Code 376 : 14/03/54 Tsunami จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2554

ATT Code : Tsunami จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก


สรุปสภาวะการซื้อขาย วันศุกร์ที่ 11/03/54 : Tsunami Effect

ช่วงเช้าเปิดตลาดมีแรงขายออกมามากเนื่องจากผลกระทบของการติดลบจากตลาดหุ้นของทางอเมริกาและยุโรป ซึ่งลบไป เกือบ 2 % ก็ส่งผลให้หุ้นทางด้าน Asia ลบกันไปทั่งหน้า ก็ส่งผลให้ SET เปิดลงไปเกือบ 10 จุด ลงไปเปิดที่ระดับ 1010.99 จุด ลงไปที่แนวรับแรกพอดีที่ 1011 จุด โดยในช่วงเช้าตลากก้สามารถ Rebound ขึ้นมาได้ โดยหุ้นพลังงานยังแข้งแรง แต่กลุ่มแบงค์ก้มีแรงขายออกมาเรื่อยๆ ช่วงปิดตลาดภาคเช้า ตอนบ่ายโมงก้เกิด Zunami ที่ญี่ปุ่น มีคลื่นน้ำทะเลสูงกว่า 10 เมตร สนามปินนาริตะต้องปิด โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต้องปิด และเกิดการระเปิดที่โรงกลั่น ส่งผลให้ตลาดเปิดช่วงบ่ายลงมาเกือบอีก 10 จุด มาเปิดที่ 1004.57 จุด ลงมาที่แนวรับที่ 2 ที่ระดับ 1004 จุด พอดีเหมือนกัน ก็เกิด Panic Sell ขึ้นมา แต่จากนั้นตลาดก็เริ่มมีการ Rebound ขึ้นมาได้ จนมาปิดที่ระดับ 1007.06จุด ลบไป 12.16 จุด

แรงขายลงมา 12 จุด เกิดจาก ปรงขายในตลาดอเมรอกาและยุโรป บวกกับญี่ปุ่นเจอแผ่นดินไหว ทำให้เกิด Zunami ส่งผลให้เกิดการ Panic Sell ขึ้นมา ก็จะส่งผลกระทบเป็น Tsunami effect ต่อประเทศต่างๆ ที่อาจจะเกิดแผ่นดินไหวได้

แนวโน้มในวันจันทร์ที่ 14/03/54 : ลงมาหาแนวรับที่ 1004/996 จากผลกระทบของ Tsunami effect
ดังนั้นตลาดคงมองไปที่แนวรับที่ 996 มากกว่าแนวต้านที่ 1010
-แนวรับก็จะอยู่ที่เส้น 10/25 วัน ที่ระดับ 1,004 จุด และ ที่ 996 จุด โดยแนวรับหลัก (BB Average) ขยับขึ้นมาจาก 985 มาอยู่ที่ 988 จุด
-ส่วนแนวต้าน ก็จะอยู่ที่ Bb Top ที่ระดับ 1,026 จุด

*** SET เมื่อวันศุกร์ เกิด Zunami ที่ญี่ปุ่น ทำให้เกิด Panic Sell ขึ้นมา ทำให้ Indicators ต่างๆ บ่งชี้สัญญาณเป็นลบทั้งหมด โดยมี Indicator 2 ตัวเริ่มกลับทิศทางแล้ว
1. %R เริ่มตัดเส้น -10 ลงมาแล้ว เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัวลงมา (09/03/54)
2. DI+ กับ DI - เริ่มห่างกันน้อยลงแล้ว... เป็นสัญญาณการอ่อนตัวของตลาด (10/03/54)
3. Stochastic : %K ตัด %D ลงมาแล้ว (11/03/54)
4. CCI ตัดเส้น 100 ลงมาแล้ว (11/03/54)


Indicators ต่างๆ
1. (Still Good : 1. MACD > Signal และ 2. MACD และ Signal > 0, but Weak... แต่เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ว่า ระยะห่างเริ่มแคบลงมาใกล้กันมากขึ้น)
(+/-) MACD (ลดลงจา ก 8.29 เป็น 7.70) ยังคงตัดเส้น Signal (เพิ่มขึ้น 5.43 เป็น 6.11) ขึ้นมาอยู่ โดย MACD ทั้ง 2 เส้น ขึ้นมายืนเหนือเส้นศูนย์มากขึ้นเรื่อยๆ.... มีสัญญาณที่ดีอยู่

