Code 88 : กำลังขึ้นดีๆ จะลงซะงั้น

วันจันทร์ที่ 7 มินายน 2553

ATT Code :กำลังขึ้นดีๆ จะลงซะงั้น
ลงกันทั่วหน้า DJIA ลดลง 323.31 จุดหรือ -3.15% HSKI -2.6% NIX -4.1% ถือว่าลงกันหนักและลงเยอะมาก โดยยังมีความกังวลเรื่องหนี้สินในยุโรปเป็นหลัก และก็ผิดหวังตัวเลขจ้างงานในสหรัฐ มีผลให้เช้านี้ SET เปิดที่ 757.03 จุด -14.45 จุด ตามภูมิภาค แนวรับวันนี้5 วันอยู่ที่ 758 และเส้น 10 วันอยู่ที่ 755 ถ้าไม่ไหวก็ดูที่ 750 ส่วน TFEX เปิดที่ 523 จุด -13.80จุด แนวรับ 75 วัน อยู่ที่ 523 ภาคเช้า ต่างชาติกลับมาขายใหม่ 550 ล.บ.

ภาคบ่าย SET ปิดที่ 759.85 จุด - 11.63 จุด
V.16,027 MB. สามารถยืนเหนือเส้น 5 วัน และ BB Average ได้ที่ 758 ก็ถือว่าไม่ได้แย่มาก ดีกว่าเพื่อนบ้านในภูมิภาค และต่างชาติขายทั้งหมด 874 ล.บ. ส่วน TFEX ปิดที่ 527.70 จุด -9.10 จุด Basis ใกล้เคียงกับ SET 50 ห่างกันไม่ถึง 1 จุด ซึ่งยังสามารถยืนเหนือเส้น 5 วันได้

โดยยุโรปที่เปิดมา ลบ1-2% จากนั้นก็มีการ Rebound กลับขึ้นมา ลบไม่ถึง 1% แล้ว ทำให้พรุ่งนี้ ก็ต้องลุ้นว่า ยังยืนเหนือเส้น 5 วัน อยู่ได้ต่อหรือไม่

HiLight
FSS : ต่างประเทศกดดัน คาดจะเริ่มปรับตัวลงแล้ว รอดูจังหวะทยอยซื้อแถว 714...
แนวโน้ม: ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้ ทำให้ดาวโจนส์ปรับตัวลงกว่า 3% วันศุกร์ และตลาดหุ้นยุโรปก็ปรับตัวลงด้วย ขณะที่วิกฤติหนี้ในยุโรปก็กำลังสร้างความกังวลเพิ่มเติม หลังจากฮังการีแจ้งว่ามีความเสี่ยงที่จะเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับกรีซ ส่งผลให้ค่าเงินยูโรทรุดตัวลงและค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้นอีก
-คาดว่าสัปดาห์นี้ SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 740 – 773 จุด การฟื้นตัวของตลาดรอบนี้ยังเปราะบางและมองเป็นเพียงการรีบาวนด์ชั่วคราวจนกว่าจะเห็นค่าเงินยูโรเริ่มมีเสถียรภาพ วิกฤตหนี้ในยุโรปเริ่มนิ่งกว่านี้ และท่าทีที่ชัดเจนของจีนในการผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจ กลยุทธ์สัปดาห์นี้คือขึ้นขายโดยเฉพาะที่แนวต้าน 770 - 775 จุด อ่อนตัวซื้อโดยยกระดับจุดซื้อที่ปลอดภัยขึ้นจากระดับ PE 11.0 เท่าเป็น 11.50 เท่าหรือจากดัชนี 680 จุดเป็น 710 - 715 จุด
TNN : ดาวโจนส์ร่วงกว่า300จุด-ผิดหวังตัวเลขจ้างงาน

--------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย

ไทยรัฐ - ทิศทางหุ้น 07/06/53 : บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด





ภาวะการซื้อขายหุ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 771.48 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.64% จาก 737.28 จุด ในสัปดาห์ก่อนหน้า และ 0.87% จากสิ้นปี 2552 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ลดลง 6.48% จาก 96,153.74 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 89,922.97 ล้านบาท

แนวโน้มสัปดาห์นี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ แต่น่าจะอยู่ในกรอบที่จำกัด ขณะที่นักลงทุนยังคงต้องระวังปัจจัยเสี่ยงเรื่องหนี้ยุโรป ส่วนปัจจัยในประเทศยังต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมือง

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 757 และ 740 จุด ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 775 และ 806 จุดตามลำดับ

ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัว สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดย กนง. มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันที่ 1.26% ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์ แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืนหนาแน่นตลอดสัปดาห์ที่ 1.15% เช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน

ขณะที่เงินบาทในประเทศยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค ส่วนเงินเยนอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ เงินเยนขยับแข็งค่าได้เล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับเงินยูโรได้ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ครั้งใหม่เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ.

