Code 366 : 28/02/54 SET ไม่หลุด 977 แบงค์ก็ดันตลาดขึ้นมาอีกครั้ง

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554

ATT Code : SET ไม่หลุด 977 แบงค์ก็ดันตลาดขึ้นมาอีกครั้ง

เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 25/02/54 มีแรงซื้อในกลุ่มแบงค์เข้ามาหลังจากกลุ่มนี้ลงมาเยอะ ทำให้ SET เปิดโดดไปประมาณ 4 จุด เปิดที่ระดับ981.54 จุด จากนั้นก็ Sideway ขึ้นลงไม่มาก ไม่ลงไปต่ำกว่าแนวรับที่สำคัญที่ 977 จุด โดยลงไป Low ที่ 978.54 จุด เมื่อไม่ต่ำกว่าแนวรับสำคัญ ก้ทำให้มีแรงซื้อเข้ามา ประกอบกับ HSKI บวกไป 400 กว่า ในช่วงบ่าย ทำให้ SET ขึ้นไป High ที่ 987.74 จุด ก่อนที่จะย่อลงมาปิดที่ 989.35 จุด บวกไป 8.69 จุด โดยกลุ่มที่ดัน SET ขึ้นไปก้คือกลุ่มแบงค์ ส่วนกลุ่มที่ดันตลาดลงมาก็คือกลุ่ม ปตท.

SET มีแรงขายออกมาแต่ก็ไม่ต่ำกว่าแนวรับหลักอยู่ที่ 977 ก็ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาสามารถผ่านแนวต้านทั้ง 2 เส้น คือเส้น 10 วัน และ 25 วัน ที่ระดับ 982 และ 985 ได้

แนวโน้มในวันจันทร์ที่ 28/02/54 แนวต้านก้กลับไปเป็นแนวรับ คื่อที่ 982 และ 985 โดยมีแนวต้านที่ 990 และ 1000 จุด ช่วงนี้ตลาดสวิงค่อนข้างมาก ทำให้ ต้องดูแนวรับและแนวต้านต่างๆ ซึ่งถ้าผ่านก้ตามได้ ถ้าไม่ผ่านก็รอตามแนวรับต่อๆ ไป

***SET ไม่หลุด 977... ทำให้ตลาดก็พลิกกลับมาขึ้นมาดูดีอีกครั้ง พร้อมกับมี Indicators ต่างๆ +/- สลับกันไป

1. (+) MACD ยังคงตัดเส้น Signal ขึ้นมาอยู่ โดย MACD ขยับเข้ามาใหล้ศูนย์มากขึ้น.... มีสัญญาณที่ดีอยู่
2. (+) OBV ขึ้นไปที่ 619.... แสดงให้เห็นว่ามีแรงซื้อขายสะสมเพิ่มขึ้น
3. (-) CCI ลดลงมาจาก 36 ลงมาที่ 27 ลดลงมาเกือบ 10 ... แนวโน้มยังเป็นลบเหมือนเดิม
4. (-) เส้น ADX : DI+(27) ตัดเส้น DI-(30) โดย DI+ ตัด DI-ลงมาเหมือนเดิม ... แนวโน้มยังเป็นลบเหมือนเดิม
5. (+) Williams %R ลดลงมาจาก -37 ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -23 ลบน้อยลง... แนวโน้มพลิกกลับมาเป็นบวกใหม่
6. (+) RSI ขึ้นมาจาก 46% มาอยู่ที่ 49%... แนวโน้มพลิกกลับมาเป็นบวกใหม่
7. (+/-) Fast Sto : %K ยังตัด %D ลงมาอยู่ แต่ %K แต่เพิ่มขึ้นจาก 63 ลงมาที่ 65... แนวโน้มยังทรงๆ

-----------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
28 กพ. 54 ( +8.69 จุด ) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

เกิน 987.74 ขึ้นต่อ 996 – 999 จุด
ดัชนีในวันศุกร์ ปรับตัวขึ้นมาแถวแนวต้านตามธรรมชาติของเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมงพอดี

