Code 461 : 28/07/54 มีโอกาสทำ New High ขึ้นมาเรื่อยๆ... มี Target ที่ 1133 - 1138...

วันพฤหัสที่ 28 กรกฎาคม 2554
ATT Code : มีโอกาสทำ New High ขึ้นมาเรื่อยๆ... มี Target ที่ 1133 - 1138...

กรอบเล็ก... Range อยู่ที่ 1124 - 1132...
กรอบใหญ่...
Range อยู่ที่ 1107 - 1144...

* ระยะ Day >>> Lower Low and Higher High... ยกฐานขึ้นตลอด...

* ระยะ Week 125- 27 ก.ค. 54 >>> เป็น Buy Signal in Bull Market
- SETI อยู่ระหว่าง BBA กับ BBT...
- UpTrend = MacD crossover Signal Line...
- MacD Osc ขึ้นมาเป็นบวกมากขึ้น....
- Main Indicators ทุกตัวเป็น Buy Signal...
- กรอบเล็ก Range อยู่ที่ 1097 - 1128...
- กรอบใหญ่ Range อยู่ที่ 1080 - 1150...

* ระยะ Month 1-31 ก.ค. 54 >>> SETI เป็นลักษณะ Sideway in UpTrend..
- กรอบเล็ก Range อยู่ที่ 1016 - 1133
- กรอบใหญ่ Range อยู่ทีี่ EMA10 - BBT... หรือที่ 998 - 1182...

---------------------------------------------------------------------------
*** แนวโน้มหลัก : ฺBull market... Up Trend in Range 1120 - 1144...***
* SETI ขึ้นผ่านแนวต้านที่ 1128 ขึ้นมา แล้วมาปิดที่ 1130.71 ก็จะมี Targe ที่ 1138 / 1142 / 1144...
* SETI อยู่ใน Trading Range ของ EMA5 กับ BBT...

1. เข้าที่...
วันพุธ SETI ปิดที่ 1130.71 จุด +9.08 จุด... Volume 31,517 MB...
- SETI ขึ้นผ่านแนวต้านที่ 1128 ขึ้นมา แล้วมาปิดที่ 1130.71
- SETI อยู่แหนือ EMA5 ได้ เป็น Up Trend... และ EMA5 ยังอยู่เหนือกว่า EMA10 อยู่...
โดยถือว่า EMA5 เป็นแนวรับที่สำคัญ...
(ถ้า EMA5 ตัด EMA10 ลงมา... ก็จะเป็น Dead Cross = Down Trend)
- Chart Pattern เป็นลักษณะ White Candle... Strong...

- Main Indicators... กลับมามีสัญญาณบวก... มีค่าเพิ่มขึ้น...
แต่ MACD Osc.. ยังมีค่าลดลงเป็นวันที่ 2 แล้ว.. ส่วน Indy ตัวอื่นยังมีค่าเพิ่มขึ้นมา...
ระวัง MACD cross Signal ขึ้นมาเท่านั้น... ถ้ายังไม่เกิดยังไม่เป็นไร...
SSTO อยู่ในเขต Overbought แต่ยังไม่เกิดสัญญาณขาย Sell Signal ขึ้นมา...

- Minor Indicators... กลับมามีค่าเพิ่มขึ้นทุกตัว....

----------------------------------------------------------------------------
2. ระวัง...
- ระวังถ้าดัชนีต่ำกว่า 1130... ก็มีโอกาสที่จะลงไปสู่ 1124ได้...

-----------------------------------------------------------------------------

3. ไป...
- แนวโน้มวันนี้ >>> มีโอกาสทำ New High ขึ้นมาเรื่อยๆ... มี Target ที่ 1133 - 1138...

- สัญญาณบวก >>> ถ้าดัชนีสามารถปรับตัวสูงขึ้น แล้วไม่ย้อนกลับลงมาต่ำกว่า 1130... ก็มีโอกาสที่จะขึ้นไปทดสอบที่ 1133 ได้อีกครั้ง
*** ถ้าผ่าน 1133 ไปได้ ก็จะเป็นสัญญาณที่ดี ที่มีโอกาสที่จะขึ้นไปทดสอบ Target ที่ 1138 ได้...

