Code 151 : แค่ขายทำกำไร

วันอังคารที่ 7 กันยายน 2553
ATT Code : แค่ขายทำกำไร

วันนี้ SET ปิดที่ 923.89 จุด -7.63จุด หรือ-0.82% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเช้านี้ SET เปิดไปที่ 933 จุด บวกขึ้นไปประมาณ 2 จุด แล้วก็ขึ้นไป High ที่ 935.59 จุด +ไป 4.07 จุด แล้วช่วงบ่ายก็มีแรงขายทำกำไรออกมาตลาด กดดันให้ SET ยืนอยู่ในแดนลบตลอดช่วงบ่าย ก่อนที่จะลงไป Low ที่ 920.65 จุด -10.87 จุด ก่อนที่จะ Rebound ขึ้นมาปิดได้ที่ 923.89 จุด -7.63 จุด

โดยวันนนี้กลุ่มพลังงานมีแรงขายออกมา บวกกับหุ้น PTT มี XD และ SCC ก็มีแรงขายออกมามาก และข่าวดีอื่นก็ยังไม่มีออกมา ทำให้หุ้นในตัวใหญ่พอขึ้นไปสูงก็มีแรงขายทำกำไรออกมาดังกล่าว

ในวันพรุ่งนี้ SET มีแนวรับอยู่ที่ 923 และ 915 จุด และมีแนวต้านอยู่ที่ 940 จุด

----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
ไทยรัฐ - By...อินเด็กซ์ 51 : เงาหุ้น-เงินท่วมตลาดหุ้น!!

ดัชนีหุ้นวันที่ 6 ก.ย.53 ปิดที่ 931.52 จุด บวก 1.62 จุด มีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 63,116.91 ล้านบาท ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี 9 เดือน นับจาก 19 ธ.ค.49

ที่แบงก์ชาติมีมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่มีมูลค่าซื้อขายสูงกว่า 7.2 หมื่นล้านบาท ส่วนต่างชาติซื้อสุทธิ 3,252 ล้านบาท

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟาร์อีสท์ มองว่า ราคาหุ้นเหวี่ยงตัวขึ้นลงแรง พอดัชนีเข้าใกล้ระดับ 950 จุด ก็จะมีแรงขายทำกำไรออกมาในหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงก่อนหน้านี้ ทั้งกลุ่มแบงก์และกลุ่มอาหาร

ส่วนหุ้น PTT ที่ราคาทะยานขึ้นร้อนแรงจนกระดานแทบไหม้นั้น มองว่าที่ผ่านมาราคาหุ้น PTT พักตัวมากมากว่า 6 เดือน เนื่องจากมีแรงกดดันจากคดีมาบตาพุด ดังนั้น เมื่อคดีคลี่คลายออกมาในทางที่ดี จึงมีแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มอื่นเพื่อโยกมาซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTT

โดย บล.ฟาร์อีสท์ มองว่า ราคาหุ้น PTT ยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อ ซึ่งจะช่วยประคองตลาดหากมีแรงขายทำกำไรออกมาเมื่อดัชนีเข้าใกล้ระดับ 650 จุด เนื่องจากเชื่อว่าโบรกเกอร์หลายแห่งจะปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย หลังโรงแยกก๊าซ 6 จะเปิดได้ในไตรมาส 4 ปี 53

สำหรับทิศทางตลาดระยะสั้น เชื่อว่าดัชนีจะผันผวน และน่าจะยังไม่ผ่านระดับ 950 จุด ขณะที่ให้แนวรับไว้ที่ 930 จุด

ปิดท้าย "ศักรินทร์ ร่วมรังษี" ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหุ้น เผยว่า ตลาดหลักทรัพย์เป็นห่วงว่า ช่วงเวลาระหว่างที่มีการประมูล 3 จี ที่กำหนดไว้ 7 วัน นับจาก 20–27 ก.ย. จนถึงก่อนการประกาศผล อาจมีข่าวหรือการเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งข่าวลือ ข่าวลวง แม้กระทั่งข่าวจริง ออกมาเขย่าราคาหุ้นสื่อสารที่เกี่ยวข้องให้เด้งดึ๋งหรือรูดทะราดลงได้

