

ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ฟื้นตัวปิดบวก 0.54%
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมาย่ำแย่ที่สุดในรอบกว่า 2 ปีในวันศุกร์ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน โดยดัชนีที่สำคัญปรับตัวขึ้นลงตลอดทั้งวันก่อนดัชนี S&P 500 ปิดตลาดลดลงเล็กน้อย
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 60.93 จุดหรือ 0.54% สู่ 11,444.61, ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 0.69 จุดหรือ 0.06% สู่ 1,199.38 และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 23.98 จุดหรือ 0.94% สู่ 2,532.41
ระว่างวันดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวในช่วงกว่า 400 จุดจากระดับสูงสุดถึงระดับต่ำสุดของวัน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลง 5.8%, ดัชนี S&P 500 ลดลง 7.2% และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 8.1%
ปริมาณการซื้อขายมากกว่า 1.59 หมื่นล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค,ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี เนื่องจากนักลงทุนได้พากันเข้าซื้อหุ้นขนาดใหญ่ซึ่งร่วงลงอย่างหนักตามตลาดในช่วงที่ผ่านมา
การเทขายหุ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาสะท้อนถึงความผิดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซา และการไร้ความสามารถของนักการเมืองที่จะแก้ไขความวิตกเกี่ยวกับหนี้สาธารณะในระดับสูงทั้งในยุโรปและสหรัฐ
ดัชนีความผันผวน (VIX) ซึ่งวัดความวิตกของนักลงทุน พุ่งขึ้นสูงถึง 39.25 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2010 แต่ปิดบวก 1.1% สู่ระดับ 32
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 117,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. มากกว่าที่คาดไว้ที่ 85,000 ตำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงสู่ 9.1% ในเดือนก.ค. จาก 9.2% ในเดือนมิ.ย. (รอยเตอร์)
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:ตัวเลขจ้างงานหนุนน้ำมันดิบปิดบวก 25 เซนต์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดขยับขึ้นเล็กน้อยท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวนในวันศุกร์ หลังจากปิดตลาดในแดนลบมานานติดต่อกัน 5 วัน โดยราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากตัวเลขการจ้างงานในทางบวก และจากเหตุเพลิงไหม้ท่อส่งน้ำมันในอิหร่าน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.ปรับขึ้น 25 เซนต์ หรือ 0.29 % มาปิดตลาดที่ 86.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 82.87-88.32 ดอลลาร์โดยจุดต่ำสุดของวันศุกร์ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. 2010 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ที่ตลาดกรุงลอนดอนทะยานขึ้น 2.12 ดอลลาร์ หรือ 1.98 % สู่ 109.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 104.30-110.26 ดอลลาร์
เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบสหรัฐก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ดิ่งลง 8.82 ดอลลาร์ หรือ 9.22 % จากระดับปิดวันศุกร์ที่ 29 ก.ค.ที่ 95.70 ดอลลาร์ โดยการดิ่งลงในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ราคาน้ำมันดิบรูดลง 16.75 ดอลลาร์ หรือ 14.7 % ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 พ.ค. ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปิดตลาดสัปดาห์นี้รูดลง 7.37 ดอลลาร์ หรือ 6.31 % จากสัปดาห์ที่แล้ว
ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนเพิ่มเติม หลังจากมีข่าวว่าท่อส่งน้ำมันแห่งหนึ่งประสบเหตุระเบิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน แต่เจ้าหน้าที่บริษัทเนชั่นแนล อิราเนียน เซาธ์ ออยล์ คอมปานีแถลงในเวลาต่อมาว่า การผลิตน้ำมันไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ (รอยเตอร์)
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:วิตกศก.หนุนราคาทองสปอตปรับขึ้น
ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนธ.ค.ที่ตลาดสหรัฐปิดร่วงลงในวันศุกร์ แต่ราคาทอง ในตลาดสปอตปรับ-ขึ้น 0.8 % สู่ 1,661.09 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนไม่ได้กลับเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ถึงแม้สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเกินคาด และนักลงทุนมีความหวังว่าวิกฤติหนี้ยูโรโซนอาจสิ้นสุดลง
ราคาทองปรับขึ้นหลังจากแหล่งข่าวกล่าวว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) พร้อมจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปน ถ้าหากนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนีของอิตาลีปรับเลื่อนเวลาในการปฏิรูปโครงสร้างให้เร็วขึ้นจากเดิม
ราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้ว 12 % ในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเทรดเดอร์บางรายกล่าวว่า โอกาสที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อกดดันเยนให้อ่อนค่าลงอีก, โอกาสที่ทางการยุโรปจะเข้าซื้อพันธบัตร และโอกาสที่สหรัฐจะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม (QE3) ส่งผลให้นักลงทุนไม่มีทางเลือกอื่นๆมากนักนอกจากการเข้าซื้อทอง
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันศุกร์มีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนธ.ค. 1,651.80 - 7.20
