Code 66 : Olympic Crysis

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2553

ATT Code : Olympic Crysis - ยุโรปยังเสี่ยง การเมืองบ้านเรายังซับซ้อน
สรุปการลงทุนในสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 12,393.59 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิที่ 6,839.96 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิที่4,545.24 ล้านบาท และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิที่ 1,008.39 ล้านบาท

นักลงทุนยังมีความกังวลต่อ ปัญหาหนี้ในยุโรปที่ทำให้นักลงทุนยังมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ขณะที่ปัญหาการเมืองในประเทศที่มีความซับซ้อนยังอาจเป็นปัจจัยฉุดตลาดได้

โดย ดิ อิโคโนมิสต์ ได้วิเคราะห์ วิกฤติหนี้กรีซ อาจลุกลาม ผวาบานปลายตามทฤษฎีโดมิโน ทำให้เป็นวิกฤติหนี้สาธารณะของอียู

กลยุทธ์ FSS : นักลงทุนระยะสั้น 1 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะสัปดาห์นี้มีหลายปัจจัยที่บ่งชี้ชัดว่าเม็ดเงินในตลาดโลกยังคงไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย ตลาดหุ้นจึงปรับฐานต่อ
นักลงทุนระยะกลาง – ยาว 6 – 12 เดือนข้างหน้า และยังคงเป้าหมาย SET Index ปลายปีนี้ที่ 860 จุด และ 1,000 จุดปลายปี 2011

เช้านี้ SET เปิดบวกตามภูมิภาค โดยเปิดที่ 772.12 จุด +3.57 จุด
TFEX เปิดที่ 544.80 จุด +4.10 จุด
ภาคเช้า SET ปิดที่ 775.53 จุด +6.98 จุด V. 11,684 MB.
ต่างชาติยังขายสุทธิ 1,300 MB. TFEX ปิดที่ 547 จุด +6.30 จุด
โดยถ้าวันนี้ SET กลับมายืนเหนือMA 5 วัน ที่ 774 จุด ถือว่าดี
แต่ถ้าต่ำกว่า MA 10 วัน ที่ 770 ถือว่าไม่ดี
SET ปิดตลาดที่ 779.06 จุด +1.37 จุด V. 26,659 MB
ปิดเกือบ 780 ได้ ก็ถือว่า Rebound ตามภูมิภาค ตาม HSKI
แนวต้านพรุ่งนี้ ถ้ายืน 780 ได้ ก็มองไปที่ 790 จุด
ส่วน TFEX ปิดที่ 550.50 จุด +9.80 จุด

----------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
ไทยรัฐ - By...อินเด็กซ์ 51 : ทิศทางหุ้น 10/05/53

ภาวะการซื้อขายหุ้น
สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 768.55 จุด ปรับตัวขึ้น 0.53% จาก 763.51 จุด ในสัปดาห์ก่อน แต่ร่วงลง 4.22% จากสิ้นปี 52 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้น 28.01% จาก 83,415.53 ล้านบาท ในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 106,776.46 ล้านบาท โดยนักลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบันและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิที่ 6,839.96 ล้านบาท 4,545.24 ล้านบาท และ 1,008.39 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 12,393.59 ล้านบาท

แนวโน้มสัปดาห์นี้ (10-14 พ.ค. 2553) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับฐานอีก จากความกังวลต่อ ปัญหาหนี้ในยุโรปที่ทำให้นักลงทุนยังมีแนวโน้มหลีกเลี่ยงสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ขณะที่ปัญหาการเมืองในประเทศที่มีความซับซ้อนยังอาจเป็นปัจจัยฉุดตลาดเช่นกัน

นอกจากนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามคงจะได้แก่ การรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสัปดาห์สุดท้ายของตลาดหุ้นไทยและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย. ในวันที่ 13 พ.ค. คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 763 และ 740 จุด แนวต้าน 772 และ 795 จุด

ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นค่อนข้างทรงตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ท่ามกลางสภาพคล่องในตลาดเงินที่ยังมีอยู่มาก ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) หนาแน่นทั้งสัปดาห์ที่ระดับ 1.15%
เงินบาทในประเทศ (Onshore) แกว่งตัวตามปัจจัยทางการเมือง เงินบาทขยับแข็งค่าในช่วงต้นสัปดาห์ กระนั้นก็ดี สถานการณ์การเมืองในประเทศที่ยังคงมีความไม่แน่นอน รวมถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤติหนี้ในยูโรโซน ซึ่งกดดันตลาดหุ้นและสกุลเงินในภูมิภาค ได้หักล้างช่วงบวกของเงินบาทลงในช่วงกลางสัปดาห์ (ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติเทขายสุทธิหุ้นไทย 12.4 พันล้านบาท ในช่วง 3 วันทำการของสัปดาห์นี้).

