-----------------------------------------------------------------------------


DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:หุ้นค้าปลีก,เทคโนฯหนุนดาวโจนส์ปิดบวก 0.7%
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดพุ่งขึ้นในวันพฤหัสบดี และดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้นเป็น
วันที่ 8 หลังข้อมูลตลาดแรงงานและยอดค้าปลีกที่ดีขึ้นได้เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับ
ตลาดก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานเดือนมิ.ย.ในวันศุกร์นี้
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 93.47 จุดหรือ 0.74%
สู่ 12,719.49, ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 14 จุดหรือ 1.05% สู่ 1,353.22
และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น 38.64 จุดหรือ 1.36% สู่ 2,872.66
ปริมาณการซื้อขายยังคงเบาบางราว 6.69 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค,
ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่ง
ต่ำกว่าระดับเฉลี่ยต่อวันของปีที่แล้วที่ 8.47 พันล้านหุ้น โดยมีจำนวนหุ้นบวกนำหน้า
หุ้นลบ 4 ต่อ 1 ในตลาดนิวยอร์ค และ 3 ต่อ 1 ในตลาด Nasdaq
ดัชนี Nasdaq ปรับตัวขึ้น 8.3% ในช่วง 8 วันที่ผ่านมาซึ่งเป็นการปรับตัว
ขึ้นมากที่สุดในรอบ 2 ปี, ดัชนี S&P 500 บวก 6.7% ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.
2010 และดัชนีดาวโจนส์บวก 6.6% ในช่วงเวลาเดียวกัน
หุ้นทั้ง 10 กลุ่มในดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น นำโดยหุ้นกลุ่มวัสดุซึ่งพุ่ง
ขึ้น 1.5%
ทั้งดัชนี S&P หุ้นกลุ่มค้าปลีกและดัชนีดาวโจนส์กลุ่มการขนส่งพุ่งแตะ
ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ข้อมูลจาก ADP บ่งชี้ว่า นายจ้างภาคเอกชนของสหรัฐเพิ่มการจ้างงาน
157,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.ซึ่งมากกว่าสองเท่าของจำนวนที่คาดไว้ และเพิ่ม
ความหวังว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาอาจเป็นเพียงชั่วคราว
รายงานดังกล่าวทำให้มีการคาดการณ์ว่า รายงานการจ้างงานนอก
ภาคเกษตรของกระทรวงแรงงานสหรัฐในวันศุกร์นี้ จะบ่งชี้หลักฐานมากขึ้นของ
ตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทะยานขึ้นของตลาดจน
ถึงสิ้นปีนี้
นักวิเคราะห์บางรายระบุว่า การทะยานขึ้นของตลาดเป็นการฟื้นตัว
ในระยะสั้น และคาดว่าการซื้อขายจะผันผวน
หุ้นของบริษัทค้าปลีกปรับตัวขึ้นมากที่สุดหลังบริษัทหลายแห่งรายงาน
ยอดขายเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือนมิ.ย.โดยใช้มาตรการต่างๆเพื่อดึงดูดผู้บริโภค
ดัชนี S&P หุ้นกลุ่มค้าปลีกพุ่งทำนิวไฮ 2.4% และดัชนีหุ้นกลุ่มเซมิ
คอนดักเตอร์บวก 2.1%
นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากความหวังเกี่ยวกับการประนีประนอม
เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาและ
ผู้นำสภาคองเกรสหารือกันเพื่อหาทางออกเรื่องค่าใช้จ่ายและภาษี--จบ--
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:ตัวเลขศก.หนุนน้ำมันดิบปิดพุ่งขึ้น 2%
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดพุ่งขึ้น 2 % ในวันพฤหัสบดี
ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน, ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และยอดค้าปลีก
ที่ดีเกินคาดทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเติบโตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนส.ค.ทะยานขึ้น 2.02 ดอลลาร์ หรือ 2.09 %
มาปิดตลาดที่ 98.67 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 96.99-99.42
ดอลลาร์ โดยจุดสูงสุดของวันพฤหัสบดีถือเป็นจุดสูงสุดของสัญญาเดือนใกล้นับตั้งแต่
แตะ 99.95 ดอลลาร์ในวันที่ 15 มิ.ย.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 4.97 ดอลลาร์
สู่ 118.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่
วันที่ 9 พ.ค.
บริษัทเอดีพีรายงานว่า การจ้างงานภาคเอกชนในสหรัฐเพิ่มขึ้น 157,000
ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. หลังจากปรับขึ้น 36,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. โดยการเพิ่มขึ้น
ในเดือนมิ.ย.อยู่ในระดับสูงกว่าสองเท่าของตัวเลขคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
บริษัทค้าปลีกชั้นนำของสหรัฐรายงานยอดขายที่ดีเกินคาดสำหรับเดือนมิ.ย.
