

DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:วิตกศก.ชะลอตัวฉุดดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 2.19%
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดทรุดตัวลงในวันอังคาร หลังความวิตกเกี่ยวกับเพดานหนี้ของสหรัฐผ่านพ้นไป และนักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงันทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 265.87 จุดหรือ 2.19%สู่ 11,866.62, ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 32.89 จุดหรือ 2.56% สู่ 1,254.05และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวลง 75.37 จุดหรือ 2.75% สู่ 2,669.24 ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ราว 9.7 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค,
ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยต่อวันที่ราว 7.5 พันล้านหุ้น โดยมีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวก4 ต่อ 1 ในตลาดนิวยอร์ค
หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมและสินค้าฟุ่มเฟือยซึ่งอ่อนไหวต่อสัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจนั้น ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยดัชนี S&P หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมร่วงลงมากกว่า 3%
ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงรุนแรงตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลังข้อมูลภาคการผลิตทั่วโลกในสัปดาห์นี้บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ชะลอตัวลง
นักลงทุนดูเหมือนได้แรงหนุนเพียงเล็กน้อยหลังจากวุฒิสภาสหรัฐตกลงเพิ่มเพดานหนี้ เพราะมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือที่ AAA
ข้อมูลของรัฐบาลบ่งชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐลดลงเกินคาดในเดือนมิ.ย.เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี
หุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ร่วงลงอย่างหนัก และดัชนี S&P หุ้นกลุ่มการเงินร่วงลงมากกว่า 10% แล้วในปีนี้
หุ้นกลุ่มทองปรับตัวขึ้น หลังราคาทองทะยานขึ้นกว่า 2% สู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อทองในฐานะแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย หลังตลาดหุ้นดิ่งลง--จบ--
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:ตัวเลขศก.สหรัฐกดน้ำมันดิบปิดดิ่งลง 1.1 ดอลล์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงกว่า 1 % ในวันอังคาร และปิดตลาดที่ระดับปิดต่ำสุดรอบ 5 สัปดาห์ หลังจากสหรัฐรายงานว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐลดลงในเดือนมิ.ย. ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลกับอุปสงค์ในพลังงาน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.ดิ่งลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.16 % มาปิดตลาดที่ 93.79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่ปิดที่92.89 ดอลลาร์ในวันที่ 28 มิ.ย. หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 93.17-95.68 ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนร่วงลง 35 เซนต์ สู่116.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 115.53-118.40 ดอลลาร์
ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคสหรัฐลดลง 0.2 % ในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2009
พายุโซนร้อนเอมิลีทวีความรุนแรงขึ้น ในขณะที่พายุลูกนี้พัดผ่านทะเลแคริบเบียน และมีแนวโน้มว่าอาจพัดผ่านสาธารณรัฐโดมินิกันและไฮติ
กระทรวงอุตสาหกรรมของจีนรายงานว่า ปริมาณการแปรรูปน้ำมันดิบของจีนมีแนวโน้มว่าอาจเติบโตขึ้น 8.5 % สู่ 9.2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าโรงกลั่นน้ำมันอาจจะเพิ่มอัตราการผลิตให้สูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ค.ในวันพุธนี้ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้น 900,000บาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 1.5ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินอาจเพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจทรงตัว
หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API)รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 3.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว, สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.9 %--จบ--
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองพุ่งขึ้น 2.4% สู่สถิติสูงสุดใหม่
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้นกว่า 2 % สู่สถิติสูงสุดใหม่ในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเนื่องจากตลาดหุ้นร่วงลง, เศรษฐกิจชะลอตัว และมีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากขั้น AAA
ราคาทองสปอตทะยานขึ้น 2.4 % สู่ 1,656.69 ดอลลาร์/ออนซ์ ซึ่งถือเป็นการทำสถิติสูงสุดใหม่ครั้งที่ 9 นับตั้งแต่เดือนก.ค.เป็นต้นมาราคาโลหะเงินในตลาดสปอตทะยานขึ้น 3.8 % สู่ 40.75 ดอลลาร์
การพุ่งขึ้นของราคาทองในวันอังคารถือเป็นการพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ย. 2010 โดยในช่วงนี้นักลงทุนบางรายเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจจะเริ่มต้นใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม (QE3) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ
สหรัฐรายงานว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคลดลง 0.2 % ในเดือนมิ.ย. ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งลงกว่า 2 % ในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเช่นฟรังก์สวิสและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐราคาทองได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่า เกาหลีใต้เพิ่มทองเข้าไวัในทุนสำรองต่างประเทศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียในช่วงปลายทศวรรษ 1990
