Code 381 : 21/03/54 โปรดฟังอีกครั้ง >>> จะหลุด 1,000 จุด มั๊ย

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2554

ATT Code : โปรดฟังอีกครั้ง >>> จะหลุด 1,000 จุด มั๊ย



สรุปสภาวะการซื้อขาย วันศุกร์ที่ 18/03/54 : SET ปิดต่ำกว่าเส้น 10 วัน และยังผันผวน เป็น Sideway down

สรุปสภาวะตลาดตอนเย็นประจำวันที่ 18/03/2011
ดัชนีหุ้นไทยปิดบวก 0.09% ตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศที่ส่วนใหญ่ปรับขึ้นขณะที่มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน,ทคโนโลยี และแบงก์ หนุนบรรยากาศการลงทุนแต่มูลค่าการซื้อขายมีเข้ามาไม่มากนัก ก่อนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เห็นว่า มูลค่าซื้อขายที่มีเข้าไม่มากนักเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน อีกทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นช่วยหนุนการลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงาน ขณะที่มองตลาดสัปดาห์หน้าจะแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยนักลงทุนยังจับตาดูสถานการณ์วิกฤตวเคลียร์ในญี่ปุ่น และลิเบีย

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ปิดบวก 0.94 จุด มาที่ 1,003.29 จุด ระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,010.65 จุด และต่ำสุดที่ 1,003.29 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย25,421.95 ล้านบาท

ขณะที่ SET50 ปิดบวก 1.74 จุด หรือ 0.25% มาที่ 702.84 จุด
และ SET100 ปิดบวก 3.26 จุด หรือ 0.21% มาที่ 1,532.07 จุด
ดัชนีกลุ่มพลังงาน ปิดบวก 0.01% ด้วยมูลค่าซื้อขายสูงสุดของตลาดที่ 28.17% นำโดยหุ้นบ้านปู(BANPU) บวก 0.54%
กลุ่มเทคโนโลยี บวก 0.99% แต่หุ้นทรูคอร์ปอเรชั่น(TRUE) ลบ 0.79%,กลุ่มแบงก์ ลบ 0.07% โดยหุ้นธ.กรุงเทพ (BBL) ปิดไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 156 บาท
ดัชนีกลุ่มปิโตรเคมี บวก 0.61% นำโดยหุ้นอินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL)บวก 1.52%

"ตลาดหุ้นดีดตัวตามตลาดโลก แต่วอลุ่มไม่มาก สะท้อนความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน"
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บล.ธนชาต กล่าวเขา เห็นว่าวันนี้ ตลาดหุ้นตอบรับสถานการณ์ในญี่ปุ่น หลังจากที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 (จี-7) เห็นพ้องกับการแทรกแซงตลาดร่วมกัน เพื่อสกัดการแข็งค่าของเยน อีกทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น ช่วยหนุนการลงทุนหุ้นกลุ่มน้ำมันด้วยนอกจากนี้ ตัวเลขการส่งออกในเดือนก.พ.ของไทย ยังคงเติบโต 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนด้วย

ส่วนแนวโน้มการซื้อขายในสัปดาห์หน้า เขา คาดว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยยังต้องจับตาสถานการณ์ในลิเบีย และญี่ปุ่น ขณะที่มองแนวต้านที่ 1,015จุด และแนวรับที่ 1,000 และ 996 จุด

หลักทรัพย์ 5 อันดับแรก ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด
IVL บวก 0.75 บาท มาที่ 50.00 บาท
BANPU บวก 4.00 บาท มาที่ 742.00 บาท
IRPC ปิดไม่เปลี่ยนแปลง อยู่ที่ 6.00 บาท
PTTEP ลบ 1.00 บาท มาที่ 180.00 บาท
PTT บวก 1.00 บาท มาที่ 337.00 บาท
ที่มา : bisnews

