Code 390 : 01/04/54 ต่ำกว่า BB-T แล้ว เป็น Sell Signal เบาๆ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554

ATT Code : ต่ำกว่า BB-T แล้ว เป็น Sell Signal เบาๆ



สรุปสภาวะการซื้อขายในวันพุธที่ 30/03/54 นี้ : ชนแนวต้านที่ High เดิม กดดัน SET ลงมาต่ำกว่า BB-T
ช่วงเช้า SET สามารถเปิดมาสูงกว่า BB-T ได้ จนขึ้นผ่าน High เดิม ไปทำ New High ที 1056.52 จุด แต่หลังจากนั้นก็มีแรงขายในกลุ่มแบงค์ออกมา หลุด BB-T ลงมา จนไปปิดที่ 1047.48 จุด ทำให้ SET ต่ำกว่า BB-T แล้ว จะดูไม่ค่อยดี

แนวโน้มในวันพฤหัสที่ 31/03/54 นี้ : ต่ำกว่า BB-T แล้ว เป็น Sell Signal เบาๆ
หลังจากที่ SET หลุดลงมาต่ำว่า BB-T ทำให้ตลาดทีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงมาอีกได้

โดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับที่ EMA 5D ที่ 1,041 จุด และ EMA 10D ที่ 1,033 จุด
แนวต้านที่ BB-T 1052จุด 1,056.44 จุด ที่เป็น High เดิมในวันที่ 6/1/54

Indicators ต่างๆ ของวันก่อนหน้านี้ :
Main Buy Signal = MACD + Slow Stochastic + RSI
3 Indicators = Main Buy Signal
2 Indicators = Minor Buy Signal
2 Indicators = Overbought
0 Indicators = Bearish Divergence
2 Indicators = Sell Signal

1. Alert MACD (B)+(Stronger)
Major = Buy Signal : 1. MACD >. Signal.... และ Minor =Uptrend ยังดีอยู่โดย 2. MACD > 0)
(+/-) MACD Oscillator มีค่าลดลงมา จาก 1.79 เป็น 1.58 แต่ MACD ยังมีค่ามากขึ้นอยู่

2. Alert Slow Sto (B)+(Weak)+(OverBought)
(-) Slow Stochastic : %K(90) > %D(89)...

3. Alert RSI (B)+(Weak)
(+) RSI(66) > MAV9(62) : RSI สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ย แต่มีค่าลดลง...

4. Alert William %R (S)
%R ตัดเส้น -10 ลงมาอีกครั้ง : เป็น Sell Signal เบาๆ
(+) Williams %R เริ่มมีค่าอ่อนลงมา จาก (0) เป็น (-17)

5. Alert CCI (B เบาๆ)+ (Overbought)
CCI ตัดเส้น 100 อยู่: อยู่ในเขต Overbought
(-) CCI กลับมามีค่าเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ลงมาจาก 123 มาที่ 120

6. Alert ADX (B)+(Stronger)
(+) เส้น ADX : DI+(40) > DI-(15)...

7. OBV - : Weak
(-) OBV มีค่าลดลง

****************
Historical Technics
****************
Buy Signal:
1. (+)MACD กลับมาเป็น Buy Signal อีกครั้ง(22/03/54)
2. (+) DI+ ตัดเส้น 20 ขึ้นมา... แสดงว่า UpTrend มีความแข็งแรง
3. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = Major เป็น Bullish + Uptrend... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)
4. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA10 (976.12 )ขึ้นมา... Major เป็น Golden Cross = Buy Signal (17/02/54)
5. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)
6. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) : Stronger (09/03/54)
7. (+) SET สูงกว่าเส้น 10 วัน และ 5 วัน แล้ว : Stronger (21/03/54)
8. (+) Slow Sto : %K(72) > %D(69) = Buy Signal (22/03/54)

Overbought:
1. (+/-) Slow Sto : %K(81) > %D(73) = Overbought (23/03/54)
2. (+/-) Alert William %R > -10 = Overbought (30/03/54)
3. (+/-) Alert CCI > 100 =(Overbought) (30/03/54)

Sell Signal :
1. (-) Bollenger Band : SET ย่อลงมาต่อกว่า BB-T... เกิดเป็น Sell signal เบาๆ
2. (-) %R : ต่ำกว่าเส้น -10 ลงมา... เกิดเป็น Sell signal เบาๆ

Bearish Divergence :
Oversold : None


-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
1 เมษ. 54 ( -3.19 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ปรับฐาน 1027 - 1032 จุด
ภาพระยะสั้นวันศุกร์นี้ ถึงต้นสัปดาห์หน้า ดัชนีมีโอกาสที่จะปรับฐานลงไปบริเวณ1027 – 1032 ใกล้จุดต่ำสุดของสัปดาห์นี้

