Code 349 : บาทอ่อนต้อง CPF- GFPT-SVI

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554

ATT Code : บาทอ่อนต้อง CPF- GFPT-SVI

E Finance : ธปท. ยืดอกรับ ค่าเงินบาทผันผวนหนักตามสถานการณ์โลก ล่าสุดอ่อนค่าต่อเนื่อง แต่ยันจะดูแลอย่างเหมาะสม ฟากบิ๊ก KBANK มอง Q1/54 น่าจะอยู่ที่ 31 บาท/ดอลล์ หนุนแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 2.75% ขณะที่นักลงทุนมองเศรษฐกิจเอเชียจะโตในอัตราชะลอตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจประเทศแถบตะวันตกเริ่มฟื้นตัว ด้านนักวิเคราะห์แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส แนะเลือกลงทุนในหุ้นที่รับผลดี อาทิ CPF-GFPT-SVI

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
2 กพ. 54 ( -4.41 จุด ) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

ไม่เกิน 973.88 จุดสูงสุดวันอังคาร และแนวต้านตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง ดัชนียังคงมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวกลับลงไป บริเวณ 950 – 955 .... อย่างไรก็ตาม โดยรวม แกว่งตัวขึ้นลง ในกรอบ 950 - 987 จุด อีกนานหลายสัปดาห์

-------------------------------------
ยังมีโอกาสปรับตัวลง 951 - 955 จุด
แนวโน้มดัชนีในวันพุธนี้ตราบใด ไม่เกิน973.88 จุดสูงสุดวันอังคาร และแนวต้านตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง ดัชนียังคงมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวกลับลงไป บริเวณ951 – 955 ใกล้จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้วอีกครั้ง

ณ บริเวณ 951 – 955 จุด ดัชนีพอมีโอกาสที่จะดีดตัวกลับขึ้นไปแถว 980 – 987 ใกล้จุดสูงสุดของวันที่ 27 มค. และแนวต้านตาม
ธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 สัปดาห์ อีกครั้ง

ภาพโดยรวมแล้ว คาดว่า ตลาดน่าจะแกว่งตัวอีกนาน “หลายสัปดาห์” ในกรอบ950 - 987 หรือ ระหว่างจุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่
แล้วถึงจุดสูงสุดของวันที่ 27 มค. ในรูปแบบที่คาดว่าจะเป็น Triangle wave X

หุ้นเด่น
BAY
ปรับตัวขึ้นมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมง รอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 24.90 จุดสูงสุดวันอังคารและเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว เป้าหมายสองสามวัน 25.50 – 26.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 24.50 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTT ปรับตัวลง 335 – 336
PTTAR แกว่งตัว 36.50 – 38.25
PTTEP ไม่ต่ำกว่า163.50ขึ้น167.50–169.50
IVL ต่ำกว่า 36.50 ลง 35 - 36
PTTCH เกิน 142.50 ขึ้น 145.50 – 146.50
BANPU ปรับตัวลง 700 – 720
KTB ปรับตัวลง 14 – 14.50
TRUE ปรับตัวลง 6 - 6.20
TOP ปรับตัวลง 64 – 65
IRPC ปรับตัวลง 4.50 – 4.80

----------------------------------------------------------------------------
เงาหุ้น - กลุ่ม ปตท.แจ่ม!!

ดัชนีหุ้นวันที่ 1 ก.พ.54 ปิดที่ 959.69 จุด ลดลง 4.41 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 23,708.63 ล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,039.08 ล้านบาท

ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล.เคจีไอ แนะกลยุทธ์การลงทุน ให้ ทยอยกลับเข้าเลือกหุ้นพื้นฐานดี เพื่อการลงทุนได้ เพราะมองแรงขายต่างชาติน่าจะชะลอตัวแล้ว ทำให้ดัชนีมีโอกาสปรับขึ้น ด้านเทคนิคประเมินแนวรับไว้ที่ 950 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 970-972 จุด