2. (OBV- : Weak)
(-) OBV เพิ่มขึ้นจาก 701 มาที่ 674.... แสดงให้เห็นว่ามีแรงซื้อขายสะสมลดลง พลิกกลับมาเป็นลบอีกครั้ง

3. CCI ตัดเส้น 100 ลงมา = Sell Signal
(-) CCI ลดลงจาก 108 มาที่ 44... แนวโน้มยังเป็นลบเหมือนเดิม

4. (DI+ > DI- : Still Buy Signal but Weak)
(-) เส้น ADX : DI+(32.78 : ลดลงมา) ตัดเส้น DI-(24.62: เพิ่มขึ้นมา) ทั้ง 2 เส้น เริ่มห่างกันน้อยลง(จาก 17.12 เป็น 8.16) .... แนวโน้มดูดีและแต่มีแนวโน้มลดลง

5. (%R < -10 ลงมาแล้ว เมื่อ 09/03/54) (-) Williams %R ลบมากขึ้นจาก -13.76 ลงมาที่ -41... จุดเริ่มของการกลับตัวลง และมีแนวโน้มกลับมาเป็นลบมากขึ้น 6. (RSI > 50 : Strong, แต่ต่ำกว่า 60 แล้ว)
(-) RSI ลงมาจาก 62% มาอยู่ที่ 55%... มีค่าลดลงมา แต่ก็ยังแข็งแรงอยู่

7. (%K < %D = Sell Signal) (-) Sto : %K(54) ตัด %D(74) ตัดลงมาแล้ว...

Historical Technics

1. (+) MACD(-10.29) ตัดเส้น Signal (-10.94) = Buy Signal (15/02/54)

2. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = เป็น Bullish... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)

3. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA 10 (976.12 )ขึ้นมา... เป็น Golden Cross = Buy Signal : Start (17/02/54)

4. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)

5. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) (10/03/54)

6. (-) SET หลุด BB Top ลงมาแล้ว = SET อ่อนลงมา (09/03/54)

7. (-) %K < %D = Sell Signal (11/03/54)

----------------------------------------------------------

MARKET WAVE Analysis

14 มีค. 54 (-12.16 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

มีความเสี่ยงของการปรับตัวลง

ดัชนีในวันศุกร์ ปรับตัวลงมาแถวแนวรับตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 สัปดาห์พอดีและถ้าในวันจันทร์มีการปรับตัวลง ต่ำกว่า996.19 จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้ว และเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว ดัชนีมีแนวโน้มที่จะจบรอบเร็วกว่าที่คาดไว้เดิม (ไม่ถึงเป้าหมาย 1050 – 57 จุด)

และ มีความเสี่ยงของการปรับตัวกลับลงไปบริเวณ 980 – 990 บริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันหรือต่ำกว่า ?

ในกรณีปรับตัวขึ้นในวันจันทร์ ดัชนียังไม่น่าจะผ่าน 1015 – 25 จุด ซึ่งเป็นบริเวณแนวต้านของเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง และจุดสูงสุดเดิมของสัปดาห์ที่แล้ว

หุ้นเด่น

SCC ยังสามารถปรับตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันได้ รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 325 จุดสูงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เป้าหมายสองสามวัน 336 –339( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 318 )

TUF ยังสามารถปรับตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันได้ รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 47.25 จุดสูงสุดสัปดาห์ที่แล้ว เป้าหมายระยะสัปดาห์ 51.50 – 54.50( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 44.00 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด

IVL ต่ำกว่า 48.25 ลง 44 – 46 PTL เกิน 24 ขึ้น 25 – 26 TOP ไม่น่าเกิน 78 – 80 SCB ต่ำกว่า 102 ลง 99 - 100 CPF ต่ำกว่า 24 ลง 23 – 23.30 PTT ต่ำกว่า 341 ลง 330 - 335 BBL ต่ำกว่า 158.50 ลง 156 – 157 BANPU ต่ำกว่า 712 ลง 680 – 690 PTTCH แกว่งตัว 141 -146 KBANK ต่ำกว่า 122 ลง 118 - 120

----------------------------------------------------------
EFinance Thai : สึนามิ-การเมือง ถล่มหุ้นไทยสัปดาห์นี้

