Code 380 : 18/03/54 จะหลุด 1,000 จุด หรือไม่

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2554

ATT Code : จะหลุด 1,000 จุด หรือไม่


สรุปสภาวะการซื้อขาย วันพฤหัสที่ 17/03/54 : SET ยังคง Sideway เป็น Doji ซึ่งยังไม่สามารถปิด Gap ที่ 1003 จุด ได้ = ยังผันผวนอยู่ Sideway down

เมื่อคืนวานนี้ ทางยุโรปและอเมริกายังมีความกังวลเรื่องความขัดแย้งตะวันออกกลาง และเตาปฏิกรนิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นจะระเบิดอีกหรือไม่ ทำให้ตลาดทั้งยุโรปและอเมริกาลบไปประมาณ 2 % ส่งผลให้ตลดเอเซียในตอนเช้าญี่ปุ่นและฮ่องกงเปิดลยไป 2 -3% ก่อนที่จะ Rebound ขึ้นมาปิดลบประมาณ 1% ทำให้ SET บ้านเรา ก็ Sideway ไปตามตลาดเพื่อนบ้าน แต่ยังแข็งแรงกว่า โดยระหว่างวันมีหลุด 1000 จุดลงไป แต่ช่วงบ่ายพอตลาดยุโรปเปิดขึ้นมาบวกประมาณ 1 % ก็ส่งผลให้ SET สามารถ Rebound ขึ้นมาตาม และทำให้ปิดลบไปเพียง 0.57% อยู่ที่ระดับ 1002 .34 จุด ใกล้เคียงกับราคาเปิดในตอนเช้า

แนวโน้มในวันศุกร์ที่ 18/03/54 นี้ คาดว่าตลาดยังมีความผันผวนอยู่ โดย SET มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ 999-1,007 จุดโดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับที่ 1,000 จุด และแนวรับหลักที่ BB Average ที่ 999 จุด
แนวต้านที่ 1,006 และ 1,007 จุด

Indicators ต่างๆ ของเมื่อวานนี้ (17/03/54) : ทุก Indicators ต่ำลงทุกเส้น
1. (Major = Sell Signal : 1. MACD <. Signal.... แต่ Minor ยังดีอยู่ 2. MACD > 0)
(-) MACD Oscillator ติดลบมากขึ้น โดยลบจาก -0.28 มาเป็น -1.03 ... ทำให้สัญญาณ Sell Signal แข็งแรงขึ้น

2. (OBV - : Week)
(-) OBV ลดลงจาก 532 มาที่ 503.... แสดงให้เห็นว่ามีแรงซื้อขายสะสมลดลง ส่งสัญญาณในทางลบอีกครั้ง

3. (1.CCI <. 100 : Major = Sell Signal, 2. CCI <. ศูนย์ : Miinor = Sell Signal)
(-) CCI ลดลงจากจาก 1.83 มาที่ -72... Minor มีสัญญาณเป็นลบ เพราะ CCI มีค่าน้อยกว่า ศูนย์ แล้ว

4. (DI+ > DI- : Buy Signal)
(-) เส้น ADX : DI+(27.16 : ลดลงมา) แต่ยังเหนือกว่าเส้น DI-(25.88: เพิ่มขึ้นมา) ทั้ง 2 เส้น เริ่มห่างน้อยลง (จาก 5.85 เป็น 1.30).... ทำให้แนวโน้มกลับมาเป็นลบอีกครั้ง

5. (%R < -10 ลงมาอีกครั้ง เมื่อ 15/03/54 : Major = Sell Signal)
(-) Williams %R ลบน้อยลง จาก -43 ลงมาที่ -76...

6. (RSI > 50% : Major = Strong)
(-) RSI ลงมาจาก 54% มาอยู่ที่ 51%... ยังแข็งแรงอยู่ และมีสัญญาณเริ่มกลับมาลบอีกครั้ง

7. (%K < %D = Sell Signal)
(-) Slow Stochastic : %K(63) ตัด %D(72) ตัดลงอยู่


****************
Historical Technics
****************
Buy Signal
1. MACD เปลียนจาก Buy Signal ไปเป็น Sell Signal แล้ว (16/03/54)
2. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = Major เป็น Bullish... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)
3. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA 10 (976.12 )ขึ้นมา... Majorเป็น Golden Cross = Buy Signal (17/02/54)
4. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)
5. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) (10/03/54)

