Code 210 : จุดเปลี่ยนที่ 1040 จุด

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553
ATT Code : จุดเปลี่ยนที่ 1040 จุด
----------------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
7 ธค. 53 ( +2.09 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

แกวง่ตัวในกรอบ 1026 - 40 จุด
แนวโน้มในวันอังคารนี้ ดัชนีมีโอกาสแกวง่ตัวในกรอบแคบระหว่าง 1026 – 40 หรือระหว่างจุดต่ำสุดของวันพฤหัส ถึงจุดสูงสุดของวันศุกร์

จากนั้นถ้าปรับตัวขึ้น เกิน 1040.44จุดสูงสุดของวันศุกร์ได้ ดัชนีมีโอกาสขึ้นต่อแถว1049 – 1059 ใกล้จุดสูงสุดเดิมของปีนี้

ขณะที่ ต่ำกว่า 1025.73 จุดต่ำสุดของวันที่ 2 ธค. ดัชนีจะมีโอกาสปรับตัวกลับลงมาแถว 985 – 1000 ใกล้จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้ว ภาพโดยรวมแล้ว ตลาดยังคงอยู่ในช่วงของการปรับฐาน และ แกว่งตัวในกรอบใหญ่980 – 1055 จุด

หุ้นเด่น
KTB
ปรับตัวขึ้นมาแถวเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันอีกครั้งรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 17.30 จุดสูงสุดวันศุกร์ เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 17.90 – 18.20( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 16.90 )17.90 – 18.20

BAY
ปรับตัวขึ้นมาแถวเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันอีกครั้งรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 24.10 จุดสูงสุดวันศุกร์ เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 24.60 – 24.80( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 23.80)