หลังจากจูงใจลูกค้าด้วยมาตรการลดราคา โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าบริษัทค้าปลีก
อาจจำเป็นต้องใช้มาตรการลดราคาต่อไปในฤดูเปิดเทอมที่กำลังจะมาถึง
นายโมฮัมหมัด อาลี คาติบี ผู้ว่าการอิหร่านประจำกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
(โอเปก) กล่าวว่า อิหร่านกำลังส่งออกน้ำมันสู่อินเดีย ถึงแม้ไม่ได้รับการชำระเงิน
มานานหลายเดือนแล้ว โดยการส่งออกนี้มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องส่วนแบ่งตลาดของ
อิหร่านจากคู่แข่งที่พยายามตัดราคา อย่างเช่นซาอุดิอาระเบีย
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อก
น้ำมันดิบสหรัฐลดลง 900,000 บาร์เรล สู่ 358.6 ล้านบาร์เรลในช่วงสัปดาห์สิ้นสุด
วันที่ 1 ก.ค., สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 200,000 บาร์เรล สู่ 142.1 ล้านบาร์เรล, สต็อก
น้ำมันเบนซินลดลง 600,000 บาร์เรล สู่ 212.5 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมัน heating oil
เพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล สู่ 33.8 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่น
น้ำมันเพิ่มขึ้น 0.3 % สู่ 88.4 %--จบ--
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองขยับขึ้นก่อนสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงาน
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปิดปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี แต่ทรงตัวอยู่ที่ราว
1,530 ดอลลาร์/ออนซ์ ในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่คงสถานะการลงทุนเดิมไว้ ก่อนที่สหรัฐ
จะเปิดเผยรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนมิ.ย.ในวันศุกร์
ราคาทองในตลาดสปอตขึ้นไปแตะ 1,534.20 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุด
นับตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าสหรัฐอาจรายงานในวันศุกร์ว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้น
50,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.
ถ้าหากสหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด ปัจจัยดังกล่าว
ก็อาจทำให้นักลงทุนลดความต้องการซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย แต่ถ้าหาก
สหรัฐรายงานตัวเลขที่อ่อนแอเกินคาด ราคาทองก็อาจทะยานขึ้นเข้าใกล้เพดานของ
กรอบซื้อขายในปัจจุบัน
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันพฤหัสบดีมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนส.ค. 1,530.60 + 1.40
เงินเดือนก.ย. 36.536 + 62.00 (เซนต์)
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันพฤหัสบดีมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,743.00 + 9.60
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 786.55 + 13.35 --จบ--
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโรแข็งค่าหลัง"ทริเชต์"ยันอัดฉีดสภาพคล่องให้โปรตุเกส
ยูโรปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี หลังนายฌอง-คล็อด ทริเชต์
ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวว่า อีซีบีจะผ่อนคลายกฏเกณฑ์ และยังคงอัดฉีด
สภาพคล่องให้กับโปรตุเกส ซึ่งได้ช่วยคลายความวิตกเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ยุโรป
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 81.190 เยน เทียบกับระดับปิดวันพุธที่ 80.920 เยน
ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4353 ดอลลาร์และ 116.56 เยน เทียบกับระดับปิดวันพุธที่
1.4316 ดอลลาร์และ 115.84 เยน
ในการแถลงข่าวหลังอีซีบีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 1.50% นั้น
นายทริเชต์กล่าวว่า อีซีบีได้ตัดสินใจระงับการขออันดับเครดิตขั้นต่ำในหลักทรัพย์ค้ำ
ประกันของโปรตุเกส
ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเยน หลัง ADP Employer Services
เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นในเดือนมิ.ย. และกระทรวงแรงงาน
สหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ซึ่งตอกย้ำมุมมองที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร
เดือนมิ.ย.ในวันศุกร์นี้ ซึ่งคาดว่าหลังจากการเปิดเผยข้อมูล ADP นักเศรษฐศาสตร์
จะปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
90,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.