Sell Signal
1. (-) SET หลุด BB Top ลงมาแล้ว = SET อ่อนลงมา (09/03/54)
2. (-) 2.1 CCI ตัด 100 ลงมา (44) : Major = Sell Signal (11/03/54)
3. (-) %R < -10 : Sell Signal (15/03/54) 4. (-) Slow Sto : %K < %D = Sell Signal (15/03/54) 5. (-) SET ต่ำกว่าเส้น 10 วัน แล้ว : Weak (15/03/54) 6. New (-) MACD(6.60) ตัดเส้น Signal (6.88) ลงมา = Major:Sell Signal (16/02/54)

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
18 มีค. 54 ( -5.78 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ปรับตัวขึ้น 1007 – 10 จุด
แนวโน้มในวันศุกร์นี้ ดัชนีพอมีโอกาสปรับตัวขึ้นเล็กน้อยแถว 1007 – 1010 ใกล้จุดสูงสุดของวันพุธ และเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง จากนั้น ตลาดน่าจะยังคงแกว่งตัวอีกสองถึงสามวัน ในกรอบ 998 – 1010 หรือระหว่างจุดต่ำสุดของวันพฤหัส ถึงจุดสูงสุดของวันพุธ ใต้เส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง

ขณะที่การปรับตัวลง ต่ำกว่า 996.44 จุดต่ำสุดของวันอังคาร และแนวรับนัยสำคัญของเส้นค่าเฉลี่ย 25 สัปดาห์ จะถือเป็นสัญญาณการปรับตัวลงต่อของตลาดบริเวณ 970 – 975 จุด

หุ้นเด่น
PTTEP
ปรับตัวขึ้นอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมงได้อีกครั้ง รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 181.00จุดสูงสุดวันพฤหัส เป้าหมายสองสามวัน 184.00 – 186.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 179.50 )

IRPC
กำลังปรับตัวในกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะชั่วโมง รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 6.10 กรอบบนของสามเหลี่ยม เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 6.45 – 6.55( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 5.85 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTT ต่ำกว่า 333 ลง 325 - 327
BANPU ต่ำกว่า 732 ลง 710 – 720
IRPC รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
IVL แกว่งตัว 48.50 – 50.50
CPF เกิน 25.25 ขึ้น 26 – 26.50
PTTEP รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
BBL ไม่เกิน 159 ลง 145 – 150
TOP ต่ำกว่า 79.75 ลง 77 – 78.50
KBANK ไม่เกิน 121.50 ลง 110 – 115
JAS ไม่ต่ำกว่า 2.32 ขึ้น 2.80 – 3.60

-----------------------------------------------------------------------------
เงาหุ้น - ญี่ปุ่นยังคุกรุ่น!!
ดัชนีหุ้นวันที่ 17 มี.ค.54 ปิดที่ 1,002.35 จุด ลดลง 5.78 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 24,525 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 1,586 ล้านบาท

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.เคที ซีมิโก้ มองแนวโน้มตลาดระยะสั้นว่า ยังคงให้น้ำหนักกับผลกระทบจากภัยพิบัติในญี่ปุ่น โดยกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และความรุนแรงในตะวันออกกลางยังเป็นปัจจัยกดดัน ซ้ำเติมตลาดหุ้นเอเชียรวมทั้งไทย ให้กรอบการเคลื่อนไหวระยะสั้นของดัชนี โดยมีแนวรับที่ 1,000-994 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,010-1,030 จุด

บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า มีนักวิเคราะห์ประเมินความเสียหายของญี่ปุ่นครั้งนี้ที่ 10-16 ล้านล้านเยน มากกว่าแผ่นดินไหวที่โกเบที่มีมูลค่าความเสียหาย 10 ล้านล้านเยน

โดยโกลแมนแซคส์ ประเมินความเสียหาย 16 ล้านล้านเยน และจีดีพีอาจลดลง 0.5-2.0% ในไตรมาส 2 ปีนี้ ส่วน Societe Generale ประเมินความเสียหาย 10 ล้านล้านเยน หรือ 2% ของจีดีพี ขณะที่ Bank of Americal ML ประเมินว่าจีดีพีปีนี้อาจลดลง 0.5%

ส่วนเจพี มอร์แกน ปรับจีดีพีปีนี้โตลดลง เป็น 1.4% จากเดิม 1.7% แต่ปรับเพิ่มปีหน้าเป็น 2.0% จากเดิม 1.8% ด้านเครดิตสวิส ประเมินความเสียหาย 14-15 ล้านล้านเยน กระทบจีดีพีปีนี้ 0.5-1.0% ขณะที่ยูบีเอสปรับจีดีพีปีนี้ลงเป็น 1.4% จากเดิม 1.5%

