มาร์ค โมเบียส' คาดตลาดหุ้นทั่วโลกยังเป็นภาวะกระทิง หลังเฟดจะใช้มาตรการกระตุ้นศก.เชิงปริมาณถึงเดือนมิ.ย.***
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า 'มาร์ค โมเบียส' ประธานเท็มเพลตั้นแอสเซ็ทแมเนจเมนท์คาดว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังคงอยู่ในภาวะกระทิง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดจะคงใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการซื้อคืนหลักทรัพย์วงเงิน 600 พันล้านดอลลาร์จนครบกำหนดในเดือนมิถุนายนนี้ พร้อมจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนพิเศษต่อไปอีกระยะ
'เรากำลังอยู่ในภาวะกระทิงที่จะดำเนินต่อไป แน่นอนว่า อาจมีการปรับฐานบ้าง แต่นั่นจะเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ เพราะกำลังซื้อในสหรัฐฯและยุโรปกลับมาแล้ว แม้จะไม่ได้มากมายนัก แต่ก็กลับมาแล้ว' นายโมเบียสกล่าว
ส่วนตลาดหุ้นที่นายโมเบียสระบุว่า เป็นตลาดหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนสูงสุดได้แก่ ตลาดหุ้นบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นแอฟริกา เวียดนาม บังคลาเทศ และปากีสถาน โดยระบุว่า มีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนสูงในอนาคต


*** บล.ไทยพาณิชย์ ชี้ เฟดคงดบ.-QE2 ส่งผลเงินทุนไหลเข้าเอเชียและตลาดหุ้นไทย***
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนลูกค้าบุคคล บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวถึง นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ รวมถึงทิศทางการใช้นโยบาย QE2 ว่า ในระยะแรกอาจทำให้ตลาดการเงินทั้งตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดหุ้น เกิดความผันผวนขึ้นจากความกังวลต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ในระยะยาวการทำความเข้าใจของตลาดอย่างสถานการณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจทำให้ยังมีเงินทุนที่ไหลเข้ามาในเอเชีย รวมทั้งตลาดหุ้นไทยได้
ดังนั้นภาคการลงทุนในระยะสั้นที่พบว่าตลาดหุนไทยเริ่มสู่ช่วงการปรับฐาน จึงแนะนำให้นักลงทุนพิจารณาการลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีความปลอดภัย หรือความสามารถในการจ่ายปันผลต่อผู้ลงทุน เช่น หุ้นในกลุ่มค้าปลีกและสื่อสารที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าตลาด ขณะที่ภาคระยะยาวในช่วงครึ่งหลังปีนี้หุ้นในกลุ่มค้าปลีก กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานอาจมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีฯ อยู่ในช่วง 1050 -1150 จุด
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์ภายหลังการหมดมาตรการ QE2 ว่าในขณะนั้นผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นในระดับใด ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจแสวงหาผลตอบแทนของนักลงทุนกลับไปยังตลาดพันธบัตร และอาจทำให้ทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับข้างได้

***SSEC คาด เฟด เปิดแผนกระตุ้นศก.รอบใหม่ต่อจากQE2 หนุนเม็ดเงินนอกทะลักเข้าตลาดหุ้นเอเชีย-ไทย***
นายศราวุธ เตโชชวลิต ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บล.ซิกโก้ (SSEC) เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า หากพิจารณาจากถ้อยแถลงของ เฟด มีแนวโน้มที่จะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมารอบใหม่ ต่อเนื่องจากแผนเดิมคือนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE 2 ที่จะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายนนี้ ที่คาดว่าอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่น่าจะมีขึ้นภายใน เดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน เพื่อสร้างความต่อเนื่องจากมาตรการ QE2 ซึ่งการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0-0.25% ของเฟดในครั้งนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่า ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วง 3-6 เดือนต่อจากนี้ ยังไม่ฟื้นตัวอย่างแท้จริง และจะส่งผลให้เงินทุนจากทางฝั่งสหรัฐฯ ไหลเข้ามาในตลาดทุนไทยต่อไป
อีกหนึ่งปัจจัยที่ชี้ว่านักลงทุนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในไทย นั่นคือ ดัชนี SET50 Futures ในตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX) ซึ่งรูปแบบการซื้อขายแบบสัญญาล่วงหน้า โดยในขณะนี้ดัชนี SET50 Futures เคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีอ้างอิงอย่าง SET50 สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนมองทิศทางตลาดในอนาคตเป็นเชิงบวก ซึ่งในวันนี้ดัชนี SET50 Futures สัญญา S50M11 เดือนมิถุนายน 2554 ปิดที่ระดับ 771.40จุด ลดลง 10.20 จุด ในขณะที่ดัชนี SET50 ปิดที่ระดับ 769.91 จุด ลดลง 7.72 จุด โดยดัชนี SET50 Futures ปิดสูงกว่า SET50 ถึง 1.49 จุด
" ตลาดขึ้นมาหลายวัน อาจจะมีพักฐานลงมาบ้าง แต่ต้องดูในระยะกลาง - ยาว เทรนด์หลักของเม็ดเงินต่างชาติยังเป็นบวกต่อหุ้นไทย เพราะถ้าเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่แข็งแรง เงินดอลล์ยังอ่อนค่าอยู่อย่างนี้ นักลงทุนในสหรัฐฯย่อมโยกเงินเข้ามาในตลาดเอเชียอยู่ดี " นายศราวุธกล่าว