-----------------------------------------------------------------------------
แนวโน้มในวันจันทร์ที่ 21/03/54 นี้ คาดว่าตลาดยังมีความผันผวนอยู่ โดย SET มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ 999-1,006 จุดโดยที่ตลาดมีกรอบแนวรับ-แนวต้าน ดังนี้
แนวรับหลักที่ BB Average ที่ 999 จุด และที่ EMA75 ที่ระดับ 995 จุด
แนวต้านที่ EMA5 ที่ระดับ 1,006 และ High ของวันศุกร์ที่ 17/03/54 ที่ระดับ 1,010 จุด

Indicators ต่างๆ ของเมื่อวานนี้ (18/03/54) : 4 Indicators = Sell Signal
1. Alert MACD (S)
(Major = Sell Signal : 1. MACD <. Signal.... แต่ Minor ยังดีอยู่ 2. MACD > 0)
(-) MACD Oscillator ติดลบมากขึ้น โดยลบจาก 1.03 มาเป็น -1.33 ... ทำให้สัญญาณ Sell Signal แข็งแรงขึ้น

2. (OBV + : Stronger)
(+) OBV เพิ่ทขึ้นมาที่ 475.... แสดงให้เห็นว่ามีแรงซื้อขายสะสมเพิ่มขึ้น ส่งสัญญาณในทางบวกอีกครั้ง

3. Alert CCI (Down Trend but Stronger)
(1.CCI <. 100 : Major = Sell Signal, 2. CCI <. ศูนย์ : Miinor = Sell Signal)
(+) CCI เพิ่มขึ้นจาก -72 มาที่ -45... และMinor มีสัญญาณเป็นลบ เพราะ CCI มีค่าน้อยกว่า ศูนย์ แล้ว

4. Alert ADX (B)
(+) เส้น ADX : DI+(29.66) > DI-(24.63) : ทั้ง 2 เส้น เริ่มห่างกันมากขึ้น.... ทำให้แนวโน้มกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง

5. Alert William %R (Down Trend)
(%R < -10 ลงมาอีกครั้ง เมื่อ 15/03/54 : Major = Sell Signal)
(+/-) Williams %R มีค่าเท่าเดิม

6. Alert RSI (S)
(-) RSI < MAV9 : RSI ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย

7. Alert Slow Sto (S)
(-) Slow Stochastic : %K(57) < %D(67)


****************
Historical Technics
****************
Buy Signal
1. MACD เปลียนจาก Buy Signal ไปเป็น Sell Signal แล้ว (16/03/54)
2. (+) SET ผ่านแนวต้านหลัก BB Average = Major เป็น Bullish... ยืนยันความเข็งแรงของตลาด... BB Average เปลี่ยนจากแนวต้านมาเป็นแนวรับหลัก (16/02/54)
3. (+) EMA5 (979.12) ตัด EMA 10 (976.12 )ขึ้นมา... Majorเป็น Golden Cross = Buy Signal (17/02/54)
4. (+) EMA10 (988.34) ตัด EMA25 (987.47) = Golden Cross : Strong (04/03/54)
5. (+) EMA25 (992.96) ตัด EMA75 (991.78) (10/03/54)

Sell Signal
1. (-) SET หลุด BB Top ลงมาแล้ว = SET อ่อนลงมา (09/03/54)
2. (-) 2.1 CCI ตัด 100 ลงมา (44) : Major = Sell Signal (11/03/54)
3. (-) %R < -10 : Sell Signal (15/03/54)
4. (-) Slow Sto : %K < %D = Sell Signal (15/03/54)
5. (-) SET ต่ำกว่าเส้น 10 วัน แล้ว : Weak (15/03/54)
6. New (-) MACD(6.60) ตัดเส้น Signal (6.88) ลงมา = Major:Sell Signal (16/02/54)


-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
21 มีค. 54 ( +0.94 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ปรับตัวลง 999 - 1001 จุด
แนวโน้มในวันจันทร์นี้ ดัชนีมีโอกาสปรับตัวกลับลงไปแถว 999 - 1001 ใกล้จุดต่ำสุดของวันพฤหัสอีกครั้ง