FSS : ต่างประเทศกดดัน คาดจะเริ่มปรับตัวลงแล้ว รอดูจังหวะทยอยซื้อแถว 714...
แนวโน้ม: ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้ ทำให้ดาวโจนส์ปรับตัวลงกว่า 3% วันศุกร์ และตลาดหุ้นยุโรปก็ปรับตัวลงด้วย ขณะที่วิกฤติหนี้ในยุโรปก็กำลังสร้างความกังวลเพิ่มเติม หลังจากฮังการีแจ้งว่ามีความเสี่ยงที่จะเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับกรีซ ส่งผลให้ค่าเงินยูโรทรุดตัวลงและค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้นอีก รวมทั้งดัชนีแสดงความผันผวน VIX Index พุ่งขึ้นกว่า 20% มาเคลื่อนไหวที่ระดับสูงถึง 35.48 ซึ่งตลาดหุ้นในภูมิภาคเช้านี้ก็เปิดทำการด้วยการปรับตัวลดลงกันถ้วนหน้า ส่วน SET ที่ขยับขึ้นมาพอควรในช่วงสัปดาห์ที่แล้วก็น่าจะต้องมีการปรับพักตัวลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆ อย่างไรก็ตามจากการที่นักลงทุนต่างประเทศเริ่มทยอยกลับเข้ามามียอดซื้อสุทธิบ่อยครั้งขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดี ดังนั้นโอกาสที่ SET จะลงต่ำกว่า 700 จุดอาจเกิดขึ้นได้ยากแล้ว FSS จึงแนะนำให้เริ่มทยอยเข้าซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาไหลลงมาต่ำมากๆ เพื่อถือลงทุนยาวได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยมองระดับดัชนีที่เหมาะสมอยู่ที่บริเวณจุดต่ำเดิมแถว 714 จุดหรือต่ำกว่า ซึ่งมีระดับ PE 11.5 เท่า
กลยุทธ์: หลังจากที่สัปดาห์แนะนำให้รอช่วงจังหวะตลาดปรับตัวลงก่อนค่อยหาจังหวะซื้อ ช่วงถัดจากนี้คาดว่าตลาดกำลังจะเริ่มปรับตัวลงแล้ว ดังนั้นสามารถหาจังหวะเข้าทยอยซื้อได้โดยเฉพาะถ้า SET ไหลลงไปแถว 714 จุดหรือต่ำกว่า โดยหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี (BANPU, PTTEP, PTTCH) โรงไฟฟ้า (GLOW) กลุ่มวัสดุฯ (SCC, SSI, DCC) กลุ่มอาหารและเกษตร (CPF, GFPT, TUF, TVO, STA) กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ (KCE, DELTA) และกลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY)