*โบรกฯ ชี้ ดัชนีมีแววร่วงแตะ 1000-980 จุด

เซียนหุ้นฟันธง สึนามิ - การเมือง ถล่มหุ้นไทยสัปดาห์นี้ คาดดัชนีมีแววร่วงแตะ 1000-980 จุด แนะลดพอร์ต รอซื้อที่แนวรับ เชียร์หุ้นกลุ่มอาหารโดดเด่น ส่วนศึกซักฟอกรัฐบาล โบรกฯชี้ ทำนักลงทุนชะลอลงทุน ฟากเอเซียพลัส เผย สถิติชี้ชัด หุ้นไทยดิ่ง 3-4% ก่อนประกาศยุบสภาฯ แนะใช้ความระมัดระวังลงทุน นายกฯ เผย ยุบสภาสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. ตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา ซึมซับข่าวดีไปแล้ว ทั้งการประกาศผลประกอบการ การจ่ายเงินปันผล และการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ดัชนีฯยังเคลื่อนไหวในลักษณะผันผวนต่อเนื่อง แต่หุ้นไทยสัปดาห์นี้มีหลายปัจจัยทั้งการเมืองเรื่องการชุมนุม อภิปรายไม่ไว้วางใจ และความคืบหน้าเรื่องการยุบสภา นอกจากนี้ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ยังประสบปัญหาโดนคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม แถมราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยลบที่ปกคลุมตลาดฯ ดังนั้น หุ้นไทยสัปดาห์นี้จะเป็นอย่างไร

* เซียนหุ้นฟันธง สึนามิ - การเมือง ถล่มหุ้นไทยสัปดาห์นี้ คาด ดัชนีมีแววร่วงแตะ 1000-980 จุด แนะลดพอร์ตลงทุน

นายเตชธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนสายงายวิจัย บล. เอเซียพลัส กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ดัชนีฯมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากผลกระทบทั้งจากปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยในต่างประเทศกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิขนาด 6-10 เมตร พัดถล่มจังหวัดชายฝั่งของญี่ปุ่นประมาณ 4 เกาะ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบมาก และที่สำคัญญี่ปุ่นถือเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สำคัญของไทยมานาน นอกจากนี้ สถานการณ์ดังกล่าว ยังจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นในภูมิภาคด้วย สำหรับปัจจัยในประเทศ ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวดัชนีฯในสัปดาห์นี้ คือ ประเด็นการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ แต่ไม่น่ากังวล เนื่องจาก เชื่อว่าจะไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ส่วนการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านที่จะเริ่มในวันที่ 15 มี.ค. นี้นั้น ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงรับข่าวไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน และถือเป็นเรื่องปกติที่ช่วงก่อนการอภิปรายดัชนีฯจะปรับตัวลดลง และจะดีดตัวขึ้นหลังการอภิปรายแล้วเสร็จ ขณะที่ความชัดเจนเรื่องการยุบสภา และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ คงต้องติดตามความชัดเจนจากคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. อย่างใกล้ชิด "หุ้นไทยสัปดาห์นี้หาข่าวดียาก เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลประกอบการ การจ่ายเงินปันผล หรือเรื่องปรับขึ้นดอกเบี้ย ถือว่าตลาดรับรู้ไปหมดแล้ว ส่วนประเด็นเกี่ยวกับราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ยังต้องติดตาม เพราะหากสถานการณ์ราคายังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย" นายเตชธรกล่าว ทั้งนี้ ประเมินว่า ดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์นี้จะปรับตัวลดลงสู่ระดับแนวรับ ที่ 1000 จุด และมีโอกาสปรับตัวลดลงสู่แนวรับถัดไปที่ 980 จุด หากมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ส่วนแนวต้านประเมินอยู่ที่ 1020 จุด กลยุทธ์การลงทุน แนะลดพอร์ตลงทุนและรอซื้อที่แนวรับ หุ้นที่น่าสนใจช่วงนี้คือหุ้นในกลุ่มอาหาร ส่วนหุ้นพลังงาน-แบงก์ให้หลีกเลี่ยง

