Code 388 : 30/03/54 Sideway ในกรอบ EMA 5D และ BB Top

วันพุธที่ 30 มีนาคม 2554

ATT Code : Sideway ในกรอบ EMA 5D และ BB Top



สรุปสภาวะการซื้อขาย วันอังคารที่ 29/03/54 : วันนี้พลังงานและแบงค์ดันให้ SET ขึ้นไป High ที่ 1039 แล้วก็มีแรงขายพลังงานออกมาอย่างเดียว ส่วนกลุ่มแบงค์ก็ยังยันไว้ได้อยู่ ทำให้ย่อลงมาปิดที่ 1036 จุด บวกไป 3.42 จุด ซึ่งยังไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 1038 จุดได้ ซึ่งก้ถือว่ายังดี ยัง Sideway อยู่ในกรอบเส้น EMA 5D และ BBTop ได้อยู่ ซึ่ง %R พลิกกลับขึ้นมาตัด -10 ได้อีกครั้ง ทำให้แนวโนมระยะสั้นกลับมาเป็นบวกได้อีก

แนวโน้มในวันพุธที่ 30/03/54 นี้ หลังจากที่ SET ลงไปต่ำกว่าแนวรับแล้ว แต่ก็ไม่หลุดเส้น 5 วัน ทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาให้ในระยะสั้น โดยความแข็งแรงของ MACD และ Sto กลับมาแข็งแรงขึ้นใหม่ ทำให้ Main Indicator ยังไม่เกิด Sell Signal ขึ้นมา ก็คง Sideway อยู่ในกรอบ 10 จุด โดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้

แนวรับ EMA 5D ที่ 1,032 จุด และ EMA 10D ที่ 1,025 จุด
แนวต้านที่ 1,039 จุด และที่ BB Top ที่ 1,041 จุด 4

Indicators ต่างๆ ของวันก่อนหน้านี้ :
Main Buy Signal = MACD + Slow Stochastic + RSI
5 Indicators = Buy Signal
2 Indicators = Overbought
2 Indicators = Bearish Divergence
1 Indicators = Sell Signal (เป็นแค่ Minor Signal เท่านั้น)

1. Alert MACD (B)+(Weak)
Major = Buy Signal : 1. MACD >. Signal.... และ Minor =Uptrend ยังดีอยู่โดย 2. MACD > 0)
(+/-) MACD Oscillator มีค่าลดลงมา จาก 1.39 เป็น 1.14 แต่ MACD ยังมีค่ามากขึ้นอยู่

2. Alert Slow Sto (B)+(Stronger)+(OverBought)
(+) Slow Stochastic : %K(90) > %D(86)...

3. Alert RSI (B)+(Stronger)
(+) RSI(63) > MAV9(59) : RSI สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ย...

4. Alert William %R (B)+(Divergence)
(%R ตัดเส้น -10 ขึ้นมาอีกครั้ง : กลับมาอยู่ในเขต Overbought อีกครั้ง
(+) Williams %R เริ่มมีค่าอ่อนลงมา จาก (-14) เป็น (-7)

5. Alert CCI (S)+(Divergence)
(1.CCI ตัดเส้น 100 ลงมาแล้ว: เปลี่ยนจาก Overbought เป็น Sell Signal)
(-) CCI เริ่มย่อลงมาแล้ว ลงมาจาก 92 มาที่ 82

6. Alert ADX (B)+(Weak)
(-) เส้น ADX : DI+(36) > DI-(18)... DI มีค่าลดลง

7. OBV + : Stronger
(+) OBV มีค่าลดลง

****************
Historical Technics
****************
Buy Signal:
1. (+)MACD กลับมาเป็น Buy Signal อีกครั้ง(22/03/54)
2. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = Major เป็น Bullish + Uptrend... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)
3. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA10 (976.12 )ขึ้นมา... Major เป็น Golden Cross = Buy Signal (17/02/54)
4. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)
5. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) : Stronger (09/03/54)
6. (+) SET สูงกว่าเส้น 10 วัน และ 5 วัน แล้ว : Stronger (21/03/54)
7. (+) Slow Sto : %K(72) > %D(69) = Buy Signal (22/03/54)

Overbought:
1. (+) Slow Sto : %K(81) > %D(73) = Overbought (23/03/54)

Bearish Divergence
1. (-) %R เริ่มมีค่าอ่อนลง โดยที่ SET ทำ New High แต่ %R มีค่าต่ำกว่าจุดสูงในครั้งก่อน (25/03/54)
2. (-) CCI เริ่มมีค่าอ่อนลง โดยที่ SET ทำ New High แต่ CCI มีค่าต่ำกว่าจุดสูงในครั้งก่อน (25/03/54)