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองทิศทางตลาดจะยังคง Sideway แกว่งตัวสลับขึ้น-ลง ผันผวนต่อ แต่ดัชนีคงไม่ปรับตัวลงไปมากกว่านี้ คาดว่าจะมีแนวรับที่ 960-950 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 990-1,000 จุด

กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ แนะนำ "Trading" โดยเลือกหุ้นรายตัวที่มีแนวโน้มการจ่ายปันผล และผลประกอบการออกมาดี

มีบทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส มองหุ้นกลุ่มพลังงานน่าสน หลังได้ ปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันดิบ NYMEX, ค่าการกลั่น และราคาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอะโรเมติกส์ หรือ Spread ของทั้งพาราไซลีนและเบนซิน รวมถึงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในสายโอเลฟินส์, เอทิลีน และโพรพิลีน ปรับพุ่งแตะจุดสูงสุดในรอบ 2 ปี

เป็นผลบวกโดยตรงต่อ PTT, PTTEP, PTTAR, PTTCH, TOP และทำให้กลุ่มพลังงานสามารถ Outperform ตลาดได้ตลอด และหากดูทิศทางราคาน้ำมันดิบ ยังมีโอกาสขึ้นต่อได้อีก

ทำให้มองได้ว่าแม้ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงต่อ แต่หุ้นพลังงานคงลงยาก ที่สำคัญ หลังการประชุมนักวิเคราะห์กลุ่ม ปตท.มีการเปิดเผยว่า มีแนวโน้มที่จะได้เห็นความคืบหน้าในการควบรวมกิจการระหว่าง PTTAR กับ PTTCH ในไตรมาสนี้

ช่วยเสริมให้ PTTAR, PTTCH ที่นอกจากได้ผลบวกจากราคาผลิตภัณฑ์ ที่ปรับขึ้นอยู่แล้ว ยิ่งมีประเด็นบวกในการดันราคามากขึ้น และอาจทำให้ทั้ง PTTAR และ PTTCH มีโอกาสฟื้นตัวกลับไปที่ราคาสูงสุดเดิมได้อีกครั้ง

กลยุทธ์การลงทุน ลุยสะสม PTT, PTTEP, PTTAR, PTTCH และ TOP!!


"อินเด็กซ์ 51"

-----------------------------------------------------------------------------
บาทอ่อนต้อง CPF- GFPT-SVI

ธปท. ยืดอกรับ ค่าเงินบาทผันผวนหนักตามสถานการณ์โลก ล่าสุดอ่อนค่าต่อเนื่อง แต่ยันจะดูแลอย่างเหมาะสม ฟากบิ๊ก KBANK มอง Q1/54 น่าจะอยู่ที่ 31 บาท/ดอลล์ หนุนแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 2.75% ขณะที่นักลงทุนมองเศรษฐกิจเอเชียจะโตในอัตราชะลอตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจประเทศแถบตะวันตกเริ่มฟื้นตัว ด้านนักวิเคราะห์แนะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส แนะเลือกลงทุนในหุ้นที่รับผลดี อาทิ CPF-GFPT-SVI

* ธปท. รับค่าบาทผันผวนตามกระแสเงินโลก แต่ระบุจะดูแลให้เหมาะสม
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ของค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินโลก โดยมีทั้งการเคลื่อนไหวที่เข้าและออกของเงินมากขึ้นทั้ง 2 ทาง แต่ ธปท.ยืนยันว่าจะมีการดูแลโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และไม่ทำให้ค่าเงินเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามการเคลื่อนไหวของเงินในแต่ละวัน จะพบว่าขณะนี้ผู้นำเข้าเริ่มมีการซื้อล่วงหน้าเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ผู้ส่งออกยังคงดูจังหวะช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนก็จะเข้ามาขาย
นางผ่องเพ็ญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะต่อไปจะเห็นความผันผวนของค่าเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้ผู้นำเข้ามีการบริหารความเสี่ยงที่มากขึ้น