ตลาดหลักทรัพย์จึงได้ประสานกับ กทช. เพื่อทำความเข้าใจถึงการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงขั้นตอนการประมูลในแต่ละช่วง โดยจะมีการซักซ้อมความเข้าใจ กับ กทช. เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อตัวบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมประมูล สำหรับเบื้องต้น ข้อมูลข่าวสารอื่นๆบริษัทสามารถแจ้งตลาดฯเพื่อเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนได้ตามปกติ แต่กรณีที่เกี่ยวกับ 3 จี ให้ผู้ลงทุนติดตามข้อมูลจาก กทช. เพียงแหล่งเดียวเท่านั้น ไม่ควรรับฟังการคาดการณ์จากแหล่งข้อมูลอื่น เบื้องต้นตลาดหลักทรัพย์คงจะไม่ขึ้น "SP" ห้ามการซื้อขายหุ้นของบริษัทที่เข้าประมูล เพราะช่วงเวลาประมูลยาวนานถึง 1 สัปดาห์

ส่วนการดูแลข่าวสารในวันที่มีการประมูลนั้นจะมีการหารือและซักซ้อมกับ กทช. ก่อนที่จะมีคำแนะนำนักลงทุนต่อไป.

FSS:หลังจากแบ่งส่วนขายทำกำไรไปแล้ว ถัดจากนี้รอหาจังหวะรับช่วงพักตัวลง!!
แนวโน้ม: ตลาดหุ้นไทยวานนี้ยังคงแกว่งตัวผันผวนเช่นเดิม โดยเริ่มมีแรงขายออกมาอีกครั้ง ในช่วงบ่าย ทำให้ SET ย้อนลงมาปิดบวกเพียงเล็กน้อย ขณะที่เช้านี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเปิด ทำการส่วนใหญ่แกว่งตัวแคบๆ โดยมีทั้งบวกและลบ ดังนั้นแม้ว่านักลงทุนต่างประเทศจะยังคงมียอดซื้อสุทธิหนาตาถึงกว่า 3.2 พันล้านบาท แต่ก็ต้องระวังแรงขายทำกำไรระยะสั้นซึ่งเราคาดว่ามีสิทธิที่จะกดดันให้ตลาดยังคงแกว่งตัวผันผวน และมองว่ามีโอกาสที่สัปดาห์นี้เราจะเห็น SET ย้อน มาปิดวันเป็นลบได้ ตามที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะในช่วงกลางถึงท้ายสัปดาห์ ดังนั้น FSS จึงยังแนะนำให้แบ่งส่วนขายทำกำไรบ้างเมื่อตลาดขยับขึ้นต่อเช่นเดิม ส่วนจังหวะเลือกหุ้นเข้าซื้อรอบใหม่ ยังแนะนำให้รอจังหวะช่วงตลาดปรับพักฐานลง ซึ่งคาดว่าตลาดมีโอกาสที่จะแกว่งย้อนลงไปแถว 910 จุด(+/-)อีกครั้งได้ โดยเช้านี้ SET ยังมีประเด็นกดดันในหลายประเด็นด้วยกัน เช่น ข่าวการเก็บค่าปรับบริษัทในกลุ่มผู้ให้บริการมือถือกรณียังไม่สามารถ
ให้บริการคงเลขหมาย , ปัญหาความขัดแย้งกรณีประกาศประเภทโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการขึ้นเครื่องหมาย XD ของหุ้น PTT ด้วย
กลยุทธ์: แบ่งส่วนขายทำกำไรเมื่อตลาดขยับขึ้น ส่วนจังหวะซื้อรอช่วงตลาดแกว่งตัวย้อนลง โดยเน้นเลือกหุ้นที่ราคาตลาดต่ำกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐานมากๆ เป็นหลัก ได้แก่ SCB, KBANK, BAY, TCAP, KCE, HANA, DELTA, LPN, QH, SIRI, SPALI , DCC, GFPT, TTW และ BTS เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