ตลาดน่าจะยังคง แกว่งตัวอีกหนึ่งถึงสองวันในกรอบ 998 – 1010 หรือระหว่างจุดต่ำสุดของวันพฤหัสถึงจุดสูงสุดของวันศุกร์ เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน

จากนั้นการปรับตัวลง ต่ำกว่า 996.44 จุดต่ำสุดของวันอังคาร และต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน จะถือเป็นสัญญาณการปรับตัวลงต่อของ
ตลาด มีเป้าหมายบริเวณ 970 – 975 จุด

หุ้นเด่น
TUF
กำลังปรับตัวในกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะวัน ทยอยซื้อแถว 48.50 – 48.75 หรือรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 49.50 กรอบบนของสามเหลี่ยม เป้าหมายระยะสัปดาห์53.00 – 57.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 48.25 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
IVL แกว่งตัว 49 – 50.50
BANPU แกว่งตัว 732 – 746
IRPC ไม่ต่ำกว่า 5.95 ขึ้น 6.45 – 6.55
PTTEP ต่ำกว่า 180 ลง 176 – 178
PTT ต่ำกว่า 337 ลง 333 - 334
CPF เกิน 25.25 ขึ้น 26 – 26.50
TOP แกว่งตัว 80 – 81.50
TRUE แกว่งตัว 6.25 – 6.50
SCC แกว่งตัว 330 - 335
JAS ไม่ต่ำกว่า 2.32 รอขึ้น 2.80 – 3.60

-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
EFinance Thai : ลุ้น Window Dressing ดันดัชนีฯ

โบรกฯ ชี้ SET สัปดาห์นี้ ข่าวดีรุมลุ้นปรากฏการณ์ Window Dressing หนุนดัชนีฯ คาดหุ้นใหญ่-กลาง ได้ประโยชน์ มองแนวโน้ม SET ระหว่าง 21 – 31 มี.ค. 54 ขึ้นต่อเนื่องเป้าหมาย 1025 -1045 จุด ฟินันเซีย ไซรัส คาด ต้นเดือนหน้าได้เห็น window dressing ดักงบQ1/54 ส่วนสัปดาห์นี้ แนะ เล่นหุ้นรับอานิสงส์วิกฤตญี่ปุ่น ฟากกสิกรไทย ชู สัปดาห์นี้ ตะวันออกกลางป่วนเป็นปัจจัยเสี่ยง ให้จุด stop loss ที่ 996 จุด

ตลาดหุ้นไทยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ปกคลุมไปด้วยข่าวร้ายเต็มตลาด โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตในประเทศญี่ปุ่น และ ปัญหาสถานการณ์ป่วนในตะวันออกกลาง ทำให้ดัชนีฯขยับในกรอบแคบแทบทั้งสัปดาห์ ดังนั้น ทิศทางความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้จึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

*บล. กิมเอ็ง ชี้ SET สัปดาห์นี้ ข่าวดีรุม ลุ้นปรากฏการณ์ Window Dressing คาดหุ้นใหญ่-กลาง ได้ประโยชน์
บทวิเคราะห์ บล. กิมเอ็ง ระบุว่า SET INDEX สัปดาห์นี้ ให้มุมมองเป็นบวก จากปัจจัยแวดล้อมที่จะกลับมาเอื้อต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น
1.ผลของการลงคะแนนรายรัฐมนตรี: คะแนนที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล ต่อรัฐมนตรีแต่ละท่าน จะเป็นการสะท้อนถึงความเป็นปึกแผ่นของพรรคร่วมรัฐบาลมากน้อยเพียงใด เพราะนั้นย่อมสะท้อนต่อไปยังผลการเลือกตั้งในครั้งถัดไป
2.ตลาดหุ้นทั่วเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นไทย ปรับฐานลงตลอดสัปดาห์นี้ สะท้อนความเสี่ยงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นไปค่อนข้างมากแล้ว
3.Roadshow ของโบรกเกอร์ต่างชาติในฮ่องกง: ระหว่างวันที่ 21-25 มี.ค. บริษัทที่เข้าร่วมงานนี้ได้แก่ ADVANC / BBL / BANPU / CPALL / IVL / MINT / PTT /SCB / SCC/ THAI / TRUE คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ และอาจตามมาด้วยการนำเงินมาลงทุนเช่นกัน
4.การรายงานสินเชื่อเดือนก.พ.ของธนาคารพาณิชย์:ภายในวันที่ 25 มี.ค.นี้ คาดว่าสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค และการลงทุนภายในประเทศ จะยังเห็นการขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้จับตา KTB – SCB
5.และการทำ Window Dressing: คาดว่าหุ้นขนาดใหญ่ และกลาง น่าจะได้ประโยชน์จากกรณีด้วยเช่นกัน
ดังนั้น KimEng จึงยืนยันให้นักลงทุน “ถือพอร์ตการลงทุน เพื่อรอขายทำกำไรบริเวณ 1,025-1,030 จุดราว 15-20% ในสัปดาห์นี้” ทั้งนี้ควรมุ่งเน้นหุ้นขนาดใหญ่ กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และธนาคารเป็นสำคัญ เพื่อเก็งกำไรต่อประเด็นบวกข้างต้น