* KBANK คาด Q1/54 บาทอ่อนแถว 31 บ. หนุน ธปท. ขึ้น ดบ. มาอยู่ที่ 2.75%
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ทิศทางของค่าเงินบาทในไตรมาส 1/54 คาดว่าจะอ่อนค่าอยู่ที่บริเวณ 31 บาทต่อดอลลาร์ แต่ทั้งนี้คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในไตรมาส 1/54 อยู่ที่ 2.75% จากตอนนี้ที่อยู่ที่ 2.25%
พร้อมกับคาดว่าในสิ้นปี 54 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3.25% เพื่อสกัดแรงกดดันจากเงินเฟ้อในประเทศที่คาดว่าในปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 2.5% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นจะส่งผลให้เงินไหลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น จึงคาดว่าสิ้นปีนี้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอยู่ที่บริเวณ 29 บาท
อีกทั้งการที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆนั้นจะเป็นแรงกดดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกันนี้ได้เตือนให้ผู้ประกอบการ SME เตรียมตัวรับมือกับความเสี่ยงจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยการหาช่องทางลดต้นทุน รวมถึงขยายตลาดไปยังตลาดอาเซียน จีนและอินเดียมากขึ้น เนื่องจากตลาดดังกล่าวมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ 4-5% ซึ่งมาจากการลงทุนในส่วนของสินค้าอุปโภคบริโภค และภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ทั้งนี้คาดว่าภาคการส่งออกในประเทศจะชะลอตัวลงตามทิศทางของเศรษฐกิจในสหรัฐฯ แต่ยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆของภาครัฐ
ส่วนปัญหาความไม่สงบในประเทศอียิปต์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าทิศทางของราคาน้ำมันในปีนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ที่บริเวณ 88-98 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ทั้งนี้ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

* เอเซีย พลัส ชี้บาทอ่อนกดดันตลาดหุ้น แต่ส่งผลบวกต่อ CPF- GFPT-SVI
บทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ตามที่เคยสำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือเศรษฐกิจในเอเชียเริ่มเติบโตในอัตราชะลอตัว ตรงกันข้ามกับที่เศรษฐกิจฝั่งตะวันตกที่เริ่มฟื้นตัว แม้แบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมๆ กับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศที่เคยมีเงินเฟ้อต่ำๆ เช่นในยุโรป และสหรัฐ ซึ่งทำให้กลุ่มฯ นี้มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ย เช่นเดียวกับประเทศในแถบเอเชีย ที่มีเงินเฟ้อรุนแรง
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่หนุนให้ Fund Flow ไหลออกจากเอเชีย และได้กดดันให้ค่าเงินเอเชียมีแนวโน้มอ่อนตัวต่อเนื่องนับจากปลายปี 2553 โดยพบว่าเงินบาทได้อ่อนตัวมากกว่าภูมิเอเชีย โดยนับจากต้นปี 2554 จนปัจจุบันพบว่าเงินบาทอ่อนค่าไปแล้ว 2.98% เทียบกับค่าเฉลี่ยของเงินในเอเชีย ที่อ่อนค่า 0.63% ในสถานการณ์เช่นนี้ แม้จะส่งผลลบต่อตลาดหุ้น (เพราะยิ่งตลาดคาดว่าเงินบาทจะอ่อนตัวจะยิ่งกดดันให้มี Fund Flow ไหลออก) อาจจะดีต่อภาคส่งออกในกลุ่มอาหาร (ไก่ หมู และกุ้ง)
โดยหากสำรวจหุ้นส่งออก พบว่า CPF (สัดส่วนรายได้จากการส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศ คิดเป็น 39% ของรายได้รวม ขณะที่ต้นทุนส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบในประเทศราว 65% ของต้นทุนรวม) และ GFPT (สัดส่วนรายได้จากการส่งออกเท่ากับ 38% ของรายได้รวม แต่มีต้นทุนวัตถุดิบในประเทศราว 74%) นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์จากเทศกาลตรุษจีน ซึ่งพบว่าราคาเนื้อสัตว์ทั้งไก่และหมูยังคงทรงตัวในระดับสูง
ส่วนกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นอีกกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนเช่นกัน เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 73% ของรายได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยเลือกหุ้น SVI (FV@4.65 บาท) เป็น Top pick เนื่องจาก SVI มีรายได้ในรูปสกุลดอลลาร์ 100% แต่ต้นทุนอยู่ในรูปสกุลเงินบาท 70% (ส่วนต่าง 30% ของรายได้และต้นทุนน่าจะเอื้อประโยชน์ต่อสถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่า)
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เริ่มทยอยขยายกำลังการผลิตในโรงงานแห่งใหม่ตลอดทั้งปี 2554 เพื่อรองรับยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ยังคงหลั่งไหลเข้ามาต่อเนื่อง ส่งผลให้แนวโน้มกำไรสุทธิทั้งปี 2554 เติบโตในเชิงรุกถึง 22% yoy ซึ่งเติบโตมากกว่ากำไรของกลุ่มชิ้นส่วนฯ ที่เติบโตเพียง 4% yoy

