Code 102 : 3 ปัจจัย ทำให้หุ้นหลุด 800

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2553

ATT Code : 3 ปัจจัย ทำให้หุ้นหลุด 800
1. กลต.คุม "บล." เก็งกำไร ทำหุ้นร่วงหลุด 800 จุด หุ้นไทยร่วงหนัก หลุด 800 จุด หลังข่าวลือหนาหู ก.ล.ต.เตรียมคุมเข้ม Pop Trade ไม่ให้เก็งกำไรที่มากเกินไป ด้านสมาคม บล.ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเรื่องความเสี่ยงของการเทรดหุ้นของโบรกเกอร์ ส่วน ก.ล.ต.ย้ำหากบอร์ดโบรกเกอร์ไม่ดูแลมีสิทธิ์ต้องรับโทษด้วย "จารุพรรณ" ย้ำต้องการป้องกันความเสี่ยง Pop Trade เกรง ลามอุตสาหกรรม แนะทำไกด์ไลน์ของโบรกฯ เอง
2. วิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกรีซ โปรตุเกส และสเปน
3. การเมืองภายในประเทศ
เป็น 3 ปัจจัยที่กดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยหลุด 800 จุด
(ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 25-06-2010)

-แนวรับเส้น 10 วัน อยู่ที่ 792 และแนวต้านเส้น 5 วัน อยู่ที่ 797 และตามการวิเคราะห์ของ MARKET WAVE Analysis ดัชนีไม่น่าจะขึ้นไปได้เกิน 795 –799 จุด

---------------------------------------------------------------------------

------------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVEanalysis
25 มิย.53 ( -13.33 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ไม่น่าเกิน 795 – 799 จุด
ดัชนีในวันพฤหัส ปรับตัวลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง และต่ำกว่า 799.10 จุดต่ำสุดของวันที่ 21 มิย. ซึ่งถือเป็นสัญญาณการปรับตัวลงของตลาด

แนวโน้มระยะสั้นวันศุกร์นี้ ในกรณีปรับตัวขึ้น ดัชนีไม่น่าจะขึ้นไปได้เกิน 795 –799 จุด หรือไม่น่าจะขึ้นไปได้เกินบริเวณแนวต้านตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง

จากนั้น แนวโน้มหลักของตลาดเป็น“ขาลง” มีเป้าหมายสำหรับภาพเดือน กค. ในการปรับตัวลงบริเวณ 730 – 740 จุด ซึ่งเป็นบริเวณเป้าหมายตามเครื่องมือ Point &Figure

------------------------------------------------------------------------------
ตัวเลขเช้านี้ 25/06/53

ข้อมูลอื่นๆ ......SET ปิดที่ 793.19 จุด -13.33 จุด High 808.97 จุด low 793.19 จุด......แนวรับ 790-786 // 780 จุด แนวต้าน 800 // 808-812 จุด......PE SET 12.38 เท่า.........สัดส่วนการซื้อขาย ฝรั่งซื้อ 902.97 ล้าน กองทุนขาย 1119.33 ล้าน…........โบรกเกอร์ ที่ net buy CLSA 418, TSC 378, MACQ 326, TNS 207 และ DBSV 181……...โบรกเกอร์ที่ net sell KSEC -465, UBS -424, PHATRA -401, CS -329 และ PST -249........TFEX SET50 ปิดที่ 547.74 จุด -10.3 จุด.......S50M10 ปิดที่ 547.00 จุด -12.30 จุด .... high 560.00 จุด low 545.70 จุด OI 13,461 …… S50U10 ปิดที่ 543.40 จุด -12.70 จุด high 557.00 จุด low 542.70 จุด OI 8,008..............status futureวานนี้ Foreign net SHORT 967 - Fund net SHORT 1388 - Retail net LONG 2355.............ตลาดหุ้นต่างประเทศ DJ ปิด -145.64 จุด…..….ยุโรปปิด -1.5 ถึง -2%........ตลาดเอเซียเช้านี้ 9.25 น. NIX -143.58 จุด , HSKI -15.98 จุด , TWSE -79.31 จุด, KOSPI -9.01 จุด และ SHCOMP -9.71 จุด ......ดาวโจนส์ในตลาดล่วงหน้า +31 จุด.......ค่าเงิน - เงินบาท 32.43…เงินเยน 89.65……..COMODITY.... น้ำมัน NYMEX ส่งมอบ ส.ค. ปิดที่ 76.51 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล +0.16 ดอลล์.....ค่าการกลั่น 4.22 ดอลล์.......ทองคำ COMEX วานนี้ปิดที่ 1245.90 เหรียญ +11.10 ดอลลาร์......BDI ปิดล่าสุดอยู่ที่ 2502 จุด -13 จุด ….. ราคาสังกะสีในตลาด LME ล่วงหน้า 3 เดือนปิดล่าสุดที่ 1875.00 ดอลลาร์ต่อตัน +45.5 ดอลล์
สินค้าเกษตร...ราคาตลาดจริง (หน่วย : บาท/ กก.) ….ข้อมูลจาก WEB Site ของ AFET (www.afet.or.th)
ราคาประมูลยางแผ่นรมควันชั้น 3 (24/06/10) Hatyai A.M. 115.69 บ. +1.06 บ. // FOB.BKK 118.10 บ. +1 บ.
ราคาข้าวขาว 5% (23/06/10) 13.15 บ. ไม่เปลี่ยนแปลง
ราคาข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 (23/06/10) 28.12 บ. +0.17 บาท