* ทิสโก้ คาด แนวโน้ม SET 21 – 31 มี.ค. 54 ขึ้นต่อเนื่องเป้าหมาย 1025 -1045 จุด
บทวิเคราะห์ บล.ทิสโก้ ระบุว่า แนวโน้ม SET 21 – 31 มี.ค.54 คาดขึ้นต่อเนื่องเป้าหมาย 1,025 , 1045 จุด ผลกระทบจากแผ่นดินไหว + สึนามิ + วิกฤตินิวเคลียร์ การปรับลงของหุ้นทั่วโลกรอบนี้คล้ายกับการลงของหุ้นทั่วโลกหลังจากเหตุการณ์ 11 ก.ย. 2544 ในช่วงนั้นดัชนี DOWJONES ลงตลอดสัปดาห์แรกหลังเปิดเทรด = 15.0 % แต่ในสัปดาห์ถัดมาตลาดหุ้นทั่วโลกก็ดีดกลับขึ้น 1 เดือนประมาณ 50- 100% จากที่ลงไป คาดว่าการลงและดีดกลับของหุ้นทั่วโลกรอบนี้จะมีรูปแบบคล้ายกัน แนวโน้ม SET วันนี้ ; ค่าเงินเยนแข็งค่าเป็นประวัติการณ์ นักลงทุนกังวล Yen Unwinding Carry Trade (ญี่ปุ่นขายสินทรัพย์เพื่อดึงเงินกลับ) DOWJONES ขึ้น 161 จุด (+1.4 %) ปิด 11,774 จุด คาด DOWJONES ลงไม่หลุด 11,600 จุดก่อนดีดกลับขึ้นในสัปดาห์นี้
คาด SET เปิดกระโดดขึ้นทันทีตามตลาดหุ้นเอเชียทดสอบแนวต้าน 1,012 , 1016 จุด หากยังขึ้นไม่ผ่าน 1,012 จุด จะทรงตัวออกด้านข้างมีแนวรับที่ 1,005 , 1,000 จุด - ภาพรวมจะอิงไปกับการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น NIKKEI และ ตลาดเอเชียอื่น ๆ แต่ยังมองเป็นโอกาสซื้อแล้วถือ กลยุทธ์วันนี้ ; 1. Port ลงทุน ; วิกฤติคือโอกาส – ซื้อ แล้วถือขายปลายเดือน 1025 , 1045 จุด 2. เก็งกำไร ; ทยอยซื้อแนวรับ 1,005 , 1000 – ถือรอขายสัปดาห์หน้า 1,025 จุด 3. หุ้นได้ประโยชน์เหตุการณ์แผ่นดินไหว + วิกฤตินิวเคลียร์ ในญี่ปุ่น ; CPF , TUF , GFPT , BANPU , AGE , LANNA , GUNKUL , TOP , PTT , PTTEP , MCS , SCC , AMATA , ROJNA , HEMRAJ 4. กลุ่มได้ประโยชน์- อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ; BBL , SCB , KBANK , KTB , CPALL , MAKRO , ROBINS 5 กลุ่มสัญญาณทางเทคนิคดี ; IVL , JAS , TRUE , DTAC& 61550;