- สัญญาณลบ >>> แต่ถ้าดัชนีลงมาต่ำกว่า 1130 ลงมา... ก็มีโอกาสที่จะลงมาที่เป้าหมายที่ 1124 ได้...
*** ถ้าหลุด 1124 ลงมา ก็จะเกิด Sell Signal... โดยมีเป้าหมายลงมาที่ 1120 EMA10 / 1115...

----------------------------------------------------------------------------
แนวรับ... 1124 / 1120 / 1107...
แนวต้าน... 1132 /1138 / 1142 / 1144...


-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
28 กค. 54 (+9.08 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

เกิน 1132 ขึ้นต่อ 1145 - 55 จุด
แนวโน้มในวันพฤหัสนี้ ถ้าปรับตัวขึ้นเกิน 1132 จุด จะเกิด “สัญญาณซื้อ” ในเครื่องมือ Point & Figure ดัชนีสามารถขึ้นต่อได้แถว 1145 – 55 จุด ... ก่อนที่จะปรับตัวลงแถว 1100 – 10 จุด ต่อไป

อย่างไรก็ตามจากสัญญาณ StochasticOverbought ในภาพระยะวัน ดัชนีพร้อมปรับตัวลงทุกเมื่อ โดยเฉพาะการปรับตัวลงต่ำกว่า 1119.16 จุดต่ำสุดวันอังคารและเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง ดัชนีมีโอกาสปรับตัวลงแถว 1100 - 10 ใกล้จุดต่ำสุดของวันพฤหัส

หุ้นเด่น
THCOM
ปรับตัวทะลุกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะวันขึ้นมาได้ ทยอยซื้อแถว 10.50 – 10.70 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 10.80 จุดสูงสุดวันพุธ เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 11.20 – 12.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 10.40 )

ESSO
ยังสามารถปรับตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25ชั่วโมงได้ ทยอยซื้อแถว 11.90 – 12.10 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 12.30 จุดสูงสุดวันพุธ เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 12.80 – 13.10( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 11.80 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
SCB ต่ำกว่า 125 ลง 122 - 123
CPF เกิน 31.25 ขึ้น 32 – 32.50
KBANK ไม่เกิน 141.50 ลง 133 - 135
PTT ไม่เกิน 354 ลง 342 – 347
PTTCH ไม่ต่ำกว่า 162 ขึ้น 167 – 171
ESSO รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
BBL ต่ำกว่า 173 ลง 168 - 170
PTTAR ไม่ต่ำกว่า 41.75 ขึ้น 43 – 44.50
PAE เกิน 1.58 ลง 1.40 – 1.50
BCP เกิน 22.70 ขึ้น 22.90 – 23.20

-----------------------------------------------------------------------------

xBT> USA:"รอยเตอร์"วิเคราะห์ทางเลือก"โอบามา" หากไม่สามารถปรับเพิ่มเพดานหนี้

วอชิงตัน--28 ก.ค.--รอยเตอร์

ถ้าหากทำเนียบขาวและสภาคองเกรสสหรัฐไม่สามารถบรรลุข้อตกลงปรับเพิ่ม

เพดานหนี้ภายในวันอังคารหน้า ประธานาธิบดีบารัค โอบามาก็จำเป็นต้องตัดสินใจว่า

เขาจะเลือกใช้วิธีการใดในการจัดการต่อวิกฤตการณ์ครั้งนี้

ทั้งนี้ มีโอกาสมากยิ่งขึ้นที่สหรัฐจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือและผิดนัด

ชำระหนี้ ในขณะที่พรรคเดโมแครตของปธน.โอบามาและพรรครีพับลิกันต่างก็หาทาง

ผลักดันแผนการของตนเองในการปรับลดงบใช้จ่ายและปรับเพิ่มเพดานหนี้

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐ และทีมงานผู้ช่วยของเขาได้วางแผน

รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ถ้าหากสภาคองเกรสไม่เพิ่มอำนาจการกู้ยืมของรัฐบาล

สหรัฐภายในเส้นตายวันที่ 2 ส.ค.

