-----------------------------------------------------------------------------


DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดบวก 0.34%
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ โดยหุ้นกูเกิลนำดัชนี Nasdaqบวกขึ้น แต่ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถของรัฐบาลในการบรรลุข้อตกลงลดหนี้สินนั้น อาจสกัดกั้นนักลงทุนในการเข้าซื้อหุ้นในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 42.61 จุดหรือ 0.34%สู่ 12,479.73, ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 7.27 จุดหรือ 0.56% สู่ 1,316.14และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น 27.13 จุดหรือ 0.98% สู่ 2,789.80
ปริมาณการซื้อขายเบาบางราว 7.12 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค,ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งต่ำกว่าระดับเฉลี่ยต่อวันของปีที่แล้วที่ 8.47 พันล้านหุ้น โดยมีจำนวนหุ้นบวกนำหน้าหุ้นลบในอัตราส่วนราว 3 ต่อ 2 ทั้งในตลาดนิวยอร์คและ Nasdaq
ดัชนีความผันผวน (VIX) ซึ่งวัดความวิตกของตลาดวอลล์สตรีทปิดลดลง 6.1% สู่ 19.53
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 2.1%, ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 1.4% และดัชนี Nasdaq ลดลง 2.5%
หุ้นกูเกิลพุ่งขึ้น 13% หลังเปิดเผยผลประกอบการดีเกินคาด ซึ่งหนุนดัชนีNasdaq บวกขึ้น และหนุนดัชนี S&P หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศพุ่งขึ้น 1.6%
สำนักงานการธนาคารยุโรป (EBA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารของสหภาพยุโรปได้เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test)ของภาคธนาคารยุโรป ปรากฎว่า จากธนาคารทั้งหมด 90 แห่งที่เข้ารับการทดสอบมีอยู่เพียง 8 แห่งเท่านั้นที่ไม่ผ่านการทดสอบ ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์กันไว้ว่าธนาคารประมาณ 15 แห่งจะไม่ผ่านการทดสอบ
หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยถ่วงตลาดมากที่สุด หลังการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐร่วงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2009--จบ--
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการลดลงของอุปทานน้ำมันจากแคนาดา และจากการปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐโดยราคาน้ำมันดิบปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ถึงแม้มีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซาในวันศุกร์
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 1.55 ดอลลาร์ หรือ 1.62 % มาปิดตลาดที่ 97.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 95.21-97.74ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 1ดอลลาร์ หรือ 0.86 % สู่ 117.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง115.16-117.75 ดอลลาร์
เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบเดือนใกล้ของสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์นี้พุ่งขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.08 % จากระดับปิดที่ 96.20 ดอลลาร์ในวันที่ 8 ก.ค. โดยราคาน้ำมันดิบเดือนใกล้ทะยานขึ้นมาแล้ว 6.08 ดอลลาร์ หรือ6.7 % ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้ร่วงลง 1.07 ดอลลาร์ หรือ 0.9 %จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนในวันศุกร์จากการปรับขึ้นของตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเนื่องจากมีการรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของซิติ้แบงก์ อิงค์ และกูเกิล อิงค์
ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากคำสั่งซื้อชดเชยก่อนช่วงสุดสัปดาห์และจากการครบกำหนดส่งมอบออปชั่นสัญญาน้ำมันดิบเดือนส.ค.