FSS : เริ่มกลับมาเน้นขายอีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าตลาดขยับขึ้น...เพื่อรอรับต่ำ!!
แนวโน้ม: เม็ดเงินของนักลงทุนต่างประเทศยังคงไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย จากความกังวลต่อปัญหาหนี้สินในยุโรป สังเกตได้จากดัชนี VIX Index ยังคงพุ่งขึ้นต่อเนื่องและค่าเงินดอลลาร์ที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่า ขณะที่ตลาดหุ้นทั้งสหรัฐและยุโรปต่างปรับตัวลงกันมากกว่า 1% แทบทั้งสิ้น ส่งผลให้ FSS คาดว่า SET จะยังมีแนวโน้มปรับฐานลงต่อ แม้ว่าระยะสั้นตลาดกำลังอยู่ในช่วงดีดกลับจากแรงซื้อที่มีเข้ามาพอควรเมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา และอาจจะยังแกว่งบวกต่อได้ในต้นสัปดาห์นี้จากแนวโน้มการชุมนุมที่มีสิทธิที่จะคลี่คลายได้ภายในสัปดาห์นี้หลังนายกฯ กระตุ้นให้แกนนำกลุ่ม นปช.รีบตัดสินใจตอบรับแผนปรองดองอย่างเร่งด่วน ซึ่งทางกลุ่มแกนนำก็ตอบรับว่าน่าจะได้ข้อสรุปภายในต้นสัปดาห์ รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากการที่เช้านี้ตลาดหุ้นในเอเชียหลายประเทศสามารถเริ่มต้นด้วยการเป็นบวก หรือถ้าลบก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามเรามองกรอบการแกว่งของดัชนีสัปดาห์นี้ที่ 740 – 780 จุด ดังนั้นที่ระดับดัชนีปัจจุบันจึงต้องระวังการแกว่งตัวลงอีกครั้ง จากแรงขายเพื่อปรับพอร์ตของนักลงทุนต่างประเทศซึ่งคาดว่าจะยังเป็นแรงกดดันต่อ SET ต่อไปอีกพัก
กลยุทธ์: เราแนะนำให้ขายทำกำไรและขายปรับพอร์ตต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อดัชนีขยับขึ้น โดยถ้าจะเข้าเทรดดิ้งให้รอตอนตลาดปรับตัวลงต่ำ ซึ่งน่าจะถอยไปรอดูแรงซื้อแถว 750-740 จุดก่อน สำหรับหุ้นที่คาดว่าน่าสนใจจะเป็นกลุ่ม Second Tier ไม่ใช่กลุ่มหลักอย่างแบงก์และพลังงานซึ่งเป็นเป้าหมายในการขายของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มพลังงานยังถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างหนักด้วย ยกเว้นหุ้นในกลุ่ม PTT ที่มีประเด็น M&A ที่ทำให้ยังพอถือลุ้นได้ สำหรับกลุ่ม Second Tier ที่เราแนะนำได้แก่กลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ (KCE, DELTA) กลุ่มอาหาร (CPF, GFPT, TUF) กลุ่มค้าปลีก (CPALL) ยานยนต์ (SAT, STANLY) โรงไฟฟ้า (GLOW) น้ำประปา (TTW) เป็นต้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
-เม็ดเงินย้ายเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง Dow Jones วันศุกร์ลดลงอีก 139.9 จุด S&P และ Nasdaq ก็ลดลง 1.5% และ 2.3% ตามลำดับ แม้ตัวเลขการจ้างงานใหม่จะเพิ่มถึง 2.9 แสนตำแหน่ง มากกว่าที่คาดไว้มากและมากกว่าเดือนก่อน แต่ความกังวลกับหนี้ของกรีซที่อาจไปประเทศอื่นและอาจกระทบถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ดัชนีร่วงต่อและทำให้ทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา Dow Jones ปรับลงถึง 630 จุดหรือ 5.7% (-0.46% YTD) ตลาดหุ้นสำคัญในยุโรปในวันศุกร์ก็ลดลง 2% - 4% ดัชนีความกลัวหรือ VIX พุ่งต่อ 25% (+86% W-W) มาปิดที่ 40.95 ส่วนราคาน้ำมันเมื่อวันศุกร์ปรับลงอีก US$2 ทำให้ทั้งสัปดาห์ลดลงถึง US$11 หรือ 12.8% มาปิดที่ US$75.11 เป็นสัปดาห์ที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2008 สวนทางกับทองในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยปรับขึ้นอีก US$13.1 มาปิดที่ US$1,210 เป็นระดับ New high ของปีนี้
-สัปดาห์นี้: เม็ดเงินยัง Flight to Safety หุ้นปรับฐานต่อ กรอบ 750 – 780 จุด เรายังมีมุมมอง Bullish กับตลาดหุ้นในระยะกลาง – ยาว 6 – 12 เดือนข้างหน้า และยังคงเป้าหมาย SET Index ปลายปีนี้ที่ 860 จุด และ 1,000 จุดปลายปี 2011 อย่างไรก็ตาม ระยะสั้น 1 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะสัปดาห์นี้มีหลายปัจจัยที่บ่งชี้ชัดว่าเม็ดเงินในตลาดโลกยังคงไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย ตลาดหุ้นจึงปรับฐานต่อ กลุ่มที่ปลอดภัยสำหรับการลงทุนในสัปดาห์นี้เป็นกลุ่ม Second Tier ไม่ใช่กลุ่มหลักอย่างแบงก์และพลังงานซึ่งเป็นเป้าหมายในการขายของนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ กลุ่มพลังงานยังถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่ร่วงอย่างหนัก ยกเว้นหุ้นในกลุ่ม PTT ที่มีประเด็น M&A ยังพอถือลุ้นได้ สำหรับกลุ่ม Second Tier ที่แนะนำได้แก่กลุ่มอิเล็กทรอนิคส์ (KCE, DELTA) กลุ่มอาหาร (CPF, GFPT, TUF) กลุ่มค้าปลีก (CPALL) ยานยนต์ (SAT, STANLY) โรงไฟฟ้า (GLOW) น้ำประปา (TTW)