จากนี้ไปถ้า เกิน 987.74 จุดสูงสุดวันศุกร์และเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมงได้ ดัชนีมีโอกาสปรับตัวกลับขึ้นไปแถว 996 – 999 ใกล้จุดสูงสุดเดิมของสัปดาห์ที่แล้ว

แต่ถ้าปรับตัวลง ต่ำกว่า 977.08 จุดต่ำสุดของวันพฤหัส ตลาดมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวกลับลงไปแถว 950 – 960 ใกล้จุดต่ำสุดของสัปดาห์ที่แล้ว Below 977.08

หุ้นเด่น
SCB
ปรับตัวขึ้นมาแถวเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมงพอดีรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 101.00 จุดสูงสุดวันศุกร์ และเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว เป้าหมายสองสามวัน 103.00 – 104.00( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 100.00 )

KTB
ปรับตัวขึ้นมาแถวเส้นค่าเฉลี่ย 25 ชั่วโมงพอดีรอซื้อตามเมื่อปรับตัวเกิน 16.30 จุดสูงสุดวันศุกร์ และเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว เป้าหมาย
สองสามวัน 16.80 – 17.10( ตัดขาดทุนถ้าต่ำกว่า 16.00 )

10 อันดับซื้อขายสูงสุด
PTT ต่ำกว่า 343 ลง 338 -340
PTTCH แกว่งตัว 145 – 149
PTTEP แกว่งตัว 178.50 – 182.50
PTL ต่ำกว่า 21.60 ลง 20 - 21
CPF เกิน 24 ขึ้น 24.70 – 25
KBANK เกิน 115 ขึ้น 119 - 120
IRPC แกว่งตัว 5.40 – 5.65
BANPU เกิน 742 ขึ้น 750 - 754
IVL เกิน 43 ขึ้น 44 – 44.50
BBL เกิน 154 ขึ้น 157 - 160


-----------------------------------------------------------------------------
เงาหุ้น : PTTCH กับ PTTAR!!
โฟกัสหุ้น PTTCH และ PTTAR หลังชี้แจงแถลงไขแผนควบรวมกิจการกัน โดย บล.โกลเบล็ก แนะนำ "ซื้อ" ให้ราคาเป้าหมายปี 54 สูงสุดที่ 200 บาท

ตามด้วย บล.เกียรตินาคิน แนะนำ "ซื้อ" ให้มูลค่าที่เหมาะสม 198 บาท ตามด้วยกิมเอ็งกับกรุงศรีอยุธยา ให้มูลค่าพื้นฐานเท่ากับ 190 บาท ส่วนเคที ซีมิโก้ ให้ 189 บาท และทิสโก้ ให้ราคาเป้าหมาย 188 บาท

ทั้งนี้ บล.โกลเบล็ก ระบุว่า บริษัทแจ้งกำไรสุทธิไตรมาส 4 ปี 53 ออกมาตามคาด โดยมีกำไรสุทธิ 2,771 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 24% จากงวดปีก่อน โดยรวมทั้งปี 53 มีกำไรสุทธิ 10,290 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51% จากงวดปีก่อน ส่วนแนวโน้มไตรมาส 1 ปี 54 และทั้งปีนี้คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 17,660 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79% จากงวดปีก่อน

ส่วนการควบรวมกิจการระหว่าง PTTCH + PTTAR เป็นไปตามที่คาดไว้ ใช้วิธี A + B = C โดยอัตราส่วนการแปลงหุ้น PTTCH จะมีต้นทุนของหุ้นใหม่ที่ 73.48 บาท และ PTTAR จะมีต้นทุนของหุ้นใหม่ที่ 74.307 บาท PTTCH จึงถูกกว่า ขณะที่ประเมินราคาเหมาะสมของหุ้นใหม่ที่ 91 บาท อิง PE 15 เท่า และ EPS ของหุ้นใหม่ที่ 6 บาท จึงมี Upside จากราคาปัจจุบันถึง 23.8% จึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" ให้ราคาเป้าหมายปี 54 ที่ 200 บาท

บล.ทิสโก้ แนะนำ "ซื้อ" PTTAR ราคาเป้าหมาย 43 บาท และ PTTCH 188 บาท ระบุว่า บริษัทกล่าวว่าการรวมกิจการครั้งนี้จะสร้างประโยชน์ ราว 80-154 ล้านเหรียญฯต่อปี หรือคิดเป็น 15-28% ของผลประกอบการ