* โบรกฯ ชี้ หุ้นไทยสัปดาห์นี้พักฐาน ชี้ ศึกซักฟอก ทำนักลงทุนชะลอลงทุน นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า คาดว่าแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงต้นสัปดาห์นี้จะยังคงอยู่ในช่วงพักฐานคล้ายกับช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า พร้อมทั้งมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ผันผวนในกรอบที่ค่อนข้างกว้างระหว่างกรอบแนวรับที่ 1,000 จุด และแนวต้านที่ 1,025 และ 1,030 จุด ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างฐาน โดยปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในสัปดาห์หน้าประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ปัจจัยการเมืองในประเทศ ในช่วงวันที่ 15-17 มีนาคม ที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีและมีการลงมติในวันที่ 18 มีนาคม ส่งผลให้นักลงทุนจะชะลอการลงทุน เพื่อรอดูสถานการณ์ในช่วงต้นของวันเริ่มอภิปรายว่าจะมีทิศทางต่อไปอย่างไร ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในระยะสั้น ประกอบกับยังมีปัจจัยจากสถานการณ์การเมืองในตะวันออกกลาง กรณีความรุนแรงในลิเบีย และความคืบหน้าของปัญหาในซาอุดิอาระเบียว่าสถานการณ์จะมีความรุนแรงหรือไม่ สำหรับเหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น ประเมินว่าตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงไทยได้ตอบรับข่าวร้ายประเด็นดังกล่าวไปแล้ว ทั้งนี้หากไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มเติมในช่วงวันหยุดเสาร์- อาทิตย์ มองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้ กลยุทธ์การลงทุน แนะนำเก็งกำไรซื้อขายในกรอบแนวรับและแนวต้าน โดยให้น้ำหนักในหุ้นกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี โรงกลั่น และธนาคารพาณิชย์ ให้แนวรับ 1,000 จุด แนวต้าน 1,025 และ 1,030 จุด

*เอเซีย พลัส เผย สถิติชี้ชัด หุ้นไทยดิ่ง 3-4% ก่อนประกาศยุบสภาฯ แนะใช้ความระมัดระวังลงทุน

บทวิเคราะห์บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า กำหนดการทางการเมืองจากนี้ไปมีเหตุการณ์ที่ต้องติดตามอยู่หลายประการ เริ่มจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรี กับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งประเมินว่าหลังจากการประชุมร่วมกันแล้ว น่าจะเห็นกรอบเวลาที่ชัดเจนมากขึ้นในเรื่องกำหนดวันยุบสภาฯ และจัดการเลือกตั้งใหม่ ทั้งนี้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดว่า กรณีที่มีการยุบสภาฯ ให้จัดการเลือกตั้งในช่วงระหว่างวันที่ 45- 60 นับจากวันประกาศยุบสภาฯ ส่วนประเด็นต่อมาที่ต้องติดตามคือการชุมนุมของ นปช. ในวันที่ 12 มี.ค.2554 ทั้งนี้ถือเป็นการชุมนุมครั้งแรกหลังจากที่แกนนำได้รับการประกันตัว และยังเห็นการเข้ามอบตัวของแกนนำอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกจับกุมช่วงเดือน พ.ค.2553และได้รับการประกันตัวเช่น คุณอดิศร เพียงเกษ ซึ่งต้องติดตามดูท่าทีของแกนนำการชุมนุมว่าจะสร้างบรรยากาศความตึงเครียดจนส่งผลกระทบต่อกำหนดการยุบสภาฯ หรือไม่ ส่วนอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องติดตามได้แก่ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 15 มี.ค.53 และใช้เวลาอภิปราย 3–4 วัน ขึ้นอยู่กับการตกลงของที่ประชุม โดยมุมมองของฝ่ายวิจัยเห็นว่า การอภิปรายในครั้งนี้น่าจะเป็นการปูทางไปสู่การเตรียมการหาเสียงเลือกตั้งครั้งใหม่ ทั้งนี้ภาพรวมของสถานการณ์ทางการเมือง ถือได้ว่าเดินทางเข้ามาใกล้จุดของการยุบสภาฯ ทุกขณะ ซึ่งจากผลการศึกษาเชิงสถิติระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ยุบสภาฯ และ การเคลื่อนไหวของ SET Index พบว่า ส่วนใหญ่ในช่วงก่อนประกาศยุบสภา 2 -3 สัปดาห์ ต่อเนื่องจนถึงก่อนการเลือกตั้งใหม่ 2-3 สัปดาห์ SET Index มักปรับตัวลดลงรวม 3-4% ก่อนที่จะกลับตัวขึ้นไปใหม่ในช่วงใกล้การเลือกตั้ง ดังนั้นการลงทุนระยะสั้นควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น โดยหากเชื่อตามผลการศึกษาทางสถิติ จังหวะเวลาในการเข้าซื้อรอบใหม่ น่าจะเป็นก่อนกำหนดวันเลือกตั้ง 2-3 สัปดาห์

