Code 378 : 16/03/54 กังวลรังสีรั่วสู่ชั้นบรรยากาศ หลังโรงไฟฟ้าระเบิด

วันพุธที่ 16 มีนาคม 2554

ATT Code : กังวลกัมมันตรังสีรั่วสู่ชั้นบรรยากาศ หลังเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิด



สรุปสภาวะการซื้อขาย วันอังคารที่ 15/03/54 : SET ต่ำกว่าเส้น 5 วัน และเส้น 10 วันแล้ว = Weak

เมื่อวานนี้ ที่ญี่ปุ่น โรงไฟฟ้าได้เกิดระเบิดขึ้นอีก และทำให้สารกัมตะภาพรังสีได้แผ่กระจายออกมา ส่งผลให้มีความกังวลไปทั่วภูมิภาค ทำให้ NIX ลบไป 6% ตามด้วย HongKong ลบไป 3% ส่งผลให้ SET หลุด 1,000 จุด แต่ยังยืนรับที่ 995 ตามเส้น BB Average ได้อยู่ แล้วก็มีแรงซื้อเข้ามา ผ่าน 1,000 จุด ขึ้นไปใหม่ แต่พอตลาดยุโรปเปิด ก็มีแรงขายออกมา กดดันให้ตลาดยุโรปลงไปลบ 3-4 % ทำให้ SET ก็ไหลลงอย่างรวดเร็ว และลงมาปิดที่ 1,003.10 จุด แนวโน้มกลับมาเป็นลยใหม่อีกครั้ง ตาม Indicator ด้านล่าง


แนวโน้มในวันพุธที่ 16/03/54 นี้ เมื่อตลาดยุโรปลงไปลย 3-4% ก็คงจะส่งผลให้ DJIA ลงไปลบได้เหมือนกัน น่าจะมากว่า 1% ดังนั้น ถ้า DJIA ปิดลบ ก็อาจจะส่งผลกระทบมาที่ตลาด Asia ในตอนเช้าอีกครั้ง โดยมีแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับแรก 1,000 /998 และแนวรับหลักที่ BB Average ที่ 996 จุด
แนวต้านที่ 5 /10วัน ที่ระดับ 1,006 และ 1,010 จุด

Indicators ต่างๆ ของเมื่อวานนี้ (15/03/54)

1. (Major = Buy Signal : 1. MACD > Signal และ 2. MACD และ Signal > 0)
(+/-) MACD (ลดลงจาก 8.70 เป็น 7.27) ยังคงตัดเส้น Signal (เพิ่มขึ้น 6.89 เป็น 7) ขึ้นมาอยู่ โดย MACD ทั้ง 2 เส้น ขึ้นมายืนเหนือเส้นศูนย์ แต่เ้ส้น MACD เริ่มย่อลง และเส้น Signal เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าทั้งสองเส้นเริ่มใกล้กัน ทำให้เส้น MACD เกือบจะตัดเส้น Signal ลงมาแล้ว.... ทำให้มีสัญญาณที่ไม่ค่อยดี ใกล้ Sell Signal แล้ว

2. (OBV- : Weak)
(-) OBV ลดลงจาก 743 มาที่ 709.... แสดงให้เห็นว่ามีแรงซื้อขายสะสมลดลง ส่งสัญญาณในทางลบอีกครั้ง

3. (1.CCI ต่ำกว่า 100 : Major = Sell Signal, 2. CCI ต่ำกว่า ศูนย์ : Minor = Weak)
(-) CCI ลดลงจาก 78 มาที่ -16.5... Minor มีสัญญาณเป็นลบ เพราะ CCI มีค่าต่ำกว่า ศูนย์ แล้ว

4. (DI+ > DI- : Buy Signal but Weak)
(-) เส้น ADX : DI+(29.6 : ลดลงมา) แต่ยังเหนือกว่าเส้น DI-(24.95: ลดลงมา) ทั้ง 2 เส้น เริ่มห่างกันน้อยลง (จาก 12 เป็น 4.65).... ทำให้แนวโน้มกลับมาเป็นลบอีกครั้ง

5. (%R < -10 ลงมาอีกครั้ง เมื่อ 15/03/54 : Major = Sell Signal)
(-) Williams %R ลบมากขึ้นจาก -6.85 ลงมาที่ -55...