* มองระยะกลางถึงยาว เงินบาทจะกลับมาแข็งค่า
เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในระยะสั้นการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังคงอยู่ในลักษณะผันผวนค่อนข้างมากและมีโอกาสอ่อนตัวลงมาได้ ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นออกมา ส่วนในระยะกลางถึงระยะยาวค่าเงินบาทอาจจะกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง ประกอบกับเม็ดเงินต่างชาติอาจจะไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ทั้งนี้ ประเมินว่าหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งค่า คือผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ส่วนผู้ประกอบการที่จะได้รับผลแง่ผลกระทบคือผู้ประกอบการส่งออก เช่น บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TUF เป็นต้น แต่หากค่าเงินบาทอ่อนค่า ผู้ประกอบการส่งออกก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน

-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
FSS : เน้นถือเพื่อรอทำกำไรเมื่อ SET ดีดขึ้น โดยเฉพาะถ้าเข้าใกล้ 1000 จุด...
แนวโน้ม: ความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อเหตุการณ์บานปลายในอียิปต์เริ่มน้อยลงอีก หลังสถานการณ์มีแนวโน้มคลี่คลายได้ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจ และผลประกอบการของบริษัทเอกชนในสหรัฐที่กลับมาดูดีอีกครั้ง เป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีแรงซื้อในสินทรัพย์เสี่ยง โดยค่าเงินบาทก็ยังแกว่งแคบๆ ในด้านแข็งค่าและนักลงทุนต่างประเทศกลับมามียอดซื้อสุทธิสูงพอควรในตลาดหุ้นไทยอีกครั้งด้วย
ทำให้ FSS ยังคาดว่า SET มีโอกาสที่จะรีบาวด์เป็นบวกขึ้นไปใกล้ๆ 1000 จุดหรืออาจสูงกว่าเล็กน้อยได้ อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามสถานการณ์เงินเฟ้อในภูมิภาคอยู่ ดังนั้นเราจึงแนะนำให้เน้นถือเพื่อรอจังหวะขายทำกำไรเมื่อ SET ดีดตัวขึ้นไป

กลยุทธ์: ตลาดปรับตัวลงยังน่าที่จะเลือกหุ้นเข้าซื้อ โดยหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่BGH, BH, BEC, MCOT, PHATRA, BLS, LPN, SVI, PTTCH, PTTAR, IRPC,IVL, TOP, ESSO, BANPU, LANNA, STA เป็นต้น แต่เมื่อดัชนีขยับเข้าใกล้
1000 จุดหรือสูงกว่า แนะนำให้เริ่มมองหาจังหวะขายทำกำไรด้วย