------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย

ไทยรัฐ - By...อินเด็กซ์ 51 : เงาหุ้น-ตกใจหลุด 800 จุด!!
ดัชนีหุ้นวันที่ 24 มิ.ย. ปิดที่ 793.19 จุด ลดลง 13.33 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 30,735.27 ล้านบาท

นักลงทุนต่างชาติจับมือรายย่อยซื้อสุทธิ 902.96 ล้านบาท และ 590.19 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 1,119.33 ล้าน บาท ตามด้วยพอร์ตโบรกเกอร์ขายสุทธิ 373.83 ล้านบาท

หุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุด นำโดย PTT ปิดที่ 250.00 บาท ลดลง 4.00 บาท, CPF ปิดที่ 19.80 บาท ลดลง 0.30 บาท, STA ปิดที่ 90.25 บาท เพิ่มขึ้น 5.25 บาท, BANPU ปิดที่ 624.00 บาท ลดลง 10.00 บาท และ TCAP ปิดที่ 28.25 บาท ลดลง 1.00 บาท

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซียไซรัส ระบุว่า ตลาดที่ปรับตัวลดลง แรงกดดัชนีหลุดระดับ 800 จุดลงมา ทำให้บรรยากาศการลงทุนในช่วงบ่ายถูกกดดัน เพราะเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนัก ยิ่งทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลและขายหุ้นออกมา เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากนักลงทุนกลับมากังวลกับเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯอีกครั้ง เพราะเริ่มเห็นแรงขายออกมาในตลาดหุ้นยุโรปเช่นกัน ส่วนกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0-0.25% ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์

มองแนวโน้มตลาดระยะสั้นว่าขึ้นอยู่กับข่าวสารที่เข้ามากระทบโดยเฉพาะสถานการณ์ในยุโรปและสหรัฐฯ แนะกลยุทธ์การลงทุนให้ เทรดดิ้งซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้นเพียง 50% ของพอร์ต แต่ควรเทรดดิ้งอย่างระมัดระวัง

ด้านเทคนิคประเมินแนวรับดัชนีไว้ที่ 780 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 800 จุด

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง มองแนวโน้มดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด โดยนักลงทุนอาจชะลอการซื้อหุ้นหลังดัชนีลงมาต่ำกว่า 800 จุด ทั้งนี้ต้องจับตาทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศประกอบการลงทุนระหว่างวันด้วย

แนะกลยุทธ์การลงทุน ให้หาจังหวะซื้อเพื่อรอขายทำกำไรในหุ้นรายตัว เช่น KTB, BBL, KCE และ RCL เนื่องจากมองว่าราคาหุ้น ยังถูก และคาดว่าผลประกอบการจะฟื้นตัวดีขึ้น

มีบทวิเคราะห์ บล.พัฒนสิน ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น Bullish หุ้นกลุ่มเกษตรและอาหาร โดยให้เหตุผลดังนี้ อุปสงค์ยังเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจและไม่ค่อยได้รับผลกระทบหากเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่อุปทานเพิ่มไม่มาก เพราะโดนภัยแล้ง อากาศแปรปรวน พื้นที่การเกษตรลดลงและมีโรคระบาด และไทยยังเป็นผู้นำในตลาดโลก ทั้งยางพารา น้ำตาล ทูน่ากระป๋อง และไก่-กุ้งแปรรูป