ทั้ง 2 บริษัทรวมกันปี 53 หรือ 10-19% สำหรับประมาณการผลประกอบการปี 54 โดยทิสโก้เห็นว่าข่าวควบรวมกิจการนี้ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้นทั้งสองบริษัท แต่ด้วยอัตราส่วนแลกหุ้น เรายังชอบ PTTCH มากกว่า PTTAR

ขณะที่บทวิเคราะห์ บล.ธนชาต เชียร์ซื้อ PTTAR และ PTTCH ช่วงราคาอ่อนตัว โดยหากเทียบกับระดับราคาปิดเมื่อวันที่ 24 ก.พ. ถือว่า PTTAR และ PTTCH ไม่มี Upside แต่หากเทียบในเชิงการแลกหุ้นแล้ว ถือว่า PTTAR ได้เปรียบ

แถมยังแนะนำซื้อต่อเนื่อง หุ้น PTTEP โดยประเด็นบวกในช่วงสั้นๆ ยังมาจากการหนุนของราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น!!

อินเด็กซ์ 51

-----------------------------------------------------------------------------
EFinance Thai : THAI โชว์หรู ข่าวดีรุม

THAI สุดหรู โบรกฯ เชียร์ซื้อ หลังโชว์กำไรปี 53 ทะยานแตะ 1.53 หมื่นลบ. แถมบอร์ดอนุมติจัดหาเครื่องบินใหม่ภายในปี 54-60 เพิ่มอีก 37 ลำ พร้อมอนุมัติออกหุ้นกู้วงเงิน 8 พันล้านบาท "ปิยสวัสดิ์" คาดปีนี้ กวาดรายได้รวม 2 แสนลบ. บล.ฟิลลิป ให้ราคาพื้นฐานที่ 47.50 บาท

แม้สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง จากเหตุการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง แต่ราคาหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน (THAI) เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 54 ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้โดยราคาปิดตลาด อยู่ที่ 37.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท หรือ 2.05% มูลค่าการซื้อขาย 548.19 ล้านบาท ทั้งนี้ เพราะ THAI ส่งสัญญาณที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

* THAI ปลื้มกำไรปี 53 กระฉูดแตะ 1.53หมื่นลบ. เหตุ รายได้จากทุกส่วนปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7.7-45.9%
บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)หรือ THAI แจ้งว่า ในปี 53 ที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรสุทธิ 1.53 หมื่นล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 8.39 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 52 ที่มีกำไร 7.34 พันล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 4.32 บาท

ทั้งนี้ กำไรที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวมาจาก รายได้จากการขายหรือการให้บริการที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 53 บริษัทมีรายได้จากการขายและการให้บริการทั้งสิ้น 1.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 52 จำนวน 1.89 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11.7% นอกจากนี้มีรายได้จากกิจการขนส่งจำนวน 1.73 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.92 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.5%

ขณะเดียวกันบริษัทมีรายได้จากค่าโดยสารและน้ำหนักส่วนเกินรวมทั้งสิ้น 1.44 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท หรือ 7.7% โดยมีสาเหตุหลักมาจากความต้องการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว

ทั้งนี้ บริษัทมีรายได้จากค่าระวางขนส่งและค่าไปรษณีภัณฑ์ทั้งสิ้น 2.82 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.88 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 45.9% และมีรายได้จากบริการอื่นๆจำนวน 7.49 พันล้านบาท ลดลง 280 ล้านบาท หรือลดลง 3.6%

นอกจากนี้ บริษัทมีดอกเบี้ยรับ 185 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 ล้านบาท หรือ 3.9% เนื่องจากเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเฉลี่ยสูงกว่าปีก่อน อย่างไรก็ตาม บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 1.66 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.09 หมื่นล้านบาท หรือ 7%

