Code 172 : ฝรั่งกลับลำมาซื้ออีกครั้ง

วันพฤหัสที่ 7 ตุลาคม 2553
ATT Code : ฝรั่งกลับลำมาซื้ออีกครั้ง

----------------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
7 ตค. 53 ( +9.72 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ตลาดอยู่ในช่วงเวลาของการปรับฐาน
แนวโน้มระยะสั้นวันพฤหัสนี้ ถ้าสามารถปรับตัวขึ้น เกิน 979.00 จุดสูงสุดของวันพุธได้ ดัชนีมีโอกาสขึ้นต่อเล็กน้อยแถว 983 –
986 ใกล้จุดสูงสุดเดิมของสัปดาห์นี้ แต่ถ้าต่ำกว่า 968.67 จุดต่ำสุดของวันพุธดัชนีมีโอกาสปรับตัวลงแถว 953 – 956 ใกล้จุด
ต่ำสุดวันอังคารอีกครั้ง

ภาพระยะเดือนของตลาด ถือว่าอยู่ในช่วงระยะเวลาของการปรับฐาน ในระยะแรกน่าจะเป็นการแกว่งตัวย่ำฐานในกรอบ 955 - 985
หรือประมาณจุดต่ำสุดของวันอังคาร ถึงจุดสูงสุดของสัปดาห์นี้

และถ้าในอนาคตมีการปรับตัวลง ต่ำกว่า950 จุด จะถือเป็นการเกิด “สัญญาณขาย” ในเครื่องมือ Point & Figure ดัชนีจะมีเป้าหมายการปรับตัวลงบริเวณ 895 - 900 จุด สำหรับภาพประมาณปลายเดือน ตค.

ITD
ปรับตัวขึ้นมาแถวเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมงพอดีรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 4.76 จุดสูงสุดวันพุธและเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว เป้าหมายสอง
สามวัน 5.00 – 5.10( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 4.60 )

CK
ปรับตัวขึ้นมาแถวเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมงพอดีรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 10.70 จุดสูงสุดวันพุธ และเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว เป้าหมายสองสามวัน 11.20 – 11.40( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 10.30 )

หุ้นเด่น
10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTTEP เกิน 170 ขึ้น 171 – 173
PTT ไม่น่าเกิน 304 – 306
BANPU มีโอกาสปรับตัว 730 – 734
KTB แกว่งตัว 16.60 – 17.30
KBANK ต่ำกว่า 117.50 ลง 113 – 114
SCB ไม่น่าเกิน 106 – 107
TRUE ปรับตัวลง 4 – 4.20
BBL ไม่น่าเกิน 156 - 157
BAY แกว่งตัว 24.50 – 25.50
ITD รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”

----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
FSS : จังหวะแรกระวังแถว 980-982 จุด ผ่านได้ลุ้นเข้าใกล้ 996 ต่อ...
แนวโน้ม: จาก Fund Flow ที่ยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ FSS ยังคาดว่าSET จะเดินหน้าบวกต่อขึ้นไปได้ โดยมองเป้าหมายใกล้ๆ นี้ที่บริเวณ 990-996จุด อย่างไรก็ตามจากค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่า ซึ่งล่าสุดหลุดลงไปเคลื่อนไหวต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ไปแล้ว จะเป็นแรงกดดันต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะภาคการส่งออก รวมทั้งผลประกอบการของ บจ. ต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนวิตกต่อมาตรการของแบงก์ชาติอีกครั้งได้เราจึงยังคาดว่า SET จะเคลื่อนไหวเป็นบวกในลักษณะที่มีการผันผวนอยู่ตลอดและยังมีโอกาสแกว่งตัวย้อนกลับไปเคลื่อนไหวเป็นลบได้ในบางช่วงด้วย

กลยุทธ์: ดังนั้นจากจุดนี้ไปจังหวะเข้าซื้อจึงสามารถรอช่วงตลาดปรับพักฐานลงได้ ส่วนที่มีอยู่แล้วเน้นถือต่อเนื่อง โดยอาจแบ่งส่วนขายทำกำไรบ้างเมื่อตลาดขยับเข้าใกล้แนวต้านทางเทคนิค สำหรับหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ SCB, KBANK,BBL, CK, STEC, TASCO, TTCL, AMATA, IRPC, ESSO, PTTEP, PTTAR,BANPU, BCP, GLOW, SEAFCO, SITHAI, VNG เป็นต้น