*กูรู คาด ต้นเดือนหน้าได้เห็น window dressing ดักงบQ1/54 ส่วนสัปดาห์นี้ แนะ เล่นหุ้นรับอานิสงส์วิกฤตญี่ปุ่น

นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ คาดว่าจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่มีกรอบที่จำกัด โดยการเคลื่อนไหวจะยังอยู่ในลักษณะผันผวน เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากระตุ้นบรรยากาศการลงทุนที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังคงมีปัญหาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเทศญี่ปุ่นที่เกิดเหตุระเบิด และปัญหาทางการเมืองของประเทศตะวันออกกลางและลิเบียที่ยังไม่มีความชัดเจนในเชิงบวก จึงทำให้เกิดความกังวลในการเข้าลงทุนของนักลงทุน
นอกจากนี้ สำหรับกรณีการทำ window dressing นั้นประเด็นการประกาศงบ Q1/54 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาด คาดว่าจะมีความชัดเจนในช่วงต้นเดือนหน้าว่าจะมีแรงเก็งกำไรกับบริษัทจดทะเบียนที่มีงบการเงินโดดเด่นหรือไม่ โดยเบื้องต้นกลุ่มสถาบันการเงินจะมีการประกาศงบเป็นกลุ่มแรก โดยเริ่มประกาศตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น เชื่อว่าจะส่งผลให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นแรงกดดันหลักของตลาดหุ้นไทย ซึ่งเชื่อว่าช่วงปลายเดือนนี้ดัชนีอาจจะมีการพักฐาน เพราะความกังวลกับปัญหาเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น ส่วนปัญหาด้านการเมืองในขณะนี้ประเมินว่าจะไม่มีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นแต่อย่างใด แม้ว่าจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้มีการประกาศไว้แล้วว่าจะยุบสภาในช่วงเดือนพ.ค. ดังนั้นนักลงทุนได้มีการคาดการณ์ไว้แล้ว
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในสัปดาห์นี้ แนะเก็งกำไร หรือหากดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นควรขายทำกำไร โดยเน้นหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากเหตุแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นและปัญหาการเมืองในตะวันออกกลาง อาทิ หุ้นกลุ่มโรงกลั่น ถ่านหิน อาหาร วัสดุก่อสร้าง และเหล็ก โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 990 จุด และประเมินแนวต้านไว้ที่ 1,020 จุด

* วงการ ชี้ ปลายสัปดาห์นี้ได้ WINDOW DRESSING หนุนดัชนีฯ เล็กน้อย ชู พุ้น พลังงาน ปิโตรฯ โรงกลั่น แบงก์ และกลุ่มอาหาร โดดเด่น
นายปริญทร์ กิจจาทรพิทักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า หุ้นไทยสัปดาห์นี้ คาดสถานการณ์ญี่ปุ่นน่าจะเริ่มดีขึ้น คือ ผ่านจุดเลวร้ายไปได้ในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากสัปดาห์นี้มีข่าวความเสียหายจากระเบิดนิวเคลียร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนตะวันออกกลางยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เพราะสถานการณ์ในลิเบียยืดเยื้อมานานพอสมควร ความรุนแรงยังมีอยู่ ดังนั้น ต้นสัปดาห์นี้ น่าจะถึงจุดที่มีความชัดเจนว่าสหประชาชาติจะโจมตีลิเบียหรือไม่ หลังเหตุการณ์ยังไม่สงบลง
ส่วนปัจจัยลบในประเทศ เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นมากนัก ในขณะที่ปัจจัยบวก คือ การทำ WINDOW DRESSING ก็น่าจะเริ่มเห็นในช่วงปลายสัปดาห์ อาจทำให้หุ้นบางบริษัทที่ทำ WINDOW DRESSING ปรับเพิ่มขึ้น ดังนั้น สัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบกว้างๆ ที่ 995-1020 จุด
ส่วนกลยุทธ์การลงทุน ความผันผวนของตลาดหุ้นยังมีอยู่ ดังนั้น แนะนำซื้อขายตามกรอบที่ให้ไว้ หากดัชนีฯ ปรับขึ้นไปตามแนวต้านดังกล่าว แนะนำ "ขาย" หากปรับลงมาตามแนวรับ แนะนำ"ซื้อ"
กลุ่มที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี โรงกลั่น ธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน เชื่อว่า ผลประกอบการในครึ่งแรกปีนี้จะดีกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนกลุ่มอาหารจะรับผลดีจากดีมานด์อาหารจากญี่ปุ่นที่จะเพิ่มขึ้น หลังภัยพิบัติสงบลง เพราะต้องเร่งฟื้นฟูความเสียหายของประเทศโดยเร่งด่วน

