

DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดดิ่ง 4.31% จากวิตกศก.ถดถอย,ปัญหาหนี้ยุโรป
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดดิ่งลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในช่วงต้นปี 2009 โดยดัชนีดาวโจนส์และ S&P ร่วงลงมากกว่า 4% ในวันพฤหัสบดีและดัชนี Nasdaq ทรุดลง 5% จากความวิตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง และวิกฤติหนี้ยุโรปกำลังส่งผลกระทบต่ออิตาลีและสเปน
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 512.76 จุดหรือ 4.31%สู่ 11,383.68, ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 60.27 จุดหรือ 4.78% สู่ 1,200.07และดัชนี Nasdaq ปิดทรุดลง 136.68 จุดหรือ 5.08% สู่ 2,556.39
ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ราว 1.38 หมื่นล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq สูงกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 7.48 พันล้านหุ้น
จำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกประมาณ 19 ต่อ 1 ในตลาดนิวยอร์ค
นักวิเคราะห์คาดว่าตลาดจะร่วงลงต่อไป แม้ปรับตัวลงแล้ว 9 ใน 10 วันทำการที่ผ่านมา ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นของรัฐบาลซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย
ตลาดร่วงลงหลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐออกมาย่ำแย่ลงในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งบ่งชี้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลงจากที่ซบเซาอยู่แล้วในช่วงครึ่งปีแรก และวิกฤติหนี้ยุโรปกำลังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสเปนและอิตาลี
หุ้นทุกกลุ่มร่วงลง โดยหุ้นที่ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดครั้งใหม่ในรอบ 52 สัปดาห์ได้แก่ หุ้นแบงก์ออฟอเมริกา, ซิตี้กรุ๊ป และฮิวเลตต์-แพคการ์ด
หุ้นกลุ่มพลังงานและวัสดุร่วงลงแซงหน้ากลุ่มอื่นๆ โดยดัชนี S&P หุ้นกลุ่มพลังงานร่วง 6.8% และกลุ่มวัสดุดิ่งลงมากกว่า 6.6%
สัญญาน้ำมันดิบสหรัฐปิดร่วงลง 5.30 ดอลลาร์ สู่ระดับ 86.63 ดอลลาร์/บาร์เรล
ดัชนีความผันผวนพุ่งขึ้น 35.4% สู่ 31.66 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2010 และพุ่งขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2007--จบ--
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:วิตกศก.ชะลอตัวฉุดราคาน้ำมันดิบปิดดิ่งลง 5.30 ดอลล์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ดิ่งลงมากกว่า 6% ในวันพฤหัสบดี โดยร่วงทะลุแนวรับทางเทคนิคสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ขณะที่นักลงทุนเทขายสัญญาน้ำมันดิบจากความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงัน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.ปิดดิ่งลง 5.30 ดอลลาร์หรือ 5.77% สู่ระดับ 86.63 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยร่วงลงมากที่สุดเมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์นับตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค. และเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ.