ประเด็นสำคัญวันนี้
• (+) บาทต่ำกว่า 30 บาท/ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี และแข็งค่า 10.2% YTD จากมาตรการเพิ่มสภาพคล่องในระบบของ BOJ ที่ประกาศเมื่อวันอังคาร ทำให้ตลาดคาดหมายว่า Fed น่าจะมี QE2 ด้วยเช่นกัน โดยFed จะประชุมวันที่ 4 พ.ย. กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากบาทแข็งได้แก่กลุ่มรับเหมา อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง สื่อสาร แต่เป็นลบกับกลุ่มอิเล็คทรอนิคส์อาหารส่งออก พลังงานและปิโตรเคมี รวมทั้ง THCOM, AOT
• (+) กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ กำไรใน 3Q10 จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของกลุ่มนี้เงินบาทที่แข็งค่าส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบในปีนี้เพราะป้องกันความเสี่ยงไว้เกือบทั้งหมด เราแนะนำ KCE, DELTA, HANA, SMT อย่างไรก็ตามแนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง การปรับตัวขึ้นเพราะผลประกอบการ 3Q10 น่าจะเป็นจังหวะดีในการลดพอร์ต
• (+) กลุ่มพลังงาน ได้ประโยชน์ทั้งจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าและ High seasonในช่วงปลายปี ราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นมา 9% จากช่วงปลายเดือน ก.ย.ส่งผลให้ Energy Index ปรับขึ้นมา 4.7% แต่หุ้นที่ยัง laggard ซึ่งเราแนะนำให้ซื้อและมีแนวโน้มกำไรดีขึ้น Q-Q ได้แก่ PTT, PTTEP, PTTAR, BANPU(ซื้อ Centennial ได้เพิ่มเป็น 75.67% แล้ว) ส่วน PTTCH กำไรจะชะลอลงQ-Q อ่อนตัวซื้อ เราปรับเป้าขึ้นเป็น 175 ส่วน TOP อ่อนตัวซื้อ ปรับเป้าขึ้นเป็น 63 บาท
• (-) GFPT ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 11 บาทจาก 12 จากกำลังการผลิตใหม่ที่เข้ามาช้ากว่าที่คาดค่อนข้างมาก
• Fund Flow วานนี้ยังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่อง และมีปริมาณซื้อสุทธิเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าเฟดอาจจะอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับลดอัตราดอกเบี้ยและอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ สำหรับแนวโน้มวันนี้แม้ไม่มีปัจจัยใหม่เข้าสู่ตลาด แต่ค่าเงินยูโรที่แข็งค่ามาอยู่ที่ 1.391 ดออลาร์ต่อยูโร ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ทองคำ ปรับขึ้นสูงขึ้นจะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน ทำให้หุ้นกลุ่มนี้นำตลาดในช่วงนี้ และเช้านี้ค่าเงินบาทแข็งสุดในรอบ 13 ปี มาอยู่ที่ 29.90 บาท/ดอลลาร์ ดังนั้นคาดว่ากระแสเงินทุนจะยังคงไหลเข้าต่อเนื่อง เน้นที่หุ้นกลุ่มบูลชิพ