-----------------------------------------------------------

สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
ไทยรัฐ : "กรีซ" ต้นตอตลาดหุ้นดิ่งวูบทั่วโลก

ดิ อิโคโนมิสต์ วิเคราะห์ วิกฤติหนี้กรีซ อาจลุกลาม ผวาบานปลายตามทฤษฎีโดมิโน ทำให้เป็นวิกฤติหนี้สาธารณะของอียู เตือนอันตรายกำลังคืบคลานเข้ามา...

เหตุการณ์จลาจลครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศกรีซเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความวิตกกังวลต่อประเทศต่างๆในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรอย่างมาก

หลายประเทศที่ตกลงเข้าร่วมมือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กรีซ หวั่นเกรงว่า การก่อการประท้วงของบรรดาข้าราชการในกรีซที่มีอยู่กว่า 500,000 คน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดและปรับลดรายจ่ายด้านเงินเดือนของข้าราชการ ตลอดจนถึงการปรับขึ้นของอัตราภาษี เพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือด้านเงินกู้ฉุกเฉินจำนวน 145,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 175,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากประเทศในกลุ่มอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อป้องกันไม่ให้กรีซต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย

อาจเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลและความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแผนการกอบกู้วิกฤติการ คลังที่มีสัญญาไว้กับอียูและไอเอ็มเอฟ

ดิ อิโคโนมิสต์ นิตยสารชั้นนำทางด้านเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะและการขาดดุลงบประมาณที่กลายเป็นวิกฤติการคลังของกรีซในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้ลุกลามไปสร้างผลกระทบรุนแรงทั้งต่อตลาดเงินและตลาดทุนทั่วยุโรป 27 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้มี 16 ประเทศ ที่ใช้เงินสกุลยูโร

ไม่เพียงแต่จะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงอย่างหนัก โดยเฉพาะตลาดหุ้นเยอรมนี ฝรั่งเศสและอังกฤษ (ดูตาราง) หรือแม้แต่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฮ่องกง เท่านั้น แต่ยังทำให้ตลาดเงินเกิดความผันผวนอย่างหนักด้วย เพราะนักลงทุนต่างพากันเทขายเงินยูโรและหันไปถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าอย่างทองคำและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแทน ผลจึงทำให้เงินยูโรร่วงลงกว่า 11% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

