


DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดร่วง 1.51% ก่อน"เบอร์นันเก้"แถลงศุกร์นี้
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดีขณะที่นักลงทุนได้เพิ่มการถือเงินสดก่อนการแถลงสุนทรพจน์ครั้งสำคัญจากนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งหวังว่าเขาจะบ่งชี้อย่างชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับแผนการของเฟดสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดร่วงลง 170.89 จุดหรือ 1.51%สู่ 11,149.82, ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 18.33 จุดหรือ 1.56% สู่ 1,159.27และดัชนี Nasdaq ปิดลดลง 48.06 จุดหรือ 1.95% สู่ 2,419.63
ปริมาณการซื้อขายอยู่ที่ 8.9 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน (American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq สูงกว่าปริมาณเฉลี่ยต่อวันที่ 7.9 พันล้านหุ้น แต่ต่ำกว่า 1.12 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนนี้ โดยมีจำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วนประมาณ 16 ต่อ 5 ในตลาดนิวยอร์คและมากกว่า 4 ต่อ 1 ในตลาด Nasdaq
ปัจจัยลบต่างๆถ่วงตลาดลงหลังจากบวกขึ้น 3 วัน โดยความวิตกเกี่ยวกับการร่วงลงอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นเยอรมนี และรายงานที่บ่งชี้ถึงตลาดแรงงานที่อ่อนแอของสหรัฐกระตุ้นแรงเทขายหุ้น
ตลาดปรับตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐอาจทำให้มีการออกมาตรการกระตุ้นด้านการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เช่นเดียวกับการประชุมที่เมืองแจ๊คสัน โฮล รัฐไวโอมิ่งเมื่อปีที่แล้ว
นายเบอร์นันเก้ซึ่งจะเริ่มแถลงในวันศุกร์นี้เวลา 14OO GMT หรือราว21.00 น.ตามเวลาไทยนั้น ไม่มีแนวโน้มที่จะเปิดเผยมาตรการเร่งด่วนใดๆ ซึ่งจะสร้างความผิดหวังให้กับผู้ที่คาดการณ์เกี่ยวกับมาตรการเหล่านั้น อาทิ โครงการซื้อสินทรัพย์รอบใหม่
ตลาดเปิดบวกขึ้นในช่วงเช้าหลังแบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยว่าบริษัทเบิร์คเชียร์ ฮาธาเวย์ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์จะเข้าถือหุ้นมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ในธนาคาร หลังราคาหุ้นของธนาคารร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี เมื่อต้นสัปดาห์นี้
หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกาพุ่ง 9.4% และหุ้นซิตี้กรุ๊ปบวก 4.9% แต่ดัชนีKBW หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง 0.2% และดัชนี S&P หุ้นกลุ่มการเงินลดลง 0.46%
หุ้นแอปเปิลลดลง 0.65% หลังข่าวนายสตีฟ จ็อบส์ ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอ
ดัชนี FTSEurofirst 300 ร่วงลง 1.3% และดัชนี DAX ของเยอรมนีดิ่งลงมากถึง 5% ก่อนปิดตลาดร่วงลง 1.7% จากข่าวที่ว่าเยอรมนีอาจสั่งห้ามการทำชอร์ตเซล ขณะที่โฆษกรัฐบาลเยอรมนีเปิดเผยว่า รัฐบาลไม่มีแผนการสั่งห้ามการทำชอร์ตเซล--จบ--
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:พายุเฮอริเคนไอรีนหนุนน้ำมันดิบปิดบวก 14 เซนต์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ขยับขึ้นในวันพฤหัสบดีท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวน ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันได้รับแรงหนุนจากความกังวลที่ว่า พายุเฮอริเคนไอรีนจะเป็นอุปสรรคต่อการจัดส่งน้ำมันทางชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนต.ค.ขยับขึ้น 14 เซนต์ หรือ 0.16 % มาปิดตลาดที่ 85.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 83.01-86.56 ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนปรับขึ้น 47 เซนต์สู่ 110.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดของวันที่ 111.45 ดอลลาร์
เป็๋นที่คาดกันว่าพายุเฮอริเคนไอรีนจะพัดมาถึงชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐก่อนช่วงสุดสัปดาห์นี้ และสำนักงานยามชายฝั่งของสหรัฐกำลังจับตาดูเส้นทางของพายุลูกนี้อย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่ได้ออกคำสั่งจำกัดการสัญจรในบริเวณอ่าวนิวยอร์ค ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการจัดส่งน้ำมันเบนซินตามสัญญาในตลาด NYMEX
รัฐบาลกบฏของลิเบียหวังที่จะเริ่มต้นส่งออกน้ำมันได้อีกครั้งภายในเวลา 2สัปดาห์ข้างหน้า และจะส่งออกน้ำมันได้เต็มจำนวนภายในเวลาราว 1 ปี
บริษัทออยล์ มูฟเมนท์คาดว่า ปริมาณการส่งออกน้ำมันทางทะเลของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่ไม่รวมแองโกลาและเอกวาดอร์ อาจเพิ่มขึ้น 30,000 บาร์เรลต่อวันในช่วง 4 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ก.ย.