ประเด็นสำคัญวันนี้
• (+) เหตุการณ์ในอียิปต์ผลักดันหุ้นกลุ่มพลังงานทั่วโลก รายงาน ISM Manufacturing ที่ดีเกินคาด (ขยายตัวเร็วสุดนับแต่ พ.ค. 2004) หนุนให้ DowJones ปิดเหนือ 12,000 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ มิ.ย. 2008 ดัชนีความกลัว ‘VIX’ปรับลงถึง 10% ทำให้ความกล้าลงทุนในในสินทรัพย์เสี่ยงกลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง ขณะเดียวกันเหตุการณ์ในอียิปต์หนุนให้หุ้นกลุ่มพลังงานขึ้นทั่วโลกเพราะหากเหตุการณ์บานปลายจนมีการปิดคลองสุเอซซึ่งเป็นช่องทางคมนาคมที่สำคัญในภูมิภาคตะวันออกกลางจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน แต่สิ่งที่จะตามมาคือความวิตกเรื่องเงินเฟ้อและราคาสินค้าเกษตรที่จะพุ่งขึ้น ซึ่งเป็นลบกับตลาด

• (-) PTL ราคาหุ้นที่ปรับลง 10% วานนี้ (-37%YTD) ไม่ได้เกิดจากพื้นฐาน คาดกำไร 4Q10 +84%Q-Q, +440%Y-Y แม้ต้นทุนวัตถุดิบจะปรับขึ้นแต่ก็ยังน้อยกว่าราคาขายที่ปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้ แต่อาจเป็นผลพวงจาก IVL ที่ลงเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นและจะหมด Silent period ในวันที่ 4 ก.พ นี้ ในทางพื้นฐานเรายังให้ราคาเป้าหมาย 73 บาท

• (+) TVO คาดกำไร 4Q10 โดดเด่น +50%Q-Q, +63%Y-Y สูงที่สุดของปี และปี 2011 ยังโตต่อเนื่อง 27% จากการขยายกำลังการผลิตและราคาถั่วเหลืองที่สูงขึ้น คาดจ่ายปันผล 2H10 อีก 0.75 บาท/หุ้น (yield 2.7%) ยังคงแนะนำซื้อ
เป้าหมาย 36 บาท

• (-) KCE ปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 10 บาทจากเดิม 12.50 บาท จากกำไรในปีนี้ที่โตเพียง 4% เพราะบาทแข็งและไม่มีการขยายกำลังการผลิต ส่วน 4Q10 น่าผิดหวังมากกว่าเดิมเพราะปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม KCE มี PE ถูกที่สุดในกลุ่มเพียง 6 เท่าและให้ Yield จากเงินปันผล ~6% ต่อปี เราให้ ratingเป็น ‘ซื้อ’ เพราะความ ‘ถูก’ ของ KCE แต่ไม่ใช่หุ้นที่ดีที่สุดในกลุ่ม

• (-) ASP กำไร 4Q10 ดีกว่าคาด และน่าจะจ่ายเงินปันผลงวด 2H10 อีก 0.27บาท/หุ้น (Yield 10%) อย่างไรก็ตาม เราแนะนำขาย ราคาเป้าหมาย 2.50 บาท

• (-) ครม.ตีกลับสัมปทานมือถือ ให้ ICT ตั้งคณะทำงานเจรจากับเอกชนภายใน 15 วัน มาเสนอใหม่ เรายังมองว่าท้ายสุดต้องเข้ากระบวนการศาลซึ่งต้องใช้เวลาเป็นหลายปีกว่าจะมีข้อสรุป ราคาหุ้นจึงยังถูกกดันได้อีก อย่างไรก็ตามกรณี Worst case หาก ADVANC ต้องจ่าย 7.5 หมื่นล้านบาท จะคิดเป็น 25 บาท/หุ้น เป้าหมายจาก 104 บาทจะเหลือ 79 บาท ส่วนเป้าหมาย DTAC ถูกกระทบ3.80 บาท เหลือ 44 บาท