ประเด็นสำคัญวันนี้
-คาดว่าสัปดาห์นี้ SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 740 – 773 จุด การฟื้นตัวของตลาดรอบนี้ยังเปราะบางและมองเป็นเพียงการรีบาวนด์ชั่วคราวจนกว่าจะเห็นค่าเงินยูโรเริ่มมีเสถียรภาพ วิกฤตหนี้ในยุโรปเริ่มนิ่งกว่านี้ และท่าทีที่ชัดเจนของจีนในการผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจ กลยุทธ์สัปดาห์นี้คือขึ้นขายโดยเฉพาะที่แนวต้าน 770 - 775 จุด อ่อนตัวซื้อโดยยกระดับจุดซื้อที่ปลอดภัยขึ้นจากระดับ PE 11.0 เท่าเป็น 11.50 เท่าหรือจากดัชนี 680 จุดเป็น 710 - 715 จุด
-สัปดาห์นี้ ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบมากกว่าบวก เริ่มตั้งแต่ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่ต่ำกว่าตลาดคาด วิกฤตหนี้ในฮังการีเพิ่มความกังวลใหม่ให้ตลาด เศรษฐกิจเดือน พ.ค. ของจีนที่จะประกาศวันที่ 10 – 11 มิ.ย. แนวโน้มชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากมาตรการการจำกัดการปล่อยสินเชื่อและการควบคุมความร้อนแรงในภาคอสังหาฯ ส่วนการประชุมธ.กลางของเกาหลีใต้, BOE และ ECB คาดไม่มีผลต่อตลาด
-การประชุม G20 วันที่ 4 – 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่มประเทศ G20 ยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องการเก็บภาษีจากแบงก์เพื่อเอาไปตั้งเป็นกองทุนเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินเวลาเกิดวิกฤตในอนาคต
-TMB: เก็งกำไรต่อได้ ยังคงเป็นข่าว M&A ไม่ว่าจะเป็นการหา Active partner มาซื้อหุ้นในส่วนของ ก.คลัง หรือหา Strategic partner มาซื้อหุ้นในส่วนของ ING+ก.คลัง ตามข่าวบอกว่าน่าจะจบภายในเดือน มิ.ย. ทั้งนี้ ต้นทุนเฉลี่ยของ ING ประมาณ 1.60 บาท ING ไม่น่าขายต่ำกว่าทุน
-หุ้นกลุ่มโรงแรม: ระยะสั้นทยอยขาย ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา MINT ปรับขึ้นมา 14% CENTEL +7% ERAWAN +3% ขณะที่ช่วงนี้ยังมีข่าวบวก (มาตรการช่วยเหลือจากรัฐ) หนุน น่าจะเป็นจังหวะดีในการขายทำกำไรระยะสั้น ยกเว้นถ้าลงทุนยาว MINT ดูดีสุด (เป้าหมายของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ 11 – 12 บาท)
-3G เริ่มมีความหวังมากขึ้น วันที่ 9 มิ.ย. กทช. จะนำร่างประกาศใบอนุญาต 3G ใหม่ทั้งหมดเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ ก่อนเปิด Public hearing วันที่ 25 มิ.ย. เพื่อเริ่มประมูลภายในเดือน ก.ย. ตามเป้าที่วางไว้ เก็งกำไรได้ทั้ง ADVANC, DTAC, TRUE แต่หุ้นที่กำไรโตดีและ Valuation ถูกคือ DTAC
-เก็งกำไรหุ้นที่เกี่ยวข้องกับบอลโลก ได้แก่ RS, SPORT, DTAC, BEC
-SLC-W1 และ SLC-T1 เข้าตลาดวันนี้ มูลค่าตามทฤษฎีของ SLC-W1 = 0.28 บาทมูลค่าตามทฤษฎีของ SLC-T1 = 0.02 บาท