ดิ อิโคโนมิสต์ระบุว่า นับแต่เดือนกันยายน 2551 เป็นต้นมา เลห์แมน บราเธอร์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ เกือบทำให้ระบบของธนาคารล่มสลายมาแล้วและทศวรรษก่อนหน้า หนี้สาธารณะที่สูงมาก บวกกับความอ่อนแอในระบบการเงินก็เคยทำให้รัสเซียเกิดวิกฤติมาแล้ว ครั้งนั้นยังสร้างผลกระทบให้กับ Long Term Captital Management ที่รู้จักกันดีในนาม "เฮดจ์ฟันด์" หรือกองทุนเก็งกำไรของพ่อมดการเงินอย่างนายจอร์จ โซรอส ให้ต้องขาดทุนยับเยิน จนส่งผลกระทบต่อเนื่องเหมือนโรคติดต่อไปยังเฮดจ์ฟันด์รายใหญ่อื่นๆด้วยวิกฤติหนี้และวิกฤติการคลังของกรีซครั้งนี้ แท้ที่จริงก็เป็นวิกฤติหนี้สาธารณะของอียูที่มองเห็นว่า อันตรายกำลังคืบคลานเข้ามานั่นเอง แม้ว่าตัวแทนจากอียูและไอเอ็มเอฟจะเจรจากับรัฐบาลกรีซครั้งแล้วครั้งเล่าถึงการเพิ่มมาตรการกอบกู้วิกฤติจากภาวะล้มละลาย (bail-out package) แต่ทุกอย่างดูจะล่าช้าและไม่ทันกาลที่สำคัญหลายฝ่ายยังหวั่นเกรงว่า วิกฤติของกรีซจะบานปลายออกไปจนทำให้ประเทศที่ตกอยู่ในภาวะเดียวกันอย่างโปรตุเกส สเปน และอิตาลี มีปัญหาตามไปด้วย เมื่อสถาบันจัดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือด้านการลงทุน เข้าไปปรับลดเครดิตของประเทศต่างๆเหล่านี้ ซ้ำเติมให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้นไปอีก ในขณะที่ประเทศเหล่านี้เป็นกังวลว่า การประมูลหนี้ จะล้มเหลว

มีข้อสงสัยว่า เศรษฐกิจขนาดเล็กสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างไร แม้ว่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของกรีซจะมีสัดส่วนเพียง 2.6% ของยุโรปโดยรวม แต่มี 3 ขั้นตอนที่ชี้ว่า มันใกล้เข้ามาทุกขณะแล้วที่จะเกิดทฤษฎีที่เรียกว่า โดมิโน คือ 1. การประเมินตัวเลขหนี้และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกรีซในอดีตล้มเหลวและผิดพลาด ขณะที่ข้อเท็จจริงหลังรัฐบาลใหม่เข้ารับตำแหน่ง ก็พบว่าตัวเลขหนี้และฐานะการคลังทรุดหนักกว่าที่ประเมินไว้เดิม

ตัวเลขหนี้สาธารณะที่ก่อกันไว้หลายปีนั้นสูงถึง 112% ของจีดีพี (ขณะที่สำนักเศรษฐกิจอื่นประเมินไว้ว่าสูงราว 120-135%) ส่วนการขาดดุลงบประมาณก็สูงถึง 13.6% เพราะการส่งออกไม่เป็นไปตามเป้า ทำให้รายได้มีไม่พอรายจ่ายที่สูงลิ่ว

สิ่งเหล่านี้ทำให้กรีซต้องกู้เงินมาใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องกระทั่งกลายเป็นหนี้สาธารณะจำนวนมากถึงขั้นที่มีผู้ประเมินว่า อียูและไอเอ็มเอฟอาจต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลถึง 450,000 ล้านเหรียญ หรือราว 600,000 ล้านยูโร เพื่ออุ้มกระเตงกรีซไม่ให้ล้มละลาย แล้วลากเอาระบบเศรษฐกิจอียูทั้งพวงร่วงลงไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลไม่สามารถปรับลดรายจ่ายได้ง่ายๆและประชาชนก็ดูเหมือนจะไม่อยากให้มีการลดค่าจ้างและค่าบริการที่จำเป็นลงเพื่อให้เศรษฐกิจอยู่รอดได้

ดิ อิโคโนมิสต์ยังระบุด้วยว่า เยอรมนี ซึ่งเป็นหัวหอกและลูกพี่ใหญ่ของประเทศในกลุ่มยูโรโซน ดำเนินกลยุทธ์ผิดพลาดในช่วงต้น เพราะนางแอนเจลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรี หวั่นว่าจะไม่ได้รับคะแนนเสียงในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 9 พ.ค. สิ่งนี้ทำให้การช่วยเหลือกรีซดำเนินไปอย่างล่าช้าและไม่ทันท่วงที จนกระทั่งเกิดความหวั่นไหวไปทั่วทั้งตลาดเงินตลาดทุนของยุโรป และทำให้เลือดของกรีซไหลไม่หยุด จนต้องเพิ่มวงเงินให้ความช่วยเหลือมากขึ้น เนื่องเพราะไม่มีเงินกู้จากภาคเอกชนเข้าไปเลย ที่แย่หนักกว่าก็คือ ประเทศผู้นำในอียู ปฏิเสธที่จะขอรับความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ เพราะถือเป็นการเสียหน้า แต่กลับหันไปโทษพวกเฮดจ์ฟันด์แทน

การกอบกู้ฟื้นฟูกรีซให้พ้นจากภาวะวิกฤติหนี้และการคลังจะพอเพียง และทันกาลที่จะยับยั้งไม่ให้ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆจนกลายเป็นโดมิโนหรือไม่ ต้องติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด.

