Code 118 : Trend ยังไม่เสีย แต่ระวังแรงขายที่ 840

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2553

ATT Code : Trend ยังไม่เสีย แต่ระวังแรงขายที่ 840
เช้านี้ SET เปิดที่ 827.04 จุด เปิดใกล้เคียงกับราคาที่ปิดวันศุกร์ ซึ่ง SET ค่อนข้างที่จะแข็งแรงกว่าตลาดอื่นๆ ที่อยู่ในแดนลบกันทั่วหน้า โดยวันนี้ขึ้นไปทำ New High ที่ 834 ก่อนที่จะมีแรงขายทำกำไร แล้วลงมาปิดที่ 830 จุด ก็ต้องถือว่ายังไม่เสีย Trend ที่สามารถยืนอยู่ที่ 830 ได้ และก็มี Volume เข้ามา Support แต่ถ้าถึง 840 แล้วนั้นต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะอยู่ในสภาวะ Overbought แล้ว

FSS - กลยุทธ์: เริ่มเน้นหาจังหวะขายทำกำไรมากกว่าซื้อตามแล้ว โดยเฉพาะเมื่อ SET เข้าใกล้ 840 จุด โดยหุ้นที่ยังพอที่จะลุ้นต่อได้ ได้แก่ KTB, KK, ROJNA, KH, PDI, LST, TKS, TRC, IHL, BECL, SSI, TSTH, ESSO, GLOW, CPN, DTAC, BCP, MILL, TNDT เป็นต้น

----------------------------------------------------------------------------------
MARKET WAVE Analysis
19 กค .53 ( +6.52 จุด) โกมล พงศ์วิญญู เลขทะเบียน 18338

Stochastic Overbought
ดัชนีในวันศุกร์ ไม่ได้ปรับตัวลงอย่างที่คาดไว้ แต่กลับปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ประจำปีที่ 830.99

อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดจะทำจุดสูงสุดใหม่ของปีนี้ แต่จากสภาวะ Stochastic Overbought ในภาพระยะสัปดาห์ ทำให้โอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวขึ้นสูงมาก เป็นไปได้ค่อนข้างยาก

แนวโน้มระยะสั้นวันจันทร์ ถ้าต่ำกว่า 827.35 จุดต่ำสุดเวลา 15.00 น. ของวันศุกร์ดัชนีมีเป้าหมายแรกในการปรับตัวลง บริเวณ817 – 822 ใกล้จุดต่ำสุดของวันพฤหัสและศุกร์

ขณะที่ ภาพระยะสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ดัชนียังคงมีเป้าหมายในการปรับตัวลงบริเวณ 786 – 796 หรือระหว่างจุดต่ำสุดของวันที่ 25 มิย. ถึง 2 กค.








----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
ไทยรัฐ - By...อินเด็กซ์ 51 : เงาหุ้น-ไปต่อ!!

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 16 ก.ค.53 ปิดที่ 827.54 จุด เพิ่มขึ้น 6.52 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 36,700.16 ล้านบาท ต่างชาติซื้อสุทธิ 765.06 ล้านบาท

หุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุด TMB ปิดที่ 2.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.16 บาท, CPF ปิดที่ 23.50 บาท เพิ่มขึ้น 2.10 บาท, BTS ปิดที่ 0.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.01 บาท, STPI ปิดที่ 44.25 บาท เพิ่มขึ้น 7.00 บาท และ TPIPL ปิดที่ 13.10 บาท เพิ่มขึ้น 0.70 บาท

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ชี้ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นแข็งแกร่ง โดยมีแรงซื้อหุ้นรายตัวในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 2 จะออกมาดี รวมทั้งหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลงวดระหว่างกาล

ขณะที่มองแนวโน้มตลาดสัปดาห์หน้าว่า ช่วงต้นสัปดาห์ ดัชนีน่าจะปรับตัวขึ้นได้จากแรงซื้อเก็งกำไรผลประกอบการไตรมาส 2 ของบริษัทจดทะเบียนที่คาดว่าจะยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงกลางหรือปลายสัปดาห์ ตลาดอาจเผชิญแรงขายทำกำไร

โดยต้องติดตามการประกาศผลทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test) ของธนาคารยุโรป ที่จะออกมาในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยง หากผลออกมาไม่ดี อาจส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน ขณะที่ยังแนะให้ดูทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศประกอบการลงทุนด้วย

แนะกลยุทธ์การลงทุนให้เทรดดิ้งซื้อขายทำกำไรระยะสั้นใน

หุ้นรายตัวตามกระแสได้ ด้านเทคนิคประเมินแนวรับไว้ที่ 820 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 840 จุด

ขณะที่มีประเด็นที่ 9 ต้องติดตาม คือกรณี ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าข่ายมีความผิดละเมิดมาตรา 157 กรณีอนุมัติให้กระทรวงการคลังเข้าบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บมจ.

ทีพีไอ (TPI) ที่ปัจจุบันเป็น บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) เนื่องจากกระทรวงการคลังไม่มีอำนาจในการบริหารบริษัทเอกชน

ส่งผลให้ "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร TPI ออกมาเรียกร้องให้กระทรวงการคลังและรัฐบาลชุดนี้รับผิดชอบเยียวยาความเสียหายให้กลุ่มผู้ถือหุ้น TPI เดิม โดยเฉพาะการขอให้ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อหุ้นคืนจาก ปตท., กบข. และ MFC (ที่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนในช่วงการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ) ในราคาต้นทุน โดยไม่ต้องบวกมูลค่าเพิ่มของกิจการหรือดอกเบี้ย

โห! มหากาพย์เรื่องนี้คงได้เล่นต่อกันอีกยาว มีเรื่องมีประเด็นให้ได้ลุ้นกันอีกหลายยก!!

ไทยรัฐ - ทิศทางหุ้น 19/07/53


ภาวะการซื้อขายหุ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 827.54 จุด ขยับขึ้น 0.85% จาก 820.60 จุด ในสัปดาห์ก่อน และพุ่งขึ้น 12.66% จากสิ้นปี 52 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์ลดลง 0.83% จาก 136,372.92 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 135,236.73 ล้านบาท

แนวโน้มในสัปดาห์นี้ (19-23 ก.ค.53) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยอาจแกว่งตัวผันผวนตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศเป็นหลัก คาดว่าแรงหนุนอาจมาจากสภาพคล่องในประเทศที่ยังมีอยู่มาก ขณะที่แรงซื้อที่ชะลอลงของนักลงทุนต่างชาติอาจเป็นปัจจัยถ่วง โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของธนาคารยุโรปในวันที่ 23 ก.ค. ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน ทิศทางของตลาดหุ้นต่างประเทศ ตลอดจนการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯและเศรษฐกิจชั้นนำอื่น ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 822 และ 813 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 836 และ 846 จุด

ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปรับตัวขึ้นตั้งแต่กลางถึงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืนมีระดับหนาแน่นเพิ่มขึ้นจาก 1.12% มาที่ 1.37% ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์เงินบาทในประเทศ (Onshore) ขยับแข็งค่ารับวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ในช่วงก่อนการประชุม และสามารถขยับแข็งค่าได้ต่อในช่วงหลังการประชุมที่ กนง.มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี 0.25% สู่ระดับ 1.50% ซึ่ง กนง.ได้ระบุถึงความชัดเจนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า.
บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