แต่เชื่อว่าผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยมีจำกัด เพราะญี่ปุ่นลงทุนในหุ้นไทยไม่มาก ขณะที่การลงทุนทางตรง (FDI) เป็นการลงทุนระยะยาว นอกจากไม่น่ากระทบแล้ว ยังเป็นโอกาสให้ญี่ปุ่นย้ายฐานผลิตมาไทยมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นผลบวกต่อกลุ่มนิคมฯ คือ AMATA, HEMRAJ และ ROJNA ซึ่งมีลูกค้าหลักคือญี่ปุ่น

ส่วน บล.เอเซียพลัส แนะซื้อทั้ง TOP, PTTAR, PTTCH และ IRPC จากปิโตรเคมีทั้งกลุ่มที่อยู่ในช่วงขาขึ้นของวงจรอุตสาหกรรม และยังสามารถซื้อเก็งกำไรระยะสั้นได้สำหรับ TPC และ VNT ตามราคา และ Spread ผลิตภัณฑ์ PVC ที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง

ด้าน บล.เกียรตินาคิน แนะเลี่ยง AOT และ THAI ชี้ว่ากลุ่มธุรกิจการบินยังมีความเสี่ยงต่อจากกรณีญี่ปุ่น จากสัดส่วนรายได้ที่อิงกับจำนวนผู้โดยสารมากถึง 42% จึงยังไม่แนะให้เข้าลงทุนช่วงนี้!!

อินเด็กซ์ 51

-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย

-----------------------------------------------------------------------------
EFinance Thai : TTCLจ่อรับงานบูรณะญี่ปุ่น!!
"โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น"แจ่มจรัส!! จ่อรับงานบูรณะโรงกลั่นและโรงปิโตรเคมีที่ได้รับความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติในญี่ปุ่น หลายฝ่ายคาด TE-CH สองผู้ถือหุ้นใหญ่ป้อนงานให้ ส่วนปีนี้รายได้โตไม่ต่ำกว่า 40% หลัง Backlog ทะลัก 8.8 พันล้านบาท รับรู้ภายในปีนี้ 5.8 พันล้านบาท ด้านโบรกเกอร์แนะซื้อ ให้ราคาเหมาะสม 11.30-12 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นบริษัทโตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือ TTCL ฉายแววโดดเด่นในช่วงนี้ สวนทางหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างในกลุ่มที่ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในกรอบแคบ เพราะถูกกดดันจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นและทิศทางดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มพุ่งต่อเนื่อง โดยสาเหตุที่ TTCL ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดดเด่นเป็นผลมาจากหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าบริษัทมีโอกาสได้งานบูรณะความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติในญี่ปุ่น โดยเฉพาะงานบูรณะและก่อสร้างโรงกลั่นและโรงปิโตรเคมี ซึ่ง TTCL มีความชำนาญมาก
นอกจากนี้ TTCL ยังมีจุดแข็งตรงที่มี TOYO ENGINEERING CORPORATION(TE) และ CHIYODA CORPORATION(CH) ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 26% และ 7% ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทถือเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีความชำนาญในเรื่องงานก่อสร้างโรงกลั่นและโรงปิโตรเคมีของญี่ปุ่น ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงที่จะส่งผ่านงานมาให้กับ TTCL
ขณะเดียวกัน TTCL ยังเป็นบริษัทที่มีอัตราการเติบโตแข็งแกร่ง โดยในปีนี้ผู้บริหารคาดว่ารายได้จะโตถึง 40% และล่าสุดมีงานในมือจำนวน 8.8 พันล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ภายในปีนี้จำนวน 5.8 พันล้านบาท ด้านนักวิเคราะห์ลงความเห็นแนะนำซื้อ ให้ราคาเป้าหมายระหว่าง 11.30-12 บาท

