Code 157 : และแล้วก้ไม่มีอะไรในกอไผ่ของ BOT

วันพฤหัสที่ 16 กันยายน 2553

ATT Code : และแล้วก้ไม่มีอะไรในกอไผ่ของ BOT
2 วันมาแล้วจากความไม่กระจ่างของ ธปท. ทำให้วันอังคารต่างชาติมีแรงขายหุ้นใหญ่ๆ ออกมา ทำให้ตลาดหุ้นไทย ลบไป 16 จุด แดงเป็นแท่งยาว คือขายอย่างเดียวไม่มีการ rebound ตามด้วยวันพุธสถาบันก็เป็นผู้ขายหุ้นออกมา ทำให้ก่อนเที่ยงของเมื่อวานตลาดลบไปเกือบ 19 จุด แต่หลังจากนั้น ข่าวก็ค่อยๆ ปรากฎออกว่าว่า ธปท. ไม่ได้ใช้ยาแรง หรือว่าข่าวที่ถูกปล่อยออกมานั้น ไม่มีอะไรในกอไผ่ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มซื้อคืนมาบ้าง บวกกับรายย่อยเล็ก รายย่อยใหญ่ก็ทยอยซื้อกัอย่างเมามัน สามพักกว่าล้าน ดันดัชนีให้ขึ้นมาเกือบบวกได้ โดยเป็นกลุ่มแบงค์กับกลุ่มพลังงาน ที่ดันตลาดยกขึ้นมาได้

ดังนั้นวันนี้จึงได้เสนอข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับ ธปท. จาก E Finance Thai มาให้อ่านตามรายละเอียดด้านล่างครับ

วันนี้ SET ปิดที่ 924.81 จุด + 3.71 จุด ด้วยมูลค่ากรซื้อขาย 2.7 หมื่นล้านบาท โดยวันนี้นักลงทุนต่างก็ยังกล้างๆ กลัวๆ ซื้อก้ยังไม่ค่อยกล้าซื้อ ขายก้ยังไม่กล้าขาย เก้บกันไว้ในมือ แต่ตัวที่ขึ้นมามาก ก็อาจจะมีการขายทำกำไรออกไป หรือตัวไหนที่ลงมาเยอะก็มีการทยอยซื้อเก้บไว้บ้าง แต่โดยรวมหุ้นตัวใหญ่ยังไม่มีการทิ้ง หรือว่าดันขึ้นไปสูง ก็มีแต่กลุ่มอสังหา ที่รับกระแสกนงไม่ขึ้นดอกเบี้ย และเอกชนเสนอขยายเวลาต่างชาติถือครองสิทธิ์อสังหาฯ เป็น 50 ปี เพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ ทำให้กลุ่มนี้มีแรงซื้อและการเก็งกำไรเข้ามามาก

สำหรับในวันพรุ่งนี้ ถ้าไม่ผ่าน 925 มีโอกาสลง 905 - 908 แถวเส้น 25 วัน อีกครั้ง แต่ถ้าเกิน 927.54 จุดสูงสุดเช้านี้ และเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าวได้ ... ขึ้นต่อ 933 - 938

----------------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
16 กย. 53 ( -0.29 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338


เริ่มมีความเสี่ยงของการปรับฐานใหญ่ ?
ดัชนีในวันพุธ ปรับตัวลงต่ำสุดประจำ วันที่ 902.46 บริเวณแนวรับตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันพอดี

แนวโน้มจากนี้ไป ถ้ามีการปรับตัวลงต่ำกว่า 902.46 ตลาดมีโอกาสปรับฐานใหญ่ระยะเดือนบริเวณ 870 จุด หรือประมาณอัตราส่วน Fibonacci Ratio 38.2% ของการปรับตัวขึ้นรอบที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน ตลาดสามารถจะกลับมาเป็น “ขาขึ้น” ได้อีกครั้ง ก็ต่อเมื่อสามารถปรับตัวขึ้น เกิน 944.64 จุดสูงสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และจะมีเป้าหมายต่อไปแถว 1020 – 1040

หุ้นเด่น
SCB
อยู่ใน “เขตขายมาก” ภาพระยะชั่วโมง เครื่องมือ RSI รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 93.00 จุดสูงสุดวันพุธ เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 94.00 – 95.00
( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 92.00 )

KBANK
อยู่ใน “เขตขายมาก” ภาพระยะชั่วโมง เครื่องมือ RSI รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 106.00 จุดสูงสุดวันพุธ เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 108.00 – 109.00 ( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 104.50 )

