Code 450 : 12/07/54 มีโอกาสที่จะหลุดแนวรับ EMA5 เป็น Sell Signal ได้... มี Target ที่ EMA10 หรือ 1065...

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2554
ATT Code : มีโอกาสที่จะหลุดแนวรับ EMA5 เป็น Sell Signal ได้... มี Target ที่ EMA10 หรือ 1065...

-คาดว่าวันนี้จะมีการแกว่งตัวอยู่ในกรอบนี้
กรอบเล็ก : 1070 - 1082
กรอบใหญ่ : 1065 - 1090

* ระยะ Day >>> ย่อลงมาอยู่ที่แนวรับ EMA5 หรือที่ 1077...
* ระยะ Week >>> ยังอยู่ในเขต Bull Market.... ขึ้นมาอยู่เหนือ BBA.... SETI มีกรอบอยู่ที่ 1050 - 1120... รอ Main Indicators เป็น Buy Signal...
* ระยะ Month >>> Bull Market.. SETI อยู่ในกรอบ BBT - EMA10... หรือที่ 1053 - 1180...

*** แนวโน้มหลัก : ฺBull market... Sideway ในกรอบ 1070 - 1097...***
* SETI ถ้าหลุด EMA5 ก็จะเป็น Sell Signal ไม้แรก...
* SETI อยู่ใน Trading Range ของ BBA กับ BBT...
* Chart Pattern เป็นลักษณะ SideWay...

---------------------------------------------------------------------------
1. เข้าที่...
วันจันทร์ SETI ปิดที่ 101077.24 จุด -11.22จุด... Volume 29,355 MB...
- SETI ถูกกดกันจากข่าวของอิตาลี ทำให้ปิดตำ่กว่าราคาเปิดของวันก่อน.... แนวโน้มจะลงได้อีก...
- EMA5 อยู่เหนือกว่า EMA10 อยู่...
- CandleStick = White Candle เป็นลักษณะ SideWay Up...

- Main Indicators... Up Trend & Bull Market & strong... แต่ทุกตัวมีค่าต่ำลง ส่งสัญญาณกลับตัวได้...
1. MacD... MacD Still higher than Signal Line = Up Trend... & Bull Market (MACD above Zero Line)... แต่ MACD OSC มีค่าต่ำลง... ดูไม่ค่อยดี...
2. SSTO... ฺี%K Still higher than %D = Up Trend... & Strong (Above 50)... %K above 80 ขึ้นมาอยู่นเขต OB เล็กน้อย...
3. RSI... RSI above MAV9 = Up Trend... & Strong (Above 50)... แต่เริ่มอ่อนค่าลงแล้ว

- Minor Indicators... กลับมามีสัญญาณลบอีกครั้ง...
1. %R... เป็น Buy Signal... ตัด -10 ลงมา...
2. CCI... Bull Market... ต่ำลงมาเรื่อยๆ...
3. ADX... ยังคง Up Trend (DI+ Above DI-)... ต่ำลงมาเรื่อยๆ...
----------------------------------------------------------------------------
2. ระวัง...
- ระวังถ้าดัชนีหลุดแนวรับที่ EMA5 ก็จะลงมาที่เป้าหมายที่ EMA10ได้...

-----------------------------------------------------------------------------

3. ไป...
แนวโน้มวันนี้ >>> มีโอกาสที่จะหลุดแนวรับ EMA5 เป็น Sell Signal ได้... มี Target ที่ EMA10 หรือ 1065...

- สัญญาณลบ >>> ถ้าดัชนีไม่สามารถยืนเหนือ EMA5 หรือ 1077 ได้.... แล้วลงมาต่ำกว่า 1070 ก้จะเป็น Sell Signal ไม้แรก โดยมี Target ที่ EMA10 หรือ 1065 ได้...

- สัญญาณบวก >>> ถ้าดัชนีสามารถยืนเหนือ 1077 ได้...แล้วดัชนีผ่าน 1082 ขึ้นมา ก็จะมีเป็นหมายที่ 1090 จุด...

