

DJIA:ตลาดหุ้นนิวยอร์ค:ดาวโจนส์ปิดลบ 0.67% เมินประชุมฝรั่งเศส-เยอรมนี
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวลงในวันอังคารหลังบวกขึ้น 3 วัน ขณะที่การประชุมระหว่างผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีไม่สามารถคลายความวิตกเกี่ยวกับความสามารถของผู้นำยูโรโซนในการควบคุมวิกฤติหนี้ยุโรป
ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 76.97 จุดหรือ 0.67%สู่ 11,405.93, ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 11.73 จุดหรือ 0.97% สู่ 1,192.76และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวลง 31.75 จุดหรือ 1.24% สู่ 2,523.45
การซื้อขายอยู่ที่ราว 8.2 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน(American Stock Exchange) และตลาดหุ้น Nasdaq ต่ำกว่าปริมาณเฉลี่ยต่อวันของปีที่แล้วที่ 8.47 พันล้านหุ้น
จำนวนหุ้นลบมากกว่าหุ้นบวกในอัตราส่วนประมาณ 3 ต่อ 1 ในตลาดนิวยอร์ค และ 4 ต่อ 1 ในตลาด Nasdaq
ความพยายามที่จะยับยั้งการลุกลามของวิกฤติหนี้ดูเหมือนยังไม่ประสบผลซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาหุ้นสหรัฐไม่สามารถทะยานขึ้นได้ แม้มีการเปิดเผยผลประกอบการเชิงบวกในสหรัฐ และฟิทช์ เรทติ้งส์ตัดสินใจคงอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐที่ AAA
นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมี และประธานาธิบดีนิโคลาส์ซาร์โคซีของฝรั่งเศสได้เปิดเผยแผนการสร้างความแข็งแกร่งให้กับยูโรโซน แต่ไม่ได้รวมถึงการเพิ่มขนาดกองทุนช่วยเหลือยูโรโซน หรือการขายพันธบัตรยูโร
หุ้นกลุ่มการเงินซึ่งเปราะบางต่อวิตกฤติการเงินยุโรปร่วงลงต่อ และเป็นกลุ่มที่ปรับตัวย่ำแย่ที่สุดในดัชนี S&P 500
ดัชนี S&P 500 กลุ่มการเงินร่วงลง 1.9%
นางเมอร์เคลและนายซาร์โคซีเปิดเผยว่าจะเสนอแผนเก็บภาษีการทำธุรกรรมทางการเงินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการตลาดหุ้น
หุ้น NYSE Euronext ร่วงลง 8.4% โดยปรับตัวย่ำแย่ที่สุดในดัชนี S&P 500
หุ้นวอล-มาร์ทและโฮม ดีโปท์ปรับตัวขึ้น หลังเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาส สูงเกินกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้
หุ้นเดลล์ร่วงลงหลังรายงานรายได้ต่ำกว่าคาด และระบุว่ายอดขายในไตรมาส ปัจจุบันจะทรงตัว
ความวิตกเกี่ยวกับยูโรโซนถ่วงตลาดลง โดยข้อมูลบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีขยายตัวเพียง 0.1% ในไตรมาส 2 ซึ่งต่ำกว่าความคาดหมาย--จบ--
ตลาดน้ำมันนิวยอร์ค:กังวลยูโรโซนกดน้ำมันดิบปิดร่วง 1.23 ดอลล์
ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปิดดิ่งลงกว่า 1 % ในวันอังคาร หลังจากข้อเสนอของฝรั่งเศส-เยอรมนีในการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนไม่สามารถลดความกังวลของนักลงทุน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.รูดลง 1.23 ดอลลาร์ หรือ 1.4 % มาปิดตลาดที่ 86.65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 85.62-87.93 ดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดกรุงลอนดอนอ่อนลง 71 เซนต์ หรือ0.65 % สู่ 109.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 108.03-109.90ดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบสหรัฐสามารถปรับขึ้นจากจุดต่ำสุดของวัน ในขณะที่ฟิทช์ เรทติ้งส์คงอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐไว้ที่ AAA และระบุว่าอันดับของสหรัฐมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ
สหรัฐรายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.9 % ในเดือนก.ค. ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงเกินคาด และถือเป็นอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 7 เดือน โดยตัวเลขนี้มีส่วนช่วยพยุงราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันได้รับแรงกดดันจากตัวเลขมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ของเยอรมนีและของยูโรโซน โดยจีดีพีเยอรมนีเติบโตขึ้นเพียง 0.1 % ในไตรมาสสอง หลังจากเติบโต 1.3 % ในไตรมาสแรก
จีดีพียูโรโซนเติบโตขึ้นเพียง 0.2 % ในไตรมาสสอง