Sell Signal :
1. (-) CCI < 100 : เปลี่ยนจาก Overbought (23/03/54) เป็น Sell Signal (28/03/54)

Oversold: None

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis

-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
EFinance Thai : เปิดโผหุ้นรับน้ำท่วม
ใต้อ่วมหนักหลังเผชิญอุทกภัยหลายพื้นที่ ด้านวงการเปิดโผหุ้น เด่น-ดับ คาดกลุ่มวัสดุก่อสร้าง รับอานิสงส์หลังน้ำลด อาทิ DCC, SCC, TASCO, DRT ส่วนกลุ่มค้าปลีก อาทิ CPALL, HMPRO ขณะที่กลุ่มอาหาร เป็นบวกคือ CPF ส่วนที่ผลกระทบด้านลบอาทิ TUF, CFRESH กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจสวนปาล์ม คาดกระทบ LST ขณะที่สวนยางเสียหาย คาด STA บวกเล็กน้อย แต่อาจเป็นลบต่อ VNG เหตุไม้ยางแพงขึ้น
จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดของ ภาคใต้ อาทิ จังหวัดนครศรีธรรมราช, พัทลุง, สุราษฎร์ธานี, ตรัง และชุมพร โดยมีความเป็นไปได้ที่เกิดน้ำท่วมหนัก และขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง หลังมีคำเตือนพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มประกอบด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ระนอง สงขลา สตูล เนื่องจากคาดว่าฝนจะตกหนักต่อเนื่องไปจนถึงวันศุกร์นี้ (1 เม.ย.)
ทั้งนี้พื้นที่ภาคใต้ของไทย ถือเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางพารา และสวนปาล์ม รวมทั้ง เป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งอันดับ 2 รองจากภาคตะวันออก ส่งผลให้กระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันมีกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์ หลังเหตุการณ์ดังกล่าวเข้าสู่ภาวะปกติ


***FSS มองหลังน้ำลดจะส่งผลบวกต่อ DCC, SCC, TASCO, DRT และ CPF***
บทวิเคราะห์บล.ฟินันเซียไซรัส(FSS) คาดว่าหลังน้ำลดแล้วจะเป็นบวกต่อกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ประกอบด้วย DCC, SCC, TASCO, DRT กลุ่มค้าปลีก อาทิ CPALL, HMPRO กลุ่มอาหาร อาทิ CPF แต่เป็นลบกับ TUF, CFRESH เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงกุ้งจะสูงขึ้น, ส่วน VNG เนื่องจากไม้ยางอาจแพงขึ้น, TPOLY มีงานใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้


*** CNS คาดน้ำท่วมกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว และ LST แต่ STA บวกเล็กน้อย***
บทวิเคราะห์ บล.โนมูระ พัฒนสิน ประเมินว่าน้ำท่วมภาคใต้กระทบธุรกิจท่องเที่ยว อาทิ AOT SPF MINT CENTEL
ขณะที่พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ทั้ง จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร ตรัง ผลผลิตส่วนใหญ่ได้แก่
1) กุ้ง บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งอันดับ 2 รองจากภาคตะวันออก โดยมีสัดส่วนกุ้งจากทางภาคใต้ราว 40% ของผลผลิตกุ้งทั้งหมด
โดยราคากุ้งขาวล่าสุดปรับตัวสูงขึ้น 5 บาท/กก.W-W อยู่ที่ 155 บาท/กก. (+15% YTD)
2) ยางพารา ทั้ง 5 จังหวัดมีพื้นที่ปลูกยางพาราคิดเป็นสัดส่วน 50% ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมดของภาคใต้ หรือ 35% พื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศอยู่ที่ราว 5.6 ล้านไร่
ดังนั้นจึงคาดว่า น้ำท่วมครั้งนี้คาดว่าเป็นลบต่อTUF แต่คาด Neutral CPF
นอกจากนั้นเหตุน้ำท่วมส่งผลให้สวนปาล์ม จ.สุราษฎร์ และชุมพรอาจเสียหาย จึงเป็นผลลบต่อ LSTขณะที่ สวนยางเสียหาย STA คาด Slightly positive