* เซียนหุ้น ทำนายหุ้นไทยสัปดาห์นี้ ทะยานแตะแนวต้าน 1025 จุด ชู ตะวันออกกลางป่วนเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยกำหนดจุด stop loss ไว้ที่ 996 จุด
นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์นี้ คาดว่ามีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแตะระดับแนวต้านที่ 1,025 จุดได้ เนื่องจากสถานการณ์ปัญหาแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีความชัดเจนในทางบวก หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นได้ประกาศว่าขณะนี้ได้เร่งเดินหน้าระบบเครื่องหล่อเย็น โดยจะเปิดเดินเครื่องครบในวันอาทิตย์นี้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยบรรเทาการหลอมละลายของสารกัมมันตภาพรังสีที่แพร่กระจายจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้มีปริมาณลดลง ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงกับแผนการฟื้นฟูของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาหุ้นบางกลุ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น
พร้อมกันนี้ แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงมีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้น หลังจากปัญหาเหตุความไม่สงบทางการเมืองประเทศแถบตะวันออกกลางและลิเบียยังไม่คลี่คลาย ซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นขนาดใหญ่ผลักดันให้ภาพรวมของตลาดดีขึ้นได้
แต่อย่างไรก็ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีนั้นยังคงมีกรอบที่จำกัด ซึ่งเชื่อว่าจะยังไม่สามารถผ่านระดับแนวต้านที่ 1,025 จุดได้ในช่วงสัปดาห์นี้ เนื่องจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงจะส่งผลให้เป็นแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในประเทศแถบเอเชียรวมถึงไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ จึงทำให้หุ้นบางกลุ่มโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มอสังหาฯ อาจจะปรับตัวลดลงและเป็นแรงกดดันให้ดัชนีเคลื่อนไหวได้ไม่ไกลนัก
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำเก็งกำไร โดยกำหนดจุด stop loss ไว้ที่ระดับแนวรับ 996 จุด และประเมินแนวต้านที่ระดับ 1,025 จุด

* เอเซีย พลัส ชี้ window dressing คงไม่ช่วยสนับสนุน SET เป็นบวกมากนัด
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของ SET Index ในสัปดาห์นี้ คาดว่ามีโอกาสปรับขึ้นได้แต่ไม่มากนัก เพราะกรณีเกิดภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิที่ญี่ปุ่นยังคงเป็นปัจจัยหลักที่กดดันการเคลื่อนไหวของดัชนี ประกอบกับอาจมีเม็ดเงินบางส่วนไหลไปลงทุนในยุโรปและสหรัฐฯ หลังจากที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวเริ่มฟื้นตัว ฉะนั้นในสัปดาห์นี้แม้จะมีเรื่อง window dressing คงไม่ช่วยสนับสนุนหรือเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก
ขณะเดียวกันกลยุทธ์การลงุทน แนะนำให้เลือกลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย 4 เช่น กลุ่มอาหาร กลุ่มค้าปลีก เป็นต้น รวมทั้งหุ้นที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้า เช่น PTT และ BANPU ส่วนแนวรับของ SET Index ในสัปดาห์หน้าให้ไว้ที่ 1000 จุด แนวต้านให้ไว้ที่ 1020 จุด และให้แนวต้านถัดไปที่ไว้ที่ 1025 จุด


