Code 383 : 23/03/54น่าจะแกว่งตัวในกรอบ1015-1025

วันพุธที่ 23 มีนาคม 2554

ATT Code : 23/03/54น่าจะแกว่งตัวในกรอบ1015-1025



สรุปสภาวะการซื้อขาย วันอังคารที่ 22/03/54 : ชนแนวต้านที่1025แล้วมีแรงขายในกลุ่มพลังงานออกมา

แนวโน้มในวันพุธที่ 23/03/54 นี้ คาดว่าตลาดยังมีความผันผวนอยู่ โดย SET มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ 1015-1,025 จุดโดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับที่ 1015 จุด
แนวต้านที่ High ของวันที่ 22/03/54 ที่ระดับ 1,025 จุด

Indicators ต่างๆ ของเมื่อวานนี้ (21/03/54) :
5 Indicators = Buy Signal

1. Alert MACD (B)
(Major = Buy Signal : 1. MACD >. Signal.... และ Minor =Uptrendยังดีอยู่ 2. MACD > 0)
(+) MACD Oscillator ขึ้นมาบวกเล็กน้อย โดยขึ้นมาจาก -0.27 มาเป็น +0.15 ... ทำให้สัญญาณ Buy Signal

2. (OBV - : Weak)
(-) OBV ลดลงมาที่ 456.... แสดงให้เห็นว่ามีแรงซื้อขายสะสมลดลง ส่งสัญญาณในทางลบอีกครั้ง

3. Alert CCI (B)
(1.CCI >. 0 : Minor = Buy Signal)
(+) CCI เพิ่มขึ้นจาก 59 มาที่ 94... และมีสัญญาณเป็นบวก แต่ใกล้เขตOversoldแล้ว

4. Alert ADX (B)
(+) เส้น ADX : DI+(34) > DI-(21) : ทั้ง 2 เส้น เริ่มห่างกันมากขึ้น = Stronger

5. Alert William %R (Sideway)
(%R < -50 ขึ้นมาอีกครั้ง : Minor = Buy Signal)
(+) Williams %R มีค่าเท่าเดิม

6. Alert RSI (B)
(+) RSI(58) > MAV9(56) : RSI สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ย

7. Alert Slow Sto (B)
(+) Slow Stochastic : %K(72) > %D(69)ตัดขึ้นแล้ว


****************
Historical Technics
****************
Buy Signal
1. New(+)MACD กลับมาเป็น Buy Signal อีกครั้ง(22/03/54)
2. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = Major เป็น Bullish... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)
3. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA 10 (976.12 )ขึ้นมา... Majorเป็น Golden Cross = Buy Signal (17/02/54)
4. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)
5. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) (10/03/54)
6. New (+) SET สูงกว่าเส้น 10 วัน แล้ว : (21/03/54)
7. New (+) %R > -50 : Minor=Buy Signal (21/03/54)
8. New(+) CCI >50 : Minor = Buy Signal (21/03/54)
9. New (+) Slow Sto : %K > %D = Buy Signal (22/03/54)

Sell Signal
1. (-) SET หลุด BB Top ลงมาแล้ว = SET อ่อนลงมา (09/03/54)

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
23 มีค. 54 ( -0.79 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

เกิน 1025.71 ขึ้น 1043 - 56 จุด
แนวโน้มในวันพุธนี้ถ้าปรับตัวขึ้น เกิน1025.71 จุดสูงสุดเดิมของเดือน มีค. ภาพดัชนีระยะสองสามสัปดาห์ข้างหน้า สามารถขึ้นต่อได้
แถว 1043 – 56 ใกล้จุดสุงสุดเดิมของต้นปีนี้

ขณะเดียวกันการปรับตัวลง ต่ำกว่า 1013จุด เส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง ดัชนีมีโอกาสปรับตัวกลับลงไปแถว 990 – 1005 จุด ใกล้เส้นค่าเฉลี่ย25 วัน

ภาพโดยรวมของตลาด ยังน่าจะอยู่ในช่วงของการย่ำฐานในกรอบ 100 จุด หรือแกว่งตัวระหว่าง 950 – 1050 จุด (โดยประมาณ)
Overall sideways สำหรับภาพถึงไตรมาสที่สองของปีนี้

หุ้นเด่น
KTB
ยังสามารถปรับตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันได้ รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 17.70 จุดสูงสุดวันอังคาร เป้าหมายสองสามวัน 18.50 –
19.00 ( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 17.30 )