บริษัทเปเมกซ์รายงานว่า ปริมาณการส่งออกน้ำมันของเม็กซิโกลดลง 14.2 %ในเดือนก.ค.จากเดือนมิ.ย. ในขณะที่น้ำมันดิบปริมาณมากยิ่งขึ้นถูกใช้ภายในประเทศเพื่อผลิตเชื้อเพลิง นอกจากนี้ เม็กซิโกยังปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงด้วย
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:ทองปรับขึ้นขณะตลาดหุ้นดิ่งลง
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปรับขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากดิ่งลงอย่างรุนแรงเป็นเวลานานสองวัน โดยนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยในวันพฤหัสบดีในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐดิ่งลง เนื่องจากมีข่าวว่าเยอรมนีอาจประกาศห้ามการทำชอร์ตเซล
ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดตลาดขยับขึ้น 0.3 % หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,705.40-1,771.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ราคาทองในตลาดสปอตปรับขึ้น 0.5 % สู่ 1,759.99 ดอลลาร์ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวน โดยราคาทองได้ลงไปแตะจุดต่ำสุดของวันที่ 1,702.44 ดอลลลาร์ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ ก่อนจะปรับขึ้นในช่วงต่อมา
ราคาทองได้รับแรงกดดันในช่วงแรกจากการที่กลุ่มกองทุนระบายสถานะการลงทุนออกมา เนื่องจากบริษัทซีเอ็มอี กรุ๊ปปรับขึ้นค่ามาร์จิน (ปริมาณเงินประกันขั้นต่ำที่นักลงทุนจำเป็นต้องวางไว้กับทางโบรกเกอร์) เป็นครั้งที่สองในรอบหนึ่งเดือน และเนื่องจากปัจจัยทางเทคนิคอยู่ในภาวะอ่อนแอ
โฆษกกระทรวงการคลังเยอรมนีกล่าวว่า ทางกระทรวงไม่ได้วางแผนจะห้ามการทำชอร์ตเซลหุ้นทั่วไป
นักลงทุนหลายรายยังคงคาดการณ์ในทางบวกต่อราคาทองในระยะยาว อย่างไรก็ดีนักลงทุนกล่าวว่าราคาทองอาจปรับฐานลงไปอีก หลังจากราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้ว 400ดอลลาร์นับตั้งแต่เดือนก.ค.
นายสแตนลีย์ เคราช์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทแอจิส แคปิตัลกล่าวว่า "การที่ราคาทองดิ่งลงอย่างรุนแรงภายในเวลาอันสั้นเช่นนี้เป็นผลจากคำสั่งขายของนักลงทุนระยะสั้น ไม่ใช่นักลงทุนระยะยาว"
ราคาโลหะเงินในตลาดสปอตพุ่งขึ้น 2.9 % ในวันพฤหัสบดี
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันพฤหัสบดีมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนธ.ค. 1,763.20 + 5.90
เงินเดือนก.ย. 40.745 +158.30 (เซนต์)
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันพฤหัสบดีมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,822.40 - 3.90
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 751.15 + 8.00 --จบ--
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ดอลล์แข็งขณะหุ้นร่วง,จับตา"เบอร์นันเก้"แถลงศุกร์นี้
ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดีขณะที่ราคาหุ้นร่วงลง โดยนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่า นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะไม่บ่งชี้ถึงแผนการใหม่ๆที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 77.480 เยน เทียบกับระดับปิดวันพุธที่ 76.930 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4380 ดอลลาร์ และ 111.43 เยน เทียบกับระดับปิดวันพุธที่ 1.4412 ดอลลาร์ และ 110.91 เยน
ข่าวที่ว่าเยอรมนีอาจดำเนินการตามประเทศยุโรปอื่นๆในการสั่งห้ามการทำชอร์ตเซลนั้นได้ฉุดยูโรลง โดยยูโรลดช่วงบวกที่เกิดขึ้นหลังข่าวที่ว่าบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์จะลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์ในแบงก์ ออฟ อเมริกา
แม้โฆษกของกระทรวงการคลังเยอรมนีเปิดเผยว่า ไม่มีแผนการสั่งห้ามการทำชอร์ตเซล แต่ราคาหุ้นยุโรปก็ยังร่วงลง และส่งผลกระทบถึงตลาดหุ้นสหรัฐ
ดอลลาร์มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเมื่อตลาดมีความวิตกมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนจะลดการลงทุนที่ใช้เงินสกุลดอลลาร์ โดยอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำของสหรัฐทำให้นักลงทุนกู้ยืมเงินดอลลาร์เพื่อนำไปลงทุน
การคาดการณ์ที่ลดลงเกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลายของเฟดซึ่งตลาดคาดว่านายเบอร์นันเก้อาจประกาศโครงการซื้อสินทรัพย์รอบสามในการประชุมที่เมืองแจ๊คสัน โฮล รัฐไวโอมิ่งในวันศุกร์นี้นั้น เป็นผลดีสำหรับดอลลาร์ แต่เป็นปัจจัยลบสำหรับตลาดหุ้นและความต้องการเสี่ยง
ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและเยน และอาจปรับตัวขึ้นต่อไป หากนายเบอร์นันเก้ไม่ได้ระบุถึงมาตรการ QE3 ในการประชุมวันศุกร์นี้
ตลาดเงิน Emerging Asia:เงินเอเชียร่วงหลังมีแรงซื้อคืนดอลล์ก่อนปธ.เฟดแถลง
วอนและรูเปียห์นำสกุลเงินเอเชียร่วงลงในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนซื้อคืนดอลลาร์ก่อนการแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งอาจจะส่งสัญญาณว่า เฟดจะออกมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐหรือไม่
เงินเอเชียร่วงลง ขณะที่หุ้นในภูมิภาคพุ่งขึ้น และทำให้เกิดความวิตกว่าเงินเอเชียอาจจะร่วงลงอีก ถ้านักลงทุนต่างชาติเริ่มขายทำกำไรและนำเงินทุนกลับประเทศ
รูปีอินเดียร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่สัญญา NDF ของดอลลาร์/รูปีระยะ 1 เดือนพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว
นักวิเคราะห์กล่าวว่า มีนักเศรษฐศาสตร์เพียงไม่กี่คนที่คาดว่าเฟดจะประกาศมาตรการครั้งใหญ่ และการขาดคำสัญญาที่เป็นรูปธรรมอาจจะฉุดหุ้นดิ่งลงทั่วโลก ซึ่งจะกดดดันเงินเอเชียมากขึ้นในสัปดาห์หน้า
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายแนะให้ซื้อเงินเอเชียในช่วงขาลง โดยระบุถึงฐานะทางเศรษฐกิจและการคลังที่แข็งแกร่งกว่าของภูมิภาคนี้
วอนอ่อนค่าลงต่ำกว่าระดับเฉลี่ยรอบ 120 วันที่ 1,083.4 ต่อดอลลาร์ขณะที่กองทุนเฮดจ์ในต่างประเทศซื้อคืนดอลลาร์ ทำให้เกิดภาวะ short squeezeในกลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์ในประเทศบางราย
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและสัญญาพันธบัตรล่วงหน้าของเกาหลีใต้ ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อวอน
ขณะเดียวกัน ความต้องการดอลลาร์จากบริษัทญี่ปุ่นก่อนปลายเดือน และวันหยุดในสัปดาห์หน้าหนุนดอลลาร์/รูเปียห์พุ่งขึ้นเหนือเส้น Ichimoku cloud และระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 เดือน
การขายหุ้นอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติกดค่าเงินรูเปียห์ลงด้วย
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิร่วม 348.1 ล้านดอลลาร์ในรอบ 4 วันที่ผ่านมาเทียบกับระดับเฉลี่ย 14 วันที่ขายสุทธิต่อวัน 67.5 ล้านดอลลาร์
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดระบุว่า ธนาคารซื้อคืนดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ไต้หวันจากการขายหุ้นไต้หวัน และความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดลบ 20 จุด สู่ 1582
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (25 ส.ค.) ลบ 20 จุดหรือ 1.25% สู่ระดับ 1582
ระดับสูงสุดของปีนี้อยู่ที่ 1693 และระดับต่ำสุดของปีนี้อยู่ที่ 1043
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
24 ส.ค. 1602 +37
23 ส.ค. 1565 +50
22 ส.ค. 1515 +53
19 ส.ค. 1462 +48
18 ส.ค. 1414 +43
26-08-54>> แนวโน้มขาลง...
SETI ปิดปรับตัวลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะสั้นทุกเส้น โดยต่ำกว่าแนวรับที่ 1030 จุด และหลุดเส้นUptrend Line ประกอบกับ Indicators ทุกตัวยังให้ค่าสัญญาณลบ ไม่ว่าจะเป็น MACD, RSI และModified Stochastic จึงทำให้มีแนวโน้มในระยะสั้นและกลางเป็นขาลงดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ขาย”
KBANK ปิด 122.00 บาท
สร้างรูปแบบ Head and Shoulder และแท่งเทียนมีสีดำ ประกอบกับIndicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 123.00-124.00 บาท แนวรับที่ 105.00-100.00 บาท
SIRI ปิด 4.92 บาท
สร้างรูปแบบ Double Top และปิดปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทุกเส้นพร้อมปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับ
Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 4.98-5.05 บาท แนวรับที่ 4.50-4.40 บาท
STA ปิด 23.90 บาท
แท่งเทียนมีสีดำเต็มแท่ง และเบรก Descending Triangle ลงมาประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็น
ขาลง แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 24.20-24.40 บาท แนวรับที่ 19.00-17.00บาท
TRUE ปิด 3.80 บาท
ทำจุดต่ำสุดใหม่ในระยะสั้น ประกอบกับ Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบ แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 3.86-3.90 บาท แนวรับที่ 3.60-3.30 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น