ความกังวลเรื่องหนี้ยูโรโซนมีส่วนช่วยหนุนราคาทองด้วยเช่นกัน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปนพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 14 ปี
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันอังคารมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนธ.ค. 1,644.50 + 22.80
เงินเดือนก.ย. 40.092 + 78.30 (เซนต์)
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันอังคารมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,793.50 - 1.10
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 826.90 - 2.60 --จบ--
ตลาดเงินนิวยอร์ค:วิตกศก.โลกซบเซาดันฟรังก์สวิสพุ่งทำนิวไฮเทียบดอลล์,ยูโร
ฟรังก์สวิสพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโรในวันอังคาร และมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นอีก ขณะที่นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวที่ซบเซาของเศรษฐกิจโลก และปัญหาหนี้สินในสหรัฐและยุโรป
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 77.130 เยน เทียบกับระดับปิดวันจันทร์ที่ 77.240 เยนส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4203 ดอลลาร์ และ 109.55 เยน เทียบกับระดับปิดวันจันทร์ที่1.4249 ดอลลาร์ และ 110.10 เยน
ขณะที่สภาคองเกรสอนุมัติมาตรการเพิ่มเพดานหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้นั้น นักลงทุนก็ยังคงวิตกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AAA ของสหรัฐ
หลักฐานที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวได้แก่รายงานที่บ่งชี้ว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐลดลงในเดือนมิ.ย.เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี หลังการเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่ซบเซาทั้งในสหรัฐและทั่วโลก
ยูโรปรับตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน
ตลาดเงิน Emerging Asia:ริงกิต,เปโซนำสกุลเงินเอเชียร่วง ขณะซื้อขายเบาบาง
ริงกิต และเปโซร่วงลงท่ามกลางภาวะซื้อขายเบาบางในวันนี้ ขณะที่กลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์ลดการถือครองสกุลเงินเอเชียเนื่องจากมีความวิตกเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ดี กองทุนชั้นนำ และนักลงทุนรายใหญ่ปลีกตัวอยู่นอกตลาดซึ่งทำให้เงินเอเชียอ่อนค่าลงไม่มากนัก ขณะที่นักลงทุนบางส่วนดูเหมือนจะค่อยๆเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสกุลเงินเอเชีย จากเชิงบวกก่อนหน้านี้
ความวิตกต่อเศรษฐกิจโลกอาจทำให้มีการปรับสถานะการถือครองเงินเอเชียมากขึ้น แต่ความต้องการสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าในภูมิภาคนี้จะยังคงมีมากอยู่ตราบใดที่เศรษฐกิจของเอเชียยังแข็งแกร่งกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ และผู้กำหนดนโยบายยังคงต่อสู้กับเงินเฟ้อต่อไป
นักวิเคราะห์ระบุว่า สกุลเงินในภูมิภาคอาจปรับฐานมากขึ้นท่ามกลางการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง แต่การขายทำกำไรก็จะสร้างโอกาสให้เข้าซื้อเงินบางสกุลในช่วงขาลง
"สกุลเงินที่มีการปรับตัวรับความเสี่ยงดีที่สุดในเอเชียในขณะนี้ได้แก่สกุลเงินของจีน, อินโดนีเซียและอินเดียจากมุมมองเรื่องค่าเงิน" นายริชาร์ดเยตเซนกา ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์อัตราปริวรรตเงินตราโลกจาก
เอเอ็นแซด รีเสิร์ชกล่าว
"อินโดนีเซีย และอินเดียให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล โดยอินโดนีเซียอาจจะได้รับการยกระดับสู่อันดับที่น่าลงทุน"
ริงกิตร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่กลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์ซื้อคืนดอลลาร์
ขณะเดียวกัน แรงซื้อดอลลาร์ทำให้เปโซอ่อนค่าลงต่ำกว่าระดับ 42.00ต่อดอลลาร์
วอนปิดตลาดแทบไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ความต้องการชำระบัญชีของ
ผู้ส่งออกได้ช่วยชดเชยการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของนักลงทุน
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดลบ 3 จุด สู่ 1253
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (2 ส.ค.) ลบ 3 จุด
หรือ 0.24% สู่ระดับ 1253
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
1 ส.ค. 1256 -8
29 ก.ค. 1264 -14
28 ก.ค. 1278 -18
27 ก.ค. 1296 -14
26 ก.ค. 1310 -7
03-08-54>> แนวโน้มขาขึ้น...
SETI ปรับตัวลดลง แต่ยังปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น และ MACD สามารถปิดเหนือเส้น Zero Line
ได้ รวมทั้ง MACD และ Modified Stochastic ให้ค่าสัญญาณบวก จึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นต่อไป
ดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ซื้อ”
GUNKUL ปิด 18.20 บาท
เบรกกรอบสามเหลี่ยมขึ้นมาได้ ประกอบกับ Modified Stochasticและ RSI ให้ค่าบวกพร้อมกันเป็นวันแรก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 18.60-20.00 บาท แนวรับที่ 17.90-17.70บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 17.40 บาท
GFPT ปิด 11.50 บาท
แท่งเทียนมีสีขาว และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มดีดตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 13.00-13.50 บาท แนวรับที่ 12.10-11.90บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 11.70 บาท
BLA ปิด 57.00 บาท
ทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง และแท่งเทียนมีสีขาว ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 59.00-60.00 บาท แนวรับที่ 56.00-55.50บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 55.00 บาท
THCOM ปิด 11.50 บาท
แท่งเทียนมีสีขาวพร้อมวอลุ่มหนุน ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 12.30-13.00 บาท แนวรับที่ 11.20-11.00บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 10.80 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น