*** บล.ทิสโก้ มองกลุ่มค้าปลีกได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด เมื่อเทียบกับน้ำท่วมในหาดใหญ่***
ด้านบล.ทิสโก้ ประเมินคาดผลกระทบต่อกลุ่มค้าปลีกไทยค่อนข้างจำกัด คาดว่าผลกระทบต่อกลุ่มค้าปลีกจะไม่มีนัยสำคัญ (น้อยกว่า 1 % จากรายได้ทั้งหมด) จากภาวะน้ำท่วมในนครศรีธรรมราช, พัทลุง, สุราษธานี, ตรัง, และชุมพร ซึ่งดูเหมือนว่าผลกระทบน่าจะน้อยกว่าหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน Q4/53 (น้ำท่วมในหาดใหญ่และนครราชสีมา ซึ่งมีผลต่อกลุ่มค้าปลีกค่อนข้างมาก)
ส่วนกลุ่มอาหารนั้นเนื่องจากภาคใต้เป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งที่ใหญ่ที่สุดในไทย (ราว 20% ของอุปทานกุ้งทั้งหมด) นักลงทุนอาจคิดว่าธุรกิจกุ้งของ CPF และ TUF อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน
มองว่ามีผลกระทบที่ค่อนข้างแตกต่างกันระหว่าง CPF และ TUF นอกจากนี้ ภาวะน้ำท่วมน่าจะส่งผลให้ขาดแคลนอุปทานกุ้ง ส่งผลให้คาดว่าจะเห็นราคากุ้งยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป
โดยCPF คาดว่าจะได้ประโยชน์จากราคากุ้งที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าจะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียของฟาร์ม ด้วยคาดว่า 50% ของอุปทานกุ้งของ CPF มาจากภาคใต้ (ส่วนที่เหลือมาจากภาคตะวันออก) อย่างไรก็ตาม CPF มีฟาร์มกุ้งในหลายจังหวัด ทั้งสงขลา, นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี มีเพียงฟาร์มในจังหวัดนครศรีธรรมราชเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ด้วยมีฟาร์มในท้องถิ่นในจังหวัดเหล่านี้ได้รับผลกระทบ คาดว่าอุปทานจะยังคงตึงตัวต่อเนื่อง และด้วยฟาร์มของ CPF ที่กระจายในหลายจังหวัด บริษัทน่าจะได้ประโยชน์จากราคากุ้งที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นยังคงแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ CPF ด้วยราคาเป้าหมาย 30 บาท (sum of the part)
ส่วน TUF มองว่า ความสามารถในการทำกำไรของ TUF ขึ้นอยู่กับความสามารถในการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของบริษัท TUF เป็นผู้บรรจุสินค้ากุ้ง ดังนั้นจากภาวะน้ำท่วม จึงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาดูถึงความสามารถของบริษัทในการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้ซื้อ
อย่างไรก็ตาม พิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นใน Q4/53 คิดว่าความสามารถของ TUF ที่จะส่งผ่านต้นทุนนั้นดีขึ้น เนื่องจากบริษัทมีสัญญาที่อายุสั้น จาก 6 เดือนในปีที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 3 เดือนในปีนี้ นอกจากนี้ เนื่องจากโดยปกติแล้วในครึ่งปีแรกจะเป็นช่วงที่ราคากุ้งแข็งแกร่ง ดังนั้นคาดว่า TUF ได้ระมัดระวังต่อการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์กุ้งแล้ว โดยรวมแล้วคาดว่าจะมีผลกระทบที่จำกัดต่อ TUF ยังคงแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมาย 51 บาท

***บล.ยูไนเต็ด แนะ UNDERWEIGHT สำหรับกลุ่มวัสดุก่อสร้าง คาดการก่อสร้างฟื้นตัว หลังพ้นน้ำท่วม เชียร์ SCC เด่นสุด ***
ด้านบทวิเคราะห์ บล.ยูไนเต็ด ประเมินกลุ่มวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง โดยให้น้ำหนัก UNDERWEIGHT เนื่องจาก ยอดขายปูน ม.ค.54 +4.4% เพราะการก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวหลังพ้นภาวะน้ำท่วมและคาดว่าความต้องการปูนปี 54 +5% จากโครงการใหญ่ เช่น รถไฟฟ้า, สนามบินสุวรรณภูมิระยะ 2, Mega Bangna เป็นต้น ชอบ SCC ให้ราคาเป้าหมาย 385.บาท
ขณะที่กลุ่ม วัสดุตกแต่ง ประเมินว่า ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้จากภาวะแข่งขันสูง แต่ความต้องการยังเติบโตดี เพราะความเชื่อมั่นฟื้นตัว และเกษตรกรมีกำลังซื้อดีตามราคาพืชผลที่ปรับตัวสูงขึ้น

*** บล.โกลเบล็ก แนะ เก็งกำไร TASCO คาดความต้องการใช้ยางมะตอยซ่อมแซมถนนในภาคใต้ ให้ราคาเป้าหมาย 70บาท***
ทั้งนี้บทวิเคราะห์ บล.โกลเบล็ก ประเมิน คาดความต้องการใช้ยางมะตอยในประเทศยังคงสูงตามการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐ รวมถึงคาดว่าจะมีงบซ่อมแซมถนนในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นกรณีพิเศษ ด้านตลาดส่งออกคาดว่าจะมีความต้องการสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะได้รับอานิสงค์จากเหตุภัยพิบัติหลายแห่งในโลก รวมทั้งคาดว่าโรงกลั่นที่ประเทศมาเลเซียจะมีการใช้กำลังการผลิตสูงขึ้น แนะซื้อเก็งกำไร TASCO ให้ราคาเป้าหมาย 70 บาท