ที่สำคัญ ยังคาดว่ากลุ่มนี้จะมีกำไรสุทธิโตถึง 29% ในปีนี้ ขณะที่ราคาหุ้น หรือพีอียังต่ำกว่าบริษัทในต่างประเทศจึงให้ CPF GFPT เป็น TOP PICK ในกลุ่มอาหารและให้ STA KSL เป็น TOP PICK ในกลุ่ม soft commodity รวมทั้งมี TVO และ UVAN สำหรับนักลงทุนที่ชอบเงินปันผลกลุ่มอาหาร!!

FSS:ตลาดปรับลง ยังน่าหาจังหวะทยอยเลือกหุ้นเข้ารับ เพื่อรอลุ้นทำกำไรตอนดีด!
แนวโน้ม: ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกลับมากดดันตลาดหุ้นอีกครั้ง หลังวันก่อนเฟดปรับลดมุมมองที่มีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐช่วงหลังที่แสดงท่าทีอ่อนแอลง ส่งผลให้มีแรงขายในตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่ง FSS คาดว่า SET ก็น่าจะถูกกดดันจากปัจจัยดังกล่าวเช่นกัน นอกจากนี้ปัจจัยภายในประเทศโดยเฉพาะด้านการเมืองก็กลับมาเป็นปัจจัยลบอีกครั้ง หลังจากที่ช่วงนี้เริ่มมีการพบระเบิดบ่อยครั้งขึ้น ทำให้จากที่นักลงทุนเคยคาดหวังไว้ว่ารัฐบาลอาจจะมีการยกเลิกการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ หลังจากที่ประกาศดังกล่าวจะหมดอายุในต้นเดือน ก.ค. นั้น มีแนวโน้มที่จะยังต้องใช้ต่อไป เพียงแต่อาจลดจำนวนพื้นที่ที่จะอยู่ภายใต้ พรก.ดังกล่าวลงบ้างเท่านั้น แต่สำหรับ กทม.คาดว่าจะยังต้องใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ ต่อไป ทำให้โอกาสที่ตลาดจะยังพักตัวลงต่อเนื่องในช่วงนี้ยังเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเรายังคาดหมายการพักตัวเพียงระยะสั้น ก่อนที่จะมีรอบรีบาวด์ขึ้นได้อีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยกรอบดัชนีระยะนี้ยังมีสิทธิแกว่งตัวอยู่เหนือ 770 จุดและมีลุ้นดีดกลับขึ้นไปสูงกว่า 800 จุดอีกครั้งได้
กลยุทธ์: ดังนั้นตลาดปรับตัวลงช่วงนี้จึงถือเป็นจังหวะน่าสนใจทยอยเลือกหุ้นเข้ารับ เพื่อที่จะเทรดดิ้งขึ้นไปขายทำกำไรเมื่อตลาดดีดกลับขึ้นได้ในรอบถัดไป โดยหุ้นที่น่าดูจังหวะเข้ารับเพื่อเทรดดิ้ง ได้แก่ DTAC, KK, TTW, PDI, LST, HANA, QH, BECL, TSTH, TMB, ESSO เป็นต้น

