Code 74 : ประกาศ โปรดการเจรจา...อีกครั้ง

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม 2553

ATT Code : ประกาศ โปรดการเจรจา...อีกครั้ง
วันนี้ ยังคงประจำการอยู่ที่ Central ปิ่นเกล้า เหมือนเดิม
ตอนเช้าตลาดเปิดมาก็ลบนิดหน่อยเกือบ 2 จุด และก็ไหลลงไป
ลบประมาณ 5 จุด หลุด 750 ไป แต่สักพักก็กลับมายืนเหนือ 750 อีก
ซึ่งก็คาดว่าคงเริ่มชินชากับการปะทะกัน การจุดเผายางรถยนต์

ปิดตลาดภาคเช้า SET สามารถยืนเหนือแนวรับที่สำคัญที่ 750
และยังสามารถผ่าน 755 มาได้อีก บวกทั้งกลุ่มแบงค์ พลังงาน และอาหาร

ช่วงบ่าย มีข่าวว่า สว. เป็นคนกลางในการเจรจาขอทั้ง 2 ฝ่าย
ทำให้มีแรงซื้อเข้ามา บวกไป 8 จุด ไปที่ 761
และปิดตลาดภาคบ่าย SET มาปิดที่ 760.11 สามารถยืนเหนือ 760 ได้
ซึ่งตลาดได้มีการคาดหวังว่า จะมีการกลับมาเจรจากันอีกครั้ง

ต่างชาติยังขายอยู่ 2,640 ล.บ. แต่ก็ขาน้อยลงกว่าเดิมครึ่งนึง
ส่วนรายย่อยก็ยังป็นขาใหญ่ ที่ยังซื้ออยู่ 2,477 ล.บ.

---------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
ไทยรัฐ - By...อินเด็กซ์ 51 : เงาหุ้น-ลงแรง รอซื้อ!!

ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 17 พ.ค.53 ปิดที่ 753.26 จุด ลดลง 15.53 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 17,662.76 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 4,219.30 ล้านบาท

หุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด นำโดย CPF ปิดที่ 16.80 บาท ลบ 0.50 บาท, PTT ปิด 248 บาท ลบ 6 บาท, SCB ปิด 81 บาท ร่วง 3 บาท, BANPU ปิด 608 บาท ลดลง 12 บาท และ STPI ปิด 20.40 บาท บวก 0.40 บาท

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ซีไอเอ็มบี มองว่าหากมีการสลายการชุมนุม ดัชนีที่ ระดับ 720 จุด น่าจะรองรับการปรับตัวลงของตลาดได้ เพราะดัชนีที่ระดับดังกล่าวเป็นดัชนีระดับต่ำที่สุด ในช่วงที่รัฐบาลสลายการชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เม.ย. เพราะนักลงทุนได้คาดการณ์และรับรู้แล้วว่าจะมีการสลายการชุมนุม ขณะที่ ราคาหุ้นได้ปรับตัวลงซึมซับรับข่าวไปแล้วบางส่วน

สิ่งที่ต้องจับตาหลังสลายการชุมนุมคือ หากรัฐบาลยังถูกกดดันหนักต่อและทำให้เกิดการยุบสภาอาจส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหากรณีมาบตาพุดต้องล่าช้าออกไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น และอาจทำให้ดัชนีทรุดตัวลงมาต่ำกว่าระดับ 700 จุดได้ สำหรับแนวโน้มตลาดระยะสั้น มองว่าดัชนียังมีโอกาสปรับตัวลงได้อีก

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป มองแนวโน้มตลาดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง หากยังไม่คลี่คลายและทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุน ทำให้ดัชนีปรับตัวลงต่อและซึมยาว แต่หากสถานการณ์คลี่คลายดีขึ้นน่าจะทำให้ดัชนีรีบาวน์กลับขึ้นมาได้

แนะกลยุทธ์การลงทุนสำหรับนักลงทุนระยะสั้นให้ชะลอการลงทุน ส่วนนักลงทุนระยะยาว แนะให้หาจังหวะกลับเข้าซื้อ เมื่อดัชนีปรับตัวลงในหุ้นพื้นฐานดี ด้านประเมินแนวรับ 740 จุด แนวต้าน 756 จุด

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.พัฒนสินแนะกลยุทธ์การลงทุนให้นักลงทุนรออยู่นอกตลาด โดยให้ถือหุ้นในพอร์ตเพียง 25% เท