Code 191 : ระวังปรับฐาน Dollar Index เริ่ม Rebound

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2553
ATT Code : ระวังปรับฐาน Dollar Index เริ่ม Rebound
----------------------------------------------------------------------------------

MARKET WAVEAnalysis
8 พย. 53 ( +8.84 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ระวังปรับฐาน …
ภาพระยะสั้นวันจันทร์นี้ ดัชนี “อาจจะ”ปรับตัวขึ้นต่อได้แถว 1054 – 1055 จุด ?แม้จะยังไม่มี สัญญาณปรับฐานที่ชัดเจน
แต่จากสภาวะ RSI Bearish Divergence &Overbought ในภาพระยะสัปดาห์ มีโอกาสที่ตลาดพร้อมปรับฐานได้ทุกเวลา เป้าหมายในการปรับฐานรอบนี้เป็นไปได้ตั้งแต่บริเวณ 990 –1000 จุด ซึ่งเป็นบริเวณแนวรับตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน และเป็นการปรับฐานตามอัตราส่วน Fibonacci Ratio 38.2% นับจากจุดต่ำสุดของวันที่ 20 กย. ถึงจุดสูงสุดของวันที่ 5 พย.หรือ “อาจจะ” ปรับฐานลงได้ถึงบริเวณ930 – 940 จุด ?? ซึ่งเป็นการปรับฐานใหญ่ตามอัตราส่วน Fibonacci Ratio 38.2% นับจากที่ปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่เมื่อเดือน มิย. และใกล้กับ บริเวณเป้าหมายตามเครื่องมือ Point &Figure

หุ้นเด่น
IRPCกำลังปรับตัวในกรอบสามเหลี่ยม ภาพระยะเดือน รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 4.80 จุดสูงสุดวันศุกร์ เป้าหมายระยะสัปดาห์ 5.15 – 5.35/หรือ 6.35 – 6.50 ?( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 4.54 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTT ต่ำกว่า 337 ลง 310 - 320
BANPU ต่ำกว่า 806 ลง 780 - 790
IRPC รายละเอียดใน ”หุ้นเด่น”
SCB ต่ำกว่า 113.50 ลง 108 - 110
CPF ไม่น่าเกิน 22.80 – 23
TMB ต่ำกว่า 2.38 ลง 2.30 – 2.34
PTTAR ต่ำกว่า 34.25 ลง 32 - 33
KTB ต่ำกว่า 17.80 ลง 17.20 – 17.50
PTL เกิน 34.75 ขึ้น 35.50 – 36
ITD ไม่ต่ำกว่า 4.80 ขึ้น 5.15 – 5.45
----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
FSS:
ช่วงถัดจากนี้รอทยอยเลือกหุ้นเข้ารับเมื่อตลาดปรับตัวลง...
แนวโน้ม: เนื่องจาก SET ขยับขึ้นมาค่อนข้างร้อนแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากรับข่าวการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่ของเฟด ขณะที่ในตลาดหุ้นบ้านเราเมื่อท้ายสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มมีแรงขายกดดันให้ดัชนีที่ขยับบวกขึ้นแรงในช่วงต้นกลับปรับลดช่วงบวกลงมาปิดที่ระดับต่ำสุดของวัน รวมทั้งค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาแข็ง
ค่าจากตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาดีเกินคาดกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงเล็กน้อย มีโอกาสที่จะส่งผลให้ SET เข้าสู่ช่วงปรับพักตัวลงได้ตามคาด ซึ่ง FSS
มองว่า SET มีแนวโน้มที่จะแกว่งลงสู่ระดับ 1020-1010 จุดเป็นอย่างน้อยได้อย่างไรก็ตามหลังตลาดปรับพักตัวลง เรายังคาดว่าเม็ดเงินจากต่างประเทศและจากกองทุน LTF, RMF จะเข้ามาช่วยพยุงตลาดและผลักดันให้ดัชนีดีดกลับขึ้นได้อีกครั้ง ดังนั้นตลาดอ่อนตัวลงจึงถือเป็นจังหวะเลือกหุ้นเข้าซื้อ
กลยุทธ์: หลังขายทำกำไรไปบ้างแล้ว ถัดจากนี้ก็รอหาจังหวะกลับเข้าซื้อเมื่อตลาดปรับตัวลง โดยหุ้นที่น่าสนใจ ถ้าเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่แนะนำได้แก่ PTTEP,
PTT, BANPU, SCC, PTTCH, KBANK, SCB, BBL ส่วนหุ้นขนาดกลาง–เล็กแนะนำ CPALL, TASCO, PTL, BGH, TUF เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