***KEST แนะ ซื้อ DCC คาดผลงาน Q1/54 ทำสถิติสูงสุดใหม่ เหตุเป็นช่วงไฮซีซั่น-การซ่อมแซมหลังน้ำท่วมให้เป้าหมาย 60บาท***
ด้านบทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย) ประเมิน DCCว่าแนวโน้มผลประกอบการในไตรมาสแรกปี 2554 เบื้องต้นประเมินจะทำจุดสูงสุดใหม่ หรือ มากกว่า 360 ล้านบาท โดยจะได้แรงหนุนจากเป็นช่วงไฮซีซั่น และ การบูรณะซ่อมแซมหลังน้ำท่วม
สำหรับแนวโน้มปี 2554 คาดจะยังเติบโตโดดเด่น จาก 1.) การขยายกำลังการผลิตใหม่ ในปี 2553-2554 จาก 48 ล้านตรม./ปี เป็น 64 ล้านตรม./ปี ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดมากขึ้นส่งผลทำให้อัตรากำไรขั้นต้นพุ่งขึ้นต่อเนื่อง 2.) จุดเด่นของ DCC คือ มีตลาดนัดกระเบื้องถึง 200 สาขา ในปัจจุบัน กระจายทั่วประเทศ ได้เพิ่มช่องทางจำหน่าย และ ปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 15-20 สาขา 3.) ราคาพืชผลทางการเกษตรได้พุ่งขึ้นอย่างมาก จะส่งผลบวกต่อ DCC เนื่องจากยอดขายของ DCC ประมาณ 80% จะขายไปยังต่างจังหวัด
ประเมิน ปี 2554 ยอดขายจะเติบโตต่ออีก 15-17% เป็นเท่ากับ 7,611 ล้านบาท และ มีกำไรสุทธิ 1,476 ล้านบาท (กำไรต่อหุ้น 3.62 บาท) เพิ่มขึ้น 26%
คาดเป็นตัวเลือกในการทำ window dressing ของกองทุนในประเทศหลังราคาหุ้นปรับตัวลงกว่า 26% จากระดับสูงสุดในเดือนธันวาคม 2554 จนมี upside และอัตราเงินปันผลตอบแทนน่าจูงใจราคาหุ้นปัจจุบันให้เงินปันผลตอบแทนสูง 7.4% และมี upside 22% จากราคาเป้าหมายที่ 60 บาท

***CPALL เผยน้ำท่วมภาคใต้กระทบยอดขาย 6 แสนบาท/วัน หลังปิดให้บริการบางสาขาชั่วคราว ***
นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) เปิดเผยว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคใต้ของไทยว่า กระทบสาขาของเซเว่น อีเลฟเว่น 10 สาขาในจังหวัดนครศรีธรรมราชและเกาะสมุย ทำให้ต้องปิดบริการไปเมื่อวานนี้ แต่คาดว่าในวันนี้จะเปิดดำเนินการได้ตามปกติ
ทั้งนี้โดยเฉลี่ยเซเว่นฯ 1 สาขาจะมียอดขาย 60,000 บาทต่อวัน ดังนั้นการปิดบริการ 10 สาขาเมื่อวานนี้น่าจะกระทบยอดขายของบริษัท 600,000 บาท


*** CPF-TUF ยอมรับเหตุอุทกภัยภาคใต้ ส่งผลให้ราคากุ้งเพิ่มขึ้น***
นาย นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ระบุว่าปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ส่งผลให้พื้นที่เลี้ยงกุ้งได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื่อว่าในปีนี้แนวโน้มราคากุ้งจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะการขาดแคลนสินค้า ซึ่ งเบื้องต้นบริษัทฯได้อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหายจากปัญหาดังกล่าว แต่เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
“ปีนี้ราคากุ้งคงจะเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะความเสียหายจากพื้นที่เลี้ยงกุ้งภาคใต้ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม แต่ก็ไม่ได้กังวล
ด้านนายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF เปิดเผยว่า หลังจากที่เกิดปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ทำให้กระทบสินค้ากุ้งของบริษัทฯ เพราะมีการสั่งซื้อกุ้งจากภาคใต้ในสัดส่วน 60% ฉะนั้นบริษัทฯ จึงเตรียมปรับราคาขายให้สอดคล้องกับต้นทุนกุ้งที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะปรับราคาขายขึ้นมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ยังจะต้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดอีกด้วย


-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น