*บอร์ด THAI ไฟเขียวจัดหาเครื่องบินใหม่ภายในปี 54-60 เพิ่มอีก 37 ลำ พร้อมอนุมัติออกหุ้นกู้วงเงิน 8 พันล้านบาท จ่ายปันผลปี 53 1.25บาท/หุ้น
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI กล่าวต่อว่า คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินปี 2554-2560 จำนวน 37 ลำ รวมวงเงินประมาณ 2.16 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดรุ่นของเครื่องบิน ประกอบด้วยเครื่องบินลำตัวแคบ จำนวน 11 ลำ และเครื่องบินลำตัวกว้าง สำหรับเส้นทางการบินข้ามทวีปและเส้นทางบินภูมิภาค จำนวน 26 ลำ และอนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินปี 2561-2565 โดยแบ่งเป็นเครื่องบินลำตัวกว้าง สำหรับเส้นทางบินข้ามทวีป และเส้นทางบินภูมิภาค จำนวน 38 ลำ รวมวงเงินประมาณ 2.41 แสนล้านบาท พร้อมทั้งเครื่องยนต์สำรอง ประกอบด้วยการจัดหาเครื่องบินแบบ Firm Order จำนวน 21 ลำ และจัดหาแบบ Option Order จำนวน 11 ลำ โดยโครงการการจัดหาเครื่องบินเป็น 2 ช่วงดังกล่าว ได้แก่ ช่วงปี 2554-2560 และช่วงปี 2561-2565 เพื่อทดแทนปลดระวางเครื่องบินเก่า โดยตามแผนจะส่งให้ในปี 2561 บริษัทฯ มีฝูงบินเพิ่มเป็น 105 ลำ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 85 ลำ โดยเป้าหมายในการจัดหาเครื่องบินครั้งนี้จะส่งผลให้ฝูงบินของบริษัทฯมีอายุเฉลี่ยของสายการบินลดลงจากปี 53 ที่ 11.9 ปี เป็น 8.5 ปี โดยเฉลี่ยในปี 2560

นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทฯได้อนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินบรรทุกสินค้าของฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ โดยจัดหาเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารแบบโบอิ้ง 747-400 อายุ 15-20 ปี จำนวน 2 ลำ มาดัดแปลงเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จและนำมาให้บริการประมาณไตรมาส 2/2555

ขณะเดียวกันมีมติกำหนดการออกและการเสนอขายหุ้นกู้ในประเทศ วงเงิน 8 พันล้านบาท ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ โดยมีมติแต่งตั้งธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BBL) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เป็นที่ปรึกษาและจัดจำหน่าย โดยการออกหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายกระจายความเสี่ยงของแหล่งเงิน จากปัจจุบันที่บริษัทฯมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัว ซึ่งอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่

สำหรับเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ดังกล่าวจะนำไปใช้ในการคืนหนี้เงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง พร้อมทั้งในปีนี้บริษัทฯยังมีหุ้นกู้จำนวน 6 พันล้านบาท ที่จะครบอายุ อีกทั้งเพื่อรองรับแผนการลงทุนใหม่ นอกจากนี้บริษัทฯยังได้รับเงื่อนไขจากธนาคารทั้งสองแห่ง โดยได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ด้านนายกวีพันธ์ เรืองผกา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า วงเงินจากหุ้นกู้จำนวน 8 พันล้านบาทที่บริษัทฯมีแผนที่จะเสนอขายในเดือนพฤษภาคม จะประกอบด้วยหุ้นกู้อายุ 5 ปี อายุ 7 ปีและอายุ 10 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปีจะอยู่ที่ประมาณ 6.75% ทั้งนี้ภายหลังการออกหุ้นกู้ดังกล่าวจะส่งผลให้บริษัทฯมีวงเงินครอบคลุมความต้องการใช้เงินที่บริษัทฯวางไว้ในช่วงปี 2553-2557 จำนวน 3.5 หมื่นล้านบาท หลังจากในปี 2553 บริษัทฯได้มีการกู้เงินแล้วจำนวน 2.7 หมื่นล้านบาท