• (+) นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มคาดการณ์ดัชนีหุ้นปลายปี 2553 เป็นเฉลี่ย 1,038จุด จากคาดการณ์เดือนกรกฎาคม 849 จุด และคาดดัชนีหุ้นปลายปี 2554 จะปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอยู่ที่ 1,133 จุด โดยประเมินดัชนีสูงสุดในปี 2554 ไว้ที่ 1,201 จุด และต่ำสุดที่ 907 จุด (FSS มอง 1,100 จุดปีนี้ และ1,300 จุดปีหน้า) ปัจจัยบวกมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ผลประกอบการของบจ.ที่ดีขึ้น มาตรการกระตุ้นของรัฐ หุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ BANPU, KBANK, KTB,PTTEP, SCC, STEC เป็นต้น ส่วนหุ้นที่เห็นว่าเต็มหรือเกินมูลค่าแล้ว ได้แก่ TMB,
TRUE เป็นต้น
• (-) ประเทศในเอเชียอาจมีมาตรการคุมเงินทุนไหลเข้าอันเป็นผลมาจาก QE2หลังจาก Fed ออกมาตรการ QE2 ส่งผลให้ค่าเงินในเอเชียแข็งค่าขึ้นอีกต่อเนื่องเฉลี่ย0.2% ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน (ยกเว้นวันศุกร์ที่ค่าเงินอ่อนค่าเล็กน้อยเพราะตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ดีกว่าตลาดคาด) นอกจากนี้ การประชุม G20 11 – 12 พ.ย. นี้อาจทำให้ค่าเงินในเอเชียแข็งค่าขึ้นอีกหากจีนยอมให้หยวนยืดหยุ่นกว่านี้ตามที่มีแรงกดดันจากสหรัฐฯ จึงมีความเสี่ยงที่ประเทศในเอเชียจะออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า
• (-) ระวังกลุ่มที่เป็นลบจากบาทแข็งค่า ได้แก่กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ (น่าจะอาศัยโอกาสที่ผลประกอบการออกมาดีใน 3Q10 นี้ลดสัดส่วนการถือหุ้นกลุ่มนี้) กลุ่มอาหารและเกษตรส่งออก (CPF, GFPT, TUF, CRESH, ASIAN, STA, TIPCO) โดยเฉพาะ CPFและ GFPT ที่จะมีต้นทุนอาหารสัตว์ (ข้าวโพดและกากถั่วเหลือง) แพงขึ้นในอนาคตจากน้ำท่วม และบริษัทส่งออกอื่นๆ (VNG, SITHAI)
• (+) หุ้นที่ได้รับบวกจากบาทแข็งค่า ได้แก่กลุ่มรับเหมา วัสดุก่อสร้าง อสังหาฯสื่อสาร, TVO
• (+) DELTA กำไรสุทธิดีกว่าเราและตลาดคาด กำไรสุทธิ +48% Q-Q, +144%Y-Y ส่วนกำไรปกติ +30% Q-Q, +117% Y-Y และเป็นกำไรทีสูงที่สุดในปีนี้ แนวโน้ม4Q10 ชะลอตัวตามฤดูกาล แม้ว่า DELTA จะเป็นหุ้น Top pick ในกลุ่มนี้ แต่บาทแข็งจะเป็นปัจจัยสำคัญกดดันการลงทุนในหุ้นทั้งกลุ่มต่อไปอีกระยะหนึ่ง ปัจจุบันที่ข่าวดีออกมาแล้ว แนะนำให้ขายทำกำไรก่อนแล้วรอซื้ออ่อนตัวใหม่
• Fund Flow สัปดาห์ที่ผ่านมาไหลเข้าต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์และมีปริมาณการไหลเช้าเพิ่มขึ้นมากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากเฟดประกาศจะฉัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบผ่านการซื้อพันธบัตรเดือนละ 7.5 หมื่นล้านดอลาร์ เป็นเวลา 8 เดือน รวมเป็นเม็ดเงินทั้งสิ้น 6 แสนล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินทุกสกุลและยังส่งผลราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับขึ้นแรงด้วยเนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ซื้อขายในรูปเงินดอลลาร์ดังนั้นเมื่อค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าราคาสินค้าเหล่านี้จะปรับขึ้นชดเชยนั้นเอง สำหรับแนวโน้ม Fund Flow สัปดาห์นี้คาดว่าจะยังไหลเข้าอย่างต่อเนื่องตราบใดที่เฟดต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการที่ประเทศของภูมิภาคเอเชียกลับใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวตรงข้ามกับอเมริกา ซึ่งจะทำให้ค่าเงินในช่วงนี้อาจผันผวนมากกว่าปกติ ส่วนค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นวันนี้เป็นผลจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรปรับขึ้นมากกว่าคาด แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง 9.6% อย่างไรก็ตามโมเมนตั้มของ Fund Flow ช่วงนี้อาจมีอยู่ ประกอบราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์บางชนิดยังปรับขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นหุ้นในกลุ่มปตท. น่าจะยังเป็นกลุ่มนำตลาดในช่วงนี้อยู่ เรายังเน้นกลยุทธ์ Sell into Strength และ BUY onWeakness