6. (RSI > 50% : Major = Strong)
(-) RSI ลงมาจาก 61% มาอยู่ที่ 52%... ยังแข็งแรงอยู่ แต่มีสัญญาณเริ่มอ่อนลงมาใกล้หลุด 50% แล้ว

7. (%K < %D = Sell Signal)
(-) Slow Stochastic : %K(74) ตัด %D(80) ตัดลงมาอีกครั้ง


****************
Historical Technics
****************
Buy Signal
1. (+) MACD(-10.29) ตัดเส้น Signal (-10.94) = Major:Buy Signal (15/02/54)
2. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = Major เป็น Bullish... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)
3. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA 10 (976.12 )ขึ้นมา... Majorเป็น Golden Cross = Buy Signal (17/02/54)
4. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)
5. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) (10/03/54)

Sell Signal
1. (-) SET หลุด BB Top ลงมาแล้ว = SET อ่อนลงมา (09/03/54)
2. (-) 2.1 CCI ตัด 100 ลงมา (44) : Major = Sell Signal (11/03/54)
2.2 CCI ต่ำกว่า ศูนย์ ลงมา (-16.50) : Minor = Sell Signal (15/03/54)
3. (-) %R < -10 : Sell Signal (15/03/54)
4. (-) Slow Sto : %K < %D = Sell Signal (15/03/54)
5. (-) SET ต่ำกว่าเส้น 5 วัน และ 10 วัน แล้ว : Weak (15/03/54)

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
16 มีค. 54 (-19.79 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ปรับตัวลง 997 - 999 จุด
แนวโน้มในวันพุธนี้ตราบใด ไม่เกิน1010.55 จุดสูงสุดของวันอังคาร และเส้นค่าเฉลี่ย25 ชั่วโมง ดัชนีมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวกลับลงไปแถว 997 – 999 ใกล้จุดต่ำสุดของวันอังคารอีกครั้ง

จากนั้น ตลาดพอมีโอกาสที่จะแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบ 997 – 1008 หรือ ประมาณจุดต่ำสุดถึงจุดสูงสุดของวันอังคาร ภายใต้เส้น
ค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง

การปรับตัวลง ต่ำกว่า 996.44 จุดต่ำสุดของวันอังคาร จะถือเป็นสัญญาณการปรับตัวลงต่อของตลาดยังเป้าหมาย 970 – 975 จุด

หุ้นเด่น

TUF
ยังสามารถปรับตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันได้ ทยอยซื้อแถว 45.00 – 46.00 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 47.75 จุดสูงสุดของสัปดาห์นี้ เป้าหมายระยะสัปดาห์ 54.00 –56.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 45.75 )

TOP
ยังสามารถปรับตัวอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 วันได้ รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 81.25 จุดสูงสุดของวันอังคาร เป้าหมายสองสามวัน 85.00 –86.50( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 79.50 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
BANPU ต่ำกว่า 742 ลง 730 – 736
PTT ต่ำกว่า 337 ลง 326 - 331
TOP รายละเอียดใน “หุ้นเด่น”
IVL แกว่งตัว 48.50 – 50.50
SCC เกิน 330 ขึ้น 333 - 334
PTTCH แกว่งตัว 141 - 147
IRPC แกว่งตัว 5.60 – 6.10
CPF แกว่งตัว 24.30 – 24.90
PTL แกว่งตัว 23.10 – 23.80
PTTEP ต่ำกว่า 177 ลง 170 – 173
-----------------------------------------------------------------------------
EFinanceThai : หุ้นทั่วโลกผวากัมมันตรังสี

หุ้นทั่วโลกดิ่งระเนระนาด หวั่นกัมมันตภาพรังสีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นแผ่กระจาย ส่งผลกระทบวงกว้าง ด้านนักวิเคราะห์ระบุ นักลงทุนญี่ปุ่นจะดึงเม็ดเงินจากทั่วโลกกลับไปฟื้นฟูประเทศ กดดันหุ้นไทยปรับลดลงต่อเนื่อง ถ่วงดัชนีฯ ไปไม่ถึงดวงดาว

