Code 103 : ยืน 800 ได้ มีลุ้น 820

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2553

ATT Code : ยืน 800 ได้ มีลุ้น 820
ปัจจัยสำคัญที่จะหนุนให้ดัชนีปรับตัวขึ้นคือ
1. การทยอยแข็งค่าของเงินหยวน ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินในเอเชียแข็งค่าขึ้นตาม และเป็นปัจจัยดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติให้ไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย แต่จะไม่มากอย่างมีนัยสำคัญอย่างน้อยจนกว่าจะพ้นเดือน ก.ค.โดยเลือก
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินหยวนแข็งค่าเช่น และมี story เฉพาะตัว สัปดาห์นี้มี CK, CPF, IVL, PTT, PTTCH, STA, TCAP, TVO
2. ได้เห็นผลของ Stress Test
ในแบงก์ยุโรปครึ่งหลังของเดือน ก.ค.
3. ปฏิกิริยาของตลาดหลังผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ในวันที่ 4 ก.ค. นี้
ทั้งนี้ เห็นตัวอย่างได้จากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.5% W-W ตลาดหุ้นจีน +1.6% W-W ค่าเงินในเอเชียอื่นแข็งค่าเฉลี่ย 0.2% W-W ตลาดหุ้นในเอเชียบวกเฉลี่ย 0.7% W-W มีแรงซื้อของต่างชาติในหลายตลาดได้แก่ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทย
4. รายงานเศรษฐกิจเดือน พ.ค. ของไทยในวันพุธ ซึ่งเป็นวันสิ้นเดือน (Window Dressing) เป็นที่จับตาว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเดือน พ.ค. จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนมากเท่าใด
5. เริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาให้เห็นบ้างแล้ว คาดมีลุ้นดีดกลับขึ้นเร็วๆ นี้
(สรุปข่าว จากข้อมูล FSS)
6. ส่วนทางด้านเทคนิดแล้ว ถ้ายืนแนวรับที่เส้น 5 วัน อยู่ที่ 788 ได้ ซึ่งยังรักษาระดับที่ 800 ได้ ก็ทำให้ภาพยังออกมาดูดี เพราะเมื่อวันศุกร์ SET ก็ยังสามารถกลับยืนที่ 793 เหนือเส้น 10 วัน ที่ 791 อยู่ ทำให้แนวต้านแรกอยู่ที่ High ที่ผ่านมา คือ 808 และแนวต้านต่อมาที่ BB Top ที่ 816 และเป้าหมายที่ High เดิม ที่ 820

7. SET ปิดตลาดที่ 804.40 จุด +10.73 จุด SET สามารถมายืนเหนือ 800 ได้ โดยสามารถปิดเป็น High ของวันได้ด้วย ประกอบกับ STO นั้น %K ก็ตัด %D ขึ้นไปแล้ว พร้อมทั้ง MACD ก็ตัดเส้น Signal ขึ้นมาแล้ว โดยองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้ ทำให้ภาพ SET ออกมาดูดีมาก โดยแนวโน้มในวันพรุ่งนี้มีสิทธิ์ที่จะผ่านแนวต้านที่ 808 ได้ ซึ่งตลาดยุโรปที่เปิดมาก็ +1% แล้ว


----------------------------------------------------------------------------
FSS

แม้สัปดาห์ที่ผ่านมา Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติยังเป็นซื้อสุทธิ แต่มีปริมาณที่น้อยมาก อีกทั้งยังขายสุทธิต่อเนื่องในช่วงท้ายสัปดาห์ ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา FundFlow ไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตลาดหุ้นเกาหลีใต้และไต้หวัน

แนวโน้มสัปดาห์นี้กระแสเงินทุนจากต่างชาติน่าจะทรงตัวหรืออาจชะลอตัวลงอีก เนื่องจากตลาดยังไม่มีทิศทางชัดเจน ความกังวลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของเศรษฐกิจยุโรปยังไม่มีความชัดเจนมากนัก แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินยุโรค่อนข้างนิ่งอยู่ที่ 1.23 ดอลลาร์/ยุโร ค่าเงินบาทแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