-----------------------------------------------------------------------------
แนวรับ : 1070 / 1077 / 1065
แนวต้าน : 1082 / 1085 / 1090



-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
12 กค. 54 (-11.22 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ต่ำกว่า 1069.88 ปรับตัวลง 1035 – 40จุด
การปรับตัวลง ต่ำกว่า 1069.88 จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้ว จะทำให้เกิด “สัญญาณขาย”ในเครื่องมือ Point & Figure

และ ดัชนีมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลงต่อแถว 1035 – 40 จุด ใกล้เส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน(กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้น ไม่ช้าก็เร็ว)

แม้ว่าบริเวณ 1035 – 40 จุด จะเป็นบริเวณแนวรับตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25วันและ 25 สัปดาห์ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าดัชนีจะดีดตัวขึ้นได้ ... รอดูโครงสร้างภาพอีกครั้ง

หุ้นเด่น
BWG
ปรับตัวทะลุกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะวันขึ้นมาได้ รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 1.67จุดสูงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เป้าหมายระยะสัปดาห์ 1.80 – 1.85( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 1.63 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTT ไม่เกิน 335 ลง 323 – 325
BBL ไม่เกิน 166 ลง 155 - 158
PTTCH ต่ำกว่า 158.50 ลง 154 – 155
TOP ไม่เกิน 74 ลง 70 – 71
KBANK ไม่เกิน 129 ลง 118 - 123
SCB ไม่เกิน 119 ลง 115.50 – 116
CPALL ต่ำกว่า 46.25 ลง 44 – 45
ADVANC ไม่ต่ำกว่า 109 ขึ้น 113 - 114
BANPU ต่ำกว่า 712 ลง 690 – 700
KTB ต่ำกว่า 19.50 ลง 18.20 – 18.90
-----------------------------------------------------------------------------

xBT> ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโรร่วงจากวิตกวิกฤติหนี้ลามอิตาลี นิวยอร์ค--11 ก.ค.--รอยเตอร์

ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆในวันจันทร์ และอาจปรับตัวลงต่อจากความวิตกที่เพิ่มขึ้นว่า วิกฤติหนี้ยุโรปอาจลุกลามไปยังอิตาลีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของยุโรป

ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 80.240 เยน เทียบกับระดับปิดวันศุกร์ที่ 80.620 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4012 ดอลลาร์และ 112.48 เยน เทียบกับระดับปิดวันศุกร์ที่ 1.4267 ดอลลาร์และ 115.00 เยน

เจ้าหน้าที่ด้านการคลังของสหภาพยุโรป (อียู) เผชิญความยากลำบากในการแก้ไขวิกฤติหนี้กรีซ ขณะที่มีความวิตกมากขึ้นว่าปัญหาจะลุกลามไปยังอิตาลี

ยูโรแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับเยน และต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์

หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานว่า ผู้นำยุโรปบางรายจะพิจารณาปล่อยให้กรีซผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรบางส่วน ซึ่งเพิ่มความวิตกให้กับตลาด

ด้านนายโลเรนโซ บินี สมากิ กรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรปกล่าวในการแถลงข่าวว่า อิตาลีมีความสามารถที่จะชำระหนี้ และจะไม่ผิดนัดชำระหนี้

อิตาลีมีอัตราส่วนหนี้ต่อการผลิตสูงที่สุดอันดับสองในยูโรโซนรองจากกรีซ

อียูจะเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติธนาคารในวันศุกร์นี้

ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนและฟรังก์สวิส ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 1.2% สู่ 76.042

ความเสี่ยงที่สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้หากไม่สามารถเพิ่มเพดานการก่อหนี้นั้น จะสกัดกั้นการปรับตัวขึ้นของดอลลาร์

xBT> ตลาดน้ำมันลอนดอน:วิตกอุปสงค์ลดฉุดราคาปิดร่วงเกือบ 1%

ลอนดอน--11 ก.ค.--รอยเตอร์

สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาดลอนดอนปิดร่วงลงเกือบ 1% ในวันจันทร์ โดยปรับตัวลงเป็นวันที่สองติดต่อกันจากความวิตกครั้งใหม่เกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์ ขณะที่วิกฤติหนี้ยูโรโซนขยายตัวและการนำเข้าน้ำมันของจีนลดลงในเดือนมิ.ย.