TASCO
ปรับตัวขึ้นมาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันได้อีกครั้ง ทยอยซื้อแถว 55.50 – 56.00 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 57.00 จุดสูงสุดวัน
อังคาร เป้าหมายหนึ่งถึงสองวัน 58.00 –60.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 55.50 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
TRUE แกว่งตัว 6.55 – 6.85
BBL เกิน 164 ขึ้น 165 - 166
KTB รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
SCC ไม่ต่ำกว่า 336 ขึ้น 351 - 361
JAS ไม่ต่ำกว่า 2.46 ขึ้น 2.80 – 3.60
SCB เกิน 104.50 ขึ้น 105 - 106
IRPC แกว่งตัว 5.70 – 6.15
IVL เกิน 53.25 ขึ้น 53.50 – 54
PTT เกิน 345 ขึ้น 349 – 350
BAY เกิน 24.20 ขึ้น 24.50 – 24.80

-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
EFinanceThai:แบงก์สดใสรับสินเชื่อโตเข้าเป้า

หุ้นแบงก์ฉายแววสดใส รับแนวโน้มสินเชื่อโตเข้าเป้า บวกกับดอกเบี้ยขาขึ้น เสริมแรงจูงใจให้นักลงทุน โบรกเกอร์ส่งเสียงเชียร์เพิ่มน้ำหนักการลงทุนยกกลุ่ม ขณะที่ ตลท. เผยยังไม่เห็นสัญญาณนลท.ญี่ปุ่นถอนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แม้เกิดแผ่นดินไหว-สึนามิ

* KTB มองสินเชื่อรวมปีนี้โตอย่างน้อย 7-8% ระบุ 2 เดือนสินเชื่อดีขึ้น
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า จากภาพรวมของเศรษฐกิจมองว่า การขยายตัวของสินเชื่อรวมปีนี้จะยังเป็นไปตามเป้าหมายที่เติบโตอย่างน้อย 7-8%
โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มูลค่ายอดสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดหวังไว้ และดีกว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการที่ธนาคารได้มีการอนุมัติสินเชื่อขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่ปีนี้ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สัดส่วนสินเชื่อภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสัดส่วนสินเชื่อภาครัฐ
ทั้งนี้แม้ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาจะมีการปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่มากขึ้นกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท แต่ก็มีสินเชื่อภาครัฐชำระคืนมาประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท

* KBANK เผยสินเชื่อเอสเอ็มอี Q1/54 โต 1% มั่นใจทั้งปีเข้าเป้า 8-10%
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า สินเชื่อเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวแล้ว 1% หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อสุทธิ 4 พันล้านบาท จากวงเงินอนุมัติรวมทั้งสิ้น 4 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ การเติบโตดังกล่าวถือว่าดีกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนอย่างมากที่ติดลบ โดยเป็นผลจากสินค้าเกษตรบางตัว เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลังที่ทยอยออกผลผลิตในช่วงต้นปี ทำให้มีการขอสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งภาคการลงทุนและการบริโภคขยายตัวดีขึ้น ดังนั้นจึงมั่นใจว่าในสิ้นปีนี้การขยายตัวของสินเชื่อเอสเอ็มอีจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8-10% หรือคิดเป็นมูลค่าสินเชื่อสุทธิ 3.8 หมื่นล้านบาท โดยจะส่งผลให้พอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีในสิ้นปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 4.38 แสนล้านบาท จากเมื่อต้นปีที่อยู่ 4 แสนล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นสินเชื่อขนาดเล็กและไมโครที่ 1.5 แสนล้านบาท และสินเชื่อขนาดกลางที่ 2.5 แสนล้านบาท
สำหรับการเติบโตของสินเชื่อดังกล่าวคาดว่าไม่ต่ำกว่า 40% จะเป็นการรีไฟแนนซ์มาจากธนาคารอื่นในทุกเซ็คเตอร์ ขณะที่ในส่วนของธนาคารพบว่า ไม่มีการรีไฟแนนซ์จากลูกค้าไปยังธนาคารอื่น โดยตั้งเป้ากลุ่มลูกค้ารายกลางในปีนี้เติบโตเพิ่มขึ้น 6% ซึ่งสูงกว่าตลาดที่คาดว่าจะเติบโต 3-4% และลูกค้าขนาดกลางและไมโครคาดว่าจะเติบโต 17-18% โดยธนาคารยังคงมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้า Start up ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจเอสเอ็มอีค่อนข้างน้อย เนื่องจากมองว่าตลาดลูกค้ากลุ่มนี้มีขนาดใหญ่มากและธนาคารอื่นไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก
ดังนั้นจากผลการดำเนินงานต่างๆ ธนาคารเชื่อว่าในปีนี้จะยังสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 30% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ 29%