ข่าวภายในประเทศ
วัดดวงหุ้นเครือปตท. PTTAR – IRPC ถูกมาก ปรับขึ้นต่ำกว่าตลาด-ปิโตรเคมีกำลังขึ้นหม้อ วัดดวงหุ้นเครือ ปตท. รับข่าวดีธุรกิจพลังงาน-ตลาดหุ้นขาขึ้น พ่วงเม็ดเงินต่างชาติไหลทะลักเข้าตลาดหุ้น PTTAR-IRPC ปรับขึ้นน้อยกว่าตลาดแถมต่ำกว่าเป้าหมายมาก PTTAR มองถึง 44 บาทIRPC จากต้นปีปรับขึ้นไม่ถึง 10% พื้นฐานอยู่ที่ 6 บาท ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีกำลังก้าวเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นอีกครั้ง (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 8-11-2010)
TRC พลิกกำไร 258 ล้านบาทลุ้นงานท่อปตท.- เป้า 5.25 บ. TRC ไตรมาส 3/53 พลิกเป็นกำไรจากปีก่อนที่ขาดทุน 258.58 ล้านบาท เติบโตไม่น้อยกว่า 50% หลังบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้นราชเพลิน 57.13 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 4/53 ส่งสัญญาณดีต่อเนื่อง ลุ้นงานประมูลงานปิโตรฯ
และท่อก๊าซ 5,000-6,000 ล้านบาท แนะซื้อเป้า 5.25 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 8-11-2010)
HEMRAJ ไตรมาส 3 ปรี๊ด 200% กำไรบาทแข็ง-ขายที่ดินเพิ่ม HEMRAJ งบไตรมาส 3 สุดสวย คาดโกยกำไรสุทธิ 337 ล้านบาท พุ่งปรี๊ด
194% จากไตรมาสก่อน รับอานิสงส์รายได้ขายที่ดินฟื้นตัว และบุ๊คส่วนแบ่งกำไรจาก Gheco-one เพิ่มขึ้น หลังเงินบาทแข็งค่ารับกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจำนวนมาก โบรกฯพร้อมใจเชียร์ซื้อเป้า 2.20-2.43 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 8-11-2010)
หุ้นไทยยังแค่วอร์มอัพพลังงาน-แบงก์ดันดัชนี “จรัมพร” มองตลาดหุ้นไทยยังไม่ร้อน พื้นฐาน “บจ.” รองรับอยู่ ต่างชาติรู้จัก บจ. ไทยมากขึ้นหลังโรดโชว์ รอบนี้หุ้นกลุ่มพลังงานกับแบงก์เป็นตัวดันดัชนี ราคาน้ำมันสิ้นปีมีโอกาสแตะ 90 เหรียญ ดัชนียังเป็นขาขึ้น ระวังอาจมีปรับฐาน แนะ PTT360 บาท , PTTEP 205 บาท ส่วน KBANK 148 บาท และ KTB 21.70 บาท ด้านกองทุนแนะยังไล่ซื้อ LTF-RMF ได้ ยกเว้นคนใกล้เกษียณแนะซื้อRMF ลงบอนด์ระยะสั้น แค่ 1-2 ปี (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 8-11-2010)
BEC ไตรมาส 3 ทุบสถิติกำไร 830 ล้าน เชื่องบ Q4 ไฮซีซั่นอีกรอบ สภาพคล่องหุ้นทะลัก กลุ่มมาลีนนท์ขายหุ้นได้ผลดันสภาพคล่องหุ้น BECเพิ่มขึ้นทันตา ปริมาณซื้อขายต่อวันเฉลี่ยดีดขึ้นถึง 4,000 ล้านหุ้น ขณะที่งบไตรมาส 3 ทุบสถิติกำไรทะลุเกิน 830 ล้านบาท ลูกค้าแห่เทเม็ดเงินโฆษณาไหลเข้าทะลัก แถมไตรมาส 4 เข้าช่วงไฮซีซั่นอีกรอบ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 8-11-2010)
TVO เป้า 33 บาทรอขานรับข่าวดีลดภาษีกากถั่ว กรณีเรียกร้องต่ออายุการลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง โบรกฯมองหากล่าช้าออกไปจะเป็นบวกต่อTVO เนื่องจากจะทำให้ดีมานด์ของกากถั่วเหลืองในประเทศเพิ่มขึ้น จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 33 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 8-11-2010)
ADVANC กำไรทั้งปี 2.1 หมื่นล้าน เชื่อไตรมาส 4 ไฮซีซั่น เซ็นฮัทช์รับรู้รายได้ 550 ล้าน ปรับเพิ่มเป้าหมาย AIS ใหม่ หลังโชว์งบ Q3 สวยหรู