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
TRUE เกิน 6.70 ขึ้น 6.80 – 7
PTT ต่ำกว่า 321 ลง 315 - 318
PTTCH แกว่งตัว 157.50 – 159.50
IVL แกว่งตัว 59 – 61.50
PTL ไม่เกิน 39.75 ลง 35 - 36
KBANK ต่ำกว่า 125 ลง 121 – 123
IRPC ต่ำกว่า 5 ลง 4.70 – 4.80
TMB ต่ำกว่า 2.26 ลง 2.18 – 2.20
PTTAR แกว่งตัว 38 – 39
BANPU เกิน 788 ขึ้น 800 – 806
----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
FSS : ตลาดยังมีสิทธิแกว่งตัวผันผวนให้รอรับต่ำได้!!
แนวโน้ม: ตลาดหุ้นไทยหยุดไปวานนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นต่างประเทศปิดเป็นบวกกันไม่มากนัก เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาหนี้สินในยุโรปยังคงกดดันตลาดหุ้น
ทั่วโลกอยู่พอสมควร โดยเช้านี้ตลาดหุ้นต่างประเทศถือว่าไม่ค่อยสดใสนัก แม้จะเป็นลบไม่มาก แต่ก็อยู่ในลักษณะแกว่งตัวขึ้น-ลงแคบๆ เพื่อติดตามดูมาตรการ
แก้ไขปัญหาหนี้สินของยูโรโซนต่อเนื่อง หลังเยอรมนีปฏิเสธที่จะเพิ่มเม็ดเงินช่วยเหลือตามคำเรียกร้องของ IMF ซึ่ง SET เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก็ถือว่ามีแรง
ขายทำกำไรออกมากดดันตลาดพอควรด้วยเช่นกัน ทำให้ FSS คาดว่า SET จะยังคงแกว่งตัวผันผวน และมีโอกาสที่จะปรับพักตัวไปเคลื่อนไหวเป็นลบได้ด้วย
กลยุทธ์: จึงยังเน้นเป็นเทรดดิ้งสั้นๆ ต่อไปเมื่อตลาดขยับขึ้น โดยยังน่าแบ่งส่วนขายทำกำไรบ้าง ส่วนจังหวะซื้อเพื่อถือยังแนะนำให้รอช่วงแกว่งตัวย้อนลงของ
ตลาดอีกครั้ง โดยหุ้นที่น่าสนใจเน้นที่หุ้นพื้นฐานดีเป็นหลักเช่น BANPU, BIGC,KTB, PTL, SEAFCO (หุ้นเด่น Monthly) และหุ้นปันผล เช่น ADVANC, AP, CSL,DELTA, DRT, LPN รวมถึงหุ้นหลักอื่นๆ เช่น PTT, PTTEP, KTB, KBANK, SCB,
TASCO, AMATA, PS, SPALI, CK, STEC, MAJOR เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
• (-) ปัญหาหนี้ยูโรยังอยู่ในตลาด ยูโรอ่อนค่าลงในวันจันทร์ และมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกหลังประชุม รมต.คลัง EU วันแรก เยอรมนีปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้เพิ่ม
ขนาดเครือข่ายความปลอดภัยด้านการเงินของยูโรโซน ซึ่งเพิ่มความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งกันเกี่ยวกับวิธีที่จะยับยั้งวิกฤติหนี้สินของยูโรโซน ค่าเงินดอลลาร์ที่
กลับมาแข็งค่าและอาจกดดันราคา Commodity จะเป็นเพียงเหตุการณ์ชั่วคราวเท่านั้น เรายังแนะนำหุ้นโรงกลั่นและปิโตรเคมี (TOP, PTTCH, PTL)
• (+) CK ราคาหุ้นหลังจากพักฐานลงไปต่ำสุด 8.60 บาทในช่วงปลายเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาและเริ่มขยับตัวขึ้นได้ เรายังแนะนำซื้อ โดยมีราคาเป้าหมาย 12.70 บาทจากแนวโน้ม 4Q10 ที่คาดเป็นบวกต่อเพราะมีรายได้จากรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนปีหน้าเป็นสายสีน้ำเงินและน้ำงึม 2 คาดว่าจะพลิกเป็นกำไรจากปีนี้ที่ขาดทุน และCK ยังก้าวสู่ธุรกิจโรงไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งไซยะบุรี (ลาว) ที่คาดว่าจะเซ็นสัญญา ก.พ. – มี.ค. 2011 ร่วมทุน 30% ในบจ.นครราชสีมา โซล่าร์ ทำโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 ส่วนโรงไฟฟ้า SPP ที่ถือ 81% ในบจ.บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น มีแผนจะลดสัดส่วนเป็นถือต่ำกว่า 40%
• (+) STA ราคายางทำ new high ในรอบ 50 ปีอีกครั้งที่ราคา 127.5 บาท/กก.ทำลายสถิติราคาสูงสุดเมื่อ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา (ราคา 127.09 บาท/กก.) ส่งผลดีต่อกำไร 4Q10 ของ STA เพราะมี Stock ยางที่ราคาต่ำ คาดกำไร 4Q10 อยู่ที่ราว800 – 900 ล้านบาท (+ 60-80% Q-Q) และหากอินเดียลดลดภาษีนำเข้ายางจาก 20% เป็น 12% จะยิ่งทำให้การนำเข้ายางจากไทยเพิ่มมากขึ้น (อินเดียนำเข้ายางจากไทยเป็นหลักอยู่แล้ว) เราประเมินราคาเป้าหมาย 36 บาท โดยใช้PE 9 เท่า (ยังไม่รวมหุ้นที่จะเพิ่มทุน) แต่หากขยับเป็น 10 เท่า เป้าหมายอาจขยับไปได้ถึง 40 บาท ยังเก็งกำไรได้
• (0) หุ้นที่คาดว่าจะเข้าคำนวณ SET50 (1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2011) – เข้าBTS, PTL, ROBINS, SSI, STA, DCC ออก – BCP, KSL, HANA, PSL, QH, TTA// ส่วนหุ้นที่คาดว่าเข้าคำนวณ SET100 – เข้า AJ, GLOBAL, KKC, PTL, SMT,TTCL ออก – BMCL, CENTEL, GJS, MILL, SAT, SC
• Fund Flow วานนี้ยังไหลเข้าต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ปริมาณเบาบางประเด็นหลักอยู่ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหลายดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาดแต่อย่างไรก็ตามตัวเลขอัตราการว่างงานในสหรัฐที่ประกาศเมื่อวันศุกร์กลับสูงกว่าที่คาด ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนยังค่อนข้างสับสน อย่างไรก็ตามเฟดส่งสัญญาณว่าอาจจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากกว่าที่เคยประกาศเพื่อให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น ฝั่งยูโรโซนยังก็ยังมีความขัดแย้งในการแก้ปัญหาหนี้ของตัวเอง ส่งผลให้ค่าเงินยูโรปที่เพิ่มกับมาแข็งค่าอ่อนลงอีกครั้ง ในขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับขึ้นรับเฟดอาจเพิ่มเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับค่าเงินบาทเช้านี้ทรงตัวอยู่ที่
ระดับ 30 บาท/ดอลลาร์ ทำให้เรามองว่าแนวโน้มกระแสเงินทุนในสัปดาห์นี้จะยังไหลเข้าแต่ไม่มาก แต่หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์จะได้รับความสนใจในการลงทุนเป็นพิเศษ