• Fund Flow วานนี้ไหลเข้าตลาด TIPs แต่ยังไหลออกตลาดหุ้นเกาหลีใต้จากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามช่วงนี้ตลาดยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่กระทบตลาด ยกเว้นการปรับขึ้นดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐเป็นผลจากตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐชัดเจนมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก แต่เรายังจะเห็นการปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง เพราะอาจมีนักลงทุนบางส่วนเริ่มหันกับไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐเพราะคาดว่าจะให้ผลตอบแทนมากกว่าตลาดหุ้นเอเชียที่ปรับขึ้นเป็นอย่างมากในช่วง 2ปีที่ผ่าน แนวโน้มกระแสเงินทุนต่างชาติน่าจะเป็นซื้อขายสลับแต่ปริมาณจะเบาบางหุ้นกลุ่มปตท. กลุ่มพลังงานยังเป็นกลุ่มนำตลาดอยู่

ข่าวภายในประเทศ
ครม.ตีกลับสัมปทานมือถือ ให้ ICT ตั้งคณะทำงานเจรจากับเอกชนภายใน 15 วัน มาเสนอใหม่ รมว.ICT เผยที่ประชุมครม.เมื่อวาน (1 ก.พ.) มีมติให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อนำผลสรุปของคณะกรรมการมาตรา 22 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไปเจรจากับผู้ประกอบการมือถือ 3 ราย คือ ADVANC,DTAC, และ TRUEMOVE รวมถึงกรณีสัมปทานดาวเทียมของ THCOM ให้แล้วเสร็จ ภายใน 15 วัน ก่อนนำมาเสนอครม.อีกครั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าว จะประกอบด้วย ปลัดกระทรวง ICT เป็นประธาน ตัวแทนก.คลัง กระทรวง ICT สภาพัฒน์ (สศช.) และสำนักงานอัยการสูงสุด ความเห็น: เป็นการนำเรื่องเข้าครม.จริง ตามที่ตลาดฯ กังวล แต่ยังไม่มีข้อสรุปใด เราไม่แน่ใจว่าคณะกรรมการที่จะไปคุยกับบริษัทเอกชน ภายใน 15 วันดังกล่าว จะได้ความคืบหน้าอย่างมีนัยฯ เพียงไร แต่ยังมองว่า ท้ายสุด หากต้องเข้ากระบวนการต่อสู้กันทางกฎหมาย ตั้งแต่อนุญาโตฯ ไปถึงศาลปกครอง คาดว่าต้องใช้เวลาเป็นหลายปีกว่าจะมีข้อสรุป ประเด็นดังกล่าว จะยังกดดันต่อราคาหุ้น แม้ในทางพื้นฐาน กรณี Worst case หาก ADVANC ต้องจ่าย 75,000 ล้านบาทจริง จะคิดเป็น 25 บาทต่อหุ้น จากราคาเป้าหมายเดิม 104 บาท เหลือ 79 บาท ใกล้เคียงราคาหุ้นปัจจุบัน แต่กรณี Base case (หากต้องจ่ายค่าสัมปทานเพิ่มใน 5 ปีข้างหน้าสิ้นสัมปทาน) คาดผลกระทบประมาณ 11 บาทต่อหุ้น ราคาเป้าหมายจะเหลือ 93 บาท ราคาปัจจุบัน ยังมีส่วนลด 17.7%และ Dividend yield อย่างต่ำระดับ 8% คง Rating “Buy” ส่วน DTAC กรณี Worst case หากต้องจ่าย 9,000 ล้านบาทจริง จะคิดเป็น 3.80 บาทต่อหุ้น จากราคาเป้าหมายเดิม 48 บาท เหลือ 44 บาท ราคาหุ้นปัจจุบัน ยังมีส่วนลด 9% และ Dividend yield ระดับ 6% "ถือ"