FSS: ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกลับมากดดัน ดังนั้นเริ่มเน้นทำกำไร
แนวโน้ม: ตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาปรับตัวลดลงกันอีกครั้ง หลังตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง ขณะที่ตัวเลขผลประกอบการของแบงก์ ออฟ อเมริกา และซิตี้ กรุ๊ป ทำให้นักลงทุนผิดหวัง และกลับมากังวลต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอีกครั้ง โดยดัชนีแสดงความกังวล VIX Index ก็ดีดตัวขึ้นกว่า 4% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาด้วย ขณะที่ในช่วงท้ายของสัปดาห์นี้ก็จะมีการประกาศผลการทำทดสอบภาวะวิกฤติของแบงก์ในยุโรป ซึ่งนักลงทุนบางส่วนคงอยากรอดูความชัดเจนก่อนมากกว่า จึงทำให้มีแรงขายทำกำไรออกมาในตลาดหุ้นต่างๆ นอกจากนี้ในบ้านเราถือว่าเสถียรภาพของรัฐบาลก็อาจส่งผลให้นักลงทุนวิตกต่อสถานการณ์ทางการเมืองอยู่บ้าง หลังแกนนำพรรคร่วมฯ อย่าง ปชป. ยังต้องรอการตัดสินคดียุบพรรคซึ่งอยู่ในชั้นศาลฯ และผู้นำพรรคอย่าง นายกฯ และรมว.คลัง ยังต้องรอการตัดสินชี้มูลความผิดคดีส่ง SMS จาก ปปช. อีก รวมทั้ง SET ขยับขึ้นมาพอสมควรแล้วในรอบที่ผ่านมา โดยดัชนีสามารถขึ้นมายืนปิดสูงกว่า 820 จุดได้ตามคาด และเริ่มมีจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่า 830 จุดได้บ้างแล้วด้วย ดังนั้น FSS จึงแนะนำให้เริ่มหาจังหวะขายทำกำไรเพื่อรอการปรับตัวลงของตลาดก่อนที่จะกลับเข้าหาจังหวะซื้อรอบใหม่ต่อไป
กลยุทธ์: เริ่มเน้นหาจังหวะขายทำกำไรมากกว่าซื้อตามแล้ว โดยเฉพาะเมื่อ SET เข้าใกล้ 840 จุด โดยหุ้นที่ยังพอที่จะลุ้นต่อได้ ได้แก่ KTB, KK, ROJNA, KH, PDI, LST, TKS, TRC, IHL, BECL, SSI, TSTH, ESSO, GLOW, CPN, DTAC, BCP, MILL, TNDT เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
§ ความสนใจของตลาดในสัปดาห์นี้อยู่ที่ผลของ Stress Test
ของ 91 แบงก์ใน 20 ประเทศในยุโรปในวันศุกร์ มีแนวโน้มว่าแบงก์ส่วนใหญ่อาจสอบผ่านเพราะแบงก์ที่เลือกมาเทสต์ส่วนใหญ่เป็นแบงก์ที่แข็งแกร่ง รวมทั้งผลประกอบการ 2Q10 ของแบงก์ในบ้านเรา แนวโน้มออกมาดี เราคาดกำไรใน 2Q10 -3.6% Q-Q และ +16.1% Y-Y และผลประกอบการของหุ้นในสหรัฐฯ 12 หลักทรัพย์ใน Dow Jones และ 122 หลักทรัพย์ใน S&P500 หลังการประกาศผลประกอบการ ให้ระวัง Sell on fact โดยเฉพาะที่ดัชนีระดับ 827 จุด ไม่ถูก คิดเป็น PE 13 เท่าและมี upside เพียง 4% จากเป้าหมาย 860 จุด
§ KBANK ประกาศกำไรเช้านี้ ดีกว่าเราและตลาดคาดจากการบริหารจัดการ NIM ได้ดีขึ้นมาก ยังคงแนะนำซื้อลงทุน ราคาเป้าหมาย 118 บาท
§ SCC คาดกำไรสุทธิ 2Q10 -8% Q-Q และ -7.7% Y-Y จาก Margin ของธุรกิจปิโตรเคมีที่แคบลงมาก ส่วนธุรกิจซีเมนต์กำไรทรงตัว และธุรกิจกระดาษกำไรดีมากจากราคากระดาษพุ่ง อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม 2H10 ยังแข็งแกร่งจากำลังการผลิตใหม่ที่ทยอยเพิ่มขึ้นช่วยชดเชยราคาที่ลดต่ำลงได้ ระยะยาวลงทุนได้ เป้าหมาย 298 บาท
§ 3G ครม.เศรษฐกิจวันนี้จะพิจารณาเรื่องการประมูล 3G โดย ก.คลังจะเสนอให้ยกเลิกสัมปทานเดิมแล้วเปลี่ยนเป็น License อายุ 15 ปีเท่ากัน และผลตอบแทนให้รัฐ 12.5% ต่อปี เงื่อนไขใหม่ไม่น่าจะทำให้เอกชนเสียประโยชน์ไปมากกว่าเดิม จึงมีโอกาสลุ้นการประมูล 3G ที่ กทช. พยายามผลักดัน DTAC น่าสนใจสุดที่ราคาปัจจุบัน
§ สัปดาห์ที่ผ่านมา Regional Fund Flow ไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณไม่มากนัก ทั้งนี้เราเชื่อว่าน่าจะเป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศในเอเชียช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าลงทุนในเอเชีย บวกกับอัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเอเชียเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของจีดีพีที่ออกมาดีกว่าคาด ในขณะที่ตัวเลขเศษรฐกิจสหรัฐออกมาแย่กว่าคาดทำให้ตลาดมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวอย่างล่าช้า ทำให้ Fund Flow โดยรวมยังไม่ไหลออกจากตลาดพันธบัตรไม่มาก แนวโน้มสัปดาห์นี้คาดว่า Fund Flow น่าจะทรงตัวหรือชะลอตัวต่อเนื่องจากวันศุกร์เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แย่กว่าคาด และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 3% แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินยูโรและค่าเงินในภูมิภาคเอเชียยังแข็งแกร่ง รวมถึงค่าเงินบาทเช้านี้แม้อ่อนตัวเล็กน้อย แต่ถือว่ายังแข็งแกร่ง ซึ่งจะยังหนุนให้ Fund Flow ยังคงอยู่ในตลาดหุ้นเอเชีย