เงินเดือนก.ย. 38.211 -122.20 (เซนต์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,719.10 - 10.30
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 741.75 - 11.20 (รอยเตอร์)
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ดอลล์อาจร่วงต่อสัปดาห์นี้ขณะตลาดจับตาประชุมเฟด
ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงในวันศุกร์และอาจร่วงลงต่อไปในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสและเยน ขณะที่นักลงทุนจะจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ถึงการผ่อนคลายนโยบาย ขณะที่มีความวิตกเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 78.540 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสบดีที่ 79.060 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4279 ดอลลาร์ และ 112.16 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสบดีที่ 1.4106 ดอลลาร์ และ 111.61 เยน
ฟรังก์สวิสพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์และฟรังก์ก่อนอ่อนลง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดอลลาร์ร่วงลงราว 3.0% เมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส และยูโรร่วงลง 3.7%
ดอลลาร์ปรับตัวลงเมื่อเทียบกับเยนในวันศุกร์ แต่บวกขึ้น 1.2% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดและผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อถ่วงเยนลง
ตลาดจะจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในวันอังคารนี้ โดยจะมีการลงมติอัตราดอกเบี้ยราวเวลา 1815 GMT หรือราว 01.15 น. ตามเวลาไทยในวันพุธ ซึ่งคาดว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ย แต่นักลงทุนจะรอดูแถลงการณ์เฟดเกี่ยวกับการประเมินภาวะเศรษฐกิจ และแนวโน้มนโยบายการเงิน หากเฟดบ่งชี้ถึงการออกมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็อาจจะกดดันดอลลาร์ลงอีก และผลักดันให้นักลงทุนเข้าซื้อฟรังก์สวิสและเยน (รอยเตอร์)
ตลาดเงิน Emerging Asia:สกุลเงินเอเชียร่วงขณะนักลงทุนทิ้งสินทรัพย์เสี่ยง
สกุลเงินเอเชียปิดร่วงลง โดยดอลลาร์สิงคโปร์และริงกิตอ่อนค่าลงมากที่สุด ขณะที่นักลงทุนลดความเสี่ยงด้วยการลดสัดส่วนการถือครองสกุลเงินและหุ้นเอเชีย
ริงกิตร่วงลง 1.4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นการดิ่งลงมากที่สุดในเอเชีย และร่วงลงมากที่สุดในสัปดาห์นี้นับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2010 ส่วนเปโซร่วงลงจากแรงขายของธนาคารต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเช้า
แรงขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ และความต้องการดอลลาร์ที่เกี่ยวข้องกับแรงขายดังกล่าวฉุดค่าเงินวอนร่วงลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 5 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์
รูเปียห์ร่วงลงจากแรงเทขายหุ้น และแรงขายทำกำไรของธนาคารต่างชาติ หลังจากที่แข็งค่าขึ้น 1.4% ในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา
บาท/ดอลลาร์ภาคบ่ายแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่า ต่อเนื่องจากช่วงเช้า อยู่ที่ 29.84/89 จาก 29.89/95 ช่วงเช้า ขณะที่ในตลาด offshore อยู่ที่ 29.87/88 จาก 29.91/94 ช่วงเช้า โดยเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาค ที่ถูกกดดันจากความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรป ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า ภาวะตลาดการเงินระหว่างประเทศ ขณะนี้ค่อนข้างผันผวน หลังจากสหรัฐและประเทศต่างๆ ประสบปัญหา ทางด้านเศรษฐกิจ ขณะที่ธปท.ได้เข้าดูแลเงินบาทบ้างในช่วงนี้ และได้เตรียมความพร้อมในเรื่องเครื่องมือต่างๆ ที่จะรองรับกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นไว้แล้ว และยังจับตาภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด (รอยเตอร์)
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวันศุกร์ (5 ส.ค.) ทรงตัว ที่ระดับ 1268
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
4 ส.ค. 1268 +8
3 ส.ค. 1260 +7
2 ส.ค. 1253 -3
1 ส.ค. 1256 -8
29 ก.ค. 1264 -14 (รอยเตอร์)
08-08-11POMES>> แนวโน้ม Sideways...
SETI ปิดปรับตัวลดลงแรง โดยหลุดแนวรับบริเวณ 1100 จุด ประกอบกับ Indicators ทุกตัวได้ให้สัญญาณลบ แต่ MACD สามารถปิดเหนือเส้น Zero Line ได้ แท่งเทียนทำรูปแบบ Hammerจึงทำให้SETI มีแนวโน้มเป็น Sideways ซึ่งมีลุ้นดีดตัวในระยะสั้น
ดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ซื้อเก็งกำไร”
GUNKUL ปิด 19.10 บาท
ทำจุดสูงสุดใหม่ และแท่งเทียนมีสีขาว ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้สัญญาณเป็นลบ แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อ" แนวต้านที่ 20.00-22.00 บาท แนวรับที่ 18.80-18.60บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 18.30 บาท
DRT ปิด 6.65 บาท
แท่งเทียนมีสีขาว ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณบวกแนวโน้มดีดตัวขึ้นต่อ
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 6.85-7.20 บาท แนวรับที่ 6.50-6.40 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 6.20 บาท
TMB ปิด 1.94 บาท
หลุดแนวรับบริเวณ 2 บาท และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบแนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 1.97-1.99 บาท แนวรับที่ 1.90-1.85 บาท
COLOR ปิด 4.44 บาท
แท่งเทียนมีสีดำเต็มแท่ง และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น