บริษัททรานส์แคนาดา คอร์ปแถลงว่า ทางบริษัทจะปรับลดปริมาณการจัดส่งน้ำมันดิบทางท่อส่งคีย์สโตนจากแคนาดามาสู่สหรัฐลง 20 % ในเดือนหน้า ในขณะที่ทางบริษัทซ่อมแซมท่อส่งหลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลสองครั้งในเดือนพ.ค.โดยทางบริษัทเคยปรับลดปริมาณการจัดส่งลงมาแล้ว 19.28 % ในเดือนก.ค.จากกำลังการจัดส่งที่ 591,000 บาร์เรลต่อวัน--จบ--
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ราคาทองขยับขึ้นเล็กน้อย
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปิดปรับขึ้นเป็นวันที่ 10 ติดต่อกันในวันศุกร์ ซึ่งถือเป็นการปิดตลาดในแดนบวกที่ยาวนานเท่ากับสถิติเก่าที่ทำไว้เมื่อ 40 ปีก่อน โดยราคาทองได้รับแรงหนุนจากการที่นักลงทุนทำประกันความเสี่ยง ขณะที่มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นที่รัฐบาลสหรัฐอาจผิดนัดชำระหนี้
ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.เคลื่อนตัวในช่วง 1,576-1,592.80 ดอลลาร์
ปัจจัยทางเทคนิคบ่งชี้ว่า ราคาทองอาจทะยานขึ้นเหนือ 1,700 ดอลลาร์ในอีก2 เดือนข้างหน้า และนักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าวว่า ในทางทฤษฎีนั้น ราคาทองอาจพุ่งขึ้นแตะ 5,000 ดอลลาร์/ออนซ์ถ้าหากตลาดหุ้นปรับฐานลงอย่างรุนแรง
ราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 7 % นับตั้งแต่ต้นเดือนก.ค. โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบ, การดิ่งลงของความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ และความกังวลเรื่องการลุกลามของปัญหาหนี้ยูโรโซน
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันศุกร์มีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนส.ค. 1,590.10 + 0.80
เงินเดือนก.ย. 39.071 + 37.70 (เซนต์)
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันศุกร์มีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,755.50 - 18.80
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 780.65 - 2.70 --จบ--
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโร,ดอลล์ร่วงจากปัญหาหนี้สิน
วิกฤติหนี้ยูโรโซนและผลกระทบต่องบดุลบัญชีธนาคารถ่วงยูโรลงในวันศุกร์และมีแนวโน้มปรับตัวลงอีกในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 79.040 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสบดีที่ 79.150 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4144 ดอลลาร์และ 111.82 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสบดีที่ 1.4142 ดอลลาร์และ 111.94 เยน
ความเป็นไปได้ที่สภาคองเกรสของสหรัฐจะไม่สามารถเพิ่มเพดานการกู้ยืมได้ภายในวันที่ 2 ส.ค.ซึ่งอาจทำให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตามมานั้น ถ่วงดอลลาร์ลงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส
นายเฮอร์แมน แวน รอมพาย ประธานสภายุโรปเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า ผู้นำยูโรโซนจะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันพฤหัสบดีนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือฉบับที่สองสำหรับกรีซ และเสถียรภาพการเงินของยูโรโซน
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสและสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ระบุเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะทำการปรับลดอันดับความน่าเชื่อของสหรัฐ หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาล
แนวโน้มยูโรยังคงเปราะบางจากความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติหนี้กรีซและการสกัดกั้นการลุกลามของวิกฤติหนี้ไปยังประเทศอื่นๆ อาทิ อิตาลี
ดัชนีดอลลาร์ปิดลดลง 0.2% สู่ 75.128 โดยดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสและเยน
ตลาดเงิน Emerging Asia:แรงซื้อกองทุนหนุนสกุลเงินเอเชียพุ่งทำนิวไฮ
กองทุนพากันเข้าซื้อสกุลเงินเอเชียในวันนี้ ส่งผลให้ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ และวอนแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี ขณะที่คำเตือนของมูดี้ส์ที่ว่าอาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ และความเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ทำให้นักลงทุนพากันเข้าซื้อสกุลเงินเอเชีย ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟดกล่าววานนี้ว่า เฟดพร้อมจะผ่อนคลายนโยบายการเงินลงอีก ถ้าเศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอตัวลงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางในเอเชียยังคงต่อสู้กับเงินเฟ้อ แม้มีสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และยูโรโซนเผชิญวิกฤติหนี้ก็ตาม