• (+) บาทแข็ง ค่าเงินบาทเทียบกับ US ดอลลาร์ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันแข็งค่าขึ้น 6.7% แข็งเป็นอันดับ 3 รองจากเงินเยนและริงกิตมาเลเซีย เฉพาะเดือน ส.ค. บาทแข็งค่ามากที่สุดอย่างชัดเจน ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือกลุ่มส่งออก (ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ ยาง ข้าว น้ำตาล) สำหรับกลุ่มอิเล็คทรอนิคส์นำเข้าวัตถุดิบเป็นดอลลาร์ แม้ว่าเงินบาทจะแข็ง ค่าไปถึง 29 บาท/USD แต่ KCE ยังให้ upside ที่สูงที่สุด รองลงมาคือ HANA, DELTA ตามลำดับ เรายังแนะนำทั้ง 3 หลักทรัพย์ ส่วน CCET จะมี rating เป็น ‘ขาย’ และ SVI เป็น ‘ถือ’ ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลบวกได้แก่กลุ่มเหล็ก (TSTH, SSI) สังกะสี (PDI) กระดาษ (UTP) ผู้ผลิตอาหารสัตว์ (TVO) กลุ่มสื่อสาร (TRUE, TT&T)
• (+) Fund flow ยังอยู่ในระดับสูง ตราบใดที่ค่าเงินบาทยังแข็งค่า ก็ยังดึงดูดเม็ดเงิน จากต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเพราะได้กำไรทั้งราคาหุ้นและอัตราแลกเปลี่ยน
• (+) KTB FDIF มีแผนขาย KTB จากที่ถืออยู่ 55.31% ทั้งแบบเฉพาะเจาะจงหรือเปิดประมูล (ประชุม 15 ก.ย.) เราเชื่อว่าน่าจะเป็นการขายเพียงบางส่วนและไม่ถึงขั้นต้องทำTender Offer แม้ว่า FDIF จะต้องปิดตัวลงในปี 2556 ก็ยังสามารถโอนให้ก.คลังได้ ราคาขายตามข่าวที่ 20 บาทมีความเป็นไปได้เพราะคิดเป็น 1.8 – 2.0 เท่าของ Book value สำหรับราคาพื้นฐานของเรา 15.70 บาท แนะนำทั้งซื้อหรือซื้อเก็งกำไรได้
• Fund Flow วานนี้ถือว่าไหลเช้ามากกว่าปกติ โดยนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิทุก ตลาดในภูมิภาคเอเชีย แม้จะไม่มีปัจจัยบวกใหม่ที่มากระตุ้นตลาด แต่เชื่อว่าเป็น Fund Flow ที่โยกย้ายมาจากตลาดพันธบัตรบางส่วนหลังจากก่อนหน้านี้ ประกอบกับค่าเงิน เอเชียที่ยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ถือเป็นสัญญาณบวกที่กระแสเงินทุนจากต่างชาติจะยังไหลเข้าอย่างต่อเนื่องเช่นกัน นอกจากนี้การประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของโอบามาหลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นนโยบายทางการเมืองก่อนการเลือกตั้ง แต่เราเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นเร็วขึ้นหลังจากที่แรงผลักของการฟื้นตัวในแผ่วลงในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นแนวโน้ม Fund Flow เรายังเชื่อว่ายังคงไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้น แม้ค่าเงินบาทเช้านี้จะทรงตัวเมื่อเทียบกับวานนี้