FSS : News Comment
• กทช. มีมติเห็นชอบเงื่อนไขและกำหนดการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G จำนวน 3 ใบ ขนาดใบละ 15 MHz อายุ 15 ปี โดยการเปิดประมูล
พร้อมกัน คาดกำหนดการดังนี้
- รายละเอียดร่างข้อสรุปสนเทศ (IM) วันที่ 9 มิ.ย
- Public Hearing ประมาณวันที่ 25 มิ.ย.
- ประกาศเชิญชวนประมูล เดือน ส.ค.
- พิจารณา PQ (คุณสมบัติเบื้องต้น) เดือน ก.ย. และน่าจะเปิดประมูลได้ปลายเดือน ก.ย.
เงื่อนไขคร่าวๆ
1. กำหนดราคาเริ่มต้นประมูล (reserve price) ที่ 1 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 80% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 2.1 GHz ประเมินที่ 1.28หมื่นล้านบาท
2. การชำระเงิน - ผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกันสัญญา 10% ของ reserve price และเมื่อประมูลได้ต้องจ่ายเงินค่าใบอนุญาต 50% ของมูลค่าที่ประมูลได้ ส่วนที่เหลือ 25% จะจ่ายเมื่อสิ้นสุดปีที่2 และ 25% สุดท้ายต้องจ่ายเมื่อสิ้นสุดปีที่ 3
3. การติดตั้งโครงข่ายในปีที่ 2 จะต้องให้บริการครอบคลุมอย่างน้อย 50% ของประชากรและครบทุกจังหวัด และในปีที่ 4 ให้บริการครอบคลุม 80% ของประชากร แต่กทช.ให้เงื่อนไขจูงใจหากผู้รับใบอนุญาตสามารถเปิดให้บริการครอบคลุม 80% ในปีที่ 3 ได้ จะให้ขยายเวลาในการจ่ายค่าใบอนุญาตออกไปเป็นปีที่ 4 ในส่วนที่เหลือ 25% สุดท้าย
4. ผู้รับใบอนุญาตต้องกันโครงข่าย 40% สำหรับผู้ให้บริการที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง หรือเช่าใช้โครงข่ายผู้อื่น (MVNO) รายใหม่ ซึ่ง MVNO จะเลือกใช้ได้รายเดียว MVNO ที่เช่าใช้โครงข่ายทีโอทีในปัจจุบัน สามารถขอใช้ได้แต่ต้องบอกยกเลิกกับ TOTซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบ 3G คลื่นความถี่ 15 MHz ก่อน
5. การเปิดให้โรมมิ่งระหว่างผู้ให้บริการระบบ 3G ด้วยกันให้เป็นไปตามการเจรจาการตกลง ขณะที่ ผู้ให้บริการ 3G จะขอโรมมิ่งกับ 2G ได้ โดยที่ผู้ให้บริการ 2G ไม่มีสิทธิปฏิเสธ ระยะเวลาโรมมิ่ง 4 ปี แต่ไม่อนุญาตผู้ให้บริการ 2G ทำการโรมมิ่งกับผู้ให้บริการ 3G แต่ให้ขออนุญาตในรูป MVNO เพื่อต้องการให้ผู้ให้บริการ 3G เติบโตซึ่งเป็นผู้เข้าตลาดหลังผู้ให้บริการ 2G และไม่นับรวมกับการกันโครงข่าย 40% ให้กับ MVNO รายอื่น
6. บริษัทที่เข้าร่วมประมูลต้องเป็นบริษัทจำกัด และเมื่อประมูลได้แล้วให้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ภายใน 45 วัน รวมทั้งเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ภายใน 3 ปี โดยผู้ยื่นคำขอแต่ละรายจะต้องมีอิสระจากกัน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน ฉะนั้นบริษัทลูกหรือบริษัทที่ถือหุ้นไขว้กันกับผู้ยื่นขอใบอนุญาตถือว่าเป็นกลุ่มเดียวกันก็จะตกคุณสมบัติ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการฮั้วประมูล
ความเห็น: มติดังกล่าว มีการเปิดเผยมาบ้างแล้วก่อนหน้านี้ โดยราคากลางที่กำหนดครั้งนี้ สูงกว่าเดิมที่เคยกำหนดในระดับใบละ 5-6 พันล้านบาทจากช่วงความถี่ที่ 15 MHz จากเดิมฐานที่ 10 MHz โดยใบอนุญาตจะมีอายุ 15 ปี แม้เรายังมองว่าการดำเนินการ 3G ภายใต้การผลักดันของกทช. ดังกล่าวค่อนข้างยากที่จะให้ทันอย่างที่หวัง เนื่องจาก (1) อาจเผชิญการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในขั้นตอน Public Hearing ดังเช่นครั้งก่อน (2)เดือนก.ย.ปีนี้ กรรมการกทช. 