Code 98 : ทะลุ 800 เร็วเกินคาด

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2553
ATT Code : ทะลุ 800 เร็วเกินคาด
HighLight
-ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ค่อนข้างสดใส โดยเฉพาะไต้หวันกับเกาหลีที่เปิดเป็นบวกไปกว่า 1% จากการประกาศว่าจะปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปของทางการจีน
-กำไรของกลุ่มแบงก์ใน 2Q10 จะน่าจะเพิ่มขึ้นราว 15% Y-Y แต่ลดลง ~5% Q-Q ยังคงขอบ KBANK ที่สุด รองลงมาคือ BAY เพราะราคาหุ้น laggard ทั้งคู่ ส่วน BBL ที่ราคาปัจจุบันถือว่าถูก
-หุ้นที่แนะนำให้ตามเข้าเทรดดิ้งได้ ได้แก่ BANPU, IVL, PTT, PTTCH, PTTAR, IRPC, PDI, STA, TVO, RCL

-------------------------------------------------------
-ราคาน้ำมัน NYMEX บวกกลับขึ้นมา 0.39 ดอลลาร์ ปิดตลาดที่ 77.18 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดตลาดรายสัปดาห์เป็นบวกเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน
-ราคาทองคำส่งมอบเดือน ส.ค. ที่ตลาด COMEX ปิดขึ้นต่ออีก 9.60 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1,258.30 ดอลลาร์/ออนซ์
-BDI ปิดที่ 2694 จุดยังปรับตัวลงต่อเนื่องอีก 90 จุด แต่ก็เริ่มชะลอตัวลงบ้างแล้ว
--------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย

ไทยรัฐ - By...อินเด็กซ์ 51 : เงาหุ้น-ทิศทางหุ้น 21/06/53
ภาวะการซื้อขายหุ้น

สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 791.85 จุด ปรับขึ้น 2.90% จาก 769.55 จุด ในสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้น 43.76% จาก 86,009.56 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 123,647.45 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 230.82 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.33% จาก 223.39 จุด ในสัปดาห์ก่อนหน้า

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (21-25 มิ.ย.53) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยอาจมีความผันผวนในเชิงบวก โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ แถลงการณ์หลังการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ วันที่ 22-23 มิ.ย. ความคืบหน้าประเด็นวิกฤติหนี้ยุโรป การดำเนินมาตรการของทางการจีนและชาติเอเชีย ทิศทางราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ความเคลื่อนไหวของ ตลาดหุ้นต่างประเทศ ตลอดจนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 780 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 798 และ 807 จุด ตามลำดับ.

ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขยับลงเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) มีระดับหนาแน่นที่ลดลงมาที่ 1.10-1.13% เงินบาทในประเทศ (Onshore) ทรงตัวใกล้ 32.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์

เงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ อยู่ที่ระดับ 90.67 (ตลาดยุโรป) เทียบกับระดับ 91.64 เยนต่อดอลลาร์ฯ ส่วนเงินยูโรทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1.2369 (ตลาดยุโรป) หลังแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.2417 เทียบกับระดับ 1.2110 ดอลลาร์ฯต่อยูโร โดยนักลงทุนยังคงจับตาประเด็นวิกฤติหนี้ในยุโรป และการรายงานผลการทดสอบภาวะวิกฤติของธนาคารสเปนต่อไป.

FSS : ตลาดยังมีโอกาสขึ้นต่อ แต่ก็ต้องตามระวังจังหวะแกว่งตัวผันผวนไว้ด้วย!!
แนวโน้ม: เนื่องจากตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ค่อนข้างสดใส โดยส่วนใหญ่เปิดทำการเป็นบวกในระดับใกล้เคียง 1% หรือสูงกว่าเล็กน้อย หลังจากที่ธนาคารกลางจีนได้ประกาศว่าจะปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ FSS คาดว่า SET ก็มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นเพื่อนบ้านขึ้นไปได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งในสัปดาห์นี้มีโอกาสลุ้นดัชนีขยับขึ้นไปหาจุดสูงสุดเดิมในรอบที่ผ่านมาแถว 798-800 จุดโดยประมาณและมีสิทธิสูงกว่าได้ด้วย แต่ในรอบที่ผ่านมา SET ขยับขึ้นมาค่อนข้างแรงแล้ว ทำให้ต้องระวังจังหวะแกว่งตัวของตลาดเป็นระยะๆ รวมทั้งต้องระวังการปรับพักตัวของ SET ซึ่งคาดว่ายังมีแนวโน้มที่จะย้อนกลับลงไปแถว 780 จุดหรือต่ำกว่าได้ด้วยเช่นกัน
กลยุทธ์: ดังนั้นจึงยังเน้นเทรดดิ้งตามรอบต่อไปก่อน โดยตามดูแรงขายจากแนวต้านทางเทคนิคเป็นระดับๆ ไป โดยหุ้นที่แนะนำให้ตามเข้าเทรดดิ้งได้ ได้แก่ BANPU, IVL, PTT, PTTCH, PTTAR, IRPC, PDI, STA, TVO, RCL ส่วนหุ้นที่ต้องหลีกเลี่ยงในระยะสั้นคือ กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์, GFPT, CPF