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ส.ค.ในวันพุธนี้ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบอาจลดลง 800,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 400,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินอาจลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจลดลง 0.2 %
หลังจากตลาด NYMEX ปิดทำการในวันอังคาร การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว, สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 1.3 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 5.4 ล้านบาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.5 % --จบ--
ตลาดโลหะมีค่านิวยอร์ค:กังวลยูโรโซนหนุนราคาทองพุ่งขึ้น 1.5%
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปิดพุ่งขึ้นกว่า 1 % ในวันอังคาร ในขณะที่นักลงทุนต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากถ้อยแถลงของผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีเกี่ยวกับเรื่องการรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นในยูโรโซนและเรื่องเพดานยอดขาดดุล ไม่สามารถลดความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อปัญหาหนี้สินในยูโรโซน
ราคาสัญญาทองส่งมอบเดือนส.ค.ปิดตลาดพุ่งขึ้น 1.5 % หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,763.60-1,789.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ราคาทองสปอตพุ่งขึ้น 1.1 % สู่ 1,784.99 ดอลลาร์ เทียบกับสถิติสูงสุดที่1,813.79 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในวันพฤหัสบดีที่ 11 ส.ค. โดยราคาทองพุ่งขึ้นมาแล้ว 25 %จากช่วงต้นปีนี้
ราคาทองได้รับแรงหนุนจากตัวเลขมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)ของเยอรมนี ซึ่งเติบโตขึ้นเพียง 0.1 % ต่อไตรมาสในไตรมาสสอง โดยตัวเลขดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนีประกาศว่าจะปกป้องสกุลเงินยูโร แต่ไม่ได้ประกาศว่าจะขยายขนาดกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า มีคำสั่งซื้อเข้ามามากเกินไปแล้วในทอง และราคาทองสมควรปรับฐานลงมานานแล้ว หลังจากพุ่งขึ้น 13 % ในช่วง 15 วันทำการที่ผ่านมา
สำหรับราคาโลหะมีค่าที่ตลาด COMEX ในวันอังคารมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
ทองเดือนธ.ค. 1,785.00 + 27.00
เงินเดือนก.ย. 39.819 + 51.20 (เซนต์)
ส่วนราคาโลหะมีค่าที่ตลาด NYMEX ในวันอังคารมีดังต่อไปนี้
ปิดที่ระดับ (ดอลลาร์/ออนซ์) เปลี่ยนแปลง (ดอลลาร์)
พลาตินั่มเดือนต.ค. 1,818.10 + 20.90
พัลลาเดียมเดือนก.ย. 756.50 + 10.15 --จบ--
ตลาดเงินนิวยอร์ค:ยูโรร่วงเทียบดอลล์,เมินข้อเสนอฝรั่งเศส-เยอรมนี
ยูโรร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันอังคาร ขณะที่ข้อเสนอของผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีที่จะยับยั้งวิกฤติหนี้ยุโรปไม่สามารถหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซน
ทั้งนี้ ดอลลาร์อยู่ที่ 76.750 เยน เทียบกับระดับปิดวันจันทร์ที่ 76.830 เยน ส่วนยูโรอยู่ที่ 1.4408 ดอลลาร์ และ 110.57 เยน เทียบกับระดับปิดวันจันทร์ที่ 1.4444 ดอลลาร์ และ 111.00 เยน
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศสและนางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเปิดเผยแผนการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับยูโรโซนรวมถึงการจำกัดยอดขาดดุลและการประชุมสุดยอดปีละสองครั้ง แต่ระบุว่า การออกพันธบัตรยูโรร่วมกันนั้นเป็นเพียงทางเลือกในระยะยาว
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความล้มเหลวของข้อเสนอในการแก้ปัญหาในฝรั่งเศส, การขาดทรัพยากรที่เพียงพอของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ในการซื้อตราสารหนี้หรือแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ได้สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน
ฟรังก์สวิสอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโรจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์อาจจะดำเนินมาตรการเพื่อสกัดกั้นการแข็งค่าของฟรังก์สวิสโดยผูกติดค่าเงินฟรังก์กับยูโร
ดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยน และปรับตัวอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 76.25 เยนซึ่งเข้าทดสอบในเดือนมี.ค.