ตลาดเงิน Emerging Asia:บาทแข็งนิวไฮ 3 สัปดาห์ กระแสเงินทุนหนุนสกุลภูมิภาค
บาทแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ในวันนี้ หลังจาก
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ประกาศว่าจะควบคุมเงินเฟ้อ
ขณะที่กระแสเงินทุนไหลเข้าหนุนคาดการณ์ว่า สกุลเงินที่อ่อนแอในภูมิภาค
อาจแข็งค่าขึ้นตามสกุลที่ดีดตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
กระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียอย่างต่อเนื่องช่วยหนุน
สกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยหักล้างผลกระทบจากยูโรที่อ่อนค่าลง
ก่อนการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)
ในวันนี้
นางสาวยิ่งลักษณ์กล่าวว่า รัฐบาลใหม่จะดำเนินนโยบาย
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทแบบลอยตัวเสรีแบบที่ใช้ในปัจจุบันต่อไป
"แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดการนโยบาย
อัตราแลกเปลี่ยน แต่คำกล่าวของคุณยิ่งลักษณ์ก็น่าจะหนุนให้ตลาดดัน
เงินบาทให้แข็งค่าขึ้นอีก โดยบาทที่มีเสถียรภาพและแข็งค่าถือเป็น
เครื่องมือสำคัญในการช่วยควบคุมเงินเฟ้อจากการนำเข้า" นายคัลลัม
เฮนเดอร์สัน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยอัตราแลกเปลี่ยนจากสแตนดาร์ด
ชาร์เตอร์ดกล่าว
นับตั้งแต่ต้นปีนี้ บาทถือเป็นสกุลเงินเอเชียที่ปรับตัวย่ำแย่ที่สุด
โดยอ่อนค่าลง 0.5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ท่ามกลางการหลีกเลี่ยง
ความเสี่ยงทั่วโลก และความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย
กระแสเงินทุนไหลเข้าอาจจะช่วยหนุนสกุลเงินอื่นๆด้วย อาทิ
รูปี ซึ่งปรับตัวย่ำแย่มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย โดยปรับตัวขึ้น
0.6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในปีนี้
ดีลเลอร์และนักวิเคราะห์กล่าวว่า คาดว่ารูปีจะได้แรงหนุน
มากขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง เนื่องจากอินเดียมีความอ่อนไหวต่อราคา
น้ำมัน
ความต้องการของกลุ่มนักเก็งกำไรในต่างประเทศหนุนบาท/ดอลลาร์
ปรับตัวขึ้นสู่ 30.25 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. แต่ก็อ่อนค่า
ลงไปบ้างเมื่อยูโรปรับตัวลง
ดีลเลอร์ในกรุงเทพกล่าวว่า บาท/ดอลลาร์อาจทดสอบแนวต้านที่ระดับ
30.30 ขณะที่นักลงทุนกำลังจับตาดูค่าเงินยูโร
บาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นด้วย อาทิ ดอลลาร์
สิงคโปร์ และรูเปียห์ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 24.40-24.50 และ 290 ตามลำดับ
"การแข็งค่าของบาทจะต้องพึ่งพาการอ่อนค่าลงของดอลลาร์, เศรษฐกิจ
ที่ขยายตัวอีกครั้ง และการกลับเข้ามาของกระแสเงินไหลเข้าจำนวนมาก ซึ่งอาจจะ
ไม่มีปัจจัย 2 อย่างหลังในระยะใกล้นี้" นายเอ็มมานูเอล อึ้ง นักเศรษฐศาสตร์จาก
โอซีบีซี แบงก์กล่าว
ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้น ขณะที่กองทุนขายดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลาง
การคาดการณ์ว่า สิงคโปร์อาจจะปล่อยให้ดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่ามากขึ้นเพื่อสกัด
เงินเฟ้อจากการนำเข้า
ดอลลาร์สิงคโปร์ยังได้แรงหนุนจากข้อมูลการจ้างงานที่สูงกว่าคาดของ
ออสเตรเลียด้วย
ส่วนเปโซแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 9 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์
จากความต้องการต่อเนื่องของธนาคารต่างประเทศ ขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์
เข้าซื้อดอลลาร์ตั้งแต่ระดับ 42.80
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดบวก 10 จุด สู่ 1453
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (7 ก.ค.) บวก 10 จุด
หรือ 0.69% สู่ระดับ 1453
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
6 ก.ค. 1443 +15
5 ก.ค. 1428 +9
4 ก.ค. 1419 -3
1 ก.ค. 1422 +9
30 มิ.ย. 1413 -7
08-07-54>> แนวโน้มขาขึ้น... SETI ดีดตัวขึ้นมาและสามารถปิดเหนือแนวรับบริเวณ 1070 จุด
รวมทั้งสามารถปิดเหนือเส้น
ค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก จึงทำให้ SETI
มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นต่อไป
ดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ซื้อ"
AP ปิด 5.50 บาท
รูปแบบราคาแบบ Triple Bottom โดยมีเส้น Neckline ที่ 5.50 บาท
ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก รวมทั้งช่วง
ที่ผ่านมามีปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นขึ้น แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 6.00-6.20 บาท แนวรับที่ 5.40-5.30 บาท
Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 5.20 บาท
JAS ปิด 3.28 บาท
พักตัวอยู่ในรูปแบบสามเหลี่ยม รวมทั้ง Indicators ทุกตัวให้
สัญญาณเป็นบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 3.60-3.70 บาท แนวรับที่ 3.24-3.20 บาท
Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 3.16 บาท
RAIMON ปิด 1.29 บาท
ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น และสามารถปิดเหนือค่าเฉลี่ยทุกเส้นได้อย่างต่อ
เนื่อง รวมทั้ง Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณเป็นบวก แนวโน้ม
เป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 1.35-1.40 บาท แนวรับที่ 1.27-1.25 บาท
Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 1.23 บาท
CPALL ปิด 47.00 บาท
แท่งเทียนมีสีขาวเต็มแท่งพร้อมปริมาณการซื้อขายหนุน และปิดเหนือ
เส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 48.00-51.00 บาท แนวรับที่ 46.75-46.25
บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 45.75 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น