-ความกังวลต่อโอกาสที่อาจจะเกิดพายุในพื้นที่ใกล้กับอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้ราคาน้ำมัน NYMEX ส่งมอบเดือน ส.ค.ทะยานขึ้นถึง 2.35 ดอลลาร์ ปิดตลาดที่ 78.86 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ยังอ่อนลงต่อเนื่อง
-ราคาทองคำส่งมอบเดือน ส.ค. ที่ตลาด COMEX ปิดพุ่งขึ้น10.30 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,256.20 ดอลลาร์/ออนซ์
-BDI ปิดที่ 2501 จุดปิดลบไปเพียง 1 จุด

--------------------------------------------------------------------------------
Indraday


หนึ่งถึงสองวันข้างหน้าปรับตัวลง 787 - 789
และมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ 787 - 802 อีกหลายวัน หรืออาจตลอดทั้งสัปดาห์ ?
เพื่อรอลง 770 เส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน
SF
ทะลุกรอบสามเหลี่ยม ระยะเดือน
ทยอยซื้อแถว 3.40 - 3.44 หรือซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 3.84 เป้าหมายสัปดาห์ขึ้นไป 4.50 - 5.50 ต่ำกว่า 3.28 ขาย

RCL
ทะลุกรอบสามเหลี่ยม ระยะเดือน
ทยอยซื้อแถว 13 - 13.30 หรือซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 14.50 เป้าหมายสัปดาห์ขึ้นไป 16.20 - 19.70 ต่ำกว่า 12.50 ขาย

--------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย

ไทยรัฐ - ทิศทางหุ้น 28/06/53
ภาวะการซื้อขายหุ้น
แนวโน้มในสัปดาห์นี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมกลุ่ม จี 20 ในช่วงสุดสัปดาห์ (25-27 มิ.ย.) ความคืบหน้าประเด็นหนี้ในยุโรป ทิศทางของราคาน้ำมันและค่าเงินหยวน ตลอดจนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยในประเทศ ได้แก่ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อโดย ธปท.และกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 786 และ 758 จุด ขณะที่ แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 810 และ 820 จุด

ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัว ท่ามกลางสภาพคล่องที่ยังมีอยู่มากในตลาดเงิน โดยธนาคารพาณิชย์เตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนซึ่งเป็นช่วงสิ้นงวดกลางปีด้วย ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืนหนาแน่นทั้งสัปดาห์ที่ระดับ 1.12%

เงินบาทในประเทศ (Onshore) แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบประมาณ 1 เดือนในช่วงต้นสัปดาห์ เช่นเดียวกับทิศทางของสกุลเงินอื่นๆในเอเชียที่ได้รับแรงหนุนจากการประกาศเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเงินหยวนของทางการจีน สำหรับในวันศุกร์ เงินบาทอ่อนค่ากว่าระดับ 32.40 ก่อนลดช่วงติดลบมาปิดตลาดปลายสัปดาห์ที่ระดับ 32.38 บาทต่อดอลลาร์ฯ.

บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัก

ประชาชาติ :คอลัมน์ เกาะติดตลาดหุ้น-เงิน


- ตลาดหุ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีแรงซื้อกลับจากต่างชาติ หลังจากที่จีนประกาศปล่อยค่าเงินหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตลาดหุ้นขึ้นขานรับข่าวในทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาค ดัชนีปิดวันแรก ที่ 806.07 จุด เพิ่มขึ้น 14.22 จุด มูลค่า การซื้อขาย 29,913.40 ล้านบาท
- ช่วงกลางสัปดาห์ ตลาดมีแรงเทขายทำกำไรหุ้นในกลุ่มพลังงานและแบงก์ แต่ มีแรงซื้อหุ้นกลางและเล็กในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ อาหาร และธุรกิจการเกษตร ดัชนีปิดที่ 806.52 จุด เพิ่มขึ้น 2.39 จุด มูลค่าการซื้อขาย 23,347.96 ล้านบาท ท้ายสัปดาห์ ตลาดทรงตัว ดัชนีปิดที่ 793.67 จุด เพิ่มขึ้น 0.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 21,051.02 ล้านบาท
- สัปดาห์นี้ บล.ธนชาติคาดดัชนีมีแนวรับ 782-800 จุด แนวต้าน 800-809 จุด
- ด้านค่าเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา เปิดตลาดที่ 32.30/31 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 32.40/41 เป็นผลจากที่รัฐบาลจีนประกาศ ให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวยืดหยุ่น โดยเงินหยวนแข็งค่าขึ้น ทำให้ค่าเงินในสกุลเอเชียเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน เงินบาทขยับแตะแข็งค่าสุดในรอบสัปดาห์ที่ 32.26
- หลังจากนั้นค่าเงินเอเชียกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้ง หลังสหรัฐประกาศยอดขายบ้านประจำเดือน พ.ค. ออกมาต่ำกว่าที่คาด นักลงทุนเกิดความกังวลและกลับเข้ามาถือเงินสกุลดอลลาร์อีกครั้ง ทำให้กลางสัปดาห์ถึงท้ายสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.38 และปิดตลาดที่ 32.39/40
- สัปดาห์นี้ สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย คาดเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.25-32.60 แนะจับตาการปล่อยให้ค่าเงินหยวนแข็งค่า จะเป็นปัจจัยหลักต่อเงินลงทุนไหลเข้าภูมิภาค และส่งผลให้ค่าเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น

FSS:เริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาให้เห็นบ้างแล้ว คาดมีลุ้นดีดกลับขึ้นเร็วๆ นี้...
แนวโน้ม:
หลังสภาคองเกรสของสหรัฐได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายการปฏิรูปกฎระเบียบทางการเงิน ที่ ปธน.โอบามา พยายามผลักดันอยู่ และนักลงทุนในตลาดค่อนข้างกังวลมาก่อนหน้าว่ากฎระเบียบนี้จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินในอนาคต แต่สุดท้ายเมื่อกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาฯ และนักลงทุนได้ศึกษารายละเอียดแล้วก็เริ่มมั่นใจว่าไม่น่าจะส่งผลต่อกำไรของบริษัทในวอลล์สตรีทมากเท่ากับที่เคยคาดไว้เดิม จึงทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงไม่มากนัก ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ยังเปิดทำการด้วยอาการลังเล โดยเคลื่อนไหวเป็นบวก-ลบแคบๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามเราจะพบว่า SET มีแรงซื้อกลับเข้ามาพอควรในช่วงท้ายตลาดของสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ FSS คาดว่าสัปดาห์นี้ SET มีโอกาสที่จะรีบาวด์กลับขึ้นให้เทรดดิ้งตามรอบได้ ดังนั้นอ่อนตัวยังน่ารับ เพื่อรอหาจังหวะขายทำกำไรเมื่อตลาดขยับขึ้นต่อไป
กลยุทธ์: โดยหุ้นที่น่าสนใจทยอยเข้ารับ เพื่อที่จะเทรดดิ้งขึ้นไปขายทำกำไรเมื่อตลาดดีดกลับขึ้นได้นั้น ได้แก่ DTAC, KK, TMB, BBL, KBANK, KH, TTW, PDI, LST, HANA, QH, BECL, TSTH, ESSO เป็นต้น