3 คนจะพ้นวาระ แม้คนเก่ายังรักษาการได้ แต่อาจทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่นัก โดยเฉพาะหากพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นถี่ เกิดอย่างเร็วในปลายปีนี้ และมีการจัดตั้งกสทช. กลางปีหน้า และ (3) รัฐบาลดูจะให้ความสำคัญกับการแปรสัมปทาน ก่อนจะมีการประมูล 3G แต่ข่าวความคืบหน้าของ 3G ในช่วง 2-3 ปีนี้ เป็นข่าวเชิงบวกต่อหุ้นมือถือเป็นระยะๆ จาก Growth Opportunity อย่างไรก็ตาม เรายังค่อนข้างสงสัยกับความเห็นของกทช. ที่คาดว่าค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯที่จ่าย 2% ต่อปี และค่าธรรมเนียมกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึง (USO) จ่าย 4% ต่อปีเฉลี่ยรวมแล้วจะจ่ายประมาณ 14-15% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่เคยคาดระดับ 7-8% แม้ยังต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ภายใต้สัญญาสัมปทานปัจจุบันที่ 20-25% ดังนั้น เราอาจมีการทบทวนมูลค่าเพิ่มที่เคยประเมินไว้ สำหรับ ADVANC ที่ 20 บาท DTAC ที่ 12 บาท และ TRUE 0.78 บาท ตามลำดับ
• คำแนะนำ: ยัง Rating “Buy” ADVANC (TP ไม่รวม 3G 94 บาท และ DTAC (TP ไม่รวม 3G 38 บาท) แม้ในแง่เก็งกำไรระยะสั้น DTAC และTRUE อาจจะมากกว่า จากส่วนต่างต้นทุนที่ต่ำกว่า และการหาพันธมิตร แต่ยัง Rating “Sell” TRUE (TP ไม่รวม 3G 2.72 บาท) ไว้ก่อน
• ดีลทหารไทยใกล้จบ คลังเสนอ 2 ทางเลือก ขายยกล็อตแบ่งจ่าย-หาพันธมิตรใหม่ ดีลขายหุ้นแบงก์ทหารไทยล็อตใหญ่สุด 26% ใกล้ได้ ข้อสรุปในเดือนมิ.ย.นี้ คลังเสนอไอเอ็นจี 2 ทางเลือก ทางแรกทำสัญญาซื้อหุ้นยกล็อต แต่ทยอยจ่ายเป็นงวดๆ จนครบ ทางที่สอง หาพันธมิตรในการร่วมกิจการเข้ามาซื้อแทน ป้องกันปัญหาด้านบริหาร ขณะที่ “กรณ์” ไฟเขียวขายยกล็อตแบบแบงก์สินเอเชีย (ACL)(ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• กองน้ำมันมาแรงนักลงทุนสบช่องซื้อช่วงราคาลด กองทุนวางแผนเพิ่มทุนกองน้ำมัน มองโอกาสช่วงราคาปรับลด เสนอขายนักลงทุน ด้าน “ทิสโก้” ลุยเพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท เป็น 3,000 ล้านบาท เชื่อได้รับการตอบรับดี มองราคาน้ำมันปีนี้ 85-90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปัจจัยจากจีน-
อินเดียเศรษฐกิจเติบโตสูง อุตสาหกรรมรถยนต์ยังขยายตัวดี ด้านบลจ.แอสเซทพลัสแนะซื้อกองทุนน้ำมันช่วงนี้ถือได้ของถูก ทยอยซื้อเมื่อต่ำกว่า 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และขายทำกำไรเมื่อปรับตัวเกิน 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• IVL ราคาดีเกิน 20 บาท รับเบอร์หนึ่ง PET โลก IVL เปิดโรงงาน AlphaPet เฟส 2 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ดันกำลังผลิตเม็ดพลาสติก (PET)เพิ่ม 432,000 ตันต่อปี ด้านผู้บริหารลั่นไตรมาส 2/53 รายได้สวยกว่าไตรมาสก่อน ขานรับกำลังการผลิตใหม่ ความต้องการ PTA อยู่ในเกณฑ์สูงโบรกฯ แนะนำซื้อให้ราคาเป้าหมาย 23 บาทต่อหุ้น (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• SLC-W วิ่งฉลุยวันนี้พุ่ง 0.33 บาท SLC-T แจ่มใส SLC-W1 ได้เวลาเข้าเทรด ด้านวงการชี้ราคาขั้นต่ำ 0.33 บาท ขณะที่ “อารักษ์” ลั่น SLCT1 เข้าซื้อขายวันนี้พร้อมกัน เชื่อได้รับความสนใจจากนักลงทุนแน่ แถมเปรยกลุ่มผู้ถือหุ้นแบไต๋เล็งใช้สิทธิเพียบ ชี้งานนี้มีลุ้นได้เงินเพิ่มทุนขั้นต่ำ
500 ล้านบาท พร้อมวางแผนเทงบลงทุนปรับโครงสร้างธุรกิจทันที (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• TMI ชงบอร์ดสัปดาห์นี้ไฟเขียวจ่ายปันผล 50% TMI ชงบอร์ดปันผลสัปดาห์นี้คาดจ่ายอัตรา 50% ของกำไรสุทธิปี 52 “ธีระชัย” ย้ำจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ตั้งเป้ารายได้เติบโต 17-20% จากการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แย้มไตรมาส 3/53 รุกเจาะงานภาครัฐ มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