ข่าวภายในประเทศ
"กรณ์"ชงครม.ศก.แผน100วัน เปลี่ยนสัญญาสัมปทานมือถือเป็นไลเซ็นส์ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เผยว่าในการประชุมครม.เศรษฐกิจในวันนี้ (19 ก.ค.) มีเรื่องที่จะพิจารณา คือ แผนพัฒนาอุตฯ โทรคมนาคม เสนอโดยก.คลัง และก.ICT โดยจะเสนอให้มีการยกเลิกสัญญาสัมปทานมือถือ 2G ที่ TOT และ กสท (CAT) ทำกับเอกชน แล้วแทนที่ด้วยใบอนุญาตประกอบกิจการ และดำเนินการให้มีการเช่าสินทรัพย์คือโครงข่ายจากทีโอที และกสทฯ โดยเอกชนจะต้องจ่าย 3 ส่วน คือ (1.) ค่าแรกเข้า ขึ้นกับอายุสัญญาที่เหลือและจำนวนคลื่นความถี่ที่ถือครอง (2) ค่า License ายปีที่ 12.5% และ (3) ค่าเช่าเครือข่าย 2G ที่เป็นทรัพย์สินของ TOT หรือ CAT << พร้อมทั้งเสนอให้ กทช.ปรับเพิ่มอัตราค่าไลเซ่นส์ 3G จาก เดิม 6.5% เป็น 12.5% ด้วย >> ทั้งนี้ แผนดังกล่าวจะให้ครม.เศรษฐกิจอนุมัติในหลักการ แล้วให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างก.คลัง และ กระทรวง ICT เพื่อจัดทำแผนลงรายละเอียดนำเสนอครม.ภายใน 100 วัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เสมอภาค (ที่มา: ฐานเศรษฐฏิจ 19 ก.ค.) >>
ความเห็น: แนวคิดดังกล่าวมีการเผยแพร่ในตลาดฯ มาบ้างแล้ว Concept ของรัฐ เพื่อให้มูลค่ารวมของการลดค่าสัมปทานและเพิ่มอายุสัมปทานไม่ต่ำกว่ามูลค่าส่วนที่เหลือของสัมปทานเดิม และมองว่าในแง่เอกชนไม่ได้เป็นลบ เพียงแต่ความคืบหน้าของรัฐดังกล่าว อาจทำให้แผนการประมูล 3G ภายในเดือนก.ย.นี้ โดยกทช. ล่าช้าออกไป ขึ้นอยู่กับว่ากทช.จะกล้าเดินหน้าประมูล 3G เพียงไร โดยต้องติดตามว่ากทช.จะมีการสรุปร่าง IM ลงในราชกิจจานุเบกษา ในช่วงวันที่ 20-30 ก.ค.นี้หรือไม่ คำแนะนำ: คง Conservative โดยยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจาก 3G ใน Valuation ของบริษัทมือถือต่างๆ ที่ราคาหุ้นปัจจุบันของ ADVANC และ DTAC มี Upside ประมาณ 8-9% จากราคาเป้าหมายไม่รวม 3G แนะนำ ถือ และรอซื้อในช่วงราคาอ่อนตัว โดยคาด Dividend yield ของ ADVANC อย่างต่ำ 7.2% และคาดว่า DTAC จะมีการเติบโตของกำไรสูงสุดในกลุ่มในปี 10 ที่ 21% และคาดกำไร 2Q10 จะโตดีเกือบ 60% Y-Y (งบฯ จะออกพรุ่งนี้หลังตลาดปิดเย็น)