ประเด็นสำคัญวันนี้
-ผลการประชุม G20 เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาปิดฉากลงโดยให้น้ำหนักกับการหาแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันก็พยายามลดการขาดดุลงบประมาณลงประมาณครึ่งหนึ่งภายใน 3 ปีเพื่อแก้วิกฤตหนี้ โดยเฉพาะหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งคาดว่าปัจจุบันน่าจะมีสัดส่วนถึงระดับ 107.7% ของ GDP โลก ที่ประชุมยังพิจารณาออกกฎกำกับการดำรงเงินกองทุนสำหรับธนาคารให้เข้มงวดขึ้น และแสดงความชื่นชมที่จีนประกาศยืดหยุ่นอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินหยวนกับดอลลาร์ ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันด้านการค้าที่ยุติธรรมมากขึ้น
-กลุ่มรับเหมาสัปดาห์นี้ลุ้นเปิดซองราคารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสัญญาที่ 1 และ 2 มูลค่า 11,592 ล้านบาทและ 10,766 ล้านบาท ตามลำดับ ผู้ที่ยื่นซองของสัญญาที่ 1 และ 2 มี CK, ITD, SN Joint venture (STEC+NWR) อย่างไรก็ตาม คาดว่า CK และ ITD มีโอกาสสูงเพราะเป็นงานใต้ดินที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่หุ้นรับเหมาทุกตัวมีโอกาสในเก็งกำไรเท่าๆ กัน ที่สำคัญคืออย่าลืมขายหลังประกาศผล!! ความเสี่ยงสำหรับการเก็งกำไรคือการเลื่อนประมูล ซึ่งมีเว็บไซด์ประชาชาติธุรกิจแหล่งเดียวที่บอกว่าเลื่อนไปไม่มีกำหนด
-ลุ้นมาบตาพุดเข้า ครม. อังคารนี้ เพื่ออนุมัติประเภทโครงการที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลังจาก ครม. อนุมัติ จะประกาศเป็นกฎกระทรวงเพื่อให้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายต่อไป ส่วนโครงการที่ไม่ได้อยู่ในประเภทดังกล่าวก็จะยื่นขอปลดล็อก ซึ่งเราคาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ใน 4Q10 นับเป็นข่าวดีกับ PTT, PTTCH, SCC
-คาดการณ์ผลประกอบการกลุ่มแบงก์ในสัปดาห์นี้ โดยรวมน่าจะลดลง ~5-6% Q-Q แต่เพิ่มขึ้น ~15% Y-Y KTB เป็นหุ้นเรามีแนวโน้มปรับประมาณการขึ้นหลังสินเชื่อขยายตัวแรงกว่าที่คาด แต่ยังคงคำแนะนำ ‘ถือ’ ส่วน Top Pick เราชอบ KBANK ขณะที่ BAY เรามีมุมมองที่แย่ลง และมีมุมมองที่ดีขึ้นกับ TCAP
-สัปดาห์นี้มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องจับตามองคือ 1) รายงานเศรษฐกิจเดือน พ.ค. ของไทยในวันพุธ ซึ่งเป็นวันสิ้นเดือน (Window Dressing) เป็นที่จับตาว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเดือน พ.ค. จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนมากเท่าใด 2) วันพฤหัสมีรายงานเงินเฟ้อของไทยเดือน มิ.ย. ซึ่งคาดว่าจะทรงถึงลงเล็กน้อย ที่สำคัญคือ 3) การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ซึ่งสร้างความวิตกให้นักลงทุนในเดือนก่อนจากการจ้างงาน ดัชนีมีโอกาสลุ้นทดสอบ High เดิมที่ 820 จุด เลือกหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินหยวนแข็งค่าเช่น และมี story เฉพาะตัว สัปดาห์นี้เราแนะนำ CK, CPF, IVL, PTT, PTTCH, STA, TCAP, TVO