THAI
ทยอย 36.75 - 37.00 หรือเกิน 37.25 เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 37.75 - 39.25 ต่ำกว่า 36 ขาย

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTT เกิน 282 ขึ้น 285 - 288
SCB รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
KBANK รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
PTTCH เกิน 119.50 ขึ้น 122 - 123
SCC ไม่น่าเกิน 314 - 316
KTB ไม่น่าเกิน 15 – 15.40
BANPU เกิน 642 ขึ้น 646 - 654
BBL เกิน 144 ขึ้น 146 - 147
TCAP เกิน 38.75 ขึ้น 39.50 - 40
TRUE แกว่งตัว 6.60 – 7.20

----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย

FSS: ตลาดอาจแกว่งผันผวนบ้าง แต่ถ้าไม่ต่ำกว่า 900 จุดก็ไม่น่าห่วง .. ลงซื้อได้!!
แนวโน้ม: ตลาดหุ้นไทยวานนี้เริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงบ่ายทำให้สามารถปิดเป็นลบไปเพียงเล็กน้อย หลังจากที่ช่วงเช้า SET ปรับตัวลดลงเกือบ 20 จุด จากความกังวลเกี่ยวกับมาตรการสกัดกั้นเงินไหลเข้าจากแบงก์ชาติที่เป็นข่าวกังวลของนักลงทุนมาตั้งแต่วันก่อน แต่สุดท้ายเมื่อทางผู้ว่าแบงก์ชาติออกมายืนยันว่าจนถึงปัจจุบันยังมั่นใจว่ามาตรการดูแลค่าเงินที่ใช้อยู่ยังใช้ได้ผลและยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมมาตรการใดๆ ก็ทำให้นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลลงได้บ้าง แต่
จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่ยังมีโอกาสแข็งค่าต่อเนื่อง อาจจะยังเป็นประเด็นกดดันต่อความมั่นใจของนักลงทุนต่อไปอีกสักระยะได้ แม้ว่าช่วงนี้เงินบาทจะเริ่มอ่อนค่าลงบ้างก็ตาม ดังนั้น FSS คาดว่า SET จะยังแกว่งตัวในลักษณะค่อนข้างผันผวนภายในกรอบ 910-927 จุดโดยประมาณอยู่ก่อน นอกจากนี้นักลงทุนบางส่วนยังรอติดตามการพิจารณากรณีที่ กสท.ฟ้องเรื่อง 3G ในช่วง 1-2 วันนี้ว่าศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งในลักษณะใดอีกด้วย ขณะที่ตลาดหุ้นในเอเชียเช้านี้ก็อยู่ในลักษณะพักฐานเช่นกัน อย่างไรก็ตามเรามองว่าจังหวะอ่อนตัวลงของ SET ในช่วงนี้ยังถือเป็นจังหวะเลือกหุ้นเข้ารับที่ดี เพราะเชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจของไทยที่ยังมีแนวโน้มที่ดี รวมถึงแนวโน้มผลประกอบการที่ยังดีต่อเนื่องของ บจ.ในไตรมาส 3/53 และกระแสเงินไหลเข้าของนัก
ลงทุนต่างประเทศ จะยังเป็นปัจจัยบวกให้กับการขยับขึ้นของตลาดในรอบถัดไปได้
กลยุทธ์: ยังเน้นเลือกหุ้นเข้ารับได้โดยเฉพาะเมื่อ SET เป็นลบ เพื่อถือไว้ลุ้นจังหวะรีบาวด์กลับขึ้นของตลาดในรอบถัดไป โดยหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ BEC, MCOT, MAJOR, PTTAR, GLOW, TSTH,SSI, LH, CK, STEC, ITD รวมทั้งหุ้นที่มีราคาตลาดต่ำกว่าราคาตามพื้นฐานมากๆ ซึ่งได้แก่ KCE,GFPT, AMATA, VNG, PTTEP, SCB, GLOBAL, CPALL, IRPC, TTW, BANPU, SITHAI,SEAFCO, DCC และ QH เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