ข่าวภายในประเทศ
กลุ่มสื่อสาร: แหล่งข่าวเผยคณะกรรมการตามมาตรา 22 พ.ร.บ.ร่วมทุนมีข้อสรุปกรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานมือถือระหว่าง ADVANCกับ TOT ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของพ.ร.บ.ร่วมทุน ให้ ADVANC กลับไปจ่ายส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาสัมปทานก่อนการแก้ไขในอัตรา 30% (จากปัจจุบันจ่าย 25% ไปถึงสิ้นอายุสัมปทานปี 2013) หลังจากนี้ จะนำเสนอให้ครม.พิจารณาเห็นชอบ (Source: กรุงเทพธุรกิจ 7 ธ.ค.10) ความเห็น: เป็น Sentiment เชิงลบ ต่อ ADVANC และต่อหุ้นมือถืออื่นๆ ทั้งนี้ ประเด็นการตรวจสอบการแก้ไขสัญญาสัมปทานในอดีตดังกล่าว เป็นPending issue มาตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค. 10 หลังคำตัดสินของศาลในคดีทักษิณ ทั้งกรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่าง TOT กับ ADVANC, และระหว่าง กสท. กับ DTAC รวมถึงกสท. กับ TRUE และ กระทรวง ICT กับ THCOM ในกรณีของการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่าง TOT กับ ADVANCโดยปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้บริการโทรศัพท์มือถือแบบพรีเพด เหลือ 20% จากเดิมที่เป็นอัตราขั้นบันได เพิ่มเป็น 25% ตั้งแต่ปี 2001 และเพิ่มเป็น30% ตั้งแต่ปี 2006 - สิ้นสัมปทานปี 2015 จากที่เราเคยประเมิน ผลกระทบกรณี Base case (หากต้องจ่ายค่าสัมปทานเพิ่มใน 5 ปีข้างหน้าถึงปี 2013)ประมาณ 9 บาทต่อหุ้น จากราคาเป้าหมายเดิมที่ 104 บาท อย่างไรก็ตาม การแก้ไขสัญญาสัมปทานฯ ดังกล่าว ที่ไม่ได้มีการผ่านครม ตามพรบ.ร่วมทุนฯ เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐคู่สัมปทาน คือ TOT เอง ทั้งนี้ กระบวนการต่อสู้ในทางกฎหมาย คาดว่าจะใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ข้อสรุป
TOP กำไรเพิ่ม 5 พันล้าน! ข่าวดีรัฐขึ้นราคาแอลพีจี ค่ากลั่นขยับอีก 1 เหรียญ แนะซื้อเป้าใหม่ 85 บาท “ไทยออยล์” ขานรับข่าวดีรัฐปรับขึ้นราคาแอลพีจี “มาร์ค” ลั่นประกาศโครงสร้างใหม่ 17 ธ.ค.นี้ ปรับขึ้นทั้งหน้าโรงกลั่นและภาคขนส่ง “สุรงค์” เชื่อกำไรมีโอกาสเพิ่มขึ้นปีละ 4-5 พันล้านบาท จากค่าการกลั่นขยับอีก 0.5-1 เหรียญต่อตัน แถมค่าการกลั่นรวมไตรมาส 4 เฉลี่ยสูงกว่า 4-5 เหรียญต่อบาร์เรล บล.ฟินันเซียไซรัส เชียร์ซื้อให้ราคาเป้าหมายใหม่ 85 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-12-2010)
TPOLY อัพเกรดขึ้น SET รับพันธมิตร-บิ๊กโปรเจ็กต์ TPOLY บิ๊กเซอร์ไพรส์ส่งท้ายปี ย้ายเข้าเทรดตลาดหลักทรัพย์ (SET) ปลายปีนี้ ด้วยทุนจด
ทะเบียน 360 ล้านบาท หลังฐานเงินทุนสูงขึ้น ขณะที่รายได้-กำไรเติบโตดี มีงานใหม่เข้ามาต่อเนื่อง ส่งผลเจรจาพันธมิตรง่ายขึ้น ดีต่อการขยายงานอนาคต สอดคล้องกับเป้ารายได้ 5,000 ล้านบาทภายใน 3 ปี (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-12-2010)
BEC ไตรมาส 4โฆษณาพุ่ง2.8 พันล้าน ปีนี้ไม่จ่ายสัมปทาน MCOT ดันตัวเลขรายได้สดใส BEC รายได้โฆษณาไตรมาส 4 ทุบสถิติทะลุ2,800ล้านบาท ขึ้นค่าโฆษณาลูกค้าแถมได้ไฮซีซั่นช่วยดัน “ฉัตรชัย” การันตีงบทั้งปีโตสุดหรู ไร้อุปสรรคขวางกั้น ฟากวงการเงินชี้ ไม่ต้องบันทึกค่าสัมปทาน
ที่จ่ายให้ MCOT ยิ่งหนุนกำไรปี 2553 ลอยลำเกิน 3,200 ล้านบาทแน่ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-12-2010)
MAKRO ลุ้นปันผลงาม 3 บาท โฮเรก้ากระตุ้นยอดขายเพิ่ม MAKRO ลุ้นกำไรปีนี้ 1.83 ล้านบาท โบรกมองให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงสุดใน
กลุ่มค้าปลีก ลุ้นจ่ายปันผลไตรมาส 4 อีก 3 บาท พร้อมเชื่อสินค้าโฮเรก้าเป็นปัจจัยหลักหนุนยอดขายเพิ่ม ตั้งเป้าปรับสัดส่วนยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 40-50% จาก 20% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-12-2010)
PTL การันตีรายได้ปีนี้หมื่นล้าน ขานรับราคาแผ่นฟิล์มพุ่ง ลงทุนใหม่ 100 ล้านเหรียญ PTL ลั่นรายได้งวดปี 53/54 (เม.ย.53-มี.ค.54) แตะ 1หมื่นล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากปีก่อนมีรายได้ 7.3 พันล้านบาท ขานรับราคาผลิตภัณฑ์ฟิล์มพุ่ง ปีหน้ามีแผนลงทุนราว 100 ล้านดอลลาร์
สหรัฐในช่วงปี 54/55 เพื่อขยายการลงทุนในประเทศไทย ตุรกี และอินเดีย ส่วนราคาหุ้นปล่อยตามกลไกตลาด (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-12-2010)
----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.