ข่าวภายในประเทศ
TRUBB รายได้หมื่นล้านพาร์ใหม่วันนี้เกิน 12 บาท :
ไล่ซื้อหุ้นคึกก่อนขึ้น XD - ผุดโรงงานยางเส้นครึ่งหลัง TRUBB ปีนี้ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 25% ลุ้นรายได้ทะลุหมื่นล้านบาท ขานรับอานิสงส์ราคายางพาราสูงยืนเกิน 100 บาทต่อกิโลกรัม ตามปริมาณดีมานด์ตลาดโลกพุ่งกว่า 5%เชื่อราคาพาร์ใหม่วันนี้วิ่งเกิน 12 บาท เหตุนักลงทุนแห่ซื้อก่อนแขวนป้าย XD 29 มิ.ย.นี้ ล่าสุด “วรเทพ” เล็งทุ่ม 100 ล้านบาท ผุดโครงการขยาย โรงงานทำยางเส้น 2 แห่งภาคอีสานช่วงครึ่งปีหลัง รองรับตลาดในอนาคต (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 28-06-2010)
กรุงไทยลูบปากอีกรอบรับปันผลวายุภักษ์ 875 ล. 5 แบงก์พาณิชย์กรี๊ดสนั่น บลจ.เอ็มเอฟซี ยันงวดครึ่งปีปันผลวายุภักษ์ไม่ต่ำกว่า 3% แน่นอนแถมข่าวดีกองทุนใกล้อายุครบ 4 ปี มีโอกาสปันผลเพิ่มขึ้นอีก เหตุมีกำไรสะสมจนกระเป๋าตุง ด้านแบงก์กรุงไทยเช็ดปากรอ รับมากสุด 875 ล้านบาท ส่วนแบงก์ไทยพาณิชย์ 297 ล้านบาท ธนาคารที่เหลือคือ SCIB BAY และ CIMBT (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 28-06-2010)
AH-TSC ส้มหล่น! ฟอร์ดซื้อชิ้นส่วนมูลค่า 2.6 หมื่นล้าน ฟอร์ดจ่อเทงบ 26,000 ล้านบาท ซื้อชิ้นส่วนในประเทศรองรับโรงงานใหม่ AH-TSCTRUสายสัมพันธ์ออโต้อัลลายแอนซ์แน่น จ่อคิวได้รับงานเพิ่ม AH โชว์กำไร Q2 ขั้นต่ำ 30 ล้านบาท ฟาก TSC อ้าแขนรับงาน หลังปัจจุบันครองส่วนแบ่งชุดควบคุมสายเกิน 75% เอ็มดี TRU สั่งลุยกินแชร์วางแผนทุ่มขั้นต่ำ 300 ล้านบาท ขยายโรงงานผลิตรองรับออเดอร  (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น28-06-2010)
“คีรี”ลั่นปีนี้ BTS จ่ายปันผล “คีรี” โวปีนี้ BTS กำไรชัวร์ พร้อมจ่ายปันผลแน่นอน ระบุปริมาณผู้โดยสารกลับมาแล้ว หลังเกิดปัญหาการเมืองแถวราชประสงค์ ยืนยันผลกระทบไม่มากอย่างที่คิด แถมล่าสุดเพิ่งรับรถเพิ่มอีก 12 ขบวน มั่นใจทำผู้โดยสารกระฉูด 5-10% ตั้งเป้ารายได้ปีนี้โต 8%เล็งเพมิ่ ทุน BTS อีก 3-5 พันล้านบาท ใน 2 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 28-06-2010)
TRUE เตรียมรีไฟแนนซ์ ซีพีออกหน้าเจรจาแบงก์ ซีพีกรุ๊ปผู้ถือหุ้นใหญ่ TRUE ออกหน้าเจรจารีไฟแนนซ์เงินกู้นอกประเทศ งานนี้ TRUE รับ 2 เด้ง ทั้งประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่าทำให้คืนหนี้น้อยกว่าเดิมกับลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของต่างประเทศสูงสุด 11% เหลือไม่เกิน 7% เทียบเรตกู้แบงก์ในประเทศ มั่นใจดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงทุก 1% ช่วยลดค่าใช้จ่ายปีละ 240 ล้านบาท บล.ภัทรยันรีไฟแนนซ์ช่วย TRUE อยู่รอด แนะซื้อราคาเป้าหมาย 4.40 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 28-06-2010)
MAJOR-MPIC โชว์กำไรสวยทั้งคู่ หนังทำเงินเข้าฉายเพียบ รับรู้ขาดทุน CAWOW น้อยลง MAJOR-MPIC กำไรสวยทั้งคู่ ด้านวงการชี้ MAJOR ฟาดกำไรทะลักขั้นต่ำ 100 ล้านบาท โตจากเดิมบานตะไท หนังใหญ่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาทเข้าฉายเพียบ การเมืองไม่กระเทือน ได้สาขาอื่นทดแทนพารากอน แถมรับรู้ขาดทุน CAWOW น้อยลง หลังถือหุ้นเพียง 19% จ่อคิวรับรู้กำไรขายสินทรัพย์เข้ากองทุนอสังหาฯอีก 188 ล้านบาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 28-06-2010)
HEMRAJ มาตามนัดฟอร์ดซื้อที่ดิน 468 ไร่รับรู้รายได้ถึงปีหน้า “HEMRAJ” ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับ “ฟอร์ดมอเตอร์ คัมปะนี ประเทศไทย”468 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง เพื่อตั้งโรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทย คาดจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้และปีหน้า ตามช่วงระยะเวลาการเสร็จสิ้นในแต่ละเฟสของแผนการพัฒนาโครงการของฟอร์ด มอเตอร์ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 28-06-2010)
ADVANC ไตรมาส 2 กำไร 4,500 ล้าน DTACฉลอง 20 ล้านเลขหมาย เชื่อกำไรปีนี้เพิ่มขึ้น 50% งบไตรมาส 2 บริษัทมือถือคาดทำรายได้-กำไรดีขึ้นจากปีก่อนถ้วนหน้า แต่ลดลงจากช่วงไตรมาสแรก หลังโดนปัจจัยโลว์ซีซั่นกระทบ ชี้ AIS ฟันกำไรได้ไม่ต่ำกว่า 4,500 ล้านบาท กลยุทธ์ลดรายจ่าย ดันนอนวอยซ์เสริมรายได้ ส่วน DTAC หาลูกค้าใหม่เข้าระบบได้ 3 แสนเลขหมาย ทำยอดรวมทะลุ 20 ล้านรายแล้ว ส่วนกำไร
เพิ่มขึ้นจากปี 2552 กว่า 50% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 28-06-2010)