สำหรับภาพในสัปดาห์หน้า ดัชนีอาจจะแกว่งตัวขึ้นลง โดยประมาณในกรอบ1030 – 56 หรือระหว่างจุดต่ำสุดถึงจุดสูงสุดของสัปดาห์นี้

จากนั้นถ้าสามารถปรับตัวขึ้น เกิน1056.52 จุดสูงสุดของวันพฤหัสได้ ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อแถว 1300 จุด ประมาณ
เดือน สค. ในรูปแบบของคลื่น 3 ต่อไป

หุ้นเด่น
AJ
ปรับตัวทะลุกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะวันขึ้นมาได้ ทยอยซื้อแถว 24.80 – 25.00 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 25.50 จุดสูงสุดวันพฤหัส เป้าหมายสองสามวัน 26.50 – 27.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 24.60 )

BANPU
ปรับตัวขึ้นมาแถวเส้นค่าเฉลี่ย 25 สัปดาห์พอดีทยอยซื้อแถว 760 – 764 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 776 จุดสูงสุดวันพฤหัสและเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว เป้าหมายระยะสัปดาห์796 – 806( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 752 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
SCB ปรับตัวลง 104 – 105
BANPU รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
PTT ปรับตัวลง 344 – 345
IVL ปรับตัวลง 49 - 51
BBL ปรับตัวลง 165 - 166
PTTEP ต่ำกว่า 180 ลง 176 – 178
CPF เกิน 25.75 ขึ้น 26 – 26.50
TRUE เกิน 6.05 ขึ้น 6.10 – 6.30
IRPC ต่ำกว่า 5.75 ลง 5.40 – 5.60
PTTCH ต่ำกว่า 148.50 ลง 145 – 146


-----------------------------------------------------------------------------
E Finance Thai : ลงทุนหุ้นแบงก์มากกว่าตลาด

โบรกฯ ประสานเสียง 'Overweight' หุ้นกลุ่มแบงก์ รับแนวโน้มสินเชื่อขยายตัวต่อเนื่อง บวกผลการดำเนินงานไตรมาส 1/54 ส่อแววสดใส ด้วยปัจจัยหนุนจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่กระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชน ประสานกับโครงการลงทุนของรัฐบาล ชูหุ้นเด่น KBANK SCB BBL และ KTB ขณะที่ ฟิทช์เรทติ้งส์ คาดแนวโน้มธนาคารพาณิชย์ไทยมีเสถียรภาพ ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า

* บล.ยูไนเต็ด มอง Banking Sector แนะนำ 'Overweight'
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ยูไนเต็ด ออกบทวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์หุ้นกลุ่มแบงก์ โดยระบุว่า จากรายงาน ธ.พ.1.1 เดือน ก.พ.54 ของ 7 ธนาคาร (BAY,BBL, KBANK, KTB, SCB,TISCO, TMB) พบว่าสินเชื่อเดือนก.พ.54 +1.5% MoM โดย BBL ถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่ยังมีสินเชื่อโตสุด +3.1% MoM รองลงมาเป็น SCB +2.6% MoM และ TISCO +1.9% MoM และจะเห็นว่าทุกธนาคารมีสินเชื่อที่เติบโตขึ้นกันถ้วนหน้า
ด้านสินเชื่อ 2M54 ยังโต +2.8% YTD โดย TMB ยังคงเป็นธนาคารที่มีสินเชื่อโตสุด +7.2% YTD จากการปล่อยสินเชื่อให้ BIGC ซื้อคาร์ฟูร์ ขณะที่ SCB โตรองเป็นอันดับ 2 +4.8% YTD เงินฝากเดือน ก.พ. 54 ทั้งระบบเพิ่มขึ้นถึง +2.99% MoM ซึ่งจะเห็นว่า KBANK มีเงินฝากที่โตสูงสุด +5.9% MoM 2M54 เงินฝากเพิ่มขึ้น +3.3% โดย BBL ระดมเงินฝากสูงสุด +5.4% YTD ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของสินเชื่อ สำหรับ TISCO มีเงินฝากหดตัวมากสุดถึง -13.2% YTD ทั้งนี้เป็นเพราะปกติ TISCO จะระดมทุนผ่านการออกตั๋ว B/E ด้วย ซึ่งถ้ารวมก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ LDR เฉลี่ย 7 ธนาคารอยู่สูงถึง +1.3 เท่า สูงขึ้นเป็นลำดับจากเดือนก่อน แสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นเป็นลำดับเช่นกัน
สำหรับผลกระทบด้านสินเชื่อเดือน ก.พ.54 ยังโตต่อเนื่อง 2M54 โต +2.8% ถือว่าเป็นการเติบโตที่ดีพอควร และยังเติบโตทุกธนาคารถ้วนหน้า ซึ่งเริ่มเห็นความต้องการสินเชื่อจากภาคธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้นล่าสุดมีการประกาศการร่วมปล่อยกู้โครงการเอกชนรายใหญ่ (Syndicate Loans) หลายโครงการส่งผลให้สินเชื่อภาคธุรกิจเริ่มกลับมาโตโดดเด่นมากขึ้น
ส่วนทั้งปี 54 เชื่อว่าแนวโน้มของสินเชื่อจะยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องจากการขยายกำลังการผลิตในหลายๆ อุตสาหกรรม ประกอบกับการลงทุนของภาครัฐภายหลังการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นจะดีต่อ NIM ของธนาคาร และผลักดันให้กำไรของระบบธนาคารยังเติบโตสูงขึ้นในปี 54
สำหรับ BBL ถือได้ว่ามีสินเชื่อที่โตโดดเด่นมากในเดือนนี้ คาดว่าเป็นผลจากการร่วมปล่อย syndicate loan และการปล่อยกู้ธุรกิจเอกชนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอย่าง BBL
ด้านคำแนะนำ เรายังให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารระดับ Overweight เนื่องจาก
เริ่มเห็นความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนเข้ามามากขึ้นจากกำลังการผลิตในหลายภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มเต็มกำลังการผลิต ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ยังมีต่อเนื่องในปีนี้ สำหรับ Top Picks เราเลือก KBANK (ราคาเป้าหมายปี 54 ที่ 154 บาท) และSCB (ราคาเป้าหมายปี 54 ที่ 136 บาท)