• KIAT การันตีรายได้โตเกิน 30% รวบงานปตท.120 ล้าน ลุ้นไหลเข้าเพิ่มไม่หยุด KIAT รายได้ปีนี้โตเกิน 30% ฟาดงานปตท.ที่ขอนแก่น อีก 120 ล้านบาท วงการชี้ งานหลั่งไหลเข้ามาไม่มีหยุด ด้านผู้บริหารลั่น ได้ต่อสัญญา 5 เดือน ฟาดเงินเพิ่มอีกเดือนละ 20 ล้านบาท เปรยสัญญาสั้นเพราะ ปตท.เตรียมเปิดประมูลใหม่ ย้ำพร้อมรับงานต่อระยะยาวอีกแน่ มั่นใจงบไตรมาส 2 ยังหรู การันตีรายได้ทั้งปีโตตามเป้าขั้นต่ำ 10% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• CPN รายได้โต15% ลุยขยายกองทุนฯ 6 เดือนเปิดห้างใหม่ CPN คงเป้าหมายรายได้เติบโต 14-15% เชื่อเลื่อนปิดเซ็นทรัล ลาดพร้าวชดเชยการสูญเสียรายได้จากเซ็นทรัลเวิลด์ คาดเปิดศูนย์การค้าได้ภายใน 6 เดือน ส่วนความเสียหายรอบริษัทประกันสรุปค่าชดเชยภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ พร้อมยันเดินหน้าขยายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ CPNRF ในไตรมาส 3/53 (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• กทช.เคาะไลเซนส์ 3.9 จี หมื่นล้าน กำหนดเปิดประมูลก.ย. เชื่อเงินสะพัด 3 แสนล้าน บอร์ดกทช.เคาะแล้ว ราคาไลเซนส์ 3.9 จี 10,000 ล้านบาท คาดราคาปั่นไปสุดท้ายที่ 13,000 ล้านบาท ระบุวันพุธนี้เผยแพร่ร่างหลักเกณฑ์ในเว็บไซต์ พร้อมทำประชาพิจารณ์ 25 มิ.ย. เริ่มประมูลได้เดือนก.ย.นี้ตามเป้า คาดเงินลงทุนโครงข่ายจากเอกชนสะพัดไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท ดักคอค่าบริการน่าจะถูกกว่า 2 จี ในปัจจุบันเพราะต้นทุนให้บริการเหลือเพียง 15% ต่อปี (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• TICON แย้มไตรมาส 2 รายได้ลดการเมืองทำพิษแต่ปีนี้เชื่อโต 15% “ไทคอน” เผยไตรมาส 2 คาดรายได้ลดต่ำกว่าไตรมาสแรก เหตุรับผลกระทบปัญหาการเมืองไม่สงบ แต่ปีนี้ยังมั่นใจรายได้โต 15% และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน พร้อมเลื่อนเพิ่มทุนกองทุนอสังหาฯ TFUND มูลค่า 1,800-1,900 ล้านบาท ไปเดือนต.ค.53 จากเดิมกำหนดไว้เดือนก.ย.นี้ เหตุภาวะตลาดไม่เอื้อหลังรับผลกระทบปัญหาการเมือง (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• LHK ออเดอร์ทะลักถึงเดือนหน้า รายได้ทั้งปีโตกว่า 15% ยอดขาย 150 ล้านบาท/เดือน LHK ฟุ้งออเดอร์ทะลักถึงเดือนก.ค. คาดยอดขายเฉลี่ย 150 ล้านบาท/เดือน รับอุตสาหกรรมยานยนต์-ไฟฟ้าฟื้นตัว ดันรายได้ทั้งปีโต 10-15% จากปีก่อน 1,970 ล้านบาท ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นคาดจะเพิ่มเป็น 10-15% หลังควบคุมสต๊อกต้นทุนได้ดี(ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• AOT ขึ้นค่าเช่าสนามบินทั่วประเทศเร่งพัฒนาพื้นที่ 700 ไร่เชิงพาณิชย์! AOT เตรียมปรับค่าเช่าพื้นที่สนามบินภูมิภาค พร้อมเร่งใช้ประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ในสุวรรณภูมิ สร้างรายได้ Non Aero กู้วิกฤติผลกระทบการเมือง เอ็มดีระบุ ค่าเช่าพื้นที่ภูมิภาคจะพิจารณาใหม่ตามศักยภาพเพื่อกำหนดอัตราที่เหมาะสม และใช้ที่ดินกว่า 700 ไร่ด้านทิศตะวันออกของสุวรรณภูมิมาเปิดให้เอกชนลงทุนสร้างมูลค่าเพิ่ม (ที่มา:
นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)
• อุตสาหกรรมน้ำมันเจอศึกรอบด้าน ทั้งความผันผวนของราคาและความเสี่ยงอีกเพียบ แม้มีสัญญาณว่า ดีมานด์และการเติบโตของเศรษฐกิจดีขึ้น แต่นักวิเคราะห์ชี้ อุตสาหกรรมน้ำมันยังต้องจัดการกับความเสี่ยงและความผันผวนของราคา ในขณะเดียวกัน แนวโน้มดีมานด์น้ำมันก็ไม่สดใส มิหนำซ้ำยังเกิดหายนะน้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโกจนทำให้สหรัฐต้องออกระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-06-2010)