TMB ซัดกำไรพุ่ง 79% มีบันทึกพิเศษ 100 ล. : โบรกฯมองกลุ่มแบงก์ไตรมาส 2 เติบโต 29% โบรกฯคาดการณ์ผลประกอบการแบงก์ TMB จะรายงานกำไรสุทธิประมาณ 706 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้าถึง 79% เหตุมีบันทึกกำไรพิเศษจากซื้อคืนตราสารหนี้กว่า 100 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อพลิกเป็นบวก ขยายตัว 2-3% ส่งผลกำไรทั้งปีจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 พันล้านบาท เติบโต 37% มั่นใจปีนี้จ่ายปันผลแน่นอน ส่วนกำไรสุทธิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดจะเติบโตราว 29% มาที่ 2.34 หมื่นล้านบาท ด้าน BBL กระเป๋าตุงสุด 6.4 พันล้านบาท ขณะที่สินเชื่อของ TCAP จะโตสูง 1 เท่าตัวจาก 2.95 แสนล้านบาท เป็น 5.8 แสนล้านบาท พร้อมรับรู้กำไรเพิ่มจากผลประกอบการของ SCIB (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 19-07-2010)
HTECH รายได้ทะลัก350ล้าน HTECH มั่นใจไตรมาส 2/53 ผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ลุ้นผลประกอบการครึ่งปีแรกดันจ่ายปันผลมากกว่าครั้งก่อนหลังออเดอร์ไทยและต่างประเทศทะลัก ได้ดีตลาดอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โต 10-15% ล่าสุดเตรียมชงบอร์ดเพิ่มกำลังการผลิตวันที่ 2 ส.ค.นี้ “พีท” เชื่อปีนี้รายได้เข้าเป้า 350 ล้านบาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 19-07-2010)
MAJORขายซูซูกิอเวนิวเข้ากองทุนฯ ปั้นรายได้เพิ่มอีกพันล้าน ราคาเป้าหมาย 15 บาท MAJOR การันตีขายซูซูกิอเวนิว รัชโยธิน ทันปีนี้แน่ ย้ำดำเนินการเสร็จบันทึกทันที มั่นใจงบไตรมาส 2 สวยหรูไม่ทำให้นักลงทุนผิดหวัง วงการชี้แผนการขายสินทรัพย์หนุนบริษัทได้กำไรพิเศษ (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 19-07-2010) MCS จ่อรับรู้งานไต้หวัน5 พันล้าน บันทึกทันที Q3 ดันครึ่งหลังแจ่ม! MCS จ่อรับรู้รายได้งานโครงสร้างสำหรับ สะพานให้ประเทศไต้หวันประมาณ 3,500-5,000 ล้านบาท และงานโครงสร้างเหล็กในประเทศอีก 2,500 ล้านบาทภายในไตรมาส 3/53 บวกตัวเลขสำรองรับประกันสินค้าประมาณ 50-70 ล้านบาทในไตรมาส 4/53 ส่งผลให้ผลประกอบการครึ่งปีหลังแจ่ม ขณะที่แนวโน้มไตรมาส 2/53 อยู่ในเกณฑ์ดี ด้านโบรกฯปรับราคาเหมาะสมปี 2553 ใหม่เป็น 9.5 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 19-07-2010)