ประเด็นสำคัญวันนี้
-ธนาคารกลางจีนได้ประกาศเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (19 มิ.ย.) ว่าจะปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางการกดดันจากนานาชาติว่าเงินหยวนอ่อนค่าต่ำกว่าความเป็นจริง หลายฝ่ายเชื่อว่าเงินหยวนต่ำค่ากว่าความเป็นจริง 25% - 30% หมายความว่าเงินหยวนควรจะอยู่ที่ 4.8 – 5.1 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทันที ค่าเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นในครั้งนี้จะส่งผลให้ค่าเงินในเอเชีย รวมถึงเงินบาทไทย มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย ระยะสั้นจะเป็นการดึงดูดเงินร้อนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียเพื่อเก็งกำไรค่าเงิน ระยะยาว เป็นผลบวกเพราะ 1) ช่วยลดความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจโลก 2) เป็นผลดีต่อภาคการส่งออกของสหรัฐฯ ลดการขาดดุลการค้า 3) เป็นโอกาสดีของประเทศที่ผลิตสินค้าที่แข่งขันกับจีนโดยตรง 4) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น
-หุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางบวก ได้แก่กลุ่มน้ำมัน ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เหล็ก ทองแดง สังกะสี เรือที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ และสินค้าที่ส่งออกไปเพื่อบริโภคอุปโภคในจีนเอง หุ้นที่เก็งกำไรได้ได้แก่ BANPU, IVL, PTT, PTTCH, PTTAR, IRPC, PDI, STA, TVO, RCL
-หุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบ ได้แก่กลุ่มส่งออกเพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น หุ้นที่หลีกเลี่ยงระยะสั้นได้แก่ กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์, GFPT, CPF
-ส่งออกเดือน พ.ค. ขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี โดยเพิ่มขึ้นถึง 42% Y-Y เป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2008 และมีมูลค่า US$16,556 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงเท่ากับช่วงก่อนเกิด Suprime ในปี 2008 สำหรับยอดส่งออกใน 5 เดือนแรก ขยายตัว 34.3% Y-Y ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าการส่งออกปีนี้โต 14% กระทรวงการคลังตั้งเป้า +10% - 15% และเราคาด +14% เชื่อว่าอาจมีการปรับประมาณการในอนาคต
-สินเชื่อแบงก์เดือน พ.ค. โตน่าพอใจทั้งที่มีปัจจัยการเมือง ในจำนวน 6 แบงก์ที่เราศึกษาและประกาศแล้ว (BBL, KTB, KBANK, SCB, TMB, SCIB) มีสินเชื่อรวมโตถึง 3.2% YTD KTB โดดเด่นสุดในแง่การขยายสินเชื่อ (+9.6%YTD – มีแนวโน้มปรับประมาณการขึ้น) รองลงมาคือ KBANK (+3.3%YTD) เราคาดว่ากำไรของกลุ่มแบงก์ใน 2Q10 จะน่าจะเพิ่มขึ้นราว 15% Y-Y แต่ลดลง ~5% Q-Q ยังคงขอบ KBANK ที่สุด รองลงมาคือ BAY เพราะราคาหุ้น laggard ทั้งคู่ ส่วน BBL ที่ราคาปัจจุบันถือว่าถูก