4,800 ล้านบาท เชื่อผลทั้งปี 2553 ฟาดกำไรมากกว่า 21,000 ล้านบาท ระบุหลังลงนามเซ็นสัญญาเชื่อมไอซีกับฮัทช์ รับรายได้จากการโทรในระบบ
กว่า 550 ล้านบาท แย้มไตรมาส 4 เริ่มเห็นสัญญาณบวกชัดเจนหลังเข้าสู่ไฮซีซั่นเต็มตัว คุมค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพส่งผลทำกำไรเหนือคู่แข่ง (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 8-11-2010)
----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.

ข่าวต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา: เฟดเผยยอดการกู้ยืมเงินของผู้บริโภคสหรัฐในไตรมาส 3 หดตัว 1.5% บ่งชี้ผู้บริโภคกังวลอัตราว่างงาน ธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยว่า ยอดการกู้ยืมเงินของผู้บริโภคสหรัฐในเดือนก.ย.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1% แต่ยอดการกู้ยืมในไตรมาส 3 ปีนี้ หดตัวลง 1.5% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคลดการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจและความวิตกกังวลที่มีต่ออัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง ข้อมูลของเฟดระบุว่า ยอดการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 2.1 พันล้านดอลลาร์ แตะระดับ 2.4117 ล้านล้านดอลลาร์ส่วนยอดการกู้ยืมเงินผ่านบัตรเครดิตลดลง 12.1% หรือ 8.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 25 ขณะที่ยอดการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อรถยนต์และรถบ้านเคลื่อนที่ เพิ่มขึ้น 7.9% หรือ 1.04 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย. (ที่มา: อินโฟเควสท์ 8-11-2010)
สหรัฐอเมริกา: เงินดอลล์แข็งค่าเทียบเยนที่ตลาดโตเกียวเช้านี้ หลังสหรัฐเผยตัวเลขจ้างงานเดือนต.ค.พุ่งเกินคาด ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 81.16 - 81.17 เยนในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียวช่วงเช้าวันนี้ (8 พ.ย.) เมื่อเทียบกับระดับที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ที่81.25 - 81.35 เยน เพราะได้แรงหนุนจากตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐพุ่งขึ้น 151,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. ส่วนอัตราว่างงานยังคงทรงตัวในระดับเดิมที่ 9.6% (ที่มา: อินโฟเควสท์ 8-11-2010)
จีน: จีนคาดผลผลิตมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมปี 2553 ขยายตัว 13.5% ต่อปี หลี่ หยีจง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนคาดการณ์ว่า ผลผลิตมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมของจีนในปี 2553 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างน้อย 13.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยภาคอุตสาหกรรมของจีนกลับมาขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ หลังจากที่เศรษฐกิจจีนสามารถผ่านพ้นวิกฤตการเงินโลกมาได้อย่างรวดเร็ว (ที่มา: อินโฟเควสท์ 6-11-2010)
เอเชีย: ญี่ปุ่นเผยใช้งบสูงสุดถึง $2.614 หมื่นล้านดอลล์แทรกแซงตลาดวันที่ 15 ก.ย.เพื่อสกัดเงินเยนแข็งค่า กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลในวันนี้ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ใช้งบประมาณจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 2.1249 ล้านล้านเยน (2.614 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ด้วยการเทขายเงินเยนและเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดกั้นการแข็งค่าของเงินเยน (ที่มา: อินโฟเควสท์ 8-11-2010)
----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น