นักวิเคราะห์และดีลเลอร์กล่าวว่า คาดว่าความแตกต่างด้านนโยบายจะดึงดูดกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย และจะหนุนค่าเงินของประเทศเหล่านี้เมื่อเทียบกับดอลลาร์
ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย อาทิ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และไทยคาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าภูมิภาคมากขึ้น
ถ้าเฟดออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หรือผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 ก็อาจจะเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อในเอเชีย
แต่เจ้าหน้าที่ด้านปริวรรตเงินตราในภูมิภาคอาจจะไม่ปล่อยให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นเพียงเพื่อสกัดราคานำเข้า โดยพวกเขายังคงระมัดระวังต่อการสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกจากการแข็งค่าของสกุลเงิน แม้ว่าไม่ได้มีการเข้าแทรกแซงตลาดมากนักก็ตาม ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วรู้สึกกังวลต่อการแข็งค่าของค่าเงิน
ดีลเลอร์และนักวิเคราะห์กล่าวว่า ความระมัดระวังเกี่ยวกับการแทรกแซง ประกอบกับความวิตกเกี่ยวกับปัญหาทางการคลังของยูโรโซน จะขัดขวางนักลงทุนจากการเข้าซื้อสกุลเงินเอเชียมากขึ้น
นักลงทุนจะจับตาดูการประมูลพันธบัตรมูลค่า 5 พันล้านยูโรของอิตาลีในวันนี้
ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.2155 ต่อดอลลาร์
เศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวลงมากเกินคาดในไตรมาส 2 ทำให้เกิดคำถามว่าทางการจะยังคงปล่อยให้ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าในอัตราปัจจุบันหรือไม่ แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่ได้สร้างแรงกดดันมากนักต่อดอลลาร์สิงคโปร์
วอนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์จากความต้องการชำระบัญชีของผู้ส่งออก และกระแสเงินไหลเข้าตลาดพันธบัตร
ริงกิตปรับตัวขึ้น 0.5% แต่นักลงทุนเข้าซื้อคืนดอลลาร์ ขณะที่พวกเขาระมัดระวังต่อการแทรกแซงของธนาคารกลางมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าริงกิตแข็งค่าทะลุระดับ 3.00 ต่อดอลลาร์
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดวันศุกร์ลบ 14 จุด สู่ 1353
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวันศุกร์ (15 ก.ค.) ลบ 14 จุด หรือ 1.02% สู่ระดับ 1353
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
14 ก.ค. 1367 -16
13 ก.ค. 1383 -28
12 ก.ค. 1411 -26
11 ก.ค. 1437 -12
8 ก.ค. 1449 -4
>> แนวโน้มขาขึ้นแต่ผันผวน...
�� SETI ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาใกล้บริเวณแนวต้านที่ 1080.50 จุด ซึ่งอาจเกิดความผันผวนในระยะสั้นแต่ยังสามารถปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น ประกอบกับ MACD สามารถปิดเหนือเส้น Zero Lineได้ จึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นแต่ผันผวน
�� ดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ซื้อเก็งกำไร”
PTTEP ปิด 181.00 บาท
แท่งเทียนมีสีขาว และปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น และ Indicatorsทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 190.00-195.00 บาท แนวรับที่179.50-178.50 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 178.00 บาท
ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นพร้อมปริมาณการซื้อขายหนุน ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มแกว่งตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 3.50-4.00 บาท แนวรับที่ 2.80-2.76 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 2.72 บาท
TGPRO ปิด 0.44 บาท
ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นมีแท่งเทียนสีขาวพร้อมวอลุ่มหนุน รวมทั้ง ModifiedStochastic และ RSI ให้ค่าสัญญาณเป็นบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 0.50-0.55 บาท แนวรับที่ 0.42-0.40 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 0.37 บาท
PT ปิด 3.34 บาท
แท่งเทียนมีสีขาวพร้อมวอลุ่มหนุน ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้ค่าสัญญาณเป็นบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 3.68-4.00 บาท แนวรับที่ 3.30-3.26 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 3.22 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น