* ฟาก กิมเอ็ง มอง US dollar Carry trade จะทำให้ SET สัปดาห์นี้ขึ้นทดสอบ1025-1030 จุด

บทวิเคราะห์ บล. กิมเอ็ง ระบุว่า ทิศทางในสัปดาห์นี้ KimEng คาดว่า SET INDEX จะมีโอกาสไต่ระดับขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญ บริเวณ 1025-1030 จุด และมีความเป็นไปได้ที่จะทะลุได้เช่นกัน เพราะด้วยสภาพคล่องทางการเงินที่ล้นอยู่ในระบบการเงินโลก การคงอัตราดอกเบี้ยต่ำและ QE#2 ของเฟดต่อเนื่อง จะทำให้การทำ US dollar Carry trade ยังคงต้องดำเนินต่อไป ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้าได้แก่ 1.การประชุม FOMC วันที่ 16 มี.ค.: KimEng เชื่อว่า นโยบายการเงินไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ย หรือ QE# 2 นั้นจะคงไว้เช่นเดิม แม้ว่าอัตราการว่างงานจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 8% ของสหรัฐฯ 2.การอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านไทย: ระหว่างวันที่ 15-17 มี.ค. และลงมติในวันที่ 18 มี.ค. ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับจำนวนวันของการอภิปรายว่าจะเป็น 3 หรือ 4 วัน แต่แน่นอนว่า รมว.คลัง, ไอซีที และคมนาคม น่าจะเป็นเป้าหมายหลักที่น่าสนใจติดตาม จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น KimEng เสนอให้นักลงทุน “ถือพอร์ตการลงทุนต่อเนื่อง” หลังจากให้ทยอยลดพอร์ตมาตั้งแต่ระดับ SET INDEX 990 จุดขึ้นมา หรือตลอด 5 วันทำการก่อนหน้านี้แล้ว

* นายกฯ เผยยุบสภา สัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. ให้เลือกตั้งใหม่ก่อนหมดวาระ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)จะสามารถเสนอกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะรองรับการเลือกตั้งครั้งใหม่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ในสัปดาห์หน้า และคาดว่าภายในสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค.จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อตรา พ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งใหม่ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่าตั้งใจจะให้มีการเลือกตั้งก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะหมดวาระ "แต่ผมตั้งใจจะนำเรื่องนี้ขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อที่จะให้มีการยุบสภา ไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. ผมค่อนข้างมั่นใจว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย กฎระเบียบ การแบ่งเขตเลือกตั้งจะเรียบร้อย คือจะไม่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นผลจากการคุยกับกกต.วันนี้ อาจจะมีนักการเมืองหรือ ส.ส.ไม่เห็นด้วย แต่ผมได้ตัดสินใจแสดงเจตนารมณ์ตั้งแต่ต้นว่าเราควรจะมีการเลือกตั้งก่อนที่สภาฯจะครบวาระ และควรเลือกเวลาที่เหมาะสม เพื่อขจัดความไม่ชัดเจน ความอึมครึมออกไป ยืนยันสัปดาห์หน้าจะเร่งรัดการพิจารณากฎหมายต่าง ๆ จะดูความก้าวหน้าการทำงานด้านต่าง ๆ และไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค.ผมจะนำเรื่องกราบบังคมทูลเพื่อให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่"นายอภิสิทธิ์ กล่าว

* ไอร่า เชียร์ หุ้นกลุ่มข่าวสาร ชี้ รับอานิสงส์ ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

บทวิเคราะห์ บล.ไอร่า ระบุว่า หุ้นที่คาดจะได้ประโยชน์ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง หุ้นกลุ่มที่น่าสนใจ (1) กลุ่มข่าวสาร เช่น MATI, NMG, BEC, MCOT (2) กลุ่มขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร (BBL, SCB, KBANK), พลังงาน เช่น (PTT, PTTEP, BAMPU) และวัสดุก่อสร้าง (SCC)

----------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น