KIAT ขนส่งพีคปันผลไม่มีเม้มเกิน 25 สตางค์ KIAT การันตีงบปี'53 สวยหรู ธุรกิจขนส่งขาขึ้น ออเดอร์งานเข้าทะลัก ลุ้นงาบงานประมูล ปตท.เพิ่ม ชงบอร์ดพิจารณาปันผลครึ่งหลังเกิน 25 สตางค์ มั่นใจปี'54 ธุรกิจโตไม่หยุด น้ำมันแพงไม่กระทบ หลังพลิกหนีใช้เอ็นจีวีแถมปรับราคาตามต้นทุนได้ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 2-02-2011)

CHOW ผุดบ.โลจิสติกส์หวังลดค่าใช้จ่ายขนส่งยอดขายปีนี้โต 2 หลัก CHOW ผุดบริษัทร่วมทุน หวังลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งสินค้ากว่า 10%จากเดิมต้นทุนการขนส่งเฉลี่ยอยู่ที่ 260-280 บาทต่อตัน ดันยอดขายปีนี้เติบโต 2 หลัก ขณะที่มีแผนเพิ่มปริมาณการผลิตในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนตันต่อปี จากกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 7.3 แสนตัน (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 2-02-2011)

WORK รายได้พุ่ง 1,300 ล้านบาท ธุรกิจทีวีบูมสุดขีด ดันกำไรปี'53 โตเกิน 100%WORK กลับเจ๋งสมชื่อ มั่นใจรายได้ปี 2553 ทะยาน 1,300ล้านบาท ผู้บริหารการันตีกำไรพุ่งเกิน 100% ขานรับธุรกิจฟื้นทุกสาย ลั่นปี 2554 โตต่อไม่มีหยุดวางฐานรายได้โตขึ้นอีก 25% รายการทีวีเพิ่มทะลักแถมขึ้นราคาโฆษณาช่วยหนุน พร้อมชงแผนเพิ่มสภาพคล่องหุ้นให้บอร์ดพิจารณาภายในเดือนนี้ (ทมี่ า: นสพ.ข่าวหุ้น 2-02-2011)

-----------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 148.23 จุด มาปิดที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.ปี 2008 จากตัวเลขกิจกรรมภาคโรงงาน
ที่ดีขึ้น รวมถึงผลประกอบการของ ยูพีเอส ที่แข็งแกร่ง และยังมีแนวโน้มที่จะทะยานขึ้นต่อได้ หลังบริษัทเอกชนในสหรัฐยังเปิดเผยผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่อง

ดัชนี VIX ยังลดลงอีกเกือบ 10% มาอยู่ที่ระดับ 19.55 จากคาดการณ์ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจกำลังขยายวงกว้างขึ้น

ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปก็ปิดเป็นบวก จากตัวเลขภาคการผลิตที่แข็งแกร่งทั้งในสหรัฐ และของยูโรโซนเอง

ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ ปิดทำการหลายแห่ง แต่ที่เปิดทำการก็ยังขยับบวกต่อเนื่องจากวานนี้อยู่

ค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อ โดยเคลื่อนไหวต่ำกว่า 31 บ./ดอลลาร์อยู่ แม้ว่าจะเป็นการแกว่งตัวแคบๆ ก็ตาม

ราคาน้ำมันดิบในตลาด NYMEX ปิดที่ 90.77 ดอลลาร์/บาร์เรล ไหลย้อนลง 1.42 ดอลลาร์ หลังสถานการณ์ในอียิปต์มีแนวโน้มอาจจะคลี่คลายได้ ขณะที่หลังปิดทำการAPI แจ้งสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นด้วย

ราคาทองคำล่วงหน้าในตลาด COMEX ปิดที่ 1340.30ดอลลาร์/ออนซ์ บวกขึ้น 5.80 ดอลลาร์ หลังค่าเงินดอลลาร์
ยังอ่อนค่าลงต่อเนื่อง