***** "สุวิทย์"มั่นใจรายได้ปีนี้โต 40%
นายสุวิทย์ มโนมัยยานนท์ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสฝ่ายขายและสัญญา บมจ.โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น(TTCL) เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่า หลังจากที่เกิดภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ จนทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดเข้าถล่มในพื้นที่ประเทศญี่ปุ่น จนส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานปิโตรเคมี และโรงงานเคมี ได้รับความเสียหายนั้น บริษัทฯ ในฐานะที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่และพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทฯ อยู่ในประเทศดังกล่าว ก็พร้อมที่จะเข้าไปรับงานซ่อมแซมโรงงานที่เสียหาย แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันยังเร็วเกินไปที่จะประเมินมูลค่าความเสียหาย
'คงเร็วไปที่จะประเมินความเสียหายว่ามีมูลค่าเท่าใด และบริษัทฯ จะได้รับอานิสงส์จากกรณีนี้มากน้อยเพียงใด อีกอย่างก็ไม่ต้องการได้รับอานิสงส์จากความลำบากและความเสียหายของผู้ได้รับผลกระทบเท่าไหร่ แต่ถ้าหากมีการเปิดประมูลให้ยื่นซองเสนอราคาซ่อมแซมปรับปรุงโรงงานที่ได้รับผลกระทบบริษัทฯ ก็พร้อมที่จะเข้าไปรับงาน ส่วนจะได้รับงานมากน้อยแค่ไหนคงยังตอบไม่ได้เช่นกัน' นายสุวิทย์ กล่าว
สำหรับในปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าหมาย Net Profit Margin อยู่ที่ระดับ 5-6% โดยจะพยายามควบคุมและบริหารจัดการต้นทุนในการดำเนินงานให้ดี นอกจากนี้ ยังจะเพิ่มสัดส่วนการรับงานในต่างประเทศให้มากขึ้น เพราะมีมาร์จิ้นอยู่ในระดับที่ดีกว่าในประเทศ ส่วนเป้าหมายรายได้ในปี 2554 บริษัทฯ คาดว่าจะขยายตัว 40% จากปี 2553 ที่ทำได้ 5,318.14 ล้านบาท เพราะสิ้นเดือนมกราคม 2554 บริษัทฯ มีงานในมือ (Backlog) อยู่ที่ 8,800 ล้านบาท โดยในปีนี้จะทยอยรับรู้รายได้เข้ามาจำนวน 5,800 ล้านบาท นอกจากนี้ ช่วงที่เหลือของปีบริษัทฯ ยังเตรียมเข้าประมูลงานใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย
'ปีที่แล้วบริษัทฯ Net Profit Margin อยู่ที่ 6.4% หรือเพิ่มขึ้น 100% จากปี 2552 ที่ทำได้ 3.3% ส่วนปี 54 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ Net Profit Margin อยู่ที่ระดับ 5-6% ถึงแม้จะเป็นระดับที่ไม่สูงเท่ากับปีก่อน แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีและน่าพอใจสำหรับบริษัทฯ ด้วย ' นายสุวิทย์ กล่าว
ขณะเดียวกัน ในระหว่างปี 2554 และปี 2555 บริษัทฯ เตรียมเข้าประมูลงานใหม่มูลค่ารวม 60,000 ล้านบาท โดยจากสถิติย้อนหลัง 4 ปี บริษัทฯ เข้าประมูลงาน 3 โครงการ จะได้รับงานจำนวน 1 โครงการ ฉะนั้นในการเข้าประมูลงานครั้งนี้จึงคาดว่ามีโอกาสได้รับงานในสัดส่วน 30% ของมูลค่างานทั้งหมด นอกจากนี้บริษัทฯ ยังตั้งเป้าหมายว่าปีนี้สัดส่วนการรับงานในต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมที่มีสัดส่วนการรับงานดังกล่าวอยู่ที่ 10%

***** FSS มอง TTCL มีโอกาสได้งานบูรณะในญี่ปุ่น
บทวิเคราะห์บล.ฟินันเซีย ไซรัส(FSS) ระบุว่า TTCL เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีโอกาสในการได้งานบูรณะความเสียหายในญี่ปุ่นเพราะ TTCL มีความชำนาญในการก่อสร้างโรงกลั่นและโรงปิโตรเคมี ในญี่ปุ่นมีผู้รับเหมารายใหญ่ที่ชำนาญงานประเภทนี้ 3 ราย และ 2 ใน 3 รายเป็นผู้ถือหุ้นของ TTCL แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 12 บาท