ตลาดเงิน Emerging Asia:วอนนำเงินเอเชียแข็งค่า,จับตาประชุมฝรั่งเศส-เยอรมนี
วอนแข็งค่าขึ้นในวันนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นที่ดีดตัวขึ้น และการคาดการณ์ว่าจีนจะปล่อยให้หยวนแข็งค่าเร็วขึ้นนั้น เป็นปัจจัยกระตุ้นให้กองทุนเฮจด์ฟันด์ และกลุ่ม real money account กลับเข้าซื้อสกุลเงินเอเชีย
อย่างไรก็ดี นักลงทุนจำนวนมากยังคงระมัดระวังก่อนการประชุมสุดยอดฝรั่งเศส-เยอรมนีในวันนี้เพื่อหารือวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ผู้สังเกตการณ์ตลาดบางรายหวังว่าจะมีสัญญาณความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มเติมเพื่อควบคุมวิกฤติหนี้จากการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซี และนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคล
เทรดเดอร์จับตาดูว่า ผู้นำทั้งสองจะหารือเกี่ยวกับการออกพันธบัตรยูโรร่วมกันหรือไม่ แต่เจ้าหน้าที่ในฝรั่งเศสและเยอรมนีกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้อยู่ในวาระการประชุมในวันนี้
นักวิเคราะห์และดีลเลอร์คาดว่า เงินเอเชียจะได้รับผลกระทบอีกครั้ง ถ้าการประชุมสุดยอดวันนี้สร้างความผิดหวังให้แก่ตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูจากสัญญาณที่ว่าเศรษฐกิจยุโรปกำลังชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว
เศรษฐกิจของเยอรมนีแทบไม่ขยายตัวในไตรมาส 2 จากไตรมาสแรก ซึ่งทำให้ยูโร, หุ้น และเงินเอเชียร่วงลง
ขณะเดียวกัน การคาดการณ์ว่าจีนจะปล่อยให้หยวนแข็งค่าเร็วขึ้นนั้น กำลังเป็นปัจจัยหนุนเงินเอเชีย แต่หลายคนก็ไม่แน่ใจว่าจีนตั้งใจจะปล่อยให้หยวนแข็งค่าเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง
หยวนแข็งค่าแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ธนาคารกลางจีนกำหนดค่ากลางของอัตราแลกเปลี่ยนหยวนประจำวันนี้ที่ระดับสูงสุดครั้งใหม่ ซึ่งบ่งชี้ว่า จีนอาจจะกำลังดำเนินการ "เพิ่มค่าเงินหยวนเล็กน้อย"
แต่นักวิเคราะห์หลายคนยังคงมีมุมมองบวกต่อเงินเอเชียในระยะยาว โดยระบุถึงปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการคลังที่แข็งแกร่งกว่า
ผู้กำหนดนโยบายในเอเชียลดความเข้มงวดในการคุมเข้มนโยบายในขณะนี้เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง แต่อัตราดอกเบี้ยของภูมิภาคก็ยังคงสูงกว่าของประเทศพัฒนาแล้ว
วอนพุ่งขึ้นจากอุปสงค์ของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ และนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิหุ้นเกาหลีใต้ หลังจากที่ขายสุทธิ 9 วันติดต่อกัน
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิวอนเป็นมูลค่า 6.611 แสนล้านวอน (612.6 ล้านดอลลาร์)
เปโซขยับขึ้นเล็กน้อย แต่อุปสงค์ดอลลาร์ที่เกี่ยวข้องกับสัญญา NDF ได้สกัดการแข็งค่าของเปโซ
นักลงทุนยังระมัดระวังต่อการประชุมสุดยอดฝรั่งเศส-เยอรมนีในวันนี้ด้วย
ขณะเดียวกัน กลุ่ม real money account พยายามหนุนดอลลาร์สิงคโปร์พุ่งทะลุ 1.2000 ต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็พบว่าธนาคารกลางสิงคโปร์เข้าปกป้องระดับดังกล่าว
ENGLAND:ดัชนีค่าระวางเรือ(Baltic Dry Index)ปิดบวก 38 จุด สู่ 1344
ดัชนีค่าระวางเรือ (Baltic Dry Index) ปิดวานนี้ (16 ส.ค.) บวก 38 จุดหรือ 2.91% สู่ระดับ 1344
ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 554
ความเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมามีดังนี้:-
วันที่ ระดับปิด เปลี่ยนแปลง (จุด)
15 ส.ค. 1306 +19
12 ส.ค. 1287 +10
11 ส.ค. 1277 +12
10 ส.ค. 1265 +8
9 ส.ค. 1257 -7
17-08-54>> แนวโน้มขาลง...
SETI จะปิดปรับตัวลดลง และ MACD และ Modified Stochastic ให้สัญญาณลบ รวมทั้ง MACDปิดต่ำกว่าเส้น Zero Line จึงทำให้ SETI มีแนวโน้มเป็นขาลงดังนั้นในระยะสั้นแนะนำ "ขาย”
CPN ปิด 35.75 บาท
ถึงแม้ว่าปิดปรับตัวลดลง แต่อยู่บริเวณแนวรับของเส้นค่าเฉลี่ยEMA(5) วัน รวมทั้ง MACD สามารถยืนเหนือเส้น Zero Line
แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 37.00-37.75 บาท แนวรับที่ 35.25-34.75 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 34.00 บาท
CENTEL ปิด 11.70 บาท
แท่งเทียนมีสีขาวพร้อมวอลุ่มหนุน และราคาปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้ทุกเส้น รวมทั้ง Modified Stochastic และ RSI ให้ค่าสัญญาณบวก แนวโน้มเป็นขาขึ้น
แนะนำ "ซื้อเก็งกำไร" แนวต้านที่ 12.10-13.00 บาท แนวรับที่ 10.90-10.70 บาท Cut Loss หากราคาปิดต่ำกว่า 10.50 บาท
CNT ปิด 3.56 บาท
แท่งเทียนมีสีดำเต็มแท่ง รวมทั้ง Indicators ทุกตัวให้ค่าสัญญาณลบแนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 3.62-3.66 บาท แนวรับที่ 3.30-3.00 บาท
SMT ปิด 12.80 บาท
แท่งเทียนมีสีดำเต็มแท่ง และไม่ผ่านเส้นEMA(10) วัน แนวโน้มเป็นขาลง
แนะนำ "ขาย" แนวต้านที่ 13.20-13.50 บาท แนวรับที่ 12.40-11.00บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น