ประเด็นสำคัญวันนี้
-ความเสี่ยงที่พึงระวัง สถานการณ์ในต่างประเทศที่ยังไม่นิ่งทำให้เราเชื่อมาตลอดว่าต่างชาติจะยังไม่เพิ่มเม็ดเงินในตลาดหุ้นเอเชียอย่างมีนัยสำคัญแม้ว่าเศรษฐกิจของเอเชียจะแข็งแกร่งเพียงใดก็ตาม ความเสี่ยงสำคัญที่เรากังวลเพราะกระทบต่อ Fund flow กำลังเกิดขึ้นคือ 1. กฎหมายปฏิรูปสถาบันการเงินฉบับใหม่ของโอบามาที่มีความพยายามทำให้เสร็จก่อน 4 ก.ค. โดยได้ผ่านสภาล่างไปแล้ว ตอนนี้อยู่ที่วุฒิสภา สาระสำคัญคือห้ามไม่ให้แบงก์ทำธุรกรรมเสี่ยงเกินไปและไม่โปร่งใส อาจห้ามแบงก์ไม่ให้มี Proprietary trading (เพราะเท่ากับแบงก์นำเงินทุนมาทำให้เกิดความเสี่ยง) เป็นต้น 2. ผล Stress tests ของแบงก์ในยุโรปที่จะเสร็จสิ้นไม่เกินครึ่งหลังของเดือน ก.ค. หากแบงก์ตั้งสำรองไม่พอ จะทำให้เกิดการเพิ่มทุนส่งผลให้สภาพคล่องตึงตัว
-กลุ่มรับเหมายังอยู่เรดาร์ การเปิดซองราคารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสัญญาที่ 1 และ 2 อาจไม่ใช่วันจันทร์หน้า (28) ตามที่กำหนดเดิม แต่เชื่อว่าไม่เกินสัปดาห์หน้า ซึ่งทาง รฟท. คาดว่าจะอยู่ในสิ้นเดือน มิ.ย. นี้ ปัจจุบันคณะกรรมการ รฟม. อยู่ระหว่างการตรวจสอบสัญญา 1 และ 2 ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างละเอียด เพราะเป็นการก่อสร้างใต้ดินซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่า ผู้ที่ยื่นซองของสัญญาที่ 1 และ 2 มีรายชื่อเดียวกันคือ CK, ITD, SN Joint venture (STEC+NWR) ทั้งนี้ CK เป็นบริษัทที่เคยทำงานก่อสร้างใต้ดินจึงถือว่ามีความชำนาญ น่าจะเป็นตัวเก็ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ยื่นซองมีโอกาสเท่ากันทุกราย สำหรับหุ้นในกลุ่มรับเหมาที่ราคา laggard ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. คือ UNIQ (+3%) รองลงมาคือ ITD (+12%) NWR (+19%) SYNTEC (+19%) PLE (+21%) CK (+27%) ส่วนหุ้นที่ outperform สุดคือ STEC (+34%)
-BAY เรามีมุมมองที่แย่ลงและปรับเป้าหมายลงเป็น 23.70 บาทจากเดิม 26 บาท เพราะสินเชื่อโตไม่ดีเท่าที่ควร 6M10 คาดว่าจะเพิ่มเพียง 1%YTD ต่ำกว่ากลุ่มที่ขยายตัว 4%YTD นอกจากนี้ สิ่งที่น่าจะ surprise ตลาดคือ BAY มีความเสี่ยงที่จะตั้งด้อยค่าสำหรับสินเชื่อในดูไบเวิร์ลเพิ่ม มากสุดไม่เกิน 400 ล้านบาท หรือไม่เกิน 5% ของกำไรต่อปี
-LANNA ได้รับผลบวกจากเงินหยวนที่แข็งค่า ทำให้แนวโน้มราคาถ่านหินมีแนวโน้มปรับขึ้น ขณะที่อุปทานตึงตัวต่อเนื่อง LANNA มีแผนซื้อเหมืองใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบันเท่าตัว พร้อมกับการนำบริษัทลูกที่ทำธุรกิจเอทานอลเข้าตลาดต้นปีหน้า ราคาหุ้น LANNA ที่ laggard BANPU ทำให้ Valuation ถูกกว่า BANPU โดยมี PE 7.8 เท่า ขณะที่ BANPU มี PE 13 เท่า เราจึงแนะนำซื้อ LANNA โดยมีประเมินราคาเป้าหมาย 22 บาท