ข่าวต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา: คอนเฟอเรนซ์บอร์ดเผยดัชนีแนวโน้มการจ้างงานเดือนพ.ย.ของสหรัฐพุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเอกชนของสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานเดือนพ.ย.พุ่งขึ้น 1.4% แตะระดับ 99 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี บ่งชี้ว่าตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นในปี 2554 การเปิดเผยดัชนีแนวโน้มการจ้างงานของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด มีขึ้นหลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payrolls) เดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 39,000 ตำแหน่ง และอัตราว่างงานเดือนพ.ย.พุ่งขึ้นแตะระดับ 9.8% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 9.6% (ที่มา: อินโฟเควสท์ 7-12-2010)
สหรัฐอเมริกา: ปธ.เฟดแย้มอัดฉีดงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ขณะอัตราว่างงานพุ่งสูง นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)กล่าวยอมรับว่า การใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง หรือ QE2 ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลนั้น อาจมีมูลค่าสูงกว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ตามที่ได้มีการประกาศไปเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะที่อาจต้องใช้เวลาถึง 5 ปีกว่าที่อัตราว่างงานของสหรัฐจะลดลงสู่ภาวะปกติ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 6-12-2010)
สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้นเพียง 39,000 ตำแหน่ง อัตราว่างงานพุ่งแตะ 9.8% กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร (nonfarm payrolls) ประจำเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้นเพียง 39,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 140,000 ตำแหน่ง และน้อยกว่าเดือนต.ค.ที่ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งถึง 172,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานเดือนพ.ย.พุ่งขึ้นแตะระดับ 9.8% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 9.6% และนับเป็นเดือนที่ 19 ติดต่อกันที่อัตราว่างงานของสหรัฐเคลื่อนไหวอยู่เหนือระดับ9% ส่วนจำนวนคนที่ไม่มีงานทำในเดือนพ.ย.มีอยู่ทั้งสิ้น 15.1 ล้านคน มากกว่าเดือนต.ค.ที่ระดับ 14.8 ล้านคน (ที่มา: อินโฟเควสท์ 4-12-2010)
สหรัฐอเมริกา: สถาบัน ISM เผยดัชนีภาคบริการของสหรัฐเดือนพ.ย.ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ(ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐในเดือนพ.ย.ขยายตัวสู่ระดับ 55.0 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสดในรอบ 6 เดือน จากเดือนต.ค.ที่ระดับ 54.3 จุดทำสถิติขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ดัชนี ISM ภาคบริการเป็นดัชนีชี้วัดกำลังซื้อของกลุ่มผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคบริการ โดยดัชนีที่เคลื่อนไหวสูงกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่าภาคบริการมีการขยายตัว และดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่า 50 จุดบ่งชี้ถึงภาวะหดตัวในภาคบริการ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 4-12-2010)
จีน: NDRC ชี้จีนเตรียมขึ้นดบ.อีก หลังรบ.ประกาศใช้นโยบายการเงินรอบคอบปีหน้า คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน(NDRC) ระบุว่า การประกาศเปลี่ยนไปใช้นโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง บ่งชี้ว่าการขยายตัวของอุปทานเงินในปี 2554 จะต่ำกว่าปี 2553 และธนาคารกลางจีนอาจขึ้นดอกเบี้ยอีก (ที่มา: อินโฟเควสท์ 6-12-2010)
----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น