* บล.ยูไนเต็ด คงเป้าหมายของ SET ทั้งปี 54 ที่ 1,200 จุด แต่ก็ต้องระมัดระวังในการเข้าลงทุน
บทวิเคราะห์ บล.ยูไนเต็ด ระบุว่า สำหรับปี 54 เรายังคงมีมุมมอง “เชิงบวก” ต่อการลงทุนในตลาดหุ้น จากประเด็นต่อไปนี้...
1. เศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดของวัฏจักรแล้วตั้งแต่ปี 52 และกำลังฟื้นตัวตามรูปแบบตัว “U”
2.โครงการในมาบตาพุดที่หยุดชะงักไป จะกลับมาผลิตเชิงพาณิชย์อีกครั้งตั้งแต่ 4Q53/1Q54 Fed, ECB, BOJ ยังต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (quantitative
easing) ส่งผลให้เม็ดเงินยังคงไหลเข้าสู่ตลาดเอเชีย+ดันค่าเงินเอเชียแข็งขึ้น
3. นายกรัฐมนตรี ประกาศชัดเจนว่าจะยุบสภา+จัดเลือกตั้งใหม่ปี 54 (สถิติชี้ว่าตลาดหุ้นมักขึ้นก่อนเลือกตั้ง (pre-election rally) & 8776;3 เดือน โดย SETI ปรับขึ้นเฉลี่ย +10%) แม้ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ การแบ่งขั้วที่ลดลง+การจัดการเลือกตั้งใหม่ น่าจะช่วยให้ไม่เกิดเหตุการณ์จลาจลอย่างปี 53-54
อย่างไรก็ตาม ตลาดก็มี “ปัจจัยเสี่ยง” ที่มีผลกระทบกดดันอยู่หลายๆ ประเด็นเช่นกัน คือ ...
1.PBOC ได้คุมเข้มทางการเงินมากขึ้นจากการขยายตัวอย่างร้อนแรงของจีน [ผลกระทบ:อาจส่งผลทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของโลกกลับอ่อนตัวลง] การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ [ผลกระทบ: อาจโยกย้ายเม็ดเงินออกจากตลาดเกิดใหม่]สถานการณ์ที่ผันผวนสูงมากในขณะนี้ทำให้นักลงทุนอยู่ในภาวะ “กลัวความเสี่ยง” (riskaversion) และหันมาถือ US$ มากขึ้น [ผลกระทบ: มีผลกดดันให้ค่าเงิน ฿ อ่อนลง]
2.เหตุการณ์จลาจลในตะวันออกกลาง ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้น [ผลกระทบ: หากสถานการณ์ลุกลาม อาจส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกฟุบลงอีกครั้ง]
3.เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่ญี่ปุ่น อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอีกครั้ง[ผลกระทบ: เม็ดเงินไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย]
แม้เรายังคงเป้าหมายของ SETI ที่ 1,200 จุด แต่ก็ต้องระมัดระวังในการเข้าลงทุน เพราะแม้ราคาหุ้นช่วงนี้ “ไม่แพง” แต่ถือว่า “ไม่ถูก” จึงต้องเน้นที่ “การเลือกหุ้น” ค่อนข้าง
มาก มีปัจจัยลบกดดันไม่ให้ปรับตัวขึ้นทุกกลุ่ม [ข้อสมมติสำคัญที่ใช้ประเมินเป้าหมาย SETIคือ ราคาหุ้นทุกตัวใน coverage วิ่งเข้าหาราคาเป้าหมาย (พื้นฐาน)] คาดว่าการพักฐานของตลาดจะหยุดเมื่อ
1) มีความชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
2) มีการคาดการณ์เชิงบวกเกี่ยวกับผลประกอบการ 1Q54 (เม.ย.)


-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น