ข่าวภายในประเทศ
กทช.เพิ่มค่าปรับผู้ประกอบการวันละ1.67 แสนต่อวัน กรณีไม่เปิดบริการคงสิทธิเลขหมาย (Number Portability): ผลการพิจารณาโทษปรับกรณีที่เอกชนไม่สามารถเปิดให้บริการนัมเบอร์พอร์ทฯ ได้ตามกำหนด จะเรียกปรับที่อัตรา 1.6 แสนบาทต่อวันต่อรายนับจากวันที่เอกชนได้รับหนังสือคำสั่งจากกทช. ได้ส่งไปตั้งแต่วันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา คาดจะเริ่มปรับได้ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน เป็นต้นไป และหากล่าช้าออกไปอีกเกิน 30 วัน โทษปรับจะเพิ่มเป็น 2 เท่า หรืออยู่ที่อัตรา 3.2 แสนบาทต่อวันต่อราย และหากเกิน 60 วัน จะคิดค่าปรับเพิ่มเป็น 3 เท่าหรือประมาณ 4.8 แสนบาท และหากล่าช้าไปถึงสิ้นปีนี้คาดว่าอาจจะสูงถึง 30 ล้านบาท ความเห็น: เป็นการเพิ่มค่าปรับการล่าช้าจากเดิมปรับวันละ 2 หมื่นบาทต่อวัน โดยผู้ประกอบการให้เหตุผลว่าเพื่อให้มีเวลาในการทดสอบระบบ และขอล่าช้าไปเปิดบริการในต้นเดือนธ.ค. โดยยอมเสียค่าปรับ การเพิ่มค่าปรับของกทช.เป็นการเร่งให้มีการเปิดบริการ ทั้งนี้ ค่าปรับไปถึงปลายปีที่อาจสูงถึงรายละ 30 ล้านบาท แต่คิดเป็นสัดส่วนกำไรทั้งปีของบริษัทใหญ่อย่าง ADVANC และ DTAC คาดที่ระดับ 1.9 หมื่นล้านบาทและ 9.7 พันล้านบาท ไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ คำแนะนำ: คง Rating “Buy” ADVANC และ DTAC ราคาเป้าหมายกรณีรวม 3G ที่ 113 บาท และ 54 บาท ตามลำดับ
กองทุนฟื้นฟูฯชงคลังขายหุ้น ‘กรุงไทย’ 20บ. นัดประชุม15ก.ย.นี้ ยันสะท้อนต้นทุน กองทุนฟื้นฟูฯ นัดประชุม 15 กันยายนนี้ ถกแผนขาย หุ้นแบงก์กรุงไทย 55% มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท เตรียมเสนอคลังอนุมัติ เล็งแนวทางทั้งขายแบบเฉพาะเจาะจง และเปิดประมูล นำเงินไปชำระหนี้ ก่อน (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-09-2010)
CPF การันตีกำไรโต 20% หุ้นรูดสั้นๆแค่ชอร์ตเซล CPF ยันเงินบาทแข็งไม่กระทบ เหตุมีทั้งส่งออกและนำเข้าวัตถุดิบ “อดิเรก” การันตีกำไรโต 20% ยอดขายได้ตามเป้า 1.8 แสนล้านบาท หุ้นร่วงหนักกองทุนเทขาย ส่วนประเด็นถูกชอร์ตเซลไม่น่ากังวล เพราะหุ้นต้องมีการซื้อกลับเพื่อคืนที่ยืมมา (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-09-2010)
AP ลั่นรายได้ปีนี้โตตามเป้า 10% 10 เดือนข้างหน้าลุยเปิด 16 โครงการ 2.94 หมื่นล. "AP" มั่นใจรายได้ปีนี้โตตามเป้า 10% จากปีก่อน แม้ครึ่งปีหลังคาดรายได้ลดลงจากครึ่งปีแรก ขณะที่ 10 เดือนข้างหน้าเล็งเปิดเพิ่ม 16 โครงการ มูลค่า 29,430 ล้านบาท ส่วน 8 เดือนแรกปีนี้โชว์ ยอดขาย 8,000 ล้านบาท ทั้งปีมั่นใจเกิน 20,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่แยกเป็น 4 หน่วยธุรกิจ รองรับแผนธุรกิจระยะ ยาว 3-5 ปี ตั้งเป้าทำรายได้เติบโตปีละ 10% ส่วนปีนี้ทุ่มงบซื้อที่ดินสูง 7,000 ล้านบาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-09-2010)
CEN ตั้งเป้ารายได้ RW I5 ปีข้างหน้า 2 พันล้านปรับยอดขายปีนี้โต 25% CEN ตั้งเป้ารายได้บริษัทย่อย “ระยองไวน์” 5 ปีข้างหน้าแตะ 2,000 ล้านบาท พร้อมปรับเป้ายอดขายปี 53 โต 20-25% จากเดิมวางไว้แค่ 10% ใช้กลยุทธ์เชิงรุกขยายฐานลูกค้า มีแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม เตรียมออกสินค้าใหม่ช่วงปลายปีนี้ มั่นใจไตรมาส 3-4/53 มีกำไรแน่นอน (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-09-2010)
DCC ส่งซิกปันผล Q3 เกิน 80สต.คงเป้ากำไรปีนี้โต 15% ทุ่ม 400 ล้านขยายกำลังการผลิต DCC ส่งซิกปันผลไตรมาส 3 มากกว่า 0.80 บาทต่อหุ้น แม้แนวโน้มยอดขายจะชะลอตัวลงตามฤดูกาล ขณะที่คงเป้ารายได้ทั้งปีโต 15% จากปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิมีโอกาสดีกว่ายอดขาย เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากกำลังซื้อในต่างจังหวัดที่สูงขึ้น พร้อมอัดงบ 300-400 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตรองรับความต้องการของลูกค้า (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 7-09-2010)