ข่าวภายในประเทศ
-“คลัง” รื้อแผนแปรสัญญาสัมปทาน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกทช. และประธานคณะทำงานประมูล 3G เผยว่า เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา ตนได้หารือร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง โดยรมว.คลังได้เสนอแผนการแปรสัญญาสัมปทานมือถือ โดยแนวทางหลักๆ จะมีการเปลี่ยนสัญญาเดิมที่มีอยู่ในรูปแบบสัมปทานให้เป็นใบอนุญาต (ไลเซนส์) เช่นเดียวกับการออกไลเซนส์ 3.9G ของกทช. โดยจะดำเนินการคู่ขนานไปพร้อมกับการเปิดประมูลไลเซนส์ 3G ที่มีแผนจะเริ่มเปิดประมูลในเดือนก.ย.นี้ แต่หากเป็นไปได้จะพยายามให้การแปรสัญญาสัมปทานแล้วเสร็จก่อน โดยก.คลังจะใช้วิธีการจูงใจผู้รับสัมปทานเดิม (ADVANC, DTAC, TRUEMOVE) โดยจะลดอัตราการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ จากเดิมเฉลี่ยปีละ 25-30% ให้เหลือ 2.5% พร้อมกับให้ไลเซนส์มีอายุดำเนินกิจการ 15 ปี เพื่อลดผลกระทบต่อรายได้ของ TOT และกสท นอกจากนี้ยังเสนอให้กทช.ปรับค่าธรรมเนียมไลเซนส์ 3.9G จากเดิมที่ 6% ต่อปี เป็น 12.5% เท่ากัน (ที่มา: ข่าวหุ้น 21 มิ.ย.2010) ความเห็น: แนวคิดการแปรสัมปทานของรมว.คลังดังกล่าว ไม่ใช่ข่าวใหม่ เรายังมองว่าการจะทำให้สำเร็จเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะให้เสร็จก่อนการประมูล 3G ที่กทช.มีแผนจะให้ทันในปลายเดือนส.ค.ถึงก.ย.นี้ หลังจากมีแนวคิดแปรสัมปทานมากว่า 3 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม เราแนะนำ “ซื้อ” DTAC และ ADVANC จาก Valuation บนสัญญาสัมปทานมือถือ 2G ปัจจุบัน โดยมีราคาเป้าหมายที่ 41 บาท (ปรับจากเดิม 38 บาท) และ 94 บาท ตามลำดับ