ข่าวภายในประเทศ
-ที่ประชุมผู้ถือหุ้น TMB อนุมัติให้ลดพาร์เหลือ 0.95 บาท: TMB แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวานนี้ได้อนุมัติให้ลดมูลค่าหุ้นของ ธนาคารลงเหลือหุ้นละ 0.95 บาท จากเดิม 10 บาท เพื่อนำไปล้างขาดทุนสะสม โดยธนาคารเชื่อว่าภายในไตรมาส 2 ธนาคารจะสามารถล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ได้จนหมดจำนวนโดยผลจากการลดมูลค่าหุ้นจะทำให้ธนาคารมีผลขาดทุนเหลือ 78 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำเอากำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 1 ล้างขาดทุนในส่วนดังกล่าวได้ ในส่วนของการขายหุ้นของก.การคลังนั้น รองปลัดกระทรวงการคลังระบุว่า อยู่ในระหว่างการรอตอบกลับจาก ING ซึ่งคาดว่าจะขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในปี 2010 (ที่มา อินโฟเควสท์ 24/6/2010) ความเห็น: การปรับลดพาร์ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นในกระดาน เป็นวิธีการทางบัญชีเพื่อให้ TMB ล้างขาดทุนสะสมและจ่ายปันผลได้เท่านั้น สำหรับการขายหุ้นของก.การคลังนั้นเป็นปัจจัยต่อราคาหุ้นจากการเก็งกำไรในราคาซื้อขายและการทำคำเสนอซื้อที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการซื้อขายจากก.คลังเสร็จสิ้นแล้ว ราคาพื้นฐานอยู่ที่ 1.15 บาท แต่เราแนะนำเก็งกำไรได้จากประเด็น M&A ดังกล่าว
-HEMRAJ รับข่าวดี 2 เด้ง! ฟอร์ดลงทุน 1.5 หมื่นล้าน ตัวเลขกำไรปีนี้แจ่มแจ๋ว ราคาเป้าหมายใหม่ 2 บาท HEMRAJ รับ 2 เด้งหลัง "ฟอร์ด" ลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่ที่นิคมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ลุ้นขายที่ดินเพิ่มเติมให้ซัพพลายเออร์ ที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ป้อนฟอร์ดอีกเพียบ หลังเซ็นขายที่ดินให้ฟอร์ดไปแล้ว 400 กว่าไร่ จับตา 30 มิ.ย.นี้ เล็งแถลงข่าวใหญ่ โบรกฯ แนะซื้อลงทุน เป้ากำไรสุทธิพุ่งเกิน 1 พันล้านบาท หลังบุ๊คกำไรจาก Gheco-one อีก 180 ล้านบาท ให้ราคาเป้าหมาย 1.95-2 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 25-06-2010)
-SSI ยอดขายกระฉูด จีนสั่งเลิกคืนภาษี 9% SSI รับเละอานิสงส์จีนยกเลิกคืนภาษีส่งออก 9% เหล็กแผ่นรีดร้อน-รีดเย็น หนุนยอดขายเพิ่มขึ้นอีกทั้งได้อานิสงส์จากอุปสงค์การใช้เหล็กโลกปี 2553 ที่คาดจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10.7% ส่งผลบวกให้ความต้องการใช้เหล็กแผ่นรีดร้อน โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมยานยนต์กลับมาขยายตัวอย่างมั่นคง ส่งผลดีต่อผลประกอบการในอนาคต โบรกฯ แนะเก็งกำไร ทั้ง SSI-GSTEEL-GJS (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 25-06-2010)
-ดีเอสไอถอนคดีหวย "ล็อกซเล่ย์" รับข่าวดี ดีเอสไอถอนคดีหวยออนไลน์ ออกจากบอร์ดคดีพิเศษ หลังจากล็อกซเล่ย์เข้าร้องเรียนกรรมการขอ ความเป็นธรรม วันนี้ประชุมบอร์ดสลากฯ เสนอเรื่องล็อกซเล่ย์ทำหนังสือเรียกค่าเสียหาย 3 พันล้าน พร้อมระบุให้ทำโครงการหวยต่อไป ด้านโบรกเกอร์มอง LOXLEY อนาคตไกลบริษัทมีแผนล้างขาดทุนสะสมปีนี้ ก่อนจ่ายปันผล ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 25-06-2010)
-กลต.คุม "บล." เก็งกำไร ทำหุ้นร่วงหลุด 800 จุด หุ้นไทยร่วงหนัก หลุด 800 จุด หลังข่าวลือหนาหู ก.ล.ต.เตรียมคุมเข้ม Pop Trade ไม่ให้เก็งกำไรที่มากเกินไป ผสมโรงกับวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกรีซ โปรตุเกส และสเปน และการเมืองภายในประเทศ กดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยหลุด 800 จุด ด้านสมาคม บล.ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเรื่องความเสี่ยงของการเทรดหุ้นของโบรกเกอร์ ส่วน ก.ล.ต.ย้ำหากบอร์ดโบรกเกอร์ไม่ดูแลมีสิทธิ์ต้องรับโทษด้วย "จารุพรรณ" ย้ำต้องการป้องกันความเสี่ยง Pop Trade เกรง ลามอุตสาหกรรม แนะทำไกด์ไลน์ของโบรกฯ เอง (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 25-06-2010)
-MCS จ่ายปันผลครึ่งแรก 20 สต. ปรับราคาพื้นฐานใหม่ 8.82 บาท MCS จิ๋วแต่แจ๋วจ่อปันผลครึ่งแรก 0.20 บาท แม้แนวโน้มไตรมาส 2/53 ชะลอตัว จากปริมาณส่งมอบลดลง เนื่องจากเป็นช่วงโลว์ซีซั่น ขณะที่มีงานในมือกว่า 7 หมื่นตัน รองรับการรับรู้รายได้ถึงปี 2554 เตรียมส่งมอบใน ครึ่งปีแรก 2.18 หมื่นตัน โบรกฯ คาดกำไรสุทธิปี 2553 ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 552 ล้านบาท ยังคงแนะซื้อ ราคาพื้นฐาน 8.82 บาท แถมอัพไซด์ 15% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 25-06-2010)
-ธปท.มองแรงกดดัน เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นปี'54 ค่าบาทสู่ภาวะปกติ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในปี'54 จะเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และแรงกดดันจากราคาน้ำมัน รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ขณะที่มองว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้ จะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่วางไว้ โดยการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของไทยช่วงจากนี้ น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 25-06-2010)