* บล.กรุงศรีอยุธยา คาดผลงาน 1Q54 มีทิศทางสดใส
ขณะที่ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา ประเมิน Banking Sector และแนะนำ 'Overweight' เช่นกัน โดยคาดว่า ผลการดำเนินงาน 1Q54 ยังมีทิศทางเติบโต YoY และ QoQ ด้วยปัจจัยบวกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชน ประสานกับโครงการลงทุนของรัฐบาล รวมทั้งคุณภาพสินทรัพย์แข็งแกร่งของกลุ่มฯ ปัจจัยเหล่านี้จะสนับสนุนการเติบโตต่อเนื่องของผลการดำเนินงานงวด 1Q54
โดยคาดการณ์กำไรสุทธิของกลุ่มฯ (ไม่รวม BAY) ใน 1Q54 อยู่ที่ราว 2.7-2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเติบโต 15%YoY และ 10% QoQ ขณะที่เราคงประมาณการกำไรสุทธิรวมทั้งปี 54 ที่ 1.11 แสนล้านบาท (+12.9%YoY) สาระสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยของสินเชื่อ และรายได้ค่าธรรมเนียม
อย่างไรก็ตาม ยังคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคาร “มากกว่าตลาด” และมองว่าหุ้นกลุ่มธนาคารมีปัจจัยบวกสนับสนุนจากความสามารถการทำกำไรเติบโต คาด ROE ของกลุ่มฯ เพิ่มขึ้นเป็น 13.8% ในปี 54 และ 14.1% ในปี 55 จาก 13.7% ในปี 53 และงบดุลแข็งแกร่ง คุณภาพสินทรัพย์ และเงินกองทุนแข็งแกร่งสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มฯ แนะนำ “ซื้อลงทุน” KBANK BBL SCB KTB เนื่องจากได้รับประโยชน์สูงจาก Investment cycle และทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

* บล.โกลเบล็ก ชี้กลุ่มแบงก์รับประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.โกลเบล็ก ระบุว่า ยังคงแนะนำ "Overweight" หุ้นกลุ่มธนาคาร เพราะปัจจัยพื้นฐานของหุ้นกลุ่มนี้ยังแข็งแกร่ง เนื่องจากได้รับประโยชน์เต็มที่จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งเศรษฐกิจในปี 54 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 53 ในอัตราที่ลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากฐานการเติบโตที่สูง
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ น่าจะยังเติบโตได้ดีใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา จากความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนมากขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มกำลังการผลิต ขณะที่สินเชื่อที่เติบโตในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
นอกจากนี้ การเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคที่จะออกมาอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลดีต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ให้ปรับดีขึ้น
ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญกลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้ผลประกอบการปี 54 ของกลุ่มธนาคารยังคงเติบโตต่อเนื่องในปีนี้ เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น "Overweight" โดยเน้นให้ลงทุนในหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ BBL KBANK KTB และ SCB