----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
ข่าวต่างประเทศ

จีน: จีนคาดยอดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศปีนี้พุ่งกว่า 1 แสนล้านหยวน เฉิน ตันหยาง รองผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปของกระทรวง พาณิชย์จีนกล่าวว่า จีนอาจมียอดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) พุ่งสูงกว่า 1 แสนล้านหยวนในปีนี้ โดยบรรยากาศการลงทุนในจีน สำหรับกลุ่มนักลงทุนต่างชาตินั้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น นับตั้งแต่มีการปฏิรูปและเปิดประเทศ ซึ่งช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาในประเทศจีนได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในจีนเมื่อปี 2552 ลดลงเพียง 2.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่การลงทุนต่างประเทศของทั่วโลกดิ่งลงถึง 40% (ที่มา: อินโฟเควสท์ 06-09-2010)
จีน: รบ.จีนหนุนควบรวมและซื้อกิจการในภาคอุตสาหกรรม มุ่งเพิ่มการแข่งขัน-ปรับโครงสร้างศก. เว็บไซต์ www.gov.cn ของรัฐบาลจีนรายงานว่า รัฐบาลจีนได้กำหนดแผนการสนับสนุนการควบรวมกิจการและเข้าซื้อกิจการในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็กซีเมนต์ เครื่องจักร แร่หายาก และอลูมิเนียม โดยมีเป้าหมายที่จะเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมรายงานบนเว็บไซต์ดังกล่าวระบุว่า อุตสาหกรรมบางประเภทกำลังเผชิญกับปัญหาโครงสร้างที่ซ้ำซ้อน การขาดความใส่ใจในคุณภาพ ภาวะอ่อนแอด้านนวัตกรรมและความสามารถด้านการแข่งขัน ดังนั้น รัฐบาลจะยกเลิกกฎข้อบังคับที่เข้มงวดเกินไปต่อการควบรวมและซื้อกิจการข้ามภูมิภาค โดยกำหนดให้รัฐบาลท้องถิ่นลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งรายได้และภาษีของบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นผ่านการควบรวมกิจการและเข้าซื้อกิจการแบบข้ามภูมิภาค (ที่มา: อินโฟเควสท์ 06-09-2010)
เอเชีย: สมาคมผู้นำเข้ายานยนต์ญี่ปุ่นเผยยอดขายรถนำเข้าพุ่งเกือบ 75% ในเดือนส.ค. สมาคมผู้นำเข้ายานยนต์แห่งญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดขายรถนำเข้าซึ่งรวมถึงรถญี่ปุ่นที่ผลิตในต่างประเทศ พุ่ง 74.9% ในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แตะที่ 19,718 คัน ซึ่งขยายตัวเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน โดยรถยนต์โดยสาร รถบรรทุก และรถบัสของญี่ปุ่นซึ่งผลิตในต่างประเทศ มียอดขาย 5,690 คันจากยอดขายรถนำเข้าทั้งหมดในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นจากระดับ 1,105 คันในปีที่แล้ว ขณะที่ยอดขายของค่ายรถต่างประเทศเพิ่มขึ้น 38.0% แตะที่ 14,028 คัน (ที่มา: อินโฟ เควสท์ 06-09-2010)
เอเชีย: แบงค์ชาติญี่ปุ่นเปิดฉากประชุมวันแรก-ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบของนโยบายสกัดเงินเยนแข็งค่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เริ่มเปิดฉากการประชุมนโยบายระยะเวลา 2 วัน (6 ก.ย.) เพื่อประเมินผลกระทบของการใช้นโยบายผ่อนปรนด้านการเงินซึ่งบีโอเจนำมาใช้ เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อสกัดกั้นการแข็งค่าของเงินเยน นอกจากนี้ ที่ประชุมจะประเมินความเสี่ยงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจจะเผชิญกับภาวะขาลง การประชุมครั้งล่าสุดนี้มีขึ้นหลังจากบีโอเจตัดสินใจขยายโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่นักลงทุนจำนวนมากคาด
----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น