------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
ไทยรัฐ-หุ้นสหรัฐฯร่วงกว่า140จุด นักลงทุนไม่มั่นใจเศรษฐกิจ
ดัชนีหุ้นสหรัฐฯดิ่งลงกว่า 140 จุด นักลงทุนเทขาย หลังไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ข้อมูลตัวเลขแรงงานตกงาน ยังไม่ลดลง มากนัก และยอดสั่งซื้อสินค้าก็ลดลงด้วยเช่นกัน...

ปิดการซื้อขายตลาดหุ้นสหรัฐฯ นักลงทุนเทขายหุ้นอย่างหนัก เนื่องจากไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังข้อมูลระบุว่า ตัวเลขจำนวนแรงงานตกงานที่ยื่นเอกสารขอความช่วยเหลือจากทางการประจำสัปดาห์ ลดลงไม่มากอย่างที่คาด และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนที่แล้วลดลง 1.1%

ด้านราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ ปรับเพิ่ม 9 เซนต์ ไปปิดที่ 76.44 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำให้หลังปิดตลาด ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ปิดที่ 10,152.80 จุด ดิ่งลง 145.64 จุด นาสแดค ปิดที่ 2,217.42 จุด ลดลง 36.81 จุด และเอสแอนด์พี ปิดที่ 1,073.69 จุด ลดลง 18.35 จุด.

FSS:
ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วกว่า 160 จุดเมื่อคืนนี้ ก่อนที่จะเริ่มแกว่งทรงตัวในช่วงท้ายตลาด โดยปิดทำการเป็นลบไป 145.64 จุด จากความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ หลังมีสัญญาณบ่งชี้ถึงความอ่อนแอในภาคการบริโภค และความวิตกเรื่องกฎระเบียบทางการเงินที่เข้มงวดแม้ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะลดลงในสัปดาห์ล่าสุด และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนจะเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม

ตลาดหุ้นยุโรปก็ปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นสหรัฐ ขณะที่ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ก็เปิดทำการด้วยการปรับตัวลงด้วยความกังวลในปัจจัยดังกล่าวด้วยเช่นกัน

วานนี้ Fund Flow จากนักลงทุนต่างประเทศเบาบางมาก มีไหลเข้าและออกสลับกับในแต่ละประเทศ เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่เข้ามาสนับสนุนการซื้อขาย นักลงทุนส่วนใหญ่รอความคืบหน้าหรือพัฒนาการใหม่จากวิกฤติหนี้ของยุโรป