* บล.ธนชาต แนะทยอยสะสม BAY ส่วน BBL-KBANK-KTB-SCB ซื้อช่วงอ่อนตัว
ด้านฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ธนชาต ระบุว่า BAY “ทยอยซื้อสะสม” โดยพื้นฐานของเรามีการคาดการณ์ว่า BAY จะรายงานกำไรสุทธิงวด 1Q11 แข็งแกร่งที่ 2.67 พันลบ. เพิ่มขึ้น 29%y-y และ 18%q-q โดยกำไรที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น y-y มีปัจจัยผลักดันมาจากสินเชื่อที่เติบโตสูงขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการตั้งสำรองที่ลดลง ขณะที่กำไรเพิ่มขึ้น q-q น่าจะมีสาเหตุจากค่าใช้จ่ายที่ลดลง
ภายใต้การคาดการณ์ของเรา กำไรงวด 1Q11F คิดเป็น 24% ของประมาณการกำไรทั้งปี จากการที่กำไรมีแนวโน้มที่แข็งแกร่งขึ้นในไตรมาสถัดๆ ไป เนื่องจากค่าใช้จ่ายตั้งสำรองที่ลดลง เราจึงยังคงประมาณการอัตราการเติบโตของ EPS ของเราที่คาดว่าจะโตราว 28% สำหรับปีนี้ และราคาเป้าหมายที่ 34 บาท โดยทางเทคนิคประเมินว่าช่วงราคาจะมี GAP ในการชะลอตัวไม่มาก แนวรับ 23.70-23.50 บาทน่าจะทำฐานและดีดกลับได้ ซึ่งเมื่อวาน NVDR มียอดขายสุทธิลดลงเหลือ 36 ลบ. จากวันศุกร์ที่ขายสุทธิ 86 ลบ.
ส่วนหุ้นธนาคารใหญ่ BBL -KBANK- KTB & SCB “แนะถือต่อ/ซื้อเพิ่มช่วงอ่อนตัว”เพราะ SETBANK ยังเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้ม Sideway up ที่มีเป้าหมายแนวต้าน 418-420 จุด สอดคล้องกับหุ้นใหญ่ในกลุ่มที่มีแนวโน้มแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ BBL ที่มีเป้าหมายแนวต้านหลัก 170 บาท และ KBANK มีเป้าหมายแนวต้าน 130-132 บาท KTB เป้าหมายแนวต้าน 19 บาท และ SCB ผ่าน 106.50 บาทเป็นสัญญาณซื้อมีแนวต้านถัดไป 110 บาท

* บล.ซิกโก้ ให้ BBL เด่นสุด
เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซิกโก้ เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/2554 คาดว่าจะเติบโตในทิศทางที่ดีกว่างวดเดียวกันของปีก่อน เพราะได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขสินเชื่อที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐที่ต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมาสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังเติบโต 2.7% ส่วนในช่วงที่เหลือของปีนี้คาดว่าภาพรวมของผลประกอบการในหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังคงมีโอกาสขยายตัวไปในทิศทางที่ดีตามตัวเลขสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามหุ้นที่มีความโดดเด่นและแนะนำให้ลงทุนในกลุ่มธนาคารพาณิชย์คือธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL โดยในปี 2554 คาดว่า BBL จะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 26,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% จากปีก่อนที่ 24,593 ล้านบาท ส่วนราคาเป้าหมายในปีนี้ให้ไว้ที่ 182 บาทต่อหุ้น