*** ดีบีเอสฯ มอง เฟดคงดบ. ส่งผลดีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และตลาดหุ้น***
นางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส เปิดเผยถึงกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0-0.25% ว่า การพิจารณาคงนโยบายการเงินไว้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเบื้องต้นจะส่งผลดีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และตลาดหุ้นให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะค่าเงินดอลลาร์ยังส่งสัญญาณอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องจับตาดูต่อไปว่าการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯในครั้งนี้จะส่งผลอย่างไรต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ไม่ยืนยันว่าจะทำให้เงินทุนไหลเข้ามาตลาดหุ้นไทยมากขึ้น เพราะต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสแรกปีนี้ออกมาโดดเด่นเพียงพอที่จะจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนหรือไม่


***ASP คาด เฟด เดินหน้า QE2 ต่อ กดดันDollar Index ซึ่งน่าจะหนุนหุ้นโภคภัณฑ์เดินหน้าต่อ***
ด้านบทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส (ASP )เชื่อว่าเหตุผลของ เฟด ก็เพียงเพื่อต้องการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีอยู่รอบด้าน ทั้งเหตุการณ์ภัยธรรมชาติล่าสุดที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นและสงครามกลางเมืองในตะวันออกกลาง แต่อย่างไรก็ตาม เท่ากับเป็นการตอกย้ำถึงทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จะยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อไปเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ของโลก โดยเฉพาะกับสกุลยุโรป เนื่องจากปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ในระดับสูง 2.7% เท่ากับสหภาพยุโรป แต่ล่าสุดสหภาพยุโรปขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25% และยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป ซึ่งเป็นผลให้อัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยสุทธิในสหรัฐ ติดลบสูงถึง 2.7% (เงินเฟ้อ 2.7% หักดอกเบี้ย 0-0.25%) เทียบกับของยุโรปติดลบราว 1.45%(เงินเฟ้อ 2.7% หักดอกเบี้ย 1.25%) เป็นเหตุผลสำคัญสนับสนุนให้ค่าเงินยูโรยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแม้ได้แข็งค่าต่อเนื่องมานานถึง 4 เดือน หรือแข็งค่า 14% แล้วก็ตาม ซึ่งในที่สุดจะกดดันให้ Dollar Index (ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับสกุลคู่ค้าหลัก 6 ประเทศของสหรัฐ) มีแนวโน้มอ่อนตัวต่อและหนุนให้เงินทุนยังคงไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งน้ำมันและหุ้น ในระยะ 1-2 สัปดาห์นับจากนี้ เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุน กรณี เฟด ตัดสินใจเดินหน้าใช้นโยบายการเงินอ่อนตัวต่อ กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก มากกว่าเงินเฟ้อ
กดดัน Dollar Index ซึ่งน่าจะหนุนหุ้นโภคภัณฑ์เดินหน้าต่อ แต่น่าจะเป็นจังหวะของการปรับพอร์ตระยะสั้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีค่า PER สูงกว่า PER ของตลาด ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 13 เท่า และให้กลับมาซื้อ หรือถือหุ้น Real Sector ที่มี PER ต่ำ และ Dividend Yield ในระดับปานกลางคือ BCP, TPIPL และ GFPT

***กสิกรไทย คาดค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 29.87-30.00 บาท/ดอลล์***
นักค้าเงินจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้คาดว่าจะแกว่งตัวอยู่ในช่วง 29.87-30.00 บาท/ดอลลาร์ โดยต้องติดตามทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอาจกดดันการเคลื่อนไหวของค่าเงินในแถบเอเชีย ขณะเดียวกันต้องติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวล่าสุดของหนี้สาธารณะในประเทศแถบยูโร
สำหรับค่าเงินบาทวานนี้ปิดตลาดที่ระดับ 29.91-29.93 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวแข็งค่าสุดที่ 29.87 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 29.93 บาท/ดอลลาร์



-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น