• (+) ธปท. ยืนนโยบายเดิม ส่วนญี่ปุ่นแทรกแซงเงินเยน ตลาดหุ้นเริ่มรีบาวนด์ในช่วงบ่ายวานนี้ นำโดยหุ้นขนาดใหญ่หลัง ธปท. ออกมาระบุว่าไม่มีมาตรการคุมค่าเงินบาทและแทรกแซงค่าเงิน ความชัดเจนดังกล่าวส่งผลดีต่อตลาดหุ้น ขณะเดียวกันญี่ปุ่นแทรกแซงค่าเงินเยนเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีหลังจากเยนแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 15 ปีโดยการขายเยนซื้อดอลลาร์ ส่งผลให้ค่าเงินเอเชียอ่อนค่าตามเงินเยน
• (+) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากบาทแข็งค่า การไม่ใช้ยาแรงในการควบคุมค่าเงินบาท ทำให้บาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อไป หุ้นที่ได้ประโยชน์จากบาทแข็งค่าได้แก่ กลุ่มรับเหมา(STEC, CK, TTCL, SEAFCO, SYNTEC) วัสดุก่อสร้าง (TSTH, TASCO, DCC) ที่อยู่อาศัย (SPALI, LPN) อาหาร (TVO)
• (0) 3G ศาลฯยังไม่มีคำตัดสินแต่เชื่อว่าจะไม่มีคำสั่งคุ้มครอง ลุ้นศาลฯ ชี้ขาดวันนี้ว่าจะมีคำสั่งคุ้มครองหรือไม่ ถ้าคุ้มครองแปลว่า 3G จะต้องหยุดชะงัก แต่เราเชื่อว่าศาลฯจะไม่มีคำสั่งคุ้มครองเพราะในเรื่องอำนาจของ กทช. ในการประมูล 3G นั้นกฤษฎีกาเคยตีความหลายครั้งแล้วว่าสามารถทำได้ เราแนะนำให้ถือ ADVANC, DTAC, TRUE ต่อไปเพื่อเตรียมขายหลังประกาศผลการประมูล 20 - 21 ก.ย.
• (+) SEAFCO คาดว่า 3Q10 จะเริ่มทำกำไรได้หลังจากขาดทุน 42 ล้านบาทใน 1H10เพราะจะเริ่มรับรู้รายได้เป็นค่าแรงจากงานรากฐานโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ปีหน้าก็จะมีรายได้จากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสัญญาที่ 2 ทำให้มีรายได้ไปตลอดทั้งปีและโครงการรถไฟฟ้าเป็นโครงการที่มีมาร์จิ้นดี เราคาดว่ากำไรปกติปี 2011 จะเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด141% Y-Y เราประเมินราคาเป้าหมาย 6.40 บาท แนะนำซื้อ
• Fund Flow วานนี้ยังไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แต่ปริมาณชะลอตัวและยังขายสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นไทยเท่านั้น กระแสข่าวการสกัดกันหรือการแทรกแซงค่าเงินเอเชียที่แข็งค่าอย่างหนักเราคิดว่าเป็นวิถีทางในเบื้องต้นอันหนึ่งทั้งในทางจิตาวิทยาและเม็ดเงินที่ธนาคารกลางจำเป็นต้องแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินซึ่งเรามองว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่ธนาคารกลางอาจจะมีมาตรการเหล่านี้ออกมา แต่อย่างไรก็ตามในแง่ของปัจจัยพื้นฐานเงินดอลลาร์สหรัฐที่ล้นโลก บวกกับธรรมชาติของเงินที่มักจะวิ่งไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่าหรือมั่นคงกว่า ซึ่งก็หนี้ไม่พ้นตลาดเอเชียที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งและเป็นเจ้าหนี้ของสหรัฐ และเพื่อเป็นการปรับดุลยภาพทางเศรษฐกิจของโลก ดังนั้นแนวโน้มตลาดเงินยังเป็นเช่นนี้อยู่และทำให้เราเชื่อว่า FundFlow จะยังคงไหลเข้าต่อเนื่อง แม้ระยะสั้นจะมีมาตรการแทรกแซงเพื่อรักษาเสถีรภาพของค่าเงินจะทำให้ค่าเงินในบางประเทศกลับมาอ่อนค่า