เจ้าหน้าที่กล่าวเมื่อวานนี้ว่า กระทรวงการคลังสหรัฐจะเปิดเผยแผนการ

ดังกล่าวในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งเป็นแผนการที่ระบุว่ารัฐบาลจะดำเนินงานเช่นใด

ถ้าหากสภาคองเกรสไม่ได้ปรับเพิ่มเพดานหนี้ก่อนเส้นตาย

ฝ่ายบริหารของปธน.โอบามาแทบไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใดๆเกี่ยวกับแผนการ

ดังกล่าว และผู้เชี่ยวชาญในภาคเอกชนก็แสดงความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องที่ว่าทางเลือก

บางอย่างสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงหรือไม่ เนื่องจากมีความซับซ้อนสูงและอาจก่อให้

เกิดผลเสียทางการเมือง

ถึงแม้รัฐบาลสหรัฐนำทางเลือกบางอย่างมาใช้ แต่ปัญหาหนี้ที่ค้างคาอยู่ก็จะ

ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดการเงิน โดยจะทำให้ดอลลาร์ร่วงลง, อัตรา

ดอกเบี้ย สหรัฐพุ่งขึ้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ

ต่อไปนี้เป็นมาตรการที่ปธน.โอบามาอาจนำมาพิจารณาใช้ หากไม่สามารถ

บรรลุข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้:-

*การขายสินทรัพย์

กระทรวงการคลังสหรัฐอาจพิจารณาขายสินทรัพย์บางรายการของรัฐบาล

ซึ่งรวมถึงทองและหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) แต่เจ้าหน้าที่

สหรัฐกล่าวว่าทางเลือกนี้มีข้อเสียที่สำคัญ เนื่องจากทำให้ประชาคมโลกมองว่าสหรัฐ

ประสบความยากลำบากในการทำตามภาระผูกพัน นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐยังกล่าวว่า

รัฐบาลอาจจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำมาก และการขายสินทรัพย์นี้อาจช่วย

ต่อเวลาให้รัฐบาลได้ไม่นานนัก

*บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 14 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ

นักกฎหมายบางรายระบุว่าปธน.โอบามาอาจมีไพ่ตายอยู่ในมือ โดยเขา

อาจอ้างวรรคหนึ่งในบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 14 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐที่ระบุว่า

หนี้ของรัฐบาลสหรัฐ "จะต้องไม่ถูกตั้งข้อสงสัย"

นักกฎหมายกลุ่มนี้ระบุว่า วรรคดังกล่าวให้สิทธิแก่ปธน.โอบามาในการ

ปรับเพิ่มเพดานหนี้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านสภาคองเกรส

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายคนอื่นๆเชื่อว่า ปธน.โอบามาไม่มี

อำนาจในการเพิกเฉยต่อเพดานหนี้ที่กำหนดโดยสภาคองเกรส ขณะที่เจ้าหน้าที่

รัฐบาลสหรัฐบางคนกล่าวว่า วรรคดังกล่าวในบทบัญญัติที่ 14 ไม่ใช่ทางออกของ

ปัญหานี้

ปธน.โอบามากล่าวในวันศุกร์ว่า ทนายความของทำเนียบขาวได้สำรวจ

ทางเลือกนี้แล้ว และไม่เชื่อว่าทางเลือกนี้จะช่วยได้

นายไกธ์เนอร์กล่าวในวันอาทิตย์ว่า การทำงานโดยไม่ผ่านสภาคองเกรส

"ไม่ใช่ ทางเลือกที่ใช้ได้จริง" ในการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้

ในวันอังคารที่ผ่านมา นายเจย์ คาร์นีย์ ซึ่งเป็นโฆษกของปธน.โอบามา

ได้กล่าวปฏิเสธการใช้บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้ โดยเขากล่าวว่า "รัฐธรรมนญูระบุ

ไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่มีอำนาจในการกู้เงินคือสภาคองเกรส ไม่ใช่ประธานาธิบดี

และมีเพียงสภาคองเกรสเท่านั้นที่สามารถปรับเพิ่มเพดานหนี้ตามกฎหมาย"

*การจัดลำดับความสำคัญในการชำระเงิน

ถ้าหากกระทรวงการคลังตัดสินใจว่าการขายสินทรัพย์และการอ้างบทบัญญัติ

แก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 14 ไม่ใช่ทางเลือกที่ใช้ได้จริง กระทรวงการคลังก็อาจพิจารณา

เรื่องการชะลอเวลาในการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับสวัสดิการ, พนักงานภาครัฐ, ผู้รับเหมา

ภายนอก หรือคู่สัญญาอื่นๆ เพื่อเป็นการรับประกันว่ากระทรวงการคลังจะมีเงินสดอยู่ใน

มือเพื่อใช้ในการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ของทางกระทรวง

ศูนย์นโยบายของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันคาดว่า กระทรวงการคลัง

จะมีรายได้ 1.72 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค. ซึ่งหากรัฐบาลไม่กู้เงินใหม่ รายได้

ดังกล่าวจะสามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้เพียง 45 % ของรายการที่รัฐบาลสหรัฐต้อง

ชำระทั้งหมด 3.06 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนส.ค.

สมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนเสนอแนะว่า กระทรวงการคลังสามารถรับมือ

กับการผิดนัดชำระหนี้ โดยใช้วิธีปิดการให้บริการของรัฐบาลในหลายหน่วยงาน และ

ให้ความสำคัญกับการชำระหนี้เป็นลำดับแรก ขณะที่นายไกธ์เนอร์ระบุว่าวิธีการนี้

ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง

ถ้าหากการเจรจากับผู้นำสภาคองเกรสเรื่องเพดานหนี้ประสบความล้มเหลว

ปธน.โอบามาก็จะต้องตัดสินใจว่าเขาจะทำเช่นใดต่อกำหนดการของรัฐบาลสหรัฐในการ

จ่ายเงินสวัสดิการสังคม 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ในวันที่ 3 ส.ค.

ปธน.โอบามาเคยกล่าวเตือนว่า การจ่ายเงินสวัสดิการสังคมเผชิญกับความเสี่ยง

ถ้าหากไม่มีการปรับขึ้นเพดานหนี้

รัฐบาลสหรัฐจ่ายเงินสวัสดิการสังคม 80 ล้านรายการต่อเดือน และรัฐบาล

จะประสบความยุ่งยากในการปรับเปลี่ยนกำหนดวันจ่ายเงินเหล่านี้ เนื่องจากการจ่ายเงิน

ดังกล่าวกระทำผ่านทางโปรแกรมอัตโนมัติ ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ใหม่

*การขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่การเงินกำลังประสานงานกันอย่างใกล้ชิดในการแก้ไข

ปัญหาหนี้ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายไกธ์เนอร์ได้ประชุมกับนายเบน เบอร์นันเก้ ประธาน

เฟด และนายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ค

นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวต่อรอยเตอร์ว่า

เฟด ซึ่งทำงานเป็นโบรกเกอร์ของกระทรวงการคลังในตลาดการเงิน ไม่สามารถกู้เงิน

ในฐานะตัวแทนของกระทรวงการคลังได้ เพราะการกระทำดังกล่าวจะถือว่าเป็นการ

ดำเนินนโยบายการคลัง ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตภาระหน้าที่ของเฟด

อย่างไรก็ดี เฟดจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาทางการดำเนินงานบางประการ

เนื่องจากเฟดมีหน้าที่ชำระบัญชีให้กับเช็คที่สั่งจ่ายโดยรัฐบาลให้กับบุคคลต่างๆ

ซึ่งรวมถึง

ผู้รับสวัสดิการสังคมและข้าราชการ

นายพลอสเซอร์กล่าวว่า ประเด็นที่ต้องได้รับการพิจารณารวมถึงประเด็นที่ว่า

เฟดจะชำระบัญชีให้กับเช็ครายการใดบ้างของรัฐบาล

เนื่องจากเฟดสาขานิวยอร์คติดต่อกับตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด เฟดจึงมีบทบาท

สำคัญในการสอดส่องดูปฏิกิริยาในตลาดถ้าหากมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ

หรือมีการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ โดยเฟดเคยดำเนินบทบาทเช่นนี้มาแล้วในช่วงที่เกิด

วิกฤติการเงินปี 2008 หลังการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส--จบ--

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)

((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 0-2648-9741;

Reuters Messaging: jit.phokaew.reuters.com@reuters.net))

-----------------------------------------------------------------------------

DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ผลประกอบการซบเซากดดาวโจนส์ดิ่งลง 1.59%

ตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 8 สัปดาห์ในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการภาคเอกชนที่อ่อนแอ, จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา และจากการที่สหรัฐไม่ประสบความก้าวหน้าในการปรับขึ้นเพดานหนี้ขณะที่ใกล้จะถึงเส้นตายในวันที่ 2 ส.ค.

ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 198.75 จุด หรือ 1.59 %สู่ 12,302.55, ดัชนี S&P 500 ปิดรูดลง 27.05 จุด หรือ 2.03 % สู่ 1,304.89และดัชนี Nasdaq ปิดดิ่งลง 75.17 จุด หรือ 2.65 % สู่ 2,764.79

ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ราว 8.69 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq

จำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในสัดส่วนราว 14 ต่อ 1 ในตลาดนิวยอร์ค และในสัดส่วนราว 7 ต่อ 1 ในตลาด Nasdaq

นักลงทุนมุ่งความสนใจในวันพุธไปยังผลประกอบการอันน่าผิดหวังในภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี โดยบริษัทจูนิเปอร์ เน็ทเวิร์คส์ออกประกาศเตือนเรื่องผลกำไร ซึ่งกดดันหุ้นจูนิเปอร์ให้ดิ่งลง 20.9 % สู่ 24.66 ดอลลาร์ และทำลายความเชื่อมั่นในภาคเทคโนโลยี โดยดัชนี S&P สำหรับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีรูดลง 3 %

มีแรงเทขายเข้ามาในตลาดหุ้นมากยิ่งขึ้น หลังจากทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ระบุว่า รัฐบาลสหรัฐจะไม่มีเงินเพียงพอใช้ถ้าหากไม่มีการปรับขึ้นเพดานหนี้ภายในกำหนดเส้นตาย

นักลงทุนกังวลอีกด้วยว่า รัฐบาลสหรัฐอาจเผชิญกับการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยดัชนี S&P 500 ดิ่งลงมาแล้วเกือบ 3 % จากช่วงต้นสัปดาห์นี้

นักลงทุนหลายรายรอดูผลการเจรจาเรื่องการปรับขึ้นเพดานหนี้ก่อนที่จะตัดสินใจเพิ่มเงินลงทุนในตลาดหุ้น

คำสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าคงทนของสหรัฐร่วงลงอย่างพลิกความคาดหมายในเดือนมิ.ย. และมาตรวัดแผนลงทุนทางธุรกิจก็ร่วงลงเช่นกัน

รายงาน Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เศรษฐกิจชะลอการฟื้นตัวในเขตเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งปีหลัง

ยอดสั่งซื้อชะลอการเติบโตลงในบริษัทอีเมอร์สัน อิเล็กทริค และส่งผลให้นักลงทุนกังวลกับผลประกอบการของหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม โดยหุ้นอีเมอร์สันดิ่งลง 6.7 %


ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:ตัวเลขสต็อกน้ำมันกดน้ำมันดิบรูดลง 2.19 ดอลล์

ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงอย่างรุนแรงในวันพุธ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นอย่างพลิกความคาดหมาย และราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า การที่นักการเมืองสหรัฐไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการปรับขึ้นเพดานหนี้อาจส่งผลลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.รูดลง 2.19 ดอลลาร์ หรือ 2.2 % มาปิดตลาดที่ 97.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวันที่ 99.50ดอลลาร์

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับลง 85 เซนต์สู่ 117.43 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวันที่ 118.50 ดอลลาร์

EIA เปิดเผยข้อมูลสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ค.ในวันพุธโดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรล สู่ 354.0 ล้านบาร์เรล, สต็อก

น้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 3.4 ล้านบาร์เรล สู่ 151.8 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 1.0 ล้านบาร์เรล สู่ 213.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมัน heating oilเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล สู่ 36.4 ล้านบาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.0 % สู่ 88.3 %

ปริมาณการนำเข้าน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ส่วนปริมาณน้ำมันในคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ของสหรัฐลดลง 2.268 ล้านบาร์เรล ในขณะที่บริษัทเอกชนได้รับน้ำมันหลังการประกาศระบายน้ำมันฉุกเฉินในเดือนมิ.ย.

โพลล์รอยเตอร์คาดว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจร่วงลงในช่วงครึ่งปีหลังสู่ระดับราว 110 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากมีความกังวลกันว่าปัญหาหนี้สินของรัฐบาลและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเฉื่อยชาจะส่งผลลบต่ออุปสงค์--จบ--

ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองร่วงลงหลังทำสถิติสูงสุดใหม่

ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปิดร่วงลงในวันพุธ โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยทางเทคนิค, จากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากคำสั่งขายสินทรัพย์เสี่ยงในวงกว้าง ซึ่งกระตุ้นให้นักลงทุนขายทำกำไรทอง

ราคาทองสปอตขึ้นไปทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1,628 ดอลลาร์/ออนซ์ในช่วงแรกโดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลที่ว่าสหรัฐอาจผิดนัดชำระหนี้

ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.เคลื่อนตัวในช่วง 1,608.90-1,628.80 ดอลลาร์

วอลุ่มการซื้อขายทองพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. โดยอยู่สูงกว่า 380,000 สัญญา ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับสองของปีนี้ โดยรองจากระดับ410,000 สัญญาที่ทำไว้ในวันที่ 27 ม.ค.