***** ฟิลลิปแนะซื้อ ให้เป้า 11.30 บ.
บทวิเคราะห์บล.ฟิลลิป ระบุว่า แนะนำซื้อ TTCL ให้ราคาเหมาะสมที่ 11.30 บาท โดยคาดหมายงานใหม่ปีนี้จะมีมูลค่ามากกว่ามูลค่างานที่เซ็นใหม่ในปี 53 ที่ราว 9-10 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากมูลค่างานตามแผนประมูลงานปี 54-55และ ความร่วมมือทางธุรกิจจากผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ภาพรวมงานใหม่ปีนี้มีมากขึ้น
นอกจากนี้ TTCL มีแผนประมูลสำหรับปี 54-55 ทั้งหมด 13 โครงการ มูลค่า 64 พันล้านบาท โดยมีประมาณ 3 โครงการ มูลค่ารวม 12 พันล้านบาท ที่ TTCLมีโอกาสสูงในการชนะการประมูลหากเป็นเช่นนั้น งานเซ็นใหม่ปีนี้จะต้องดีกว่ามูลค่างานเซ็นใหม่ในปีก่อนที่ 9-10 พันล้านบาท ในเวลาเดียวกัน ทางบริษัทยังคงเน้นการเลือกประมูลและก่อสร้างในโครงการที่มี Marginดี รวมถึงการหางานที่เป็น EPCM ที่ดำเนินการครบวงจรตั้งแต่ออกแบบวิศวกรรม/บริหารโครงการ, จัดซื้ออุปกรณ์ และก่อสร้าง ซึ่งทางบริษัทจะใช้จุดแข็งด้านต้นทุนบุคลากรดำเนินการในงานออกแบบ/บริหาร/จัดซื้อ และใช้ Subcontract ในส่วนงานก่อสร้าง โดยงานออกแบบ//บริหาร/จัดซื้อมีสัดส่วน 70% ทำให้ Margin โครงการแบบนี้เกิน 10% ทั้งนี้ เป้าหมายสัดส่วนงานนี้จะเพิ่มจากปีก่อน 10% เป็น 20%
ขณะที่ล่าสุด Toyo Engineering (TE) และ Chiyoda (CH) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TTCL ในสัดส่วน 26% และ 7% ได้มีการร่วมมือทางธุรกิจกับ TTCL โดย TE ถนัดในงานโรงกลั่น และ CH ถนัดงานโรงก๊าซ LNG ทำให้โอกาสทางธุรกิจของ TTCL มากขึ้น ดังนั้น ทางบริษัทมีแผนขยายงานไปในหลายประเทศในอาเซียน, ตะวันออกกลาง, บังคลาเทศ และสหรัฐฯ คาดว่างานใหม่จากความร่วมมือธุรกิจจะเริ่มเข้ามามากขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
นอกจากนี้บริษัทได้เริ่มลงทุนในโรงไฟฟ้าขนาด 110 MW มูลค่าลงทุน 6 พันล้านบาท แบ่งเป็นทุนจดทะเบียน 1.5 พันล้านบาท (หุ้นสามัญ 400 ล้านบาทและหุ้นบุริมสิทธิ์ 1.1 พันล้านบาท) โดยทาง TTCL เข้าลงทุนผ่านหุ้นบุริมสิทธิ์ ทางบริษัทคาดหมายผลตอบแทนเงินปันผลปีละ 115 ล้านบาทตั้งแต่ปี 56 ทางฝ่ายประเมินมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนนี้ประมาณ 1.20 บาทต่อหุ้น ในเวลาเดียวกัน ทางบริษัทเป็นผู้ก่อสร้างโครงการนี้และรับรู้รายได้การก่อสร้างในปี 54-55
อย่างไรก็ตามคาดหมายการกู้เงินเพื่อการลงทุนในโครงการนี้ประมาณ 1 พันล้านบาทในปี 54-55 โดยรวม ทางฝ่ายมองเป็นการลงทุนเพื่อสร้างแหล่งรายได้ที่กระจายความเสี่ยงจากรายได้ของการก่อสร้างที่ผันผวน ทางบริษัทยังมีแผนจะร่วมลงทุนโรงไฟฟ้า IPP ในประเทศ อีก 2 โรง และอีกโรงที่อินโดนีเซีย ทางฝ่ายคาดหมายการเพิ่มรายได้จากธุรกิจไฟฟ้าจะเป็นกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า
ส่วน Backlog ล่าสุดที่ 8.8 พันล้านบาท รองรับ 75% ประมาณการรายได้ของทางฝ่ายปีนี้ที่ 7.1 พันล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 25% จะมาจากงานใหม่ในปี 54 รายได้ปี 54 จะเติบโต 35% ขณะที่การควบคุมต้นทุนที่ดี และสัดส่วนงาน EPC มากกว่า 20% จะช่วยให้ Margin อยู่ในระดับสูงเกิน 10% ได้ กำไรมีแนวโน้มเติบโต 28% สู่ระดับ 432 ล้านบาท หรือ 0.90 บาทต่อหุ้น โดยมองว่ากลยุทธ์การสร้าง Growth ยังไปได้ดี ทางฝ่ายยังให้ Valuation ของหุ้น TTCL ที่ 11.30 บาท (2.7 เท่า BV-2554 รวมมูลค่าโรงไฟฟ้า) คงคำแนะนำ “ซื้อ”