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดร่วง 1.09 ดอลลาร์หรือ 0.92% สู่ 117.24 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังปรับตัวในช่วง 115.22-118.40 ดอลลาร์ หลังร่วงลงรวม 1.35 ดอลลาร์หรือ 1.14% ในช่วง 2 วันซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดเมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์นับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.ซึ่งราคาดิ่งลงเกือบ 8%

----------------------------------------------------------------------------

DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:วิตกปัญหาหนี้ยุโรปลามกดดาวโจนส์ปิดร่วง 1.2%

ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงรุนแรงที่สุดในรอบ 1 เดือนในวันจันทร์ ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับภาวะชะงักงันในการเจรจาเรื่องงบประมาณของสหรัฐ และปัญหาหนี้ที่เพิ่มขึ้นในยูโรโซนกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าประกันความเสี่ยงต่อการขาดทุน

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วง 151.44 จุดหรือ 1.20%สู่ 12,505.76, ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 24.31 จุดหรือ 1.81% สู่ 1,319.49และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 57.19 จุดหรือ 2.00% สู่ 2,802.62

ดัชนี S&P 500 อยู่ใกล้เส้นค่าเฉลี่ยรอบ 100 และ 50 วัน ซึ่งอยู่ที่ราว1,316

ปริมาณการซื้อขายยังคงเบาบางราว 6.55 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค,ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งต่ำกว่าระดับเฉลี่ยต่อวันของปีที่แล้วที่ 8.47 พันล้านหุ้น โดยมีจำนวนหุ้นลบนำหน้าหุ้นบวกราว 6 ต่อ 1 ในตลาดนิวยอร์คและ 5 ต่อ 1 ในตลาด Nasdaq

ดัชนี S&P 500 ร่วงลงเกือบ 2% จากความวิตกที่ว่า วิกฤติหนี้ยุโรปจะลุกลามไปยังอิตาลี ขณะที่เจ้าหน้าที่ยุโรปยังคงเผชิญความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาด้านการคลังของกรีซ

ตลาดต่างๆของอิตาลีได้ถูกกดดันจากความวิตกเกี่ยวกับภาคธนาคารของอิตาลี

ปัญหาของยูโรโซนเพิ่มความไม่แน่นอนต่อตลาดหลังจากที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้วจากรายงานการจ้างงานที่อ่อนแอเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ดัชนีความผันผวน (VIX) พุ่งขึ้น 15.3%

ตลาดยังได้รับผลกระทบจากการที่ไม่มีความคืบหน้าในการทำข้อตกลงเรื่องภาษีระหว่างประธานาธิบดีบารัค โอบามากับสมาชิกสภาคองเกรสพรรครีพับลิกันเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

หุ้นกลุ่มการเงินและหุ้นกลุ่มอื่นๆที่อ่อนไหวต่อเศรษฐกิจนำตลาดปรับตัวลง

ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลง และต้นทุนการประกันหนี้ของอิตาลีพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการลุกลามของปัญหาในตลาดหนี้ยุโรปและมีข่าวว่า ผู้นำสหภาพยุโรปบางรายกำลังพิจารณาอนุญาตให้กรีซผิดนัดชำระหนี้

บางส่วน--จบ--

ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:กังวลยูโรโซนกดน้ำมันดิบรูดลง 1.05 ดอลล์

ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงเป็นวันที่สองติดต่อกันในวันจันทร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องการชะลอตัวของอุปสงค์ ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าวิกฤติหนี้ยูโรโซนอาจกระทบอิตาลี และจีนลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลงในเดือนมิ.ย.

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนส.ค.รูดลง 1.05 ดอลลาร์ หรือ 1.09 % มาปิดตลาดที่ 95.15 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 94.14-96.75ดอลลาร์ โดยระดับปิดวันจันทร์ถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ปิดที่ 94.94 ดอลลาร์ในวันที่ 1 ก.ค.

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนดิ่งลง 1.09ดอลลาร์ หรือ 0.92 % สู่ 117.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ศุลกากรจีนเปิดเผยในวันอาทิตย์ว่า จีนนำเข้าน้ำมันดิบ 19.7 ล้านตันในเดือนมิ.ย. โดยลดลง 8.6 % จากเดือนพ.ค. ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันอยู่ที่ 3.4 ล้านตันในเดือนมิ.ย. โดยเพิ่มขึ้น 0.3 % จากเดือนพ.ค. ทั้งนี้ ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง 11.5 % จากช่วงเดียวกันในปีก่อน

ความกังวลเรื่องหนี้ยูโรโซนหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร และกระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมา

เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐกล่าวกับรอยเตอร์ว่า กระทรวงพลังงานสหรัฐจะพยายามระบายน้ำมัน 7 ล้านบาร์เรลออกจากคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ (SPR)ในเดือนก.ค. และจะระบายน้ำมันอีก 23 ล้านบาร์เรลออกจากคลังสำรองในเดือนส.ค.

สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ก.ค.ในวันพุธ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจลดลง 2 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล,สต็อกน้ำมันเบนซินอาจเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจเพิ่มขึ้น 0.2 %--จบ--

ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:กังวลยูโรโซนหนุนราคาทองปรับขึ้น

ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปิดปรับขึ้นในวันจันทร์ ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเนื่องจากกังวลว่าวิกฤติหนี้ยูโรโซนอาจลุกลามเข้าสู่อิตาลี

ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.เคลื่อนตัวในช่วง 1,542.10-1,557.60 ดอลลาร์

ราคาโลหะเงินในตลาดสปอตดิ่งลง 2.5 % สู่ 35.74 ดอลลาร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า นักลงทุนปรับลดการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่อิตาลีอาจได้รับความเสียหายจากวิกฤติหนี้

ราคาทองขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในวันจันทร์ในรูปของยูโรและปอนด์ โดยราคาทองขึ้นไปแตะระดับสูงกว่า 1,110.48 ยูโร/ออนซ์ และขึ้นไปแตะ 979.89 ปอนด์/ออนซ์

สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันจันทร์มีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

ทองเดือนส.ค. 1,549.20 + 7.60

เงินเดือนก.ย. 35.698 - 84.50 (เซนต์)

ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันจันทร์มีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,728.30 - 5.10

พัลลาเดียมเดือนก.ย. 767.45 - 11.50 --จบ--

ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโรร่วงจากวิตกวิกฤติหนี้ลามอิตาลี

ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆในวันจันทร์ และอาจปรับตัวลงต่อจากความวิตกที่เพิ่มขึ้นว่า วิกฤติหนี้ยุโรปอาจลุกลามไปยังอิตาลีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของยุโรป

ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 80.240 เยน เทียบกับระดับปิดวันศุกร์ที่ 80.620 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4012 ดอลลาร์และ 112.48 เยน เทียบกับระดับปิดวันศุกร์ที่ 1.4267 ดอลลาร์และ 115.00 เยน

เจ้าหน้าที่ด้านการคลังของสหภาพยุโรป (อียู) เผชิญความยากลำบากในการแก้ไขวิกฤติหนี้กรีซ ขณะที่มีความวิตกมากขึ้นว่าปัญหาจะลุกลามไปยังอิตาลี

ยูโรแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเทียบกับเยน และต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์

หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สรายงานว่า ผู้นำยุโรปบางรายจะพิจารณาปล่อยให้กรีซผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรบางส่วน ซึ่งเพิ่มความวิตกให้กับตลาด

ด้านนายโลเรนโซ บินี สมากิ กรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรปกล่าวในการแถลงข่าวว่า อิตาลีมีความสามารถที่จะชำระหนี้ และจะไม่ผิดนัดชำระหนี้

อิตาลีมีอัตราส่วนหนี้ต่อการผลิตสูงที่สุดอันดับสองในยูโรโซนรองจากกรีซ

อียูจะเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติธนาคารในวันศุกร์นี้

ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนและฟรังก์สวิส ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 1.2% สู่ 76.042

ความเสี่ยงที่สหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้หากไม่สามารถเพิ่มเพดานการก่อหนี้นั้น จะสกัดกั้นการปรับตัวขึ้นของดอลลาร์

ตลาดเงิน Emerging Asia:บาทนำสกุลเงินเอเชียอ่อนค่าจากแรงซื้อคืนดอลล์

บาทนำสกุลเงินเอเชียร่วงลงในวันนี้จากคำสั่งซื้อคืนดอลลาร์ของเทรดเดอร์อินเตอร์แบงก์ แม้ว่าความวิตกทางการเมืองได้ผ่อนคลายลง และการคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ได้เป็นปัจจัยหนุนค่าเงิน

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าธปท.อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธนี้ ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซีย และธนาคารกลางเกาหลีจะคงอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้

"เนื่องจากไทยยังคงดำเนินวงจรการคุมเข้มนโยบายต่อไป นี่จะเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินบาทมากขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศอื่น ซึ่งได้ชะลอหรือยุติวงจรคุมเข้มนโยบายแล้ว แต่ก็มีปัจจัยอื่นอีกหลายตัวด้วย ทั้งกระแสเงินทุน, อุปสงค์, สถานการณ์ในประเทศ" นายโจว เพน นี นักเศรษฐศาสตร์จากยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์กล่าว

บาท ซึ่งเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่าลงมากที่สุดในภูมิภาคในปีนี้ ได้ฟื้นตัวขึ้น และแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในสัปดาห์ที่แล้ว หลังผลการเลือกตั้งได้คลายความวิตกเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ

บาทปรับตัวย่ำแย่กว่าสกุลเงินอื่นในเดือนพ.ค.และมิ.ย.ที่ผ่านมา แต่มีโอกาสที่จะแข็งค่ามากกว่าในระยะใกล้เมื่อเทียบกับดอลลาร์สิงคโปร์ และรูเปียห์ ซึ่งแข็งค่ามากกว่าบาทในปีนี้

ดีลเลอร์และนักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า หลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้และอินโดนีเซียอาจจะสามารถดึงดูดเงินทุนมากกว่าไทย ขณะที่นักลงทุนในระยะยาวยังไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะลงทุนครั้งใหม่ในไทย แต่นักลงทุนระยะสั้นก็ต้องการเข้าซื้อ

บาทอ่อนค่าลง แต่ธนาคารต่างประเทศยังคงเข้าซื้อบาท ซึ่งช่วยจำกัดผลกระทบจากแรงซื้อคืนดอลลาร์

สัญญาณทางเทคนิคบ่งชี้ว่าบาท/ดอลลาร์จะปรับตัวแข็งแกร่งต่อไป

เทรดเดอร์อีกรายในกรุงเทพกล่าวว่า บาทอาจเผชิญกับแรงกดดันในระยะใกล้จากคำสั่งซื้อคืนดอลลาร์ แต่เขาก็มีความเห็นแง่บวกในระยะยาว และระบุว่า "เป้าหมายยังคงอยู่ที่ระดับ 30.00"

คาดว่าบาทจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินในเอเชีย อาทิ ดอลลาร์สิงคโปร์, รูเปียห์ และวอน

เปโซร่วงลง ขณะที่กลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์เข้าซื้อคืนดอลลาร์

วอนอ่อนค่าลง แต่ก็ฟื้นตัวขึ้นได้โดยส่วนใหญ่จากการร่วงลงในช่วงเช้านี้ จากอุปสงค์ที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนที่ไหลเข้าสู่หุ้นและพันธบัตรของเกาหลีใต้

ส่วนดอลลาร์สิงคโปร์ฟื้นตัวขึ้นจากการร่วงลงในช่วงแรกจากข่าวที่ว่าบริษัทเนสท์เล่ ซึ่งเป็นบริษัทอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้เสนอซื้อหุ้น 60% ในซู ฟู ชิ อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นบริษัทผลิตลูกอมและขนมหวานของจีน ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ด้วยเม็ดเงิน 1.7 พันล้านดอลลาร์

ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดลบ 12 จุด สู่ 1437

ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (11 ก.ค.) ลบ 12 จุด หรือ 0.83% สู่ระดับ 1437

ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554

ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-

วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)

8 ก.ค. 1449 -4

7 ก.ค. 1453 +10

6 ก.ค. 1443 +15

5 ก.ค. 1428 +9

4 ก.ค. 1419 -3

12-07-54>> แนวโน้มขาขึ้น... SETI ปรับตัวลดลง แต่ยังสามารถปิดเหนือแนวรับบริเวณ 1070 จุดและเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้นได้ประกอบกับ MACD และ Modified Stochastic ให้ค่าสัญญาณบวก จึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นต่อไปดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ซื้อ"



MINT ปิด 12.20 บาท
แท่งเทียนมีสีขาวเต็มแท่ง และสามารถปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย
ได้ทุกเส้นรวมทั้ง Indicators ทุกตัวให้สัญญาณเป็นบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้นแนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 12.50-12.90 บาท แนวรับที่ 11.90-11.70บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 11.50 บาท



SAT ปิด 25.25 บาท
ปิดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นและแท่งเ
ทียนมีสีขาว รวมทั้ง Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 26.50-27.00 บาท แนวรับที่ 24.80-24.60บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 24.50 บาท


TOP ปิด 72.50 บาท
แท่งเทียนมีสีดำ และปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะ
สั้นทุกเส้น ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณเป็นลบ แนวโน้มปรับตัวลงต่อแนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 73.00-74.00 บาท แนวรับที่ 70.00-68.00
บาท


UEC ปิด 3.08 บาท
แท่งเทียนมีสีดำยาวเต็มแท่ง และปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทุกเ
ส้นแนวโน้มปรับตัวลงต่อแนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 3.12-3.16 บาท แนวรับที่ 2.98-2.90 บาท

----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น