ข่าวภายในประเทศ
จรัมพรปรามธาริษาตลาดหุ้นไม่ใช่ผู้ร้าย จับตาหุ้น 20 ตัวพอร์ตฝรั่งรุ่งหรือร่วง "จรัมพร" แนะแบงก์ชาติควรออกมาตรการแก้ไขค่าบาทให้
ตรงจุด ไม่ใช่เหวี่ยงแห ระบุเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นจิ๊บจ๊อยแค่ 1.6 หมื่นล้าน จากยอดทั้งหมด 1 แสนล้าน ไม่ใช่ต้นเหตุบาทแข็ง ด้านโบ
รกฯเตือนระวังหุ้น 20 ตัวในพอร์ตต่างชาติ มีสิทธิทั้งรุ่นและร่วง บล.ซิตี้ กรุ๊ป ชี้หุ้นกลุ่มแบงก์ใหญ่อาจมีแรงเทขายระยะสั้น ขณะที่กองทุนเบรก ธปท.
อย่าจุ้นคุมตลาดฯ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 16-09-2010)
TIPCO สดใสเป้าเกิน 8 บ. ฟันกำไรจากลูก267 ล้าน TIPCO ยันภาพรวมรายได้ปีนี้โต 7-8% ติงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินบาท
ยิ่งแข็งค่า โบรกฯมองฟันส่วนแบ่งกำไรจาก TASCO ประมาณ 267 ล้านบาท จึงแนะนำซื้อราคาเป้าหมาย 5.85 บาท ดิวิเดนด์ ยีลด์ กว่า 4% ต่อป 
(ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 16-09-2010)
ระทึกประมูล 3จี ล่มหรือไม่ กทช.ลั่นโปร่งใส-ไม่กีดกัน ลุ้นระทึก..!!คำสั่งศาลปกครองกลาง คุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ หลังกระบวนการไต่สวน
กสทฯ-กทช. เรียบร้อยแล้ว กทช.-ค่ายสื่อสารใจตุ้มๆ ต่อมๆ ประมูล 3G 20 ก.ย.จะล้มหรือไม่ ขณะที่ กทช. แจงชัดกระบวนการทุกอย่างถูกต้อง-ทำ
ประชาพิจารณ์แล้ว ด้าน กสทฯ อ้างสูญรายได้-กทช.ไม่มีอำนาจเปิดประมูลได (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 16-09-2010)
TVO ขึ้นป้าย XD ปันผล 60 สตางค์ กำไร 1.7 พันล้าน วันนี้ TVO ขึ้นเครื่องหมาย XD รับปันผล 0.60 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนของเงิน
ปันผล 2.5% สำหรับกำไรปีนี้ 1,740 ล้านบาท เชื่อผลการดำเนินการครึ่งปีหลังยอดขายเพิ่มขึ้น 31% จากครึ่งปีแรก หลังได้กำลังการผลิตใหม่
กรณีค่าเงินบาทที่แข็งค่าดีกับ TVO เนื่องจากมีการนำเข้าถั่วเหลือง 70% เทียบเป็นดอลลาร์จะมีกำไรเพิ่มขึ้น 0.3% (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 16-09-
2010)
PS ยอดขายพุ่ง 2.9 หมื่นล้าน ฟุ้ง Q3 จ่อทำนิวไฮรอบใหม่ ได้ดีลูกค้าแห่ซื้อเพียบ "PS" ยอดขายทะลักกว่า 29,000 ล้านบาท หลังต้นปี-
ปัจจุบันลุยเปิดโครงการใหม่แล้ว 52 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 38,600 ล้านบาท "ประเสริฐ" ฟุ้งไตรมาส 3 ลุ้นยอดขายทำนิวไฮรอบใหม่ หลังลูกค้า
แห่ซื้อเพียบ ทั้งปีมั่นใจทำได้เกิน 35,000 ล้านบาท ส่วนรายได้ตามเป้า 24,000 ล้านบาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 16-09-2010)
เม็ดเงินโฆษณาส.ค.กระฉูด หนุน BEC-MCOT-MAJOR โชว์กำไร Q3 โตทะลัก เม็ดเงินโฆษณาเดือนส.ค.พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ 8,542 ล้าน
บาท สื่อทีวีควงสื่อโรงหนังโชว์เม็ดเงินโตกระฉูด 2 หลัก การันตีงบไตรมาส 3 BEC-MCOT-MAJOR หรูตามนัดแน่ วงการชี้แรงซื้อโฆษณายังไหล
เข้าไม่หยุดจนถึงสิ้นปี หนุนอัตราการใช้เวลาโฆษณาแน่นไม่เลิก ราคาหุ้นถูกอัพไซด์เหลือเพียบ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 16-09-2010)