***** เอเซีย พลัสชี้ฐานะการเงินแข็งแกร่ง
บทวิเคราะห์บล.เอเซียพลัส ระบุว่า แม้จะมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น แต่การก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมี และโรงไฟฟ้าในหลายภูมิภาคทั่วโลกที่ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง รวมถึงการได้ Chiyoda Corp. ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิศวกรรมรายใหญ่ของญี่ปุ่นเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้น สร้างโอกาสให้กับ TTCL ในการเข้าร่วมประมูลงานมากขึ้น โดยปัจจุบัน TTCL อยู่ในระหว่างการเข้าร่วมประมูลงานทั้งภายในและต่างประเทศ กว่า 13 โครงการ มูลค่ารวม 64,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มี 3 โครงการ มูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาท ที่ TTCL มีความมั่นใจค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมที่เคยว่าจ้าง TTCL มาก่อน และเป็นการแข่งขันกับผู้รับเหมาฯ จากประเทศญี่ปุ่น ที่ TTCL มีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนด้านบุคลากร
สำหรับปี 2554 TTCL ตั้งเป้ารับรู้รายได้เพิ่มขึ้น 40%YoY อยู่ที่ระดับ 7.3 พันล้านบาท โดยรายได้จำนวน 5.8 พันล้านบาท จะมาจาก Backlog เดิมที่ยกมาจากปี 2553 ที่มีประมาณ 8.8 พันล้านบาท ขณะที่ส่วนที่เหลือ จะมาจากงานที่ประมูลได้ในระหว่างปี สำหรับประสิทธิภาพการทำกำไร TTCL ตั้งเป้าที่จะรักษา Net Profit Margin ให้ได้สูงกว่า 5% จากปี 2553 ที่สามารถทำได้สูงถึง 6.41%
นอกจากนี้ TTCL ยังมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง โดยดำรงสถานะเป็น Net Cash มีเงินสดในมือกว่า 1.7 พันล้านบาท ทำให้ TTCL แสวงหาโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว และเพิ่มเสถียรภาพของกำไรในอนาคต ด้วยแผนการเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าหลายแห่งทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่ง TTCL จะเข้าไปรับงานก่อสร้างในฐานะผู้รับเหมาก่อสร้างด้วย สำหรับปี 2554-2555 TTCL ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 2 พันล้านบาท ซึ่งล่าสุด TTCL ได้เข้าไปถือหุ้นบุริมสิทธิ์สัดส่วน 71% ในบริษัท นวนครการไฟฟ้า (NNE) ซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ขนาด 110 MW ใช้เงินลงทุน 1,100 ล้านบาท โดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลปีละ 115 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่ NNE มีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. เริ่มตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป
ส่วนนโยบายการเน้นรับงานที่ให้ Margin สูง ของบริษัท โดยตั้งเป้ารายได้อย่างอนุรักษ์นิยมในปี 2554 เพียง 7.3 พันล้านบาท ทำให้ฝ่ายวิจัยมีการปรับลดประมาณการรายได้ปี 2554 ลง 24% เหลือ 7.35 พันล้านบาท แต่ได้มีการปรับเพิ่มประมาณการ gross margin ขึ้นจาก 10.5% เป็น 12.5% โดยคาดว่า ปี 2554 TTCL จะมีกำไรจากการดำเนินงาน 345 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2%YoY ภายใต้ Fair Value เดิมที่กำหนดด้วย PER 14 เท่า จะได้ราคาเหมาะสมที่ 10.04 บาท แต่ฝ่ายวิจัยมีการประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของ TTCL ใหม่ ด้วยการบวกมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนในโรงไฟฟ้า NNE เข้าไปอีก 1.21 บาท/หุ้น ทำให้ Fair Value เพิ่มขึ้นเป็น 11.25 บาท แนะนำ ซื้อ




-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.

-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น