* BBL ย้ำเป้าสินเชื่อรวมปีนี้โต 5-7%
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อในปีนี้น่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีในอัตรา 4% อีกทั้งยังมีแรงส่งจากทั้งภาคการลงทุน การบริโภค การส่งออกและนำเข้า ดังนั้นจึงมองว่าในปีนี้การปล่อยสินเชื่อรวมของธนาคารจะยังเป็นไปตามเป้าหมายที่ 5-7%
อย่างไรก็ตาม มองว่าแนวทางการปล่อยสินเชื่อของทั้งระบบจะไม่เป็นไปในลักษณะการเติบโตที่เกิดขึ้นจากภาวะหนี้สิน หรือ Debt Fever Gross ซึ่งน่าจะเป็นลักษณะที่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของจีดีพีมากกว่า ซึ่งนักลงทุนและผู้ประกอบการไม่ควรตัดสินใจการลงทุนเพียงพิจารณาเหตุผลว่าอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องจากในระยะต่อไปหากมีการเปลี่ยนแปลงอาจจะเกิดปัญหาได้

* ธนชาตตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้โต 8-10% ระบุโตมากหลังควบรวม SCIB
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารฯ ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ไว้ที่ 8-10% ทั้งนี้มาจากการรวมฐานสินเชื่อของธนาคารธนชาตและนครหลวงไทยเข้าด้วยกัน ประกอบกับในปีนี้ประเมินว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) จะอยู่ที่ 5-7% และอัตราเงินเฟ้อในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.5%
โดยหากพิจารณาจากเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก 3 ประเด็นหลักจากปี 53 ที่มีการเติบโตดี ประกอบด้วย 1. ภาคเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ภาคเกษตรกรมีกำลังในการใช้จ่าย 2. การลงทุนภาคเอกชนที่อยู่ในระดับสูง และ 3. การส่งออกที่ยังดีขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและยุโรป
ทั้งนี้การบริโภคภายในประเทศ จะส่งผลดีต่อลูกค้าบุคคลที่มีการเติบโตต่อเนื่อง ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ และบัตรเครดิต ซึ่งหากลูกค้ามีรายได้ดีก็จะมีความมั่นใจในการใช้จ่ายมากขึ้น อีกทั้งการลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกจะส่งผลดีต่อสินเชื่อลูกค้าองค์กรในสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกรรมการส่งออกที่ยังขยายตัวและการทำเทรดดิ้งไฟแนนซ์
โดยพอร์ตสินเชื่อของธนาคารปัจจุบันประกอบด้วยสินเชื่อรายย่อยสัดส่วน 50% และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 50% โดยธนาคารจะพยายามให้มีการขยายตัว โดยจับคู่ไปกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ

* บล.ฟินันเซีย ไซรัส เชียร์ซื้อหุ้นแบงก์ หลังสินเชื่อเดือน ก.พ.54 โตต่อเนื่อง
บทวิเคราะห์บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า สินเชื่อแบงก์ ก.พ. +0.91%M-M กลุ่มธนาคาร (ยกเว้น SCB, KTB) รายงานสินเชื่อเดือน ก.พ. ขยายตัวต่อเนื่องอีก 0.91%M-M แต่เป็นอัตราที่น้อยกว่าการขยายตัวที่ 1.27%M-M ในเดือนก่อน เทียบกับปีก่อน สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นแล้ว 2.19% ถือเป็นอัตราการเริ่มต้นที่ดีที่สุดในรอบหลายปี BBL มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นสูงสุด 3%M-M และ 3.7%YTD ส่วน KBANK มีสินเชื่อเติบโตน้อยสุด +0.18%M-M แต่รวม 2 เดือนแรกยังโต 0.84%YTD เรายังแนะนำ Overweight กลุ่มแบงก์ และแนะนำซื้อเก็งกำไรผลประกอบการ KBANK, KTB เพราะคาดว่ากำไรจะเพิ่มทั้ง Y-Y, Q-Q
ขณะที่ SCB วัดใจประมูลขาย SICCO SICCO มี Book value ~6.90 บาท เราประเมินว่าราคาขายกรณีแย่ไม่น่าจะโดนหักส่วนลดเกิน 15-20% ซึ่งเท่ากับ 5.5-5.8 บาท ซื้อเก็งกำไร SICCO ส่วน SSEC จะเข้าข่ายต้องทำ Tender offer ด้วย