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปิดรูดลง 5.98 ดอลลาร์หรือ 5.28% สู่ระดับ 107.25 ดอลลาร์/บาร์เรลโดยดิ่งลงเกือบ 8% ในรอบ 2 วัน และจะเข้าทดสอบแนวรับสำคัญที่เส้นค่าเฉลี่ยในรอบ 200 วันที่ราว 106.65 ดอลลาร์--จบ—
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐร่วงลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันพฤหัสบดีขณะที่ความวิตกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลให้มีการเทขายหุ้นในตลาดทั่วโลก และกดดันให้นักลงทุนต้องขายทำกำไรทองเพื่อนำไปชดเชยการขาดทุน
ในสินทรัพย์อื่นๆ
ราคาโลหะเงิน, พลาตินั่มและพัลลาเดียมปิดตลาดร่วงลงเช่นกัน
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันพุธมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนธ.ค. 1,659.00 - 7.30
เงินเดือนก.ย. 39.431 - 2.327
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันพุธมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,729.40 - 55.60
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 752.95 - 42.15 --จบ--
ตลาดเงิน Emerging Asia:วิตกศก.,ญี่ปุ่นแทรกแซงเยนฉุดสกุลเงินเอเชียร่วง
ดอลลาร์สิงคโปร์ และวอนร่วงลงในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนลดสัดส่วนการถือครองสกุลเงินเอเชีย เนื่องจากมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และหลังจากญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเพื่อทำให้เยนอ่อนค่าลง
ญี่ปุ่นได้แทรกแซงขายเยนวงเงินประมาณ 1.6 ล้านล้านเยนในวันนี้ และธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินตามสวิตเซอร์แลนด์ ท่ามกลางความพยายามสกัดค่าเงินที่แข็งขึ้นอันเนื่องจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยจากกลุ่มนักลงทุนที่กังวลกับภาวะเศรษฐกิจโลก
"การแทรกแซงของญี่ปุ่นแสดงถึงความวิตกของธนาคารกลางในภูมิภาคเกี่ยวกับการแข็งค่าของสกุลเงิน โดยการแทรกแซงของญี่ปุ่นจะส่งเสริมให้ธนาคารกลางแห่งอื่นๆทำตามอย่าง" นายฟรานเซส เฉิง นักวางแผนกลยุทธ์จากเครดิต อะกริโคล ซีไอบีกล่าว
"ท่ามกลางสภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนหนึ่งมาจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของสหรัฐ เอเชียก็อาจจะได้รับผลกระทบในเชิงลบ ผมจึงระมัดระวังมากขึ้นต่อเงินเอเชียในระยะใกล้"
นายแอนดี้ จี นักวางแผนกลยุทธ์สกุลเงินเอเชียจากคอมมอนเวลธ์ แบงก์ ออฟ ออสเตรเลีย คาดว่าจะมีการแทรกแซงซื้อดอลลาร์มากขึ้นในเอเชีย โดยระบุว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่สิงคโปร์, ไต้หวันและเกาหลีใต้จะสกัดการแข็งค่าของค่าเงินในเอเชียต่อไป
นักวิเคราะห์และดีลเลอร์กล่าวว่า สกุลเงินในภูมิภาคอาจมีเงินทุนไหลเข้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ผ่อนคลายนโยบายลงอีก ขณะที่หลายประเทศในเอเชียยังพยายามควบคุมเงินเฟ้อ
นายโดนัลด์ คอห์น อดีตรองประธานเฟด กล่าวว่า เฟดอาจจำเป็นต้องพิจารณาอย่างจริงจังถึงการผ่อนคลายนโยบายลงอีกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดบวก 8 จุด สู่ 1268
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (4 ส.ค.) บวก 8 จุด หรือ 0.63% สู่ระดับ 1268
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
3 ส.ค. 1260 +7
2 ส.ค. 1253 -3
1 ส.ค. 1256 -8
29 ก.ค. 1264 -14
28 ก.ค. 1278 -18
POEMS05-08-11>> แนวโน้มขาขึ้นแต่ผันผวน...
SETI ปิดปรับตัวลดลง แต่ยังปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA(13) วัน และ MACD สามารถปิดเหนือเส้นZero Line ได้ ประกอบกับ SETI ยังไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ในระยะสั้น จึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นแต่ผันผวนดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ซื้อเก็งกำไร”
KBS ปิด 13.70 บาท
ทำจุดสูงสุดใหม่ และแท่งเทียนมีสีขาว ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้สัญญาณเป็นบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 14.50-15.00 บาท แนวรับที่ 13.50-13.30บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 13.00 บาท
GUNKUL ปิด 18.90 บาท
ทำจุดสูงสุดใหม่ และแท่งเทียนมีสีขาวพร้อมวอลุ่มหนุน ประกอบกับIndicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 19.50-20.00 บาท แนวรับที่ 18.60-18.40บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 18.20 บาท
KSL ปิด 16.50 บาท
Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวกพร้อมวอลุ่มหนุน และปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 17.00-17.50 บาท แนวรับที่ 16.10-15.90บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 15.70 บาท
SAMTEL ปิด 14.00 บาท
ปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวกพร้อมวอลุ่มหนุน แนวโน้มเป็นขาขึ้นต่อไป
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 14.50-15.00 บาท แนวรับที่ 13.70-13.50บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 13.30 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น