




DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดร่วง 1.57% ติดลบเป็นสัปดาห์ที่ 4
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ในวันศุกร์ ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการเข้าซื้อหุ้นก่อนวันหยุดสุดสัปดาห์จากความวิตกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐ และความไร้เสถียรภาพของระบบการเงินยุโรป
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดดิ่งลง 172.93 จุดหรือ 1.57%สู่ 10,817.65, ดัชนี S&P 500 ปิดร่วงลง 17.12 จุดหรือ 1.50% สู่ 1,123.53และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 38.59 จุดหรือ 1.62% สู่ 2,341.84
ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ 9.87 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq โดยมีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวก 3 ต่อ 1 ทั้งในตลาดนิวยอร์คและ Nasdaq
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 4%, ดัชนี S&P 500 ลดลง4.7% และดัชนี Nasdaq ดิ่งลง 6.6
นักลงทุนได้รับผลกระทบจากการร่วงลงของหุ้นที่เกี่ยวกับการขยายตัวเศรษฐกิจหลังการเปิดเผยแนวโน้มที่น่าผิดหวังของบริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ดซึ่งร่วงลงเกือบ 20% และเป็นการร่วงลงรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ตลาดหุ้นทรุดตัวในปี 1987
หุ้นฮิวเลตต์-แพคการ์ดร่วงลง 19.9% หลังปรับลดแนวโน้มผลกำไรความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้นทำให้นักลงทุนวิตกในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถ่วงดัชนีดาวโจนส์ลง อาทิ หุ้นไอบีเอ็ม, อินเทลและไมโครซอฟท์
หุ้นกูเกิลร่วง 2.8% และถ่วงดัชนี Nasdaq ลงดัชนี S&P 500 ร่วงต่ำกว่าระดับ 1,130 ซึ่งเป็นแนวต้านที่สำคัญ และ
นักวิเคราะห์คาดว่าแนวรับเส้นถัดไปจะอยู่ที่ 1,100ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 17.6% จากระดับปิดสูงสุดของวันที่ 29 เม.ย.และในรอบปีนี้ ดัชนี S&P 500 ร่วงลงแล้ว 10.7%--จบ--
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:กังวลศก.กดน้ำมันดิบปิดลบ 12 เซนต์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจ หลังจากมีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซาหลายตัวในวันพฤหัสบดี
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.ปรับลง 12 เซนต์ หรือ 0.15 % มาปิดตลาดที่ 82.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 79.17-83.55 ดอลลาร์ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนพุ่งขึ้น 1.63 ดอลลาร์ สู่ 108.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 105.06-109.40 ดอลลาร์
เมื่อเทียบกับระดับปิดสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบสหรัฐก็ปิดตลาดสัปดาห์นี้ดิ่งลง 3.12 ดอลลาร์ หรือ 3.65 % และถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนลบเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน
ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากคำสั่งขายทำกำไรก่อนช่วงสุดสัปดาห์ และจากการปรับสถานะการลงทุนก่อนที่สัญญาเดือนก.ย.จะครบกำหนดส่งมอบในวันจันทร์ราคาน้ำมันปรับขึ้นในช่วงเช้า โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์
และจากการฟื้นตัวขึ้นของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท แต่ตลาดหุ้นร่วงลงในช่วงต่อมาราคาน้ำมันร่วงลงไม่มากนักในวันศุกร์ เนื่องจากเทรดเดอร์ส่งคำสั่งซื้อชดเชยเข้ามาในตลาด ขณะที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับสภาพอากาศพายุโซนร้อนฮาร์วีย์ก่อตัวขึ้นมาแล้ว และเป็นที่คาดกันว่าพายุลูกนี้อาจพัดผ่านฮอนดูรัสในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 19 ส.ค. และอาจพัดผ่านเบลิซในวันเสาร์ที่20 ส.ค.
การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) รายงานว่า อุปสงค์ในน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 0.5 %สู่ 19.218 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมิ.ย. ซึ่งถือเป็นการลดลงรายเดือนครั้งแรกในปีนี้--จบ--
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:กังวลศก.หนุนราคาทองพุ่งขึ้นทำนิวไฮ
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐพุ่งขึ้นกว่า 1 % ในวันศุกร์ และทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นวันที่สองติดต่อกัน โดยในสัปดาห์นี้ราคาทองได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและวิกฤติหนี้ยุโรปราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดพุ่งขึ้น 1.7 % หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง1,824.50-1,881.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ราคาทองสปอตพุ่งขึ้นราว 3 % สู่สถิติสูงสุดที่ 1,877 ดอลลาร์ในช่วงแรกก่อนจะลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา โดยความแข็งแกร่งของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มีส่วนทำให้นักลงทุนลดความต้องการซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้ว 6 % ในช่วง 5 วันที่ผ่านมา
การพุ่งขึ้นของราคาทองในสัปดาห์นี้ถือเป็นการทะยานขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ2 ปีครึ่ง มีแนวโน้มว่าราคาทองอาจปิดตลาดเดือนส.ค.ด้วยการพุ่งขึ้นรายเดือนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 12 ปี โดยราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้ว 30 % จากช่วงต้นปีนี้
ตลาดทองกำลังรอดูการประชุมผู้นำธนาคารกลางซึ่งจะจัดขึ้นในสัปดาห์หน้าที่เมืองแจ็คสัน โฮลในรัฐไวโอมิง โดยนักวิเคราะห์บางรายคาดว่า นายเบน เบอร์นันเก้ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจเปิดเผยมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสาม (QE3)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐในการประชุมครั้งนี้
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันศุกร์มีดังต่อไปนี้ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)ทองเดือนธ.ค. 1,852.20 + 30.20เงินเดือนก.ย. 42.432 +174.40 (เซนต์)
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันศุกร์มีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,874.90 + 27.20
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 748.80 - 8.20 --จบ--
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ดอลล์ร่วงเทียบเยน,ยูโร
ดอลลาร์ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับเยน และอ่อนลงเมื่อเทียบกับยูโรในวันศุกร์ แต่ดอลลาร์อาจฟื้นตัวขึ้น หากเศรษฐกิจโลกย่ำแย่ลงอีก และกระตุ้นแรงซื้อสกุลเงินที่ปลอดภัยทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 76.500 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสบดีที่76.570 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4387 ดอลลาร์ และ 110.07 เยน เทียบกับระดับปิดวันพฤหัสบดีที่ 1.4330 ดอลลาร์ และ 109.71 เยน
ยูโรปรับตัวขึ้นประมาณ 0.3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในเดือนส.ค. ขณะที่ดอลลาร์ร่วงลงราว 1.2% เมื่อเทียบกับเยน
ดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนในวันศุกร์ หลังหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ด้านการเงินระดับสูงของญี่ปุ่นว่า ทางการญี่ปุ่นไม่มีแผนที่จะเข้าแทรกแซงตลาดหลายครั้ง
ความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลกได้เพิ่มความต้องการสกุลเงินที่ปลอดภัยอาทิ เยนและฟรังก์สวิส
นักลงทุนจะรอการแถลงสุนทรพจนน์ของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 26 ส.ค.ในแจ๊คสัน โฮล รัฐไวโอมิ่งเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แผนการของผู้กำหนดนโยบายในการรับมือกับความปั่นป่วนในตลาดการเงิน รวมถึงตัวเลขประมาณการครั้งที่สองของจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐในวันศุกร์
ยูโรได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า ธนาคารกลางยุโรปได้เข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซน
ฟรังก์สวิสปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ แม้ถูกสกัดจากการคาดการณ์ที่ว่า ทางการสวิตเซอร์แลนด์จะเข้าแทรกแซงตลาดอีกครั้ง
ดอลลาร์และยูโรปรับตัวลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส
ตลาดเงิน Emerging Asia:วอนอ่อนค่าสัปดาห์ที่ 4 ขณะเฮดจ์ฟันด์ส่งแรงขาย
วอนร่วงลงตามตลาดหุ้นเกาหลีใต้ โดยอ่อนค่าเป็นสัปดาห์ที่ 4ติดต่อกัน ขณะที่วาณิชธนกิจและเฮดจ์ฟันด์ลดการถือครองสกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และวิกฤติหนี้ยุโรป
สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ลดช่วงบวกลงในเดือนนี้ ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้รูปีและวอนดิ่งลงกว่า 3% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และหากยังคงอ่อนค่าจนถึงปลายเดือนนี้ ก็จะส่งผลให้สกุลเงินทั้ง 2 ร่วงลงมากที่สุดเมื่อเทียบรายเดือนนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2010
วอนอ่อนค่าลง 0.82% ในสัปดาห์นี้ โดยปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 4ติดต่อกัน และนับเป็นการอ่อนค่าที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนมิ.ย.2010
สิงคโปร์ดอลลาร์ดีดตัวขึ้นในวันนี้ จากการที่เทรดเดอร์อินเตอร์แบงก์ภายในประเทศส่งแรงซื้อในช่วงขาลง หลังจากแตะระดับแนวรับทางเทคนิค
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดวันศุกร์บวก 48 จุด สู่ 1462
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวันศุกร์ (19 ส.ค.) บวก 48 จุดหรือ 3.39% สู่ระดับ 1462ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
18 ส.ค. 1414 +43
17 ส.ค. 1371 +27
16 ส.ค. 1344 +38
15 ส.ค. 1306 +19
12 ส.ค. 1287 +10
22-08-54POEMS>> แนวโน้ม Sideways Down...
SETI ปิดปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้น EMA(75) วัน และ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ ไม่ว่าจะเป็น MACD, RSI และ Modified Stochastic จึงทำให้มีแนวโน้มในระยะสั้นเป็น Sideways Down
โดยหากหลุดต่ำกว่า 1030 จุด จะกลับเป็นขาลงดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ขาย”
BANPU ปิด 658.00 บาท
ปิดปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้นพร้อมปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบแนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 660.00-664.00 บาท แนวรับที่ 600.00-550.00 บาท
TMB ปิด 1.84 บาท
ปิดปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้น ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 1.85-1.87 บาท แนวรับที่ 1.65-1.50 บาท
PTTEP ปิด 161.00 บาท
แท่งเทียนมีสีดำเต็มแท่งพร้อมวอลุ่นหนุน ประกอบกับ Indicatorsทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 162.50-163.50 บาท แนวรับที่ 159.00-150.00 บาท
TOP ปิด 68.25 บาท
แท่งเทียนมีสีดำ ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบแนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 68.75-69.25 บาท แนวรับที่ 68.00-66.25บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น