* บล.กิมเอ็ง ให้มุมมอง "เป็นบวก" ต่อ Banking Sector
ด้านฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า ปี 2554…อีกปีที่ดีของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยมองว่า แม้ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะสามารถปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 3 เท่าตัวหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2551 แต่ในปี 2554 นี้เรายังคงมองว่าหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังคงมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อ จากปัจจัยบวกที่ยังคงมีอยู่รอบด้าน ทั้งจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง, ความต้องการสินเชื่อที่สูงขึ้นจากการคาดหวังกลับมาอีกครั้งของ Investment Cycle รอบใหม่, ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น, รวมถึงความแข็งแกร่งของฐานเงินทุนของธนาคารและคุณถาพของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง น่าจะผลักดันให้ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปี 2554 นี้ยังคงเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่องอีก19.2%
ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันแม้ไม่ได้ถูกเหมือนในอดีตที่ผ่านมา แต่ยังคงมีความน่าสนใจในลงทุนอยู่ เรามองว่าด้วยภาพรวมอุตสาหกรรมที่ยังคงแข็งแกร่ง ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์มีโอกาสได้รับการ Re-rate ขึ้นได้อีก เราให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด (Overweight) สำหรับการลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ โดยเน้นที่ 4 ธนาคารขนาดใหญ่ คือ BBL, KTB, SCB, KBANK และให้ BBL เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง
เรามองว่าหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ยังคงรายล้อมไปด้วยปัจจัยบวกทั้งจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยเราคาด GDP growth ปีนี้ที่ระดับ 4.0% โดยปัจจัยผลักดันจะมาจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในประเทศ ซึ่งจะผลักดันความต้องการสินเชื่อให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate Loans) ซึ่งเราคาดว่าจะเห็นการขยายตัวของสินเชื่ออย่างโดดเด่นในปี้นี้จาก Investment Cycle รอบใหม่หลังกำลังการผลิตในหลายภาคอุตสาหกรรมเริ่มปรับเต็ม
รวมถึงการควบรวมกิจการที่น่าจะยังคงมีอย่างต่อเนื่องต่อจากปีที่ผ่านมา โดยเราคาดการณ์ยอดสินเชื่อในปีนี้ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เติบโตอีก 9.1% ต่อเนืองจากปีก่อนหน้าที่เติบโต 12.4% ทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลดีต่อส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของธนาคาร
โดยเราคาดการณ์ NIM ในปีนี้จะขยายตัวจาก 3.44% ในปีก่อนหน้าเป็น 3.57% ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมน่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากธุรกรรมทางการเงินที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงคุณภาพของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง เราคาดการณ์กำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปีนี้จะเติบโตต่อเนื่องอีก 19.2% ในปีนี้
ด้านราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์แม้จะไม่ได้ถูกเหมือนช่วงก่อนหน้านี้หลังจากปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีความน่าสนใจและไม่ได้แพงจนเกินไป ราคาปัจจุบันซื้อขายกันที่ระดับ 1.55 เท่า PBV ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงปี 2547-2550 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันกับช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว ธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งกว่าช่วงก่อนหน้านี้อย่างเห็นได้ชัด ประสิทธิภาพในการทำกำไรก็ดีขึ้นสังเกตได้จากตัวเลข ROE เรามองว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทยยังมีโอกาสได้รับการ Re-rate จากตลาดขึ้นได้
เรามีมุมมอง “เป็นบวก” ต่อกลุ่มธนาคาร โดยให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด (Overweight) โดยเน้นที่ 4 ธนาคารขนาดใหญ่ คือ BBL, KTB, SCB, KBANK และให้ BBL เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับการลงทุนในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปีนี้

* ตลท. เผยยังไม่พบสัญญาณ นลท.ญี่ปุ่นถอนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณที่นักลงทุนญี่ปุ่นจะถอนการลงทุนจากตลาดหุ้นไทย หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น ส่วนการที่นักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพียงการปรับพอร์ตการลงทุนตามปกติ
ส่วนผลกระทบ กรณีแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อผลประกอบการของ บจ.นั้น นายจรัมพร กล่าวว่า ต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท ซึ่งขณะนี้ตลท.ยังไม่มีการประเมิน โดยเห็นว่าควรจะต้องดูเศรษฐกิจภาพรวมก่อนว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งไม่สามารถประเมินว่าความเสียหายดังกล่าวจะกระทบต่อความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นในภูมิภาคหรือไม่ แม้บริษัทญี่ปุ่นจะมีบริษัทลูกในต่างประเทศจำนวนมากก็ตาม


-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น