-RCL รีบซื้อก่อนตกเรือหุ้นดีพีอีต่ำ-เงินล้นมือ ถึงเวลาดักเก็บหุ้น RCL ธุรกิจเรือคอนเทนเนอร์ขาขึ้น เน้นขนส่งในเอเชียไร้ผลกระทบปัญหายุโรปด้านวงการชี้ปีนี้ได้โชว์พลิกกำไรรอบ 3 ปี ฟากนักลงทุนไว้ใจเดินหน้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนทะลัก 129 ล้านหุ้น บริษัทรับเงินเพียบ 1,556 ล้านบาท หนุนD/E ลงต่ำเหลือแค่ 1 เท่า แถมราคาหุ้นยังต่ำบุ๊ค 16 บาท ฟาก TTA น่าสนไม่แพ้งวดครึ่งหลังกำไรฟื้นทุกกิจการ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 21-06-2010)
-กรุงไทยกวาดเรียบสีน้ำเงินกู้หมื่นล้าน ปล่อยสินเชื่อให้กับ UNIQ สร้างรถไฟฟ้า "อภิศักดิ์" ยอมรับเตรียมวงเงินสินเชื่อกว่า 1 หมื่นล้านบาทให้กับ UNIQ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เล็งครึ่งปีหลังปรับเป้าอัตราการเติบโตของสินเชื่อแน่นอน ด้านโบรกฯ มองปีทองของ KTB อย่างแท้จริง ลูบปากรับเละสินเชื่อเมกะโปรเจ็กต์ และโครงการภาครัฐ คาดปีนี้ฟาดกำไรพุงปลิ้น ส่วนราคาหุ้นกลับถูกสุดกลุ่มแบงก์ ซื้อขาย P/E 1.1 เท่า แนะนำซื้อราคาเป้าหมาย 15 บาท ด้านผู้บริหาร UNIQ เผยเตรียมประมูลงานภาครัฐอีกเพียบ คาดกำไรสุทธิ Q2/53 ดีกว่าไตรมาส 1 ส่งผลตัวเลขทั้งปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 21-06-2010)
-LH ครึ่งหลังแจ่ม!สั่งลุย 12 โครงการมูลค่า 2 หมื่นล้าน “แลนด์ฯ” รุกหนักครึ่งปีหลัง เตรียมโหมกระหน่ำเปิดตัว 12 โครงการใหม่ มูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท “อดิศร” มั่นใจดันรายได้ครึ่งปีหลังเติบโตกว่าครึ่งปีแรก หลังปัจจุบันยอดขายเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนงบไตรมาส 2/53 คาดยอดขายลดลงจากไตรมาสแรก รับผลกระทบปัญหาการเมืองไม่สงบ มีวันหยุดยาว และปิดสนามบินช่วงภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ระเบิด ปีนี้อัดงบซื้อที่ดินกว่า 6,000 ล้านบาท โบรกฯแนะซื้อเป้า 6.64 บาท คาดกำไรสุทธิปีนี้ 4,435 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อน (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 21-06-2010)
-HTECH ชูครึ่งหลังพัฒนาผลิตภัณฑ์รับออเดอร์ทะลัก HTECH ชูกลยุทธ์ครึ่งหลังมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เก่า ผุดผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างบุคลากรรับมือออเดอร์ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่พุ่งสูง ผู้บริหารเชื่อกำลังการผลิตช่วงที่เหลือปีนี้เพิ่มขึ้นอีก 10-15% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก หลังคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ย้ำรายได้ปีนี้เติบโตตามเป้า 50% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 21-06-2010)
-TTWเทคนิคสวยรับรายได้Q2 แจ่ม ความต้องการน้ำประปาพุ่ง ปรับเป้าปีนี้โตเกิน 10% หุ้น TTW แรงไม่ตกวิ่ง 3 วันกว่า 6% เซียนหุ้นบอกสัญญาณเทคนิคสวยเด่น-วอลุ่มเข้า แนะซื้อเก็งกำไรฉลุย แถมไตรมาส 2/53 รายได้สวยกว่าไตรมาสเดียวกันปีก่อน หลังยอดจำหน่ายน้ำพุ่งผู้บริหารเตรียมทบทวนเป้ารายได้ปี 2553 ใหม่ จากเดิมคาดโต 10% หลังพบความต้องการใช้น้ำประปา Q2/53 พุ่ง ระบุไม่หวั่นภัยแล้งมั่นใจมีกำลังผลิตเพียงพอ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 21-06-2010)
-DRT เด้งรับปันผลครึ่งแรก 0.15 บ. กำลังผลิตใหม่ดันยอดขายพุ่ง 12% DRT ลุ้นปันผลครึ่งแรกปี 2553 ไม่ต่ำกว่า 0.15 บาทต่อหุ้น ให้ผลตอบแทนเงินปันผลสูงถึง 9.7% ต่อปี แนวโน้มไตรมาส 2/53 ยังสดใส จากกำลังกำลังการผลิตใหม่ ดันยอดขายขยายตัว 12% หนุนกำไรทั้งปีเฉียด 400 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ 33% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 21-06-2010)
-TRT ครึ่งหลังรายได้ก้าวกระโดด ตุนแบ็กล็อกเต็ม 800 ล้าน ปัญหามาบตาพุดเริ่มคลี่คลาย TRT เผยครึ่งปีหลังรายได้ดีกว่าช่วงแรก หลังมีแบ็กล็อกตุนในกระเป๋า 800 ล้านบาท แถมเข้าประมูลงานอีก 6,000-7,000 ล้านบาท มั่นใจชนะ 20-30% ลั่นสถานการณ์มาบตาพุดคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 21-06-2010)

--------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
FSS : ข่าวต่างประเทศ

ตลาดหุ้นสหรัฐปิดเป็นบวกได้ต่อ แต่วอลุ่มยังเบาบาง โดยปิดทำการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 16.47 จุดหรือคิดเป็น +0.16% แม้ว่ายังมีสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่แข็งแรงมากนัก รวมถึงความวิตกต่อปัญหาหนี้สินของยุโรปก็ยังคงอยู่

ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ค่อนข้างสดใส โดยเฉพาะไต้หวันกับเกาหลีที่เปิดเป็นบวกไปกว่า 1% จากการประกาศว่าจะปรับค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปของทางการจีน

ยุโรป: อียูมีมติเผยแพร่ผลทดสอบภาวะวิกฤตของแบงก์พาณิชย์ในยุโรป หวังฟื้นความเชื่อมั่นนลท. ผู้นำกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ตกลงร่วมกันที่จะให้มีการเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคมเป็นอย่างช้า ซึ่งเป็นความพยายามหนึ่งในการปรับปรุงความโปร่งใสของธนาคารในยุโรปและฟื้น คืนความเชื่อมั่นของนักลงทุน (ที่มา: อินโฟเควสท์ 18-06-2010)
สหรัฐอเมริกา: กรีนสแปนเตือนสหรัฐอาจเผชิญภาวะต้นทุนกู้ยืมสูงขึ้น แนะรัฐบาลเปลี่ยนโครงสร้างนโยบายคลัง นายอลัน กรีนสแปนอดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ว่า สหรัฐอาจเผชิญกับภาวะต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นในเร็วๆนี้ เนื่องจากตัวเลขหนี้สาธารณะของรัฐบาลที่สูงขึ้น พร้อมกับแนะนำให้รัฐบาลสหรัฐเปลี่ยนโครงสร้างนโยบายการคลัง เพื่อควบคุมการกู้ยืม (ที่มา: อินโฟเควสท์ 18-06-2010)
จีน: จีนถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.เพิ่มขึ้น 2.6% บ่งชี้จีนเชื่อมั่นในสินทรัพย์สหรัฐ ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า จีนได้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในช่วงเดือนมี.ค. - เม.ย. เพิ่มขึ้น 2.6% คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9.002 แสนล้านดอลลาร์ หลังจากลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐในช่วงเดือนพ.ย.ปีที่แล้วจนถึงเดือนก.พ.ปี นี้ลงทั้งสิ้น 6.5% ซึ่งถือเป็นการลดถือครองพันธบัตรในระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดในรอบ
10 ปี (ที่มา: อินโฟเควสท์ 21-06-2010)
จีน: จีนยันไม่ปรับใหญ่ค่าเงินหยวน ระบอบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใหม่ของจีนส่อท่าเป็นแค่เหล้าเก่าในขวดใหม่ หลังแบงก์ชาติแถลงชี้แจงจีนยังคงอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ต่อไป ไม่คิดปรับขึ้นค่าเงินหยวนครั้งใหญ่ แม้ว่าหนึ่งวันก่อนหน้านั้นเพิ่งมีคำประกาศจะทำให้ค่าหยวนยืดหยุ่นมากขึ้น (ที่มา: ไทยโพสต์ 21-06-2010)
เอเชีย: แหล่งข่าวเผยรัฐบาลญี่ปุ่นเล็งยกระดับคาดการณ์ GDP ปี 53 เป็นขยายตัว 2.6% จากเดิม 1.4% แหล่งข่าววงในของรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย ในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงของปีงบประมาณ 2553 เป็น 2.6% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวเพียง 1.4% หลังจากยอดส่งออกจากญี่ปุ่นไปยังประเทศจีนและอัตราการอุปโภคบริโภคภายใน ประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง (ที่มา: อินโฟเควสท์ 21-06-2010)


FSS : Fund Flow

สัปดาห์ที่ผ่านมา Foreign Fund flow ไหลเข้าในตลาดหุ้นภูมิภาคตลอดทั้งสัปดาห์ แม้วันศุกร์ที่ผ่านมาปริมาณเงินไหลเข้าไม่มาก แต่ก็ซื้อสุทธิทุกตลาด ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากไม่มีปัจจัยลบใหม่เกี่ยวกับวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปเพิ่มเติม ระบบการเงินโดยเฉพาะตลาดพันธบัตรในยุโรปคึกคักหลังจากที่มีนักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรยุโรปกันอย่างล้นหลาม

แนวโน้มสัปดาห์นี้กระแสเงินทุนต่างชาติน่าจะยังไหลเข้าต่อเนื่องและมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้ หลังจากมีข่าวจีนมีนโยบายยืดหยุ่นค่าเงินหยวน นั่นหมายถึงค่าเงินหยวนที่ Undervalue จะแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นตามเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินบาทเช้านี้ก็แข็งค่าเล็กน้อยมาอยู่ที่ 32.3 บาท/ดอลลาร์ ในขณะที่ค่าเงินยูโรยังทรงตัวอยู่เหนือระดับ 1.2 ดอลลาร์/ยูโร
--------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น