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันบริษัทฯอยู่ระหว่างการทบทวนราคาที่จะเสนอซื้อหุ้นสายการบินนกแอร์ จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)(KTB) จากเดิมที่บริษัทฯได้ยื่นเสนอซื้อในราคา 30 บาทต่อหุ้น หลังจากปัจจุบันราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสายการบินนกแอร์ไม่ได้มีการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (Hedging) เมื่อเทียบกับบริษัทฯที่ได้มีการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันปัจจุบันที่ 40-50% แม้การทำประกันความเสี่ยงดังกล่าวก็ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งสายการบินนกแอร์ยังมีแผนที่จะเพิ่มฝูงบิน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้เงินในการจัดหาเครื่องบินเพิ่ม ส่งผลให้มีโอกาสที่จะให้สายการบินนกแอร์เพิ่มทุน

'บริษัทฯ ได้เสนอซื้อหุ้นสายการบินนกแอร์ในราคา 30 บาทต่อหุ้นกับธนาคารกรุงไทย ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้าและตอนนี้บริษัทฯเริ่มลังเล หลังราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนกแอร์ไม่มีการทำ Hedging แม้บริษัทฯได้ทำ Hedging ไว้แล้วก็ยังได้รับผลกระทบ ตอนนี้บริษัทฯกำลังทบทวนตัวเลขที่จะเสนอซื้อหุ้นสายการบินนกแอร์ ณ ตอนนี้บริษัทฯยังไม่ได้มีการปรับตัวเลขที่ทำไว้เพราะนกแอร์อาจมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อใช้เงินในการเพิ่มฝูงบินตามแผนที่วางไว้' นายปิยสวัสดิ์ กล่าว

อนึ่ง คณะกรรมการ THAI อนุมัติจ่ายปันผลปี 53 อัตรา 1.25บาท/หุ้นกำหนดจ่าย 20 พ.ค.

* บิ๊ก THAI คาดปีนี้ กวาดรายได้รวม 2 แสนลบ. เพิ่มขึ้นจากปี 53 ที่มีรายได้รวม 1.84 แสนล้านบาท
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่า บริษัทฯคาดว่าแนวโน้มรายได้รวมในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 53 ที่มีรายได้รวม 1.84 แสนล้านบาท พร้อมทั้งประเมินว่าอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 74% โดยในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา Cabin Factor อยู่ในระดับที่ดีที่ 77.8%

อย่างไรก็ดีหากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และบริษัทฯสามารถปรับราคาขายตั๋วเครื่องบินเพิ่มขึ้นได้ ก็จะส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจากปัญหาความรุนแรงในลิเบีย โดยล่าสุดวานนี้น้ำมันอากาศยานปรับตัวเพิ่มขึ้น 130 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งยังคงมีความกังวลว่าหากสถานการณ์ยังลุกลามไปยังประเทศอื่นต่อไปอาจส่งผลต่อบริษัทได้

อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทฯทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันไว้ที่ประมาณ 40-50% โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์จะได้รับเงินจากการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันประมาณ 250 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่าแนวโน้มกำไรก่อนหักภาษีเงินได้ และก่อนกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะดีขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรที่ 8,417 ล้านบาท หลังจากในปีนี้

สถานการณ์การเมืองภายในประเทศไม่มีความรุนแรงเหมือนช่วงไตรมาส 2/53 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีปัจจัยที่มีผลกระทบมากกว่าสถานการณ์การเมืองภายในประเทศขณะนี้ คือ สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในลิเบีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดโลก

ส่วนการปรับราคาขายตั๋วเครื่องบิน บริษัทฯยังคงต้องติดตามรอดูสถานการณ์ความรุนแรงในช่วง 2-3 วันข้างหน้าก่อนที่จะมีการพิจารณาและตัดสินใจ

สำหรับการพิจารณาการทำประกันป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (Hedging) บริษัทฯจะพิจารณาทำเพิ่มเติมหรือไม่ต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป เนื่องจากหากมีการทำ Hedging ในช่วงที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง และราคามีการปรับตัวลดลงก็ถือว่ามีความเสี่ยง