* หุ้นตกทั่วโลกหลังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นระเบิด หวั่นกัมมันตภาพรังสีแพร่กระจาย
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดไม่เลิก หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมาแล้ว ในวันที่ 14 ยังได้เกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นระเบิดโรงที่ 3 และ 2 ในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อเนื่องมายังวันที่ 15 มีนาคมนี้ ที่เกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในโรงที่ 4 พร้อมกับข่าวการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีจากการระเบิดดังกล่าว ส่งผลให้บรรดานักลงทุนจากทั่วโลกต่างเทขายหุ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน กดดันดัชนีฯ ปรับลดลงถ้วนหน้า
นำโดยดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ปิดที่ระดับ 8,605.15 จุด ลดลง 1,015.34 จุด หรือ -10.55% ซึ่งรายงานข่าวบนเว็บไซต์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นโตเกียวปิดลบ เป็นผลมาจากนักลงทุนเทขายหุ้น เนื่องจากหวั่นเกรงว่า สถานการณ์กัมมันตภาพรังสีรั่วไหลจะรุนแรงขึ้น หลังเกิดเพลิงไหม้ที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งที่ 4 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาไอ-อิจิ
รวมทั้งดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีน ปิดตลาดที่ระดับ 2,896.26 จุด ลดลง 41.37 จุด หรือ -1.41% ซึ่งเป็นผลมาจากนักลงทุนเทขายหุ้น เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์กัมมันตภาพรังสีรั่วไหลในญี่ปุ่น ประกอบกับตอบรับทิศทางการลงทุนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งมีแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่องนับแต่เกิดสถานการณ์การระเบิดของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในญี่ปุ่น
ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,003.10 จุด ลดลง 19.79 จุด หรือ 1.93% พร้อมมูลค่าการซื้อขาย 37,651.67 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างชาติเทขายสุทธิ 974.46 ล้านบาท
ด้านความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีสเตรทไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดตลาดที่ระดับ 2,946.08 จุด ลดลง 84.78 จุด หรือ -2.80% ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดตลาดที่ระดับ 22,678.25 จุด ลดลง 667.63 จุด หรือ -2.86% ดัชนีคอมโพสิต ตลาดหุ้นโซล ปิดตลาดที่ระดับ 1,923.92 จุด ลดลง 47.31 จุด หรือ -2.40%

* ญี่ปุ่นเผย การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีอยู่ในระดับเป็นอันตรายมากขึ้น
สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 15 มีนาคมนี้ มีรายงานข่าวบนเว็บไซต์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า นายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คังของญี่ปุ่นกล่าวว่า การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาได-อิจิของโตเกียวอิเล็กทริกเพาเวอร์อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายมากขึ้น หลังเกิดการระเบิด 3 ครั้ง และเกิดเพลิงไหม้
โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเรียกร้องให้ประชาชนอยู่ในความสงบ และยืนยันว่า รัฐบาลจะดำเนินการอย่างเร่งด่วนการแก้ปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ทางการญี่ปุ่นได้อพยพประชาชนภายในรัศมีการรั่วไหล 30 กิโลเมตรออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว
ขณะที่นายยูกิโอะ เอดาโนเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า การรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 2 อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ทางการกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสีในกรุงโตเกียวแล้วในระดับต่ำ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
โดยนายทาคายูกิ ฟูจิกิ โฆษกทางการกรุงโตเกียวกล่าวว่า ระดับกัมมันตภาพรังสีที่ตรวจพบอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และยังไม่มีความจำเป็นต้องเตือนภัยด้านสุขภาพ
แต่ขณะเดียวกัน มีรายงานข่าวจากเอพี รายงานว่า สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอเปิดเผยว่า เหตุเพลิงที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หน่วยที่ 4 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาได-อิจิเกิดขึ้นที่บริเวณแหล่งกักเก็บกากนิวเคลียร์ ซึ่งได้ส่งผลให้กัมมันตภาพรังสีแผ่กระจายออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกโดยตรง
อย่างไรก็ตาม เพลิงไหม้ดังกล่าวได้ดับลงแล้ว ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการแผ่กระจายของกัมมันตรังสี