E Finance Thai : ธปท.งดใช้ยาแรงคุมบาท-อย่าตื่นทิ้งหุ้น

โบรกเกอร์เตือนสตินักลงทุน อย่าตื่นตระหนกขายหุ้น ฉุดดัชนีดิ่งนรก!! หลังตลาดผันผวนหนัก เหตุผวาแบงก์ชาติใช้ยาแรงแก้บาทแข็ง ลือสะพัดปลุกผีกันสำรอง 30% ออกมาหลอกหลอน นักวิเคราะห์คาดธปท.ทิ้งไม้แข็งเลือกใช้ไม้นวมรับมือค่าบาท เพื่อไม่ให้กระทบตลาดรุนแรง เช่น ชะลอขึ้นดอกเบี้ยอาร์พี-มาตรการทางภาษี-กำหนดอัตรากลางแลกเปลี่ยน แนะฉวยจังหวะซื้อหุ้นพื้นฐานดีเมื่อราคาดิ่งแรง ในกลุ่มรับเหมาฯ-พลังงาน-แบงก์พาณิชย์ เพราะต่างชาติยังสนใจ

หลังจากที่เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องรวมกว่า 8% ส่งผลให้นักลงทุนออกมาคาดการณ์ว่าอีกไม่นานธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะออกมาตรการต่างๆเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท และเกิดกระแสข่าวลือมากมายว่า ธปท.อาจจะออกมาตรการควบคุมเงินทุนระยะสั้น 30% อีกครั้ง จนสร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก และขายหุ้นออกมาในช่วง 2 วันทำการหลังสุด กดดัชนีระหว่างวันร่วงแรง 2 วันรวมประมาณ 33 จุด เนื่องจากมาตรการดังกล่าวปิดกั้นการไหลเข้าของเงินทุน ตลอดจนเคยทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงมากกว่า 100 จุด ภายในวันเดียวมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายสำนักออกมาระบุตรงกันว่า ธปท.ไม่มีความจำเป็นที่จะออกมาตรการ 30% เพื่อป้องกันค่าบาทแข็ง เนื่องจากเป็นมาตรการที่รุนแรงเกินไป และมีผลเสียมากกว่า ขณะเดียวกันมาตรการที่จะออกมาเร็วๆนี้คงไม่บิดเบือนกลไกตลาดจนส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อตลาดเงิน-ตลาดทุน โดยอาจจะเลือกใช้มาตรการทางภาษี การชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือกำหนดอัตรากลางเงินบาทแทน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไม่มากนัก
ดังนั้น นักลงทุนจึงไม่ควรตื่นตระหนกขายหุ้นตามโผล่มากระแสข่าวลือ บางแห่งแนะนำให้ถือเพื่อรอดูสถานการณ์ ขณะที่บางแห่งแนะนำให้ฉวยจังหวะซื้อหุ้นที่ปรับตัวลดลงแรง ในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง พลังงาน และธนาคารพาณิชย์ เพราะมองว่าปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังดี นักลงทุนต่างชาติยังสนใจหุ้นบลูชิพ