ดัชนีความผันผวนของราคาทองพุ่งขึ้นกว่า 3 % ในวันพุธ

ความน่าดึงดูดของทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง หลังจากนายเดเวน ชาร์มาประธานสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) กล่าวว่า S&P ไม่คิดว่าสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้

สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันพุธมีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

ทองเดือนส.ค. 1,615.10 - 1.70

เงินเดือนก.ย. 40.568 - 13.00 (เซนต์)

ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันพุธมีดังต่อไปนี้

ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)

พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,808.00 + 0.80

พัลลาเดียมเดือนก.ย. 833.20 - 2.90--จบ--

ตลาดเงินนิวยอร์ค:ดอลล์แข็งค่าเทียบเงินหลายสกุล

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในวันพุธ แต่ภาวะไม่แน่นอนในตลาดอาจส่งผลให้ดอลลาร์ปรับขึ้นได้เพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น ในขณะที่ไม่มีข่าวใหม่ออกมาเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองเรื่องเพดานหนี้ในสหรัฐ

ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 78.01 เยน ปรับขึ้นจากระดับปิดตลาดวันอังคารที่ 77.90 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4366 ดอลลาร์ ดิ่งลงจาก 1.4512 ดอลลาร์ ส่วนยูโร/เยนอยู่ที่ 112.08 เยน ร่วงลงจาก 113.06 เยน

ดอลลาร์ร่วงลงไปทำสถิติต่ำสุดที่ 0.7996 ฟรังก์สวิส ในขณะที่ยูโรขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.4537 ดอลลาร์ในช่วงแรก ก่อนที่ดอลลาร์จะฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสและยูโรในช่วงต่อมา เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อชดเชยดอลลาร์

นักวิเคราะห์กล่าวว่าดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มในทางลบ โดยนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่ามาตรการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของสหรัฐจะมีขนาดที่เล็กเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ

ยูโรได้รับแรงกดดันหลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงสู่ CC จาก CCC และระบุว่าข้อเสนอของสหภาพยุโรป (อียู)ในการปรับโครงสร้างหนี้กรีซจะส่งผลให้กรีซ "ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน"

รอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำอย่างน้อย 1 แห่งจะปรับลดอันดับความน่า เชื่อถือของสหรัฐลงจาก AAA ซึ่งเป็นขั้นสูงสุด และนักเศรษฐศาสตร์ยังระบุอีก ด้วยว่า ความขัดแย้งเกี่ยวกับการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐได้สร้างความเสียหายต่อ เศรษฐกิจสหรัฐแล้ว

เทรดเดอร์คาดว่า ดอลลาร์อาจร่วงลงแตะ 0.7600 ฟรังก์สวิสในระยะอันใกล้นี้และคาดว่าธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) จะไม่เข้ามาแทรกแซงตลาดเพื่อกดดันฟรังก์สวิสให้อ่อนค่าลง โดยฟรังก์สวิสเป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยสูง

ยูโรได้รับแรงกดดันจากหลังจากมีการเปิดเผยจดหมายที่ระบุว่า นายโวล์ฟกัง ชอยเบล รมว.คลังเยอรมนีกล่าวว่า รัฐบาลเยอรมนีไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) เข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรองได้โดยไม่มีเงื่อนไข


ตลาดเงิน Emerging Asia:บาทร่วงสวนทางภูมิภาค ขณะเฮดจ์ฟันด์ซื้อเงินเอเชีย

กองทุนเฮจด์ฟันด์เพิ่มการถือครองสกุลเงินเอเชียอีกครั้งในวันนี้ ซึ่งทำให้ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และริงกิตพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินเอเชียในปี 1997/1998 ขณะที่ความวิตกต่อการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐกดดันให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง

ดีลเลอร์และนักวิเคราะห์กล่าวว่า กองทุนเฮจด์ฟันด์กลับเข้าตลาดแล้ว ขณะที่กองทุนต่างๆยังคงเพิ่มสถานะการลงทุนในสกุลเงินเอเชียด้วย

ดีลเลอร์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ด้านปริวรรตเงินตราของเอเชียเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อชะลอการแข็งค่าของสกุลเงินในประเทศ แต่นักลงทุนใช้การแทรกแซงดังกล่าวเป็นโอกาสเข้าซื้อสกุลเงินในภูมิภาคในช่วงขาลง

ดีลเลอร์และนักวิเคราะห์กล่าวว่า เนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเพื่อเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ และลดยอดขาดดุลได้ จึงคาดว่าสกุลเงินเอเชียจะสามารถดึงดูดนักลงทุนเข้าตลาดต่อไป

เมื่อดูจากปัจจัยทางเทคนิค เงินบางสกุลอยู่ในภาวะมีแรงซื้อมากเกินไป แต่ก็คาดว่าการปรับฐานหรือการปรับสถานะการลงทุนจะไม่รุนแรงมากเกินไป

ดอลลาร์สิงคโปร์พุ่งทะลุแนวต้านทางจิตวิทยาที่ระดับ 1.2000 ต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแตะระดับสูงสุดใหม่ โดยดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลายครั้งติดต่อกันเกือบทุกวันนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค.

แต่บาท/ดอลลาร์ร่วงลงสวนกระแสสกุลเงินในภูมิภาคจากการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

กลุ่มผู้นำเข้าซื้อดอลลาร์ ขณะที่กลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์เข้าซื้อคืนดอลลาร์

เมื่อวานนี้ ดัชนี RSI ระยะ 14 วันของดอลลาร์/บาทร่วงลงสู่ระดับ 24.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.ปีที่แล้ว ขณะที่ระดับต่ำกว่า 30 บ่งชี้ว่าดอลลาร์/บาทอยู่ในภาวะมีแรงขายมากเกินไป

ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดวานนี้ลบ 14 จุด สู่ 1296

ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (27 ก.ค.) ลบ 14 จุด หรือ 1.07 % สู่ระดับ 1296

ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554

ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-

วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)

26 ก.ค. 1310 -7

25 ก.ค. 1317 -6

22 ก.ค. 1323 -2

21 ก.ค. 1325 -3

20 ก.ค. 1328 -2

28-07-54>> แนวโน้มขาขึ้น....

SETI ทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่ยังปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น และ MACD สามารถปิดเหนือเส้น Zero Line ได้ รวมทั้ง Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก จึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นต่อไป

ดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ซื้อ

GUNKUL ปิด 17.60 บาท
หลังจากช่วงที่ผ่านมาราคาได้สร้
างรูปแบบ Head and ShoulderContinuation และสามารถปิดเหนือแนวรับสำคัญบริเวณ 17.00-17.50 บาทได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาสามารถไต่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้นขึ้นมาพร้อมปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้มีเป้าหมายทางเทคนิคอยู่บริเวณ 20.00 บาท แนวโน้มกลับเป็นขาขึ้น

แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 18.60-20.00 บาท แนวรับที่ 17.40-17.00บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 16.80 บาท

ESSO ปิด 12.00 บาท

สร้างรูปแบบ Double Bottom และแท่งเทียนมีสีขาว ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก รวมทั้งสามารถปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้นได้อย่างต่อเนื
่อง มีเป้าหมายทางเทคนิคอยู่บริเวณ14.00 บาท แนวโน้มแกว่งตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 13.00-14.00 บาท แนวรับที่ 11.80-11.60บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 11.40 บาท

THCOM ปิด 10.80 บาท
ทะลุแนวต้านที่ 10.70 บาทขึ้นมาได้ และแท่งเทียนมีสีขาวพร้อมปริมาณการซื้อขายหนุน และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวกพร้อมกันเป็นวันแรก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 10.70-11.00 บาท แนวรับที่ 10.20-10.00บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 9.90 บาท

KSL ปิด 15.10 บาท
แท่งเทียนมีสีขาว ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวกแนวโน้มเป็นขาขึ้นชัดเจน
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 15.40-16.00 บาท แนวรับที่ 14.90-14.70 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 14.50 บาท

-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น