* โบรกฯ ชี้หุ้นทั่วโลกอ่อนไหวต่อข่าวสาร นลท. หวั่นกระทบวงกว้าง
นายรักพงศ์ ไชยศุภรากุล ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า โดยปกติแล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ค่อนข้างอ่อนไหวกับข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งล่าสุดมีประเด็นจากการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาได-อิจิของโตเกียว อิเล็กทริกเพาเวอร์ ซึ่งเชื่อมโยงต่อปัจจัยด้านกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าต่างๆ
อาทิ หากผลกระทบจากเหตุที่เกิดขึ้นส่งต่อไปยังปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และพืชพันธุ์ต่างๆ ก็ยิ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเกิดขึ้นได้ช้าลง ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู้ค้ากับญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ บล.เคจีไอ เชื่อว่า แม้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลง แต่ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงในอัตราที่ต่ำกว่าได้ เนื่องจากตลาดหุ้นไทยมีโครงสร้างของหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นโครงสร้างหลัก มีน้ำหนักต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีฯมาก และจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นอาจยิ่งเป็นแรงสนับสนุนให้มีแรงซื้อในกลุ่มดังกล่าวเข้ามาอีกได้
"อาจมีแรงซื้อเข้ามาอีกได้ เพราะเมื่อญี่ปุ่นมีตัวสร้างพลังงานไม่เพียงพอ หุ้นในกลุ่มพลังงาน รวมทั้งตระกูล ปตท. โอกาสที่จะปรับตัวลดลงมากๆ ก็มีน้อย หรือบางตัวก็ได้ประโยชน์อย่างชัดเจน เช่นตัวถ่านหิน ที่เขาต้องเอาไปปั่นไฟแทนนิวเคลียร์ BANPU ก็บวกขึ้นมา" นายรักพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังมีมุมมองเชิงบวก จากปัจจัยหนุนด้านเศรษฐกิจ และทิศทางการเลือกตั้ง ที่มีผลต่อจิตวิทยาการลงทุน ซึ่งดีกว่าตลาดหุ้นในประเทศอื่นๆ
ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนในระยะนี้จึงควรชะลอการลงทุนออกไปก่อน เพื่อติดตามข่าวสารที่มีความชัดเจนมากขึ้น ในด้านการควบคุมการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยหากยังมีข่าวสารในเชิงลบออกมา ก็จะทำให้ตลาดหุ้นตอบรับข่าวไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีฯ ในรอบสัปดาห์นี้ แนวรับอยู่ที่ 990 จุด และแนวต้านที่ 1020 จุด

* มองหุ้นไทยสัปดาห์นี้ผันผวน เม็ดเงินไหลกลับสหรัฐ-ยุโรป
ขณะที่นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทยและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์นี้น่าจะมีความผันผวนพอสมควร โดยดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงสอดรับกับภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนยังมีความเป็นห่วงกระแสข่าวผลกระทบและสถานการณ์ต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกระแสข่าวที่ผ่านมายังมีความไม่ชัดเจน และมีสิ่งที่บิดเบือนบ้าง
อย่างไรก็ตาม พบว่าการเคลื่อนไหวของดัชนีฯ ในวิกฤตครั้งนี้แตกต่างกับสถานการณ์ลักษณะเดียวกันในอดีตที่ผ่านมา โดยจะเห็นได้ว่าแม้จะมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์สึนามิในอดีต ตลาดหุ้นทั่วโลก และเอเชีย ก็ยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งแตกต่าง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากความน่าสนใจของตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ลดลง โดยเทรนด์ของเงินทุนต่างชาติจะถูกโยกไปยังตลาดที่พัฒนาแล้วมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ไหลเข้าไปยังประเทศญี่ปุ่นจนเกิดสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งมองว่าเงินทุนจะไหลกลับไปสู่ตลาดสหรัฐฯ และยุโรปมากขึ้น เนื่องจากแม้ว่าทั้งสองภูมิภาคดังกล่าวจะมีปัญหาในเชิงเศรษฐกิจ แต่ก็มีมาตรการเพิ่มเติมที่มาช่วยเหลืออย่างชัดเจน
ขณะเดียวกัน แนวโน้มของธนาคารกลางยุโรปในการประชุมครั้งหน้าอาจพิจารณาปรับดอกเบี้ยขึ้น ซึ่งจะยิ่งดึงดูดความน่าสนใจในการลงทุน ขณะที่เศรษฐกิจไทยและภูมิภาคเอเชียยังต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอีกด้วย