* ฟิลลิป แนะซื้อ THAI ให้ราคาพื้นฐานที่ 47.50 บาท
บทวิเคราะห์บล.ฟิลลิป ระบุว่า ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าใน 4Q53 เติบโต 0.69% และ 17.17% YoY มาอยู่ที่ 14,469 ล้านคน/กม. และ 778 ล้านตัน/กม. และมี Cabin Factor และ Freight Factor อยู่ที่ 73.83% และ 60.40% ตามลำดับ คาดรายได้ค่าโดยสารลดลง 1% YoY ซึ่งเป็นผลจากเงินบาทที่แข็งค่า แต่รายได้ค่าระวางขนส่งเพิ่มขึ้น 20.02% ส่วนรายได้ค่าไปรษณีย์ภัณฑ์และกิจการอื่นๆ คาดลดลง 3.74% และ 0.07% ทำให้รายได้รวมเพิ่มขึ้น 1.73% YoY เป็น 48,533.35 ล้านบาท ต้นทุนคาดปรับตัวขึ้น 1.65% โดยค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงลดลง 21.97% แต่ค่าเช่าเครื่องบินเพิ่มขึ้น 169.69% จากการเช่าเครื่องบิน 5 ลำ ค่าใช้จ่ายขาย/บริหารเพิ่มขึ้น 59% โดยหลักมาจากค่าใช้จ่ายบุคลากรโต 102.99% จากการจ่ายโบนัสพนักงานเพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายเกษียณอายุก่อนกำหนดอีกราว 2,000 ล้านบาท รายได้อื่นลดลงแม้จะมีเงินชดเชยการส่งมอบเครื่องบินของ Airbus ล่าช้าที่ 400 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอื่นจะมีการกลับรายการที่บันทึกการฟ้องร้องที่ EU เข้ามา 1,600 ล้านบาท แต่คาดจะมีการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์อีกราว200 ล้านบาท และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นคาดจะมีกำไรอัตราแลกเปลี่ยนที่ราว 1,700 ล้านบาทจึงคาดว่าจะมีกำไรสุทธิที่ 3,259.10 ล้านบาท ลดลง 63.43% YoY หากไม่นับรวมรายการพิเศษต่าง ๆ จะมีกำไรที่ 1,759.10 ล้านบาท และคาดจะจ่ายปันผลของปีที่ 1.25 บาท ซึ่งเป็นปันผลจากกำไรไม่รวมอัตราแลกเปลี่ยน

จากคาดการณ์ใน 4Q53 ทำให้กำไรสุทธิทั้งปีอยู่ที่ 15,671.94 ล้านบาท โดยมีกำไรก่อนอัตราแลกเปลี่ยนที่ 7,609.15 ล้านบาท สูงกว่าคาดที่ 6,252.88 ล้านบาท จากรายการพิเศษต่างๆที่เข้ามาส่วนในปี 2554 ยังคาดกำไรก่อนอัตราแลกเปลี่ยนที่ 11,521.53 ล้านบาท โดยใน 1Q54 ยังมีแนวโน้มดีจากเดือน ม.ค. ที่มี Cabin Factor ราว 78% และมี Yield/คน/กม. รวมค่าธรรมเนียมน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 2.80 บาท เทียบกับปีก่อนที่ 2.77 บาท ส่วนยอด booking ในเดือน ก.พ. และ มี.ค. อยู่ที่ 75% และ 52% อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามการชุมนุมประท้วงที่ทำให้ต้องมีการประกาศ พรบ. ความมั่นคงในบางเขตของกรุงเทพฯ อิง P/CF ที่ 3.25 เท่า ราคาพื้นฐานที่ 47.50 บาท ยังคงแนะนำ “ซื้อ”

* โบรกฯ ประเมินผลงานQ1/54 THAI ยังเติบโตดี แต่ชี้ น้ำมันโลกแพงปัจจัยเสี่ยง
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยว่า จากการประกาศผลประกอบการของ บมจ.การบินไทย ในปี 2553 ที่เติบโตเป็นที่น่าพอใจ โดยเบื้องต้นประเมินว่าผลประกอบการในไตรมาส 1/54 จะออกมาเติบโตดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยบริษัทฯได้ประเมินราคาพื้นฐานไว้ที่ 50 บาท แต่ทั้งนี้ ยังไม่ได้รวมสมมติฐานราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาเหตุความไม่สงบทางการเมืองของประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งหากราคาน้ำมันตลาดโลกยังอยู่ระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังจากนี้ คงอาจจะต้องมีการปรับราคาพื้นฐานใหม่ เพราะจะกระทบต่อต้นทุนของผลการดำเนินงานบริษัทฯในอนาคต

ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า ความกังวลที่มีต่อการดำเนินธุรกิจในกลุ่มขนส่ง โดยเฉพาะ THAI ที่มีภาระต้นทุนจากน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ โดยแนวโน้มราคาน้ำมันมีความผันผวนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกำไรของบริษัทฯได้ เนื่องจากราคาจำหน่ายตั๋วในแต่ละช่วง จะถูกคำนวณสมมติฐานราคาน้ำมันและอัตรากำไรต่อหน่วยที่ตั้งเป้าไว้ ดังนั้นเมื่อราคาค่าตั๋วไม่สามารถขยับขึ้นได้ หรือปรับขึ้นในอัตราที่ต่ำ ย่อมมีผลกดดันต่อต้นทุนและกำไรของ THAI ได้

ส่วนมุมมองด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียจะผลัดดันให้การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น จนส่งผลบวกต่อการดำเนินงานหรือไม่นั้น มองว่า สถานการณ์เรื่องน้ำมันเป็นปัจจัยใหญ่ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วทั้งโลก ขณะที่แนวโน้มรายได้ของประชากรกลับมีมูลค่าที่ลดลง จึงเหมือนไม่เป็นการสนับสนุนการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติมากนัก

*ฟาก เคจีไอ ชี้ ราคาน้ำมันไม่ใช่ปัญหา เนื่องจาก THAI การทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้า
บทวิเคราะห์บล.เคจีไอ ระบุว่า ไตรมาส 1/54 เป็นอีกไตรมาสที่ THAI จะมีผลประกอบการดี เนื่องจาก i) passenger yield ในเดือน ม.ค. เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญจาก 2.20 บาทต่อ RPK โดยเฉลี่ย (รวม fuel surcharge 2.62 บาทต่อ RPK) ใน ไตรมาส 4/53 เป็น 2.42 บาทต่อ RPK (รวม fuel surcharge 2.80 บาทต่อ RPK) ii) Cabin factor ในเดือน ม.ค. อยู่ที่ 78% เพิ่มขึ้นจาก 75% ในเดือน ธ.ค. นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังไม่มีค่าใช้จ่ายการขายและการบริหารพิเศษ (แผนเกษียณก่อนอายุและเงินโบนัสพนักงาน) ดังนั้นกำไรของบริษัทฯ ในไตรมาส 1/54 จึงควรดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4/53

ทั้งนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวเพิ่มใน ไตรมาส 1/54 แต่ยังเชื่อว่าความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันไม่ใช่ปัญหาสำคัญต่อผลประกอบการของ THAI เนื่องจากการทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าและ fuel surcharge เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงดังกล่าว จากข้อมูลของบริษัทฯ ปัจจุบัน THAI มีสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้าอยู่ประมาณ 51% และ 41% ของปริมาณที่ต้องใช้ใน ไตรมาส 1/54 และ 2Q54 ตามลำดับ ราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยที่ THAI ซื้อล่วงหน้าไว้อยู่ที่ประมาณ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในขณะที่ราคาน้ำมันเครื่องบินในปัจจุบันอยู่ที่ราว 115 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังปรับเพิ่ม fuel surcharge เพื่อชดเชยราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นดังที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้าว่า fuel surcharge ในเดือน ม.ค. อยู่ที่ประมาณ 0.38 บาทต่อ RPK

จากแนวโน้มที่ดีขึ้นใน ไตรมาส 1/54 ยังคงแนะนำ ‘ซื้อ’ โดยมีราคาเป้าหมายที่ 60.00 บาท ราคาเป้าหมายดังกล่าวได้จากค่า 11PB ที่ 1.4 เท่า คิดเป็น +2 standard deviation ของค่าเฉลี่ยในระยะยาว (ปี 2550 – จนถึงปัจจุบัน)

-----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น