***** FSSแนะเก็บหุ้นดิ่งแรง มั่นใจธปท.ไม่บิดเบือนกลไกตลาด

บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซียไซรัส(FSS) ระบุว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อกลุ่มส่งออกที่มีสัดส่วนต่อ GDP สูงถึงกว่า 60% อันนำมาสู่เสียงเรียกร้องให้ทางการออกมาตรการสกัดการแข็งค่าของเงินบาทต่อดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าในไม่ช้าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลังคงจะออกมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายประการ แต่ผลลัพธ์คงจะเพียงแค่สามารถชะลอความเร็วของการแข็งค่าของเงินบาท และความผันผวนในระยะสั้นเท่านั้น
ทั้งนี้ คาดว่า ธปท. จะออกหลายมาตรการมาพร้อมกันเพื่อไม่ให้การบิดเบือนกลไกตลาดเกิดขึ้นอย่างรุนแรงเฉพาะตลาดใดตลาดหนึ่งมากเกินไป และเชื่อว่ามาตรการกันสำรองแต่ด้วยอัตราต่ำกว่า 30% เป็นไปได้ แต่น่าจะเป็นมาตรการท้ายๆ โดยมองว่ามีมาตรการอื่นพอจะนำมาใช้ร่วมกันได้คือ
1.การเข้ากำหนดอัตรากลางของเงินบาทต่อดอลลาร์และสกุลเงินอื่นผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยให้มีขอบเขตผันผวนได้จำกัด ขณะเดียวกันก็ยังคงมาตรการเข้าแทรกแซงตลาด
อัตราแลกเปลี่ยนด้วยการซื้อขายเงินสกุลต่างๆ 2.เนื่องด้วยคราวนี้เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไปลงทุนในตลาดพันธบัตรจึงอาจใช้วิธีการเช่นเดียวกับของทางการอินเดีย กล่าวคือการกำหนดวงเงินขั้นสูง จำกัดการลงทุนในพันธบัตรไทยลง รวมกึงการกำหนดให้การถือครองพันธบัตรต้องถือครองจนหมดอายุพันธบัตร
3.การเก็บภาษีดอกเบี้ยพันธบัตร รวมถึงเงินฝากของผู้มีถิ่นฐานนอกราชอาณาจักร และภาษีกำไรจากการลงทุนในพันธบัตร (Capital gain tax) 4. ช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ การยกเว้นภาษีบางรายการให้เป็นการชั่วคราวเพื่อบรรเทาผลกระทบเรื่องค่าเงิน 5.ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป
ทั้งนี้ หากมาตรการของทางการเป็นไปอย่างที่คาดข้างต้น ผลกระทบในเชิงลบต่อตลาดการเงินน่าจะมีเพียงจำกัด และหากตลาดหุ้นปรับตัวลงมากเกินเหตุน่าจะเป็นโอกาสของการเข้าซื้อหุ้นพื้นฐานดีเพื่อการลงทุนในระยะยาว เพราะปัจจัยพื้นฐานของไทยยังคงจะแข็งแกร่งอยู่ต่อไป

***** CNSชี้บลูชิพกดดันดัชนี หากมาตรการคุมบาทแข็งไม่ชัดเจน

บทวิเคราะห์ บล.พัฒนสิน(CNS) ระบุว่า หุ้นบูลชิพ กลุ่มแบงก์ พลังงาน รับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะหุ้นที่อยู่ใน MSCI Thailand อาทิเช่น BBL, KBANK KTB, PTT ,TOP, PTTAR และ IRPC เป็นต้น คาดว่าจะเป็นกลุ่มที่กดดันให้ตลาดลดลง หากประเด็นการควบคุมค่าเงินบาทยังคงคลุมเครือ หรือถ้ารัฐฯยังไม่ออกมาสยบข่าวลือ
ทั้งนี้ พัฒนสินคาดว่า ธปท. อาจจะมีมาตรการสกัดการแข็งค่าของเงินบาท แต่จะไม่ใช้ยาแรง ดังนั้นราคาหุ้นในกลุ่มข้างต้น คาดว่าจะรีบาวด์ หากมาตรการไม่ได้รุนแรงตาม
คาด แต่ถ้ารัฐฯยังไม่แสดงทิศทางที่ชัดเจนต่อค่าเงินบาท หรือไม่ออกมาปฏิเสธข่าวลือ คาดว่าหุ้นบูลชิพในกลุ่มดังกล่าว จะซึมลง และฉุดดัชนีต่อไป
โดยคาดว่ากลุ่มบันเทิง, ค้าปลีก หุ้น Defensive และหุ้นขนาดกลางที่มีประเด็นบวกหนุน ที่ไม่อยู่ในMSCI Thailand หรือไม่ใช่เป้าหมายแรกที่ฝรั่งจะขาย คาดจะ Outperform ตลาดชั่วคราวจนกว่ามาตรการคุมบาทจะชัดเจน หรือ ผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการชุมนุมเสื้อแดง ได้แก่ MAJOR, BIGC, MAKRO, DCC, TVO, BLA, CK, BH, BGH, KH, MINT