--------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.

TNN : ดาวโจนส์ร่วงกว่า300จุด-ผิดหวังตัวเลขจ้างงาน
ดาวโจนส์ร่วงกว่า300จุดหลังผิดหวังตัวเลขจ้างงานสหรัฐ ขณะที่ราคาทองคำพุ่งสวนทาง หลังนักลงทุนหันมาถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดความเสี่ยง

5 มิ.ย.53 : ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลง เมื่อคืนนี้ (4 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อตัวเลขจ้างงานสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยเกินคาด หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้น 431,000 ตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม ซึ่งแม้ว่าจะเป็นอัตราการพุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 แต่ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราว 508,000 ตำแหน่ง

นอกจากนี้ อัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการจ้างพนักงานชั่วคราวของภาครัฐ ขณะที่ นายจ้างภาคเอกชนหลายรายยังคงมีความระมัดระวังในการจ้างพนักงานใหม่ อีกทั้ง บรรยากาศการซื้อขายในตลาดยังเผชิญกับปัจจัยลบจากความวิตกกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป

ทั้งนี้ ปิดตลาด ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 323.31จุด ปิดที่ 9,931.97 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 37.95 จุด ปิดที่ 1,064.88 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 83.86 จุด ปิดที่ 2,219.17 จุด

ขณะเดียวกัน ผลของการผิดหวังต่อการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐที่บ่งชี้ว่า ภาคเอกชนยังไม่พร้อมที่จะเพิ่มการจ้างพนักงานใหม่ ซึ่งภาวะดังกล่าวบดบังแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมันและพลังงานในตลาด ทำให้สัญญาน้ำมันดิบไนเม็กซ์ ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ลดลง 3 ดอลลาร์ 10 เซนต์ ปิดที่ 71 ดอลลาร์ 51 เซนต์/บาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางตลาดหุ้นและน้ำมันที่ถูกแรงเทขาย หลังข้อมูลบ่งชี้ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและนายจ้างยังไม่พร้อมที่จะจ้างพนักงานใหม่มากนัก และสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน ทำให้หันมาถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดความเสี่ยง เช่น สัญญาทองคำ หรือ เงินดอลลาร์มากขึ้น ส่งผลให้สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กดีดตัว โดย สัญญาทองคำคอมเม็กซ์ ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปรับตัวขึ้น 7 ดอลลาร์ 70 เซนต์ ปิดที่ระดับ 1,217 ดอลลาร์ 70 เซนต์/ออนซ์ เพิ่มขึ้นจากระดับปิดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 2 ดอลลาร์ 70 เซนต์ หลังจากเคลื่อนไหวผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์

--------------------------------------------------------
Technical View : FSS
“ดัชนีขยับขึ้นมาชนแนวต้าน 773 จุดอยู่ ต้องผ่านขึ้นถึงจะลุ้นแนวต้านอื่นๆ ต่อได้ แต่ถ้าไม่ผ่าน…ต้องระวังไหลย้อนลงหาแนวรับ ซึ่ง
ถ้าไหลลงจนหลุดต่ำกว่า 740 จุดจะทำให้ดูไม่ดี…”
แนวรับ : 760-757* , 748-745** , 740***
แนวต้าน : 773*** , 778-780* , 790**

--------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น