----------------------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
ข่าวต่างประเทศ
ยุโรป:
ยูโรสแตทเผย กลุ่มยูโรโซนขาดดุลการค้าในเดือนพ.ค.สูงถึง 4.4 พันล้านดอลลาร์ สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท)เปิดเผยว่า ประเทศในกลุ่มยูโรโซน หรือ 16 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร มีตัวเลขขาดดุลการค้าสูงถึง 3.4 พันล้านยูโร หรือ 4.4 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนพ.ค. สวนทางกับเดือนเม.ย.ที่มียอดเกินดุลการค้า 300 ล้านยูโร หรือ 400 ล้านดอลลาร์ ข้อมูลของยูโรสแตทระบุว่า การที่ยอดส่งออกเดือน
พ.ค.ของกลุ่มยูโรโซนเพิ่มขึ้น 1.6% ขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 4.2% เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มยูโรโซนขาดดุลการค้าในเดือนพ.ค. (ที่มา: อินโฟเควสท์ 17-07-2010)
สหรัฐอเมริกา: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเดือนก.ค.ร่วงเกินคาด เหตุวิตกแนวโน้มศก.-การจ้างงาน รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นในเดือนก.ค. ร่วงลงสู่ระดับ 66.5 จุด จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 76.0 จุด ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ที่ 74.5 จุด เนื่องจากผู้บริโภคมีความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลง (ที่มา: อินโฟเควสท์ 17-07-2010)
สหรัฐอเมริกา: สหรัฐเผยดัชนี CPI เดือนมิ.ย.ลดลง 0.1% บ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อชะลอตัวลง กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อ ลดลง 0.1% ในเดือนมิ.ย. ทำสถิติลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะทรงตัวจากระดับของเดือนพ.ค. เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงาน อาหาร และค่าธรรมเนียมสายการบิน ปรับตัวลดลง (ที่มา: อินโฟเควสท์ 17-
07-2010)
จีน: จีนคาดแนวโน้มการส่งออกเหล็กครึ่งปีหลังอ่อนตัวหลังยกเลิกการคืนภาษีส่งออก จีนได้ยกเลิกอัตราภาษีคืนภาคส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กทั้ง 48 ชนิดตั้งแต่วันพฤหัสบดีเป็นต้นไป ซึ่งรวมถึงเหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา เหล็กรีดเย็น และเหล็กประเภทอื่นๆ เพื่อควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 16-07-2010)
จีน: จีนและเยอรมนีลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านพลังงานและการผลิตหลายพันล้านดอลลาร์ จีนและเยอรมนีได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ 10 รายการเกี่ยวกับพลังงานสะอาด วัฒนธรรม ไปจนถึงการร่วมทุนเพื่อผลิตรถบรรทุก โดยมีนายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่าของจีน และนางแองเจลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี (ที่มา: อินโฟเควสท์ 16-07-2010)
เอเชีย: ความเชื่อมั่นนักลงทุนสิงคโปร์ไตรมาส 2 อ่อนตัวเหตุวิตกสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ-ยุโรป นสพ.บิสิเนส ไทม์ส รายงานว่า ความเชื่อมั่นนักลงทุนของสิงคโปร์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ลดลง 7% จากไตรมาสแรก มาอยู่ที่ระดับ 140 เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า ปัจจัยภายนอกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสิงค์โปร์ (ที่มา: อินโฟเควสท์ 16-07-2010)
----------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น