ไทยรัฐ : วิกฤติโอลิมปิก ถล่มสหภาพยุโรป ใช้ 1 ล้านล้านยูโรกอบกู้
ดร.โกร่ง บัญญัติศัพท์ วิกฤติโอลิมปิก จากวิกฤติหนี้ของกรีซ ชี้ ส่งผลกระทบรุนแรง และหนักกว่า วิกฤติซับไพร์ม และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หวั่นนำไปสู่การล้มละลายของเศรษฐกิจยูโรโซน...

นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) นักเศรษฐศาสตร์มหภาคคนสำคัญของประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ "ทีมเศรษฐกิจไทยรัฐ" เกี่ยวกับวิกฤติหนี้และการคลังของประเทศกรีซ ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในกรีซและประเทศที่ถือพันธบัตรของกรีซไว้เป็นจำนวนมาก เช่น สเปน โปรตุเกสและอิตาลี จะส่งผลกระทบรุนแรงและหนักกว่าวิกฤติซับไพร์มหรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐฯ ซึ่งท้ายสุด อาจนำไปสู่การล้มละลายของระบบเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนได้ หากชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในกลุ่มซึ่งแข็งแรงกว่าและมีพละกำลังมากพอจะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ได้ยังมัวแต่คิดถึงคะแนนเสียงเลือกตั้งของตนและตัดสินใจให้ความช่วยเหลือล่าช้าเกินไป

"เมื่อเกิดความตื่นตระหนก คนก็จะนำพันธบัตรของกรีซออกมาเทขาย ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรในขณะนี้พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 11% จากที่เคยให้ 2% ก็เท่ากับลดราคาจาก 100 ลงเหลือ 20 หรือลดลง 5 เท่า แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีใครซื้อ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ อีกสักพักธนาคารพาณิชย์ก็จะต้องประเมินมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรที่บรรดากองทุนถืออยู่เพื่อให้เป็นมูลค่าตามราคาตลาดปัจจุบัน หรือราคาล่าสุดที่มีการซื้อขายกันจริง (Mark To Market)"

นายวีรพงษ์กล่าวด้วยว่า เมื่อมีการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิในรูปแบบต่างๆใหม่ ปัญหาก็จะลุกลามไปสู่ประเทศที่ลงทุนในพันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นกู้ หรือแม้แต่หุ้นเป็นจำนวนมาก และนี่คือสาเหตุที่นักเศรษฐศาสตร์กำลังเป็นห่วงสเปน โปรตุเกสและอิตาลี ซึ่งกองทุนของธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินในประเทศเหล่านี้เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ของกรีซไว้มาก เมื่อไหร่ ที่ถูก mark to market ผู้ถือตราสารหนี้ หรือพันธบัตรก็จะขาดทุนหมด

"คุณอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียดเหล่านี้ เพราะนักเศรษฐศาสตร์ในสหภาพยุโรปดูเหมือนจะปิดปากกันเงียบเชียบ ในขณะที่ต่างรู้ดีว่าราคาของสินทรัพย์ หรือพันธบัตรในประเทศเหล่านี้กำลังลดลงอย่างฮวบฮาบ เมื่อราคาสินทรัพย์ตกต่ำลง ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมก็จะขาดทุนกันชนิดที่เรียกว่าหูตูบ และกลายเป็นโดมิโนแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับวิกฤติซับไพร์มและตราสารหนี้ ซีดีโอ"

นายวีรพงษ์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อเล่นว่า "ดร.โกร่ง" ยังบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อเรียกวิกฤติหนี้และการคลังของกรีซในครั้งนี้ด้วยว่า วิกฤติโอลิมปิก (Olympic Crysis) สาเหตุเพราะ กรีซเป็นประเทศต้นแบบของกีฬาโอลิมปิก ขณะที่หนี้สาธารณะซึ่งสูงถึง 112% ของจีดีพี (รายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) หรือที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจบางแห่งให้ตัวเลขหนี้สาธารณะของกรีซไว้สูงถึง 120% ของจีดีพีนั้น มีสาเหตุมาจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของกรีซในปี ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) ที่ใช้ชื่อว่า ATHENS GAMES จากบันทึกการจัดการแข่งขันครั้งนั้นระบุว่า แม้รัฐบาลกรีซจะได้รับการชื่นชมว่าสามารถนำกีฬาโอลิมปิกกลับมาตุภูมิสำเร็จ และประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพนานัปการ แต่รัฐบาลกรีซกลับต้องพบกับปัญหาใหญ่หลวงของฐานะการคลังที่ทรุดลงอย่างรุนแรง เพราะใช้งบประมาณเพื่อการเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ไปเกินกว่าหลายเท่าตัว จากที่วางเป้าหมายไว้ว่าจะใช้เงินเพียง 4,600 ล้านยูโร แต่เอาเข้าจริง กรีซกลับต้องใช้งบประมาณไปสูงถึง 10,000 ล้านยูโร เนื่องจากต้องลงทุนระบบการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการก่อการร้ายสูงมาก เพราะโลกเพิ่งเผชิญกับเหตุการณ์ ร้ายแรงจากการก่อการร้าย 911 มาหมาดๆ

เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวผสมโรงกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และฐานะการคลังที่อ่อนแออยู่เดิมจากการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประเทศที่ใช้เงินยูโร ตลอดจนถึงการต้องลงทุนในระบบสาธารณูปโภคใหม่เพื่อการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กรีซต้องขาดดุลงบประมาณสูงถึง 5.2% สูงกว่าข้อกำหนดที่สหภาพยุโรปตั้งไว้ว่าประเทศในกลุ่มยูโรโซนจะขาดดุลงบ ประมาณได้ไม่เกิน 3% ปัญหาของกรีซไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากแต่ยังมีปัญหาการเมืองที่ไม่โปร่งใสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการเลือกตั้งใหม่ ที่เกิดขึ้นก่อนกำหนดเปิดการแข่งขันเอเธนส์ เกมส์ เพียงไม่ กี่เดือน รัฐบาลใหม่ที่เข้ามา มีรายจ่ายหลายด้านที่ไม่โปร่งใส โดยเฉพาะด้านการทหารที่ไม่ปรากฏในงบประมาณ ขณะที่การก่อหนี้สาธารณะยังทำกันอย่างลับๆ และปิดบังฐานะที่แท้จริงให้แก่คณะกรรมาธิการการเงินของสหภาพยุโรปทราบ กระทั่งปัญหาลุกลามบานปลายไปจนไม่สามารถปิดบังฐานะที่แท้จริงได้อีกต่อไป เพราะกรีซไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยวและส่งออกมากเพียงพอต่อรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยและไม่มีวินัย หนี้สาธารณะที่แท้จริงจึงปรากฏขึ้นและอยู่ในระดับที่สูงถึง 112% ของจีดีพีเมื่อมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามา

"ถามว่า ปัญหานี้จะแก้ไขอย่างไร วิธีแก้ก็มีดังนี้ คือ

1.อียูต้องยอมให้เงินกู้แก่กรีซ ซึ่งผมคิดว่า น่าจะมากกว่าที่ประเมินกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเงินยูโรที่ระดับ 145,000 ล้านยูโร เท่าที่มีการประเมินกันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ก็คือ มีความเป็นไปได้ว่า อียูอาจต้องใช้เงินกอบกู้วิกฤติโอลิมปิกครั้งนี้สูงถึง 1 ล้านล้านยูโร"

2.ยุติการดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่บีบให้รัฐบาลกรีซต้องปรับลดรายจ่ายในงบประมาณลง หรือบีบให้ลดเงินเดือนข้าราชการ เพราะข้อกำหนดนี้นำมาซึ่งเหตุการณ์จลาจล ที่ทำให้ผู้คนลุกฮือขึ้นมาเผาบ้านเผาเมืองอย่างที่เห็น "สูตรเดียวกันนี้เคยนำมาใช้บังคับกับประเทศไทยในวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้วและก็ทำให้เราพัง เพราะฉะนั้น One Formular Fits All ของไอเอ็มเอฟนั้น ใช้ไม่ได้ผลแน่นอน"

3.ถ้าเป็นประเทศที่มีสกุลเงินของตัวเอง ไม่ได้ใช้สกุลเงินรวมอย่างในระบบยูโรโซน นายวีรพงษ์ให้ความเห็นว่า นักเศรษฐศาสตร์อาจใช้เครื่องมือสำคัญคือ ลดค่าเงินลงได้ เพื่อให้การส่งออกนำรายได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้หนี้ที่มีอยู่และเพื่อการใช้จ่าย หรือการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นเรื่องโชคร้ายที่กรีซใช้ระบบเงินรวม เมื่อค่าเงินยูโรอ่อนตัว ประเทศในกลุ่มเดียวกันก็อ่อนตัวลงด้วย และประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าทั้งในเรื่องของการผลิต การส่งออกและบริการ ก็จะได้เปรียบและรับประโยชน์ไปแทน