* น้องใหม่ LH BANK เตรียมเข้าตลาด เม.ย.นี้
ด้านฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง ประเมินว่าการจดทะเบียน LHBANK เข้าตลาดหลักทรัพย์ (เดือน เม.ย.2554) จะเป็นปัจจัยบวกหลักผลักดันราคาหุ้น LH และ QH (ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สองราย ซึ่งหลังการออกหุ้น IPO LH จะถือสัดส่วนหุ้น 36% และ QH ถือ 22%) เราคาดว่าตลาดจะปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้นสำหรับทั้ง LH และ QH เพื่อสะท้อนส่วนแบ่งกำไรจาก LHBANK ที่นักวิเคราะห์กลุ่มธนาคารได้นำเสนอประมาณการจริงออกมา
ทั้งนี้การจดทะเบียน LHBANK ในตลาดหลักทรัพย์จะปลดล็อคมูลค่าแฝงของ LH และ QH ที่มีค่ามหาศาล นอกจากนี้เรายังเห็นแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มราคาหุ้นทั้งสอง ซึ่งขึ้นกับระดับราคาตลาดของ LHBANK เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” สำหรับ LH ที่ราคาเป้าหมาย 7.20 บาท และ “ซื้อ” QH ที่ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท ปัจจุบัน LH ซื้อขายที่ core PER 15.0 เท่าและ net PER ที่ 10.4 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปี 2548-2553 ที่ 17.3 เท่า และ QH ซื้อขายที่ PER ปี 2554 ที่ 9.1 เท่าเทียบค่าเฉลี่ยที่ 9.3 เท่า
พร้อมกันนี้ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2554-2555 ขึ้นสำหรับ LH และ QH เพื่อสะท้อนประมาณการกำไรของ LHBANK ซึ่งประมาณการโดยนักวิเคราะห์กลุ่มธนาคาร โดยกำไรของ LH ปรับขึ้น 2% ในปี 2554 และอีก 4% ในปี 2555 สำหรับ QH ปรับขึ้น 4% สำหรับปีนี้และ 5% สำหรับปีหน้า

* ฟิทช์ คาด แนวโน้มธนาคารพาณิชย์ไทยมีเสถียรภาพ ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า
บริษัท ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด รายงานว่า แนวโน้มของธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงมีแนวโน้มมีเสถียรภาพในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ฟิทช์คาดว่าสภาวะเศรษฐกิจจะยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนผลการดำเนินงานโดยรวมของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ปัจจัยเสี่ยงหลักอาจจะรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเติบโตในระดับสูงของสินเชื่อสำหรับธุรกิจรายใหญ่ในบางกลุ่มอุตสาหกรรมและสินเชื่อรายย่อย ต้นทุนทางการเงินที่อาจปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก
รวมทั้งความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจเพิ่มขึ้น จากการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง อย่างไรก็ตามระดับของรายได้และเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะสามารถรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวลงอย่างฉับพลันของเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง
แม้ว่าต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ฟิทช์คาดว่าความต้องการสินเชื่อที่อยู่ในระดับสูง รายได้ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น และการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในระดับไม่สูงมากนัก จะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อผลประกอบการโดยรวม ฟิทช์เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่จะสามารถบริหารต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก เนื่องจากมีฐานลูกค้าเงินฝากที่ใหญ่กว่า
ฟิทช์มองว่า การเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้ของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ช่วยรักษาระดับเงินกองทุนให้สอดคล้องกับอันดับเครดิตของธนาคาร อีกทั้ง ฟิทช์ยังเห็นว่าธนาคารไทยไม่ได้มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนที่มาจากการออกตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายทุน (hybrid capital securities) ในระดับที่สูงนัก เนื่องจากทุนจดทะเบียนชำระแล้วและกำไรสะสม ซึ่งมีคุณสมบัติในการรองรับผลขาดทุนของธนาคารสูงที่สุด ยังคงเป็นส่วนประกอบหลักในโครงสร้างเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทย
คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องและอัตราส่วนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวสูงขึ้น โดย ณ สิ้นปี 2553 ธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 4.4% (5.9% ณ สิ้นปี 2552) และมีอัตราส่วนสำรองหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 91% (76% ณ สิ้นปี 2552) ในระยะยาว ฟิทช์คาดว่ากระบวนการอนุมัติสินเชื่อที่รัดกุมมากขึ้น รวมทั้งการป้องกันและการแก้ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่รวดเร็วขึ้นน่าจะช่วยให้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกัน ฟิทช์มองว่าความเสี่ยงด้านการระดมเงินทุนและสภาพคล่องน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ไทยจะมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเฉลี่ยที่ 97% (สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 6 อันดับแรก ซึ่งมีสินทรัพย์รวมประมาณ 80% ของระบบ) ซึ่งโดยทั่วไปยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชีย
แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านการระดมเงินทุนยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้เนื่องจากธนาคารมีการถือครองสินทรัพย์สภาพคล่องในระดับที่พอเพียงและมีฐานลูกค้าเงินฝากที่มั่นคง เหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เงินกองทุนของธนาคารมีความเสี่ยงที่จะลดลง เช่น การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับสูงเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ และ/หรือ สินเชื่อที่มีการเติบโตในระดับที่สูงมากกว่าปกติ อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิต ขณะเดียวกันการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ที่สูงขึ้นและอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ต่ำลง น่าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวม


-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น