* เชื่อหุ้นไทยยังยืนเหนือ 900 จุด แต่จะไม่แตะ 1,200 จุดง่ายๆ
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนภาพรวมดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้คงไม่มีทิศทางขาขึ้นมากขึ้นมากนัก เนื่องจากยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงในช่วงเดือน มิ.ย. ซึ่งในจังหวะนั้นจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนถึงจุดหนึ่งแล้ว ซึ่งจะไปส่งผลดีถึงความชัดเจนในช่วงกลางปีหลังของปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดหุ้นไทยอาจปรับลดลงบ้าง แต่น่าจะยังยืนอยู่เหนือ 900 จุด ซึ่งจะเป็นการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังจากปัจจัยความชัดเจนด้านดอกเบี้ยและความชัดเจนจากแนวโน้มการเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้ปัญหาทางการเมืองลดลงจากปัจจัยของตลาดรวม
นายไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โอกาสที่ดัชนีฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นทะลุ 1200 จุดไม่ง่ายนัก แม้จะยังคงยืนเป้าหมายดัชนีฯ ในปีนี้ ไว้ที่ 1180 จุดตามเดิม เนื่องจากแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) อาจถูกปรับลดลง จากเดิมที่คาดว่าในปีนี้บจ. จะเติบโต 15-20% โดยเป็นผลต่อเนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งจะมีผลต่อกลุ่มธุรกิจต่างๆ

* กำไร บจ. จะกลับสู่ภาวะปกติในปี 2555 หุ้นไทยฟื้นตัวปี 56
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในปี 2555 คาดว่าจะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติที่เติบโต 15-20% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของโลกน่าจะฟื้นตัวดีขึ้น ภายหลังจากที่สหรัฐฯ ได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบจนทำให้อัตราการว่างงานเริ่มลดลง โดยคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลสนับสนุนให้ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปที่ 1400 จุดได้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นทั่วทั้งโลกอาจเป็นปัจจัยที่ฉุดตลาดฯ ได้บางส่วน
สำหรับในปี 2556 คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะกลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจน หลังจากที่การขยายตัวของกำไรของ บจ. ฟื้นตัวเป็นอัตราปกติต่อเนื่องจากปี 2555 ขณะเดียวกัน ก็จะมีการขยายการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนหรือ ROE เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20% ได้ จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 16% และจะทำให้ขณะนั้นตลาดหุ้นไทยอาจมีการปรับฐาน และดัชนีฯ มีโอกาสที่จะไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1750 จุดได้
ส่วนสถานการณ์ทางประเทศญี่ปุ่น มองว่าอาจเข้าสู่ช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงสั้นจากการที่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องนำเงินออกมาใช้ในการฟื้นฟูระบบโครงสร้าง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของประเทศญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งก็มีความจำเป็นเพิ่มขึ้นในการที่จะใช้เงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาหนี้สินของญี่ปุ่นพบว่าสูงกว่าหลายประเทศในยุโรป ซึ่งปัญหาทางการเงินจะกลายเป็นปัญหาในระยะยาวอย่างแน่นอน

* THAI ยันเปิดให้บริการเที่ยวบินไทย-ญี่ปุ่นปกติ 7 เที่ยว
ดร.อำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯ ยังไม่ได้ยกเลิกเที่ยวบินญี่ปุ่น-ไทยที่มีทั้งสิ้น 7 เที่ยว เนื่องจาก ต้องให้ความช่วยเหลือประชาชนคนไทยที่ตกค้างอยู่ในประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งคนญี่ปุ่นที่ต้องการเดินทางกลับประเทศ นอกจากนี้ เที่ยวบินคาร์โก้ของการบินไทยยังปิดรับส่งสินค้าทั่วไป 3 วัน เพื่อดำเนินการจัดส่งสิ่งของช่วยเหลือไปยังประเทศญี่ปุ่น จำนวน 3 เที่ยวบิน/วัน
ดร.อำพน กล่าวด้วยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตาม ข่าวสารการแพร่กระจายสารกัมมันตภาพรังสีอย่างใกล้ชิด หลังเกิดเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิม่า ซึ่งอยู่ทาง
ตอนเหนือห่างจากกรุงโตเกียวประมาณ 240 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้
'เพื่อความปลอดภัยของลูกเรือบริษัทฯ งดให้ลูกเรือพักค้างคืนเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันอันตรายจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี รวมทั้งเพื่อป้องกันอันตรายจากอาฟเตอร์ช็อค' ดร.อำพน กล่าว

-----------------------------------------------------------------------------



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น