แนวโน้มคาดยังทรงตัวหรืออาจยังมีการซื้อขายที่เบาบางแต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มค่าเงินยุโรที่แข็งค่าขึ้น รวมถึงค่าเงินหยวนที่กลับมาแข็งค่าขึ้นอีก แม้ตลาดกังวลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้ของยุโรปอาจไม่เป็นรูปธรรมหรืออาจเป็นการซ้ำเติมตลาดหากรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มถอนเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจออกไป แต่เราไม่เชื่อเช่นนั้นและคาดว่าผลการประชุมจี 20 น่าจะเห็นทางออกของยุโรปมากขึ้น

ราคาน้ำมัน NYMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ดีดตัวกลับขึ้นมา0.16 ดอลลาร์ ปิดตลาดที่ 76.51 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังค่าเงินดอลลาร์เริ่มอ่อนแรงอีกครั้ง

ราคาทองคำส่งมอบเดือน ส.ค. ที่ตลาด COMEX ปิดเพิ่มขึ้น 11.10 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,245.90 ดอลลาร์/
ออนซ์

BDI ปิดที่ 2502 จุดเริ่มเป็นลบน้อยลงเพียง 13 จุด

ข่าวต่างประเทศ
-สหรัฐอเมริกา:
สหรัฐเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสัปดาห์ที่แล้วลดลง 19,000 ราย กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย.ลดลง 19,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 457,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 476,000 ราย ซึ่งแม้ว่าจำนวนคนว่างงานปรับตัวลดลง แต่ตัวเลขดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก (ที่มา: อินโฟเควสท์ 25-06-2010)
-จีน: ธนาคารกลางจีนกำหนดค่ากลางอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนวันนี้สูงสุดในรอบ 5 ปี ธนาคารกลางของจีนกำหนดค่ากลางของอัตรา แลกเปลี่ยนเงินหยวนประจำวันนี้ที่ระดับ 6.7896 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี และเพิ่มขึ้นจากระดับของเมื่อวานนี้ที่ 6.8100 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 25-06-2010)
-จีน: จีน-ไต้หวันจ่อลงนามสัญญาการค้า รัฐบาลจีนและไต้หวันเตรียมจะลงนามข้อตกลงกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (อีซีเอฟเอ) ในวันที่ 29 มิถุนายนที่จะถึงนี้ พิธีลงนามข้อตกลงฉบับสำคัญที่สุดระหว่างสองดินแดนคู่อริในอดีตในรอบ 60 ปี จะจัดขึ้นที่เทศบาลนครฉงชิ่ง ซึ่งเคยถูกยกเป็นเมืองหลวงของจีนภายใต้การปกครองของพรรคชาตินิยมช่วงสั้นๆ ก่อนพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน ปี 2492 ตามข้อตกลง ดังกล่าวทั้งสองฝ่ายจะลดภาษีศุลกากรให้กันโดยสินค้าไต้หวันจะได้ประโยชน์ราว 540 รายการ ครอบคลุม 15% ของสินค้าส่งออกไปยังจีน โดยเฉพาะสินค้าประเภทปิโตรเคมี, เครื่องจักร, ชิ้นส่วนรถยนต์ และสิ่งทอ ส่วนสินค้าส่งออกของจีนจะได้ลดหย่อนภาษีราว 270 รายการ (ที่มา: ไทยโพสต์ 25-06-2010)
-เอเชีย: ญี่ปุ่นเผยดัชนี CPI เดือนพ.ค.ร่วง 1.2% ทำสถิติลดลงติดต่อกัน 15 เดือน กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) พื้นฐาน ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ ร่วงลง 1.2% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกันยาวนานถึง 15 เดือน และบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับภาวะเงินฝืด ส่วนดัชนีซีพีไอพื้นฐานในกรุงโตเกียว ลดลง 1.3% ในเดือนมิ.ย. น้อย
กว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะร่วงลง 1.4% (ที่มา: อินโฟเควสท์ 25-06-2010)
-เอเชีย: ธนาคารกลางไต้หวันประกาศขึ้นดอกเบี้ย หลังส่งออกพุ่ง-ว่างงานลดลง ธนาคารกลางไต้หวันประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเป็น 1.375% จากเดิมที่ระดับ 1.25% หลังจากที่เศรษฐกิจของประเทศทำสถิติขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 30 ปี เนื่องจากการส่งออกและการลงทุนดีขึ้น
มาก ขณะที่อัตราว่างงานก็ปรับตัวลดลง (ที่มา: อินโฟเควสท์ 24-06-2010)

------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น