***** ASPเชื่อแบงก์ชาติไม่ออกกันสำรอง30% คาดชะลอขึ้นอาร์พีแทน

บทวิเคราะห์บล.เอเซีย พลัส(ASP) ระบุว่า ความกังวลต่อการออกมาตรการ 30%(Capital Control 30%)ไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้น เพราะการแข็งค่าของเงินบาท น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ เนื่องจากปัญหาหลักอยู่ที่ประเทศคู่ค้าสำคัญๆของไทย ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือสหรัฐ ต่างประสบปัญหาการเงินในประเทศ ขณะที่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย ล้วนได้ดุลการค้ากับประเทศพัฒนาแล้วเกือบทุกแห่งอย่างไรก็ตาม คาดว่าการเกินดุลการค้าของไทยก็จะค่อยๆลดน้อยถอยลงในไตรมาสสุดท้ายของปี ตามผลของฤดูกาล การออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าจึงไม่มีความจำเป็น
โดยฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่าการออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าที่รุนแรงไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะหากพิจารณาเงินทุนไหลเข้าที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่า 90% เป็นเงินที่ไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้(พันธบัตรรัฐบาล)ขณะที่เงินที่เข้ามาในตลาดหุ้นคิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% เท่านั้น มีความเป็นไปได้ว่าการออกมาตรการที่จะชะลอการแข็งค่าของค่าเงินบาท น่าจะมุ่งไปยังตลาดตราสารหนี้เป็นหลัก รวมถึงการส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 2 ครั้งถัดไปของปีนี้ (20 ต.ค. และ 1 ธ.ค. 2553) หลังจากที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 2
ครั้ง รวม 0.5% มาอยู่ที่ 1.75% น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า อย่างไรก็ตาม ธปท. อาจจะต้องถ่วงน้ำหนักความสำคัญระหว่างความกังวลต่อเงินเฟ้อ หรือภาคส่งออก ที่ได้รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่ารวดเร็ว

***** นักวิเคราะห์ชี้อย่ารีบขายหุ้นรอดูสถานการณ์ก่อน

นายเจริญ เอี่ยมพัฒนธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บล.เคที ซีมิโก้ กล่าวถึง การที่มีกระแสข่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อาจจะออกมาตรการบางอย่างมาดูแลค่าเงินบาทว่า ยังประเมินได้ยากว่าจะออกมาในทิศทางใด ดังนั้น ระหว่างรอความชัดเจนจาก ธปท.นักลงทุนควรจะรอดูสถานการณ์ก่อนโดยควรจะถือหุ้นไว้ในมือยังไม่ต้องรีบขาย
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า เชื่อว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้จะยังไม่เห็น ธปท.ออกมาตรการใหม่ๆ เข้ามาดูแลค่าเงินบาท แม้ว่าจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่องก็ตาม เพราะการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวของเงินในสกุลภูมิภาค ซึ่งสาเหตุมาจากการที่เงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนไทยประกอบกับช่วงที่ผ่านมาการออกมาตรการดูแลค่าเงินบาท(กันสำรอง 30%)ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างรุนแรง ธปท.จึงไม่น่าจะมีมาตรการอะไรเพิ่มเติมในช่วงนี้
อย่างไรก็ตาม ในระยะ 3 เดือนไปจนถึงสิ้นปีนี้ มองว่าหากจะมีมาตรการออกมาน่าจะเป็นมาตรการทางภาษี เพราะเป็นมาตรการที่ไม่รุนแรงมากนัก และมองว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นยังไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล และจะส่งผลดีต่อบริษัทที่มีการนำเข้าสินค้า เช่น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ถ่านหิน พลังงาน ปิโตรเคมีเครื่องจักร รวมไปถึงกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งนักลงทุนสามารถหาจังหวะเข้าซื้อเก็บหุ้นกลุ่มนี้ไว้ได้

***** เกียรตินาคินหวั่นดัชนีหลุด900จุด ต่างชาติกังวลปิดกั้นเงินทุน

นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาธุรกิจ บล.เกียรตินาคิน เปิดเผยว่า คาดว่าแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯในช่วง 4 เดือนที่เหลือ หรือจนถึงช่วงสิ้นปี ดัชนีฯจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 895 และ 875 จุด โดยในระยะ 1-2 สัปดาห์ก่อนที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่จะเข้ามารับตำแหน่ง ตลาดหุ้นมีความกังวลว่าหลังจากเข้ารับตำแหน่งจะมีมาตรการ Capital Controls เข้ามาดูแลอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องหรือไม่
ทั้งนี้หากดัชนีฯมีการรีบาวด์ในช่วง 2 สัปดาห์นี้ไม่เกินระดับที่ 920 จุด โดยกลยุทธ์การลงทุนในระยะ 1 เดือน แนะนำซื้อเก็งกำไรในหุ้น Big Cap อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ LH, AP, QH, PS, และไอซีทีบางตัว คือ ADVANC ซึ่งราคายังคง Laggard อยู่ และแนะนำให้ขายทำกำไรออกมาก่อน และค่อยทยอยซื้อสะสมในหุ้นที่มีอัตราการขึ้นน้อยกว่าตลาดฯ (Laggard) ที่บริเวณแนวรับที่ให้ในหุ้นกลุ่ม Big Cap ประกอบด้วยหุ้นกลุ่มพลังงาน ได้แก่ PTT, PTTCH, PTTEP, BANPU และ TTW และเก็งกำไร TOP PTTAR กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง

***** ธปท.ปฏิเสธออกมาตรการควบคุมทุนไหลเข้า

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกระแสข่าวลือที่ ธปท.จะออกมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนเพื่อป้องกันค่าเงินบาท ว่า ในแง่นโยบายการดูแลค่าเงินบาทจากการหารือกับที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และไม่ได้มีการวางเป้าหมายการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่าจะอยู่ในระดับใด ทั้งนี้จะอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนเกินไป
'เข้าใจว่าสาเหตุข่าวลือมาจากที่เราประชุมกนง.ไปเมื่อวันศุกร์ จริงๆ เราประชุมเพื่ออัพเดตสถานการณ์ต่างๆ และบอร์ดเห็นด้วยกับแนวทางที่เราดำเนินการอยู่ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงในก่อนหน้านี้ในแง่ดูแลนโยบายการเงินไม่เปลี่ยนแปลง เราไม่มีอัตราเงินบาทในใจว่าต้องอยู่ตรงนั้นตรงนี้ แค่ดูแลไม่ให้ผันผวนเกินไป และจะยังไม่มีแถลง เพียงแต่ข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้ ขอให้ช่วยบอกต่อ'นางธาริษา กล่าว

----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.

ข่าวต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา: เฟดเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐเดือนส.ค.ขยายตัว 0.2% หลังยอดผลิตรถยนต์ทะยาน ธนาคารกลางสหรัฐ
(เฟด) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐขยายตัว 0.2% ในเดือนส.ค.ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ เพราะได้แรง
หนุนจากยอดการผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวขึ้นเกินความคาดหมาย และหากไม่นับรวมยอดการผลิตรถยนต์พบว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.
ขยายตัว 0.4% ข้อมูลของเฟดระบุว่า ผลผลิตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่พุ่งขึ้น 1.2% ขณะที่ผลผลิตด้านสาธารณูปโภคลดลง 1.5% ส่วนอัตราการ
ใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนส.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 74.7% สูงกว่าระดับเฉลี่ยของปีที่แล้วอยู่ประมาณ 4.7% (ที่มา: อินโฟเควสท์
16-09-2010)
สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยสต็อกน้ำมันดิบสัปดาห์ที่แล้วร่วงลงเกินคาด 2.5 ล้านบาร์เรล สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาล
สหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 10 ก.ย.ร่วงลง 2.5 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 357.4 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลง 2.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 300,000 บาร์เรล แตะระดับ 174.5 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่
นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 300,000 บาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 700,000 บาร์เรล แตะระดับ 224.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่คาดว่าจะ
ลดลงเพียง 400,000 บาร์เรล ส่วนอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันลดลง 0.6% เหลือเพียง 87.6% (ที่มา: อินโฟเควสท์ 16-09-2010)
จีน: กระทรวงพาณิชย์จีนเผยยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 1.38% หยาว เจียน โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน
เปิดเผยว่า ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนในเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 1.38% แตะ 7.602 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอด FDI ในช่วง
8 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 18% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว แตะระดับ 6.59 หมื่นล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้นั้น ยอด FDI ของ
จีนขยายตัวขึ้น 20.65% แตะ 5.83 หมื่นล้านดอลลาร์ และยอด FDI ในเดือนก.ค.เพียงเดือนเดียว เพิ่มขึ้น 29.2% แตะ 6.924 พันล้านดอลลาร์
(ที่มา: อินโฟเควสท์ 15-09-2010)
เอเชีย: สิงคโปร์เผยยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ลดลง 1.2% หลังยอดขายรถร่วง สำนักงานสถิติแห่งชาติสิงคโปร์รายงานในวันนี้ว่า ยอดค้าปลีก
เดือนก.ค.ของสิงคโปร์ปรับตัวลดลง 1.2% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการร่วงลงของยอดขายยานยนต์ ทั้งนี้
ยอดขายยานยนต์ดิ่งลง 24.8% ขณะที่ยอดขายอุปกรณ์ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ อาหารและเครื่องดื่ม ปรับตัวลดลง 1.3%
(ที่มา: อินโฟเควสท์ 15-09-2010)
----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น