ข่าวภายในประเทศ
ADVANC (ซื้อ 92.25 พื้นฐาน 104): ผู้บริหารของ TOT บอกว่า TOT จะมีการรวบรวมข้อมูลการเจรจากับ ADVANC ในการดำเนิน
แผนการตลาดให้บริการมือถือ 3G ของ TOT โดยจะมีการพิจารณาว่า ADVANC จะสามารถเข้ามามีบทบาทในการเป็นพันธมิตรกับ TOT
ในรูปแบบใดได้บ้าง คาดว่าจะสรุปในสัปดาห์นี้ (Source: ข่าวหุ้น 7 ต.ค.10) ความเห็น: จากการที่การประมูล 3G บนคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 GHz
อย่างเร็วต้องรอไปถึงปี 2012 ผู้ประกอบการมือถือจึงหาทางเพิ่มความสามารถในการให้บริการเพื่อเพิ่มรายได้โดยเฉพาะจากด้านข้อมูลผ่านช่องทาง
ต่างๆ เช่น การ Roaming กับเครือข่าย 3G ของ TOT หรือการเป็น MVNO บริการ 3G บนคลื่น 1900 Mhz ให้ TOT (ที่ล่าสุดครม.อนุมัติให้มีการลงทุน
วงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาทเพื่อขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม 12-15 จังหวัด) ดังเช่น ADVANC ที่มีความได้เปรียบเนื่องจากการเป็นคู่สัมปทานกับ TOT
หากทำได้จะเป็นบวกกับบริษัท อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการสรุปความร่วมมือของ TOT กับ ADVANC ไม่น่าเร็วดังคาด ทั้งนี้ TOT มี MVNO อยู่แล้ว 5 ราย
Capacity ของบริการ 3G ของ TOT ยังมีอยู่จำกัดรองรับเพียงประมาณ 5 แสนราย คำแนะนำ: คง Rating ADVANC “Buy” ในเชิงการเป็น Dividend
Play จากความเป็นไปได้ที่จะจ่ายปันผลพิเศษอย่างน้อยหุ้นละ 3 บาท จากระดับปกติทั้งปีหุ้นละ 6.30 บาท (จ่ายระหว่างกาลไปแล้ว 3 บาท) รวมงวดที่
ครึ่งหลังของปี (ประกาศจ่ายต้นเดือนเม.ย.) มีโอกาสจ่ายอย่างต่ำหุ้นละ 6.30 บาท ที่ราคาปัจจุบัน จะคิดเป็น Dividend yield เกือบ 7% จากทั้งปีระดับ
10% ราคาเป้าหมายปี 11 ที่ 104 บาท
RCL ถึงคิวโชว์พลิกกำไรค่าระวางโตยอดขนส่งพุ่ง RCL ไตรมาส 3 ลุ้นพลิกกำไรรอบ 8 ไตรมาส ปริมาณขนส่งรวม 2 เดือนพุ่งทะลุ 400,000
Teus แถมค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ขาขึ้นช่วยหนุน ด้านวงการชี้ไตรมาส 4 มีสิทธิรับรู้กำไรพิเศษ จากการบันทึกกลับด้อยค่าสินทรัพย์อีก 300-400
ล้านบาท อัพไซด์หุ้นเหลือเกิน 20% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-10-2010)
STEEL ลุยซื้อหุ้นโซล่าเพาเวอร์ คาดทำเทนเดอร์ฯเสร็จปีนี้ ย้ำรายได้ปีนี้โต 15% "STEEL" ลุยเพิ่มทุนซื้อหุ้นโซล่าเพาเวอร์ หลังที่มติผู้ถือหุ้น
ผ่านฉลุย 100% คาดตลท.ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติ 1 เดือน และเดินหน้าทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์เสร็จประมาณปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ด้านผล
ประกอบการครึ่งปีหลังมั่นใจสวย เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้น ย้ำเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 15% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-10-2010)
SCC เล็งสร้างโรงปูนในอินโดฯ ทุ่มงบลงทุน 300 ล้านเหรียญ SCC จ่อเปิดโรงงานปูนซีเมนต์ในอินโดฯ คาดเริ่มสร้างต้นปี 2554 มูลค่าลงทุน
200-300 ล้านเหรียญฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 95% โบรกฯมองผลประกอบการ Q3กำไร 6,350 ล้านบาท ลดลง 9% แต่ลุ้น Q4 ผลประกอบการฟื้น แต่ใน
ระยะยาวสดใส เหตุสัดส่วนรายได้ธุรกิจปิโตรเคมีพุ่ง แนะ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 360 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-10-2010)
CPF เดินหน้า SHE ขยายสู่ฟาร์มสัตว์ต่อยอดอาสาสมัคร นายวีรชัย รัตนบานชื่น รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
จำกัด (มหาชน) หรือ CPF กล่าวภายหลังการมอบประกาศเกียรติคุณและรางวัลพิเศษแก่พนักงานที่ประสบความสำเร็จสร้างชื่อเสียงแก่บริษัทในด้าน
ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (SHE- Safety Health and Environment ) ว่าบริษัทให้ความสำคัญในการดำเนินงาน
ด้าน SHE อย่างยิ่งยวด (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-10-2010)
----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
ข่าวต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ที่แล้วพุ่งเกินคาด 3.09 ล้านบาร์เรล สต็อกเบนซินร่วง 2.65 ล้านบาร์เรล สำนักงาน
สารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ต.ค.พุ่งขึ้น 3.09 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 360.95
ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยับขึ้นเพียง 300,000 บาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 1.12 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ
172.47 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับลงเพียง 900,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 2.65 ล้านบาร์เรล แตะระดับ
219.94 ล้านบาร์เรล มากว่าที่คาดว่าจะลดลงเพียง 200,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง 2.7% มาอยู่ที่ระดับ 83.1% (ที่มา:
อินโฟเควสท์ 07-10-2010)
สหรัฐอเมริกา: ADP เผยภาคเอกชนในสหรัฐลดการจ้างงานลง 39,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ADP Employer Services ซึ่งเป็นบริษัทวิจัย
ด้านตลาดแรงงานในสหรัฐเปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วประเทศสหรัฐลดการจ้างงานลง 39,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.ที่เพิ่มการ
จ้างงาน 10,000 ตำแหน่ง และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าภาคเอกชนจะเพิ่มการจ้างงาน 24,000 ตำแหน่ง การเปิดเผยตัวเลขจ้างงาน
ของ ADP มีขึ้นก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (nonfarm payroll) ประจำเดือนก.ย. ในวันศุกร์นี้ โดย
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานเดือนก.ย.จะทรงตัว (ที่มา: อินโฟเควสท์ 07-10-2010)
สหรัฐอเมริกา: ดอลล์อ่อนค่าเทียบเยนที่ตลาดโตเกียว เหตุนลท.คาดเฟดผ่อนคลายนโยบายการเงิน เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงมาอยู่ต่ำกว่า
ระดับ 83 เยนในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียววันนี้ (6 ต.ค.) โดยสกุลเงินดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่นเข้า
แทรกแซงเงินเยนเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเพิ่มการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ต่อไปอีก (ที่มา: อินโฟเควสท์ 06-10-2010)
เอเชีย: ญี่ปุ่นเผยทุนสำรองต่างประเทศเดือนก.ย.พุ่งสูงสุดที่ $1.109 ล้านล้านหลังรัฐบาลแทรกแซงตลาด FX กระทรวงการคลังญี่ปุ่น
เปิดเผยในวันนี้ว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนก.ย.ของญี่ปุ่นยืนอยู่ที่ระดับ 1.109 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
หลังจากทางการญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปีเพื่อยับยั้งการแข็งค่าของเงินเยน เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา
รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้เข้าแทรกแซงตลาดด้วยการเทขายเงินเยนและซื้อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทุน
สำรองเงินตราต่างประเทศทะยานขึ้น (ที่มา: อินโฟเควสท์ 07-10-2010)
เอเชีย: สิงคโปร์เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.ย.หดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 หนังสือพิมพ์สเตรทไทม์ส ของสิงคโปร์ รายงานว่า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์หดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันหลังทำสถิติเพิ่มขึ้น 15 เดือนติดต่อกัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการ
ผลิต ซึ่งเป็นมาตรวัดการผลิตของโรงงานที่สำคัญ เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 49.5 จุดในเดือนกันยายน ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย 0.1 จุด ในเดือน
สิงหาคม แต่ดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังคงหดตัว (ที่มา: อินโฟเควสท์ 06-10-2010)
เอเชีย: ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเกาหลีใต้ไตรมาส 3 ร่วง 13.1% กระทรวงเศรษฐกิจเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดการลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศในเกาหลีใต้ร่วงลง 13.1% ในไตรมาส 3 ของปีนี้ เมื่อเทียบกับระดับปีที่แล้ว เนื่องจากเงินวอนที่แข็งค่าขึ้น และการชะลอตัว
ของตลาดการลงทุนทั่วโลก มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเกาหลีใต้ไตรมาส 3 อยู่ที่ 2.93 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันในปีที่แล้วที่ 3.37 พันล้านดอลลาร์ ส่วนยอดการลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 7.26 พันล้านดอลลาร์ ลดลงไป 9.4%
จากระดับปีที่แล้ว (ที่มา: อินโฟเควสท์ 06-10-2010)

----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น