"ราคาสินค้าหรือบริการที่คิดว่าน่าจะต่ำจนดึงดูดคนซื้อได้ ก็กลับมีราคาเท่ากับประเทศอื่นๆ นี่จึงเป็นจุดอ่อนของการใช้เงินตราร่วมกัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ท้าทายและน่าหวาดเสียวว่า อียูจะสามารถรักษาระบบเงินตราสกุลเดียวของตนไว้ได้หรือไม่เพียงไรเพื่อไม่ให้ล่มสลายไป ด้วยเหตุที่มีประเทศในกลุ่มที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลังที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน ที่เรียกว่า Chiang Mai Initiative จะต้องจับตาดูบทเรียนที่กำลังเกิดขึ้นกับยูโรโซนนี้ให้ดีว่า เมื่อมีการรวมเงินเป็นสกุลเดียวกันแล้ว ก็จะไม่มีเครื่องมือใดที่จะสามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อีก เช่นเดียวกับกรีซที่ไม่มีเครื่องมือแก้ปัญหานี้ กระทั่งอาจจะต้องล่มสลายไปในที่สุด" นายวีรพงษ์กล่าวในที่สุด.

-------------------------------------------------------------------
หุ้นเด่น - ประเด็นข่าว : FSS
แนะรีบเก็บ 5 หุ้นเด็ดพร้อมโชว์กำไรปลิ้น แจ้งสัปดาห์นี้ ‘ชนิตร’ เตือนรายย่อยมีสติ “ชนิตร ชาญชัยณรงค์” เตือนสติรายย่อย อย่าตื่นตระหนกเทขายหุ้น หลังต่างชาติเทขายหุ้นบางกลุ่ม ไม่ใช่ทั้งกระดาน แนะลงทุนหุ้นแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 1/53 สวย ก่อนงบออกวันสุดท้ายสัปดาห์นี้ “ข่าวหุ้นธุรกิจ”เปิดโผ 5 หุ้นที่งบยังไม่ออก แต่แนวโน้มสุดหรู อาทิ กรุงเทพประกันชีวิต (BLA), ซีพี ออลล์(CPALL), ศุภาลัย (SPALI), การบินไทย (THAI) และโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• LOXLEY อาจรอด DSI ไม่มีสิทธิทำคดี “ธาริต” ยอมรับโครงการหวยออนไลน์ไม่เข้าข่ายคดีพิเศษ เหตุคดีเกิดก่อนตั้งดีเอสไอ ดังนั้นจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ด้านกองสลากฯเตรียมเรียกประชุมบอร์ดหลัง 17 พ.ค.หาทางออกกรณีล็อกซเล่ย์ทำหนังสือเรียกร้องค่าเสียหาย 2พันล้านบาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• TTA กำไร 170 ล้าน ขานรับระวางเรือขึ้นข่าวดีเซี่ยงไฮ้เอ็กซ์โป TTA ไตรมาส 2 พลิกกำไรทะลัก วงการเงินชี้ มีสิทธิเห็นถึง 170ล้านบาท ต้อนรับค่าระวางเรือพุ่งถึง 12,000 ดอลลาร์ต่อวันต่อลำ แถมยังมีบันทึกรายการพิเศษขายเรือหนุน ช่วยทดแทนขาดทุนใน MML ขณะที่ BDI ยังไปได้อีกไกล มีสิทธิขึ้นลุยถึง 3,500 จุด ขานรับความต้องการสินค้าในงาน Shanghai World Expo 2010 (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• UNIQ ส้มหล่น ฮุบอีก 450 ล้าน สถานีบางกรวย UNIQ ฟลุค รับทรัพย์งานก่อสร้างบางซื่อ-ตลิ่งชันอีก 450 ล้านบาท เหตุ กฟผ. ร้องขอให้เพิ่มสถานีบางกรวย-กฟผ. เพื่อความสะดวกของพนักงาน พร้อมออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดแทนรถไฟฯ เตรียมลงนาม MOU วันนี้ ขณะบางซื่อ-รังสิต อยู่ระหว่างปรับ TOR หลัง JICA สั่งให้บรรจุมูลค่างานเป็นสกุลเงินเยนด้วย แต่ผู้ว่าการรถไฟฯมั่นใจ แก้ไขทุกอย่างเสร็จ ได้เปิดขายเอกสารเดือนนี้แน่นอน (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• PS แจ่มกำไร 1.2 พันล้าน น่าซื้อเป้าหมาย 21 บาท PS ประกาศงบ Q1/53 กำไรกว่า 1,229 ล้านบาท โตกว่าปีก่อน 80% ยอดขายทุบสถิตินิวไฮใหม่ 8.59 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 112% ได้รับแรงหนุนรายได้ทะลัก 6,670 ล้านบาท โตกว่า 