ข่าวต่างประเทศ
S&P ลดอันดับเครดิตอียิปต์ลงสู่ BB ขู่อาจปรับลดอีกหากการประท้วงยืดเยื้อ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ สแตนดาร์ดแอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของอียิปต์ ลงสู่ระดับ BB จากระดับ BB+ และเตือนว่าอาจจะลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เป็นผลมาจากการประท้วงที่ยืดเยื้อยาวนาน ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและค่าเงินของอียิปต์ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 2-02-2011)

สหรัฐอเมริกา: ดอลล์ร่วงหลังนักลงทุนคลายวิตกเหตุจลาจลในอียิปต์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ก.พ.) จากการที่นักลงทุนลดการถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เพราะมองว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในอียิตป์ยังไม่ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในตะวันออกกลาง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์จลาจลในอียิปต์เริ่มบรรเทาลง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 1.07% เมื่อเทียบกับยูโรที่ระดับ 1.3832 ยูโร จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3685ดอลลาร์ และดิ่งลง 0.79% เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ที่ระดับ 1.6140 ยูโร จากระดับ 1.6014 ยูโร (ที่มา: อินโฟเควสท์ 2-02-2011)

สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค.ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่าดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค.ขยายตัวที่ระดับ 60.8 จุด พุ่งขึ้นจากเดือนธ.ค.ที่ระดับ 58.5 จุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 58จุด และทำสถิติขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 18 ทั้งนี้ ดัชนีที่เคลื่อนตัวอยู่เหนือระดับ 50 จุดบ่งชี้ว่าภาคการผลิตมีการขยายตัว และดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ถึงภาวะหดตัวในภาคการผลิต (ที่มา: อินโฟเควสท์ 2-02-2011)

เอเชีย: ญี่ปุ่นเผยรายได้จากการจัดเก็บภาษีเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 3.4% จากปีก่อน รัฐบาลญี่ปุ่นเผย รายได้จากการจัดเก็บภาษีในเดือนธ.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.4% จากปีก่อนหน้านี้ เนื่องจากรายได้การจัดเก็บภาษีนิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งบ่งชี้ถึงปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวกระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รายได้จากการจัดเก็บภาษีในเดือนธ.ค.2553 อยู่ที่ 2.523 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.439 ล้านล้านเยนจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 1-02-2011)

เอเชีย: เกาหลีใต้เผยเงินเฟ้อพุ่งแตะ 4.1% ในเดือนม.ค. เกินเป้าหมายของธนาคารกลาง สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ของเกาหลีใต้พุ่งแตะ 4.1% ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.5% ในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อรายปีในเดือนมกราคมนั้น เป็นตัวเลขเดียวกับเดือนตุลาคม ซึ่งนับเป็นอีกครั้งในรอบ 3 เดือนที่อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเพดานสูงสุดที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ 4.0% โดยธนาคารกลางของเกาหลีใต้ได้กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในระยะกลางไว้ที่ 2-4% ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปี 2555 (ที่มา: อินโฟเควสท์ 1-02-2011)

เอเชีย: สิงคโปร์เผยอัตราการว่างงานปี 2553 ลดลงแตะ 2.2% กระทรวงแรงงานของสิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานเฉลี่ยของสิงคโปร์ในปี2553 อยู่ที่ 2.2% ในปี 2553 ลดลงอย่างมากจากระดับ 3% ในปี 2552 ข้อมูลสถิติบ่งชี้ว่า สิงคโปร์สร้างตำแหน่งงานเพิ่ม 112,500 ตำแหน่งในปี2553 ขณะที่การสร้างตำแหน่งงานในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้น 30,600 ตำแหน่ง เนื่องจากตลาดต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ภาคบริการจ้างงานเพิ่มขึ้น 109,500 ตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วน 97.3% ของการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดในปี 2553 และมีการจ้างงานเพิ่มในไตรมาสที่ 4ทั้งหมด 29,400 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับ 21,300 ตำแหน่งในไตรมาสที่ 3 (ที่มา: อินโฟเควสท์ 1-02-2011)

-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น