--------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.

ข่าวต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา: เฟดตรึงดอกเบี้ยไว้ที่เดิม ห่วงหนี้ ยูโร โซนป่วน "เฟด"คงอัตราดอกเบี้ย ห่วงปัญหาหนี้ "ยูโร โซน" กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขณะที่ "แบงก์ชาติ" ยัน ไม่ส่งผลกระทบกับการตัดสินใจเรื่องนโยบายดอกเบี้ยของไทย ชี้เศรษฐกิจแถบเอเชียเริ่มฟื้นตัว ทำให้ความจำเป็นใชดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นเศรษฐกิจมีน้อยลง สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนว่า คณะกรรมการกำกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ออกแถลงการณ์ ตัดสินใจตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่าเกรงภาวะหนี้สินในยุโรปหรือประเทศแถบยูโร โซน จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (ที่มา: แนวหน้า 25-06-2010)
สหรัฐอเมริกา: สหรัฐปรับลดการประเมิน GDP ไตรมาสแรกปีนี้ เป็นขยายตัว 2.7% จากเดิม 3% กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงาน ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัว 2.7% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัว 3% ต่อปี (ที่มา: อินโฟเควสท์ 26-06-2010)
จีน: ธนาคารกลางจีนแนะรัฐบาลเพิ่มช่องทางการใช้เงินหยวนเพื่อให้มีบทบาทใน ตลาดโลกมากขึ้น นายเซียะ เตา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาตลาดการเงินของธนาคารกลางจีน และนายหลี่ เตากุย ที่ปรึกษาธนาคารกลางจีน กล่าวแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมด้านการเงินซึ่งจัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ้วันนี้ ว่า รัฐบาลจีนจำเป็นต้องเพิ่มช่องทางการใช้สกุลเงินหยวนให้กับนักลงทุนและบริษัท เอกชนให้มากขึ้น หากจีนต้องการให้สกุลเงิน
หยวนก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในตลาดโลก และควรเปิดช่องทางให้มีการทำธุรกรรมสกุลเงินหยวนเมื่อเทียบกับเงินเยนและยู โร (ที่มา: อินโฟเควสท์ 27-06-2010)
เอเชีย: รัฐบาลเวียดนามคาดมูลค่าการส่งออกเดือนมิ.ย.พุ่ง 24.7% หลังราคาสินค้าตลาดโลกฟื้นตัว รัฐบาลเวียดนามคาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของเวียดนามในเดือนมิ.ย.จะพุ่งขึ้น 24.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 6 พันล้านดอลลาร์ ส่วนมูลค่าการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 3.213 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากราคาสินค้าในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็น
ผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (ที่มา: อินโฟเควสท์ 27-06-2010)

--------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น