80% แนะซื้อลงทุนเป้าหมาย21 บาท ด้าน PRIN ไม่น้อยหน้ากำไร Q1 โดดเด่น116 ล้านบาท เติบโต 114% เหตุรายได้โอนคอนโด-แนวราบพุ่งกว่า 1,250 ล้านบาท(ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• PTTEP ปัดจ่ายสัมปทานพม่าเกินจริง ลั่นไม่มีเอี่ยวรัฐบาลทหาร ระบุเสียภาษีตามหลักสากล PTTEP ปัดจ่ายค่าสัมปทานแหล่งยาดานา-เยตากุนเกินอัตราจริง หนุนรัฐบาลพม่า อ้างเป็นเพียงผู้ร่วมทุน ขณะที่การเสียภาษีก็เป็นไปตามหลักสากล ด้าน “อนนต์” ยันไม่กระทบแผนลงทุนในพม่า ยังพร้อมเดินหน้าแหล่ง M9 ต่อไป พร้อมส่งก๊าซเข้าระบบ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันภายในปีหน้า (ที่มา:นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• PA ถอดใจขายทิ้งธุรกิจอสังหาฯ หุ้นใหญ่จ่อทำเทนเดอร์ 7 บาท เพิกถอนออกจากตลท. บอร์ด PA เห็นชอบปรับโครงสร้างธุรกิจหลังประสบปัญหาขาดทุน อนุมัติขายสินทรัพย์ปัจจุบัน หวังนำเงินที่ได้ไปลงทุนธุรกิจอื่นที่สร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า พร้อมไฟเขียวเพิกถอนหุ้นออกจากตลท. ผู้หุ้นใหญ่เล็งทำเทนเดอร์ฯ จากรายย่อยหุ้นละ 7 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• AIS ไม่ผิดหวังกำไรเฉียด 5 พันล้าน ลูกค้าพุ่ง 30 ล้านเลขหมาย “เน็ตซิม” ยอดใช้ 4 แสนคน AIS กำไรโค้งแรกไปได้สวยเพิ่มขึ้น 9% ปิดที่ 4,900 ล้านบาท รายได้ไม่รวมไอซีพุ่งทะลุ 21,000 ล้านบาท รับอานิสงส์ปัจจัยบวกสัญญาณเศรษฐกิจ ดันยอดลูกค้ารวมใกล้ 30 ล้านรายเต็มแก่ เผย Q1 บริการ “เน็ต ซิม” มาแรงทำยอดคนใช้งานได้ถึง 4 แสนคน บวกบริการข้อมูล นอนวอยซ์ ปริมาณใช้เอดจ์-จีพีอาร์เอสโต 88% คงเป้ารายได้เติบโตปีนี้ไว้ที่ 3% คาดกระแสเงินสดเพิ่มเป็น 12% ส่วน CSL น้องเล็กไม่น้อยหน้า กำไร 85
ล้านบาท สูงสุดรอบ 5 ปี (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• MCS กำไรพุ่ง 86%รายได้เกินพันล้านเป้าเกิน 6.10บาท MCS เด้งสูงสุดตั้งแต่เข้าตลาดฯ รับงบไตรมาส 1/53 หรู กำไรโต86.47% ที่ 253.50 ล้านบาท มีรายได้อยู่ที่ 1,064 ล้านบาท จากการส่งออกเพิ่มขึ้น และได้ราคาดีจากการทำสัญญาระยะยาวของวัตถุดิบและบริษัทขนส่ง ผู้บริหาร ชี้ขอดูสถานการณ์การเมืองก่อนสรุปเป้าหมายรายได้ทั้งปี โบรกฯ เตือนให้ระวังแรงเทขาย หากต้องการเก็งกำไร ให้แนวต้าน 6.10 บาท (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)
• DCC-TRT ทิ้งทวนก่อนแขวนป้าย XD ถิรไทยรับ 55 สต .ผลตอบแทน 8.53% DCC ไล่ซื้อก่อนขึ้น XD เพื่อรับเงินปันผล 0.80บาท โบรกฯยังเชียร์ซื้อ เป้าหมาย 40 บาท เชื่อผลการดำเนินงานแข็งแกร่งต่อเนื่อง คาดกำไรทั้งปีขยายตัวสูงถึง 20% ด้าน TRT วอลุ่มทะลัก นักลงทุนแห่เก็บรับปันผลปี 2552 อัตราหุ้นละ 0.55 บาท ให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผล 8.53% ต่อปี (ที่มา: นสพ.ข่าวหุ้น 10-05-2010)

-----------------------------------------------------------------
Technical View : FSS
“SET ลงไปทดสอบแนวรับแล้วเริ่มมีแรงซื้อให้เห็น ทำให้คาดว่ามีลุ้นจังหวะรีบาวด์ขึ้นให้เทรดดิ้งสั้นๆ ตามรอบได้ แต่จังหวะดีดกลับยังคาดว่าผ่าน 780 จุดหรือยืนสูงกว่าได้ยาก ดังนั้นเข้าใกล้แนวต้านควรทำกำไรก่อน…”
แนวรับ : 766-760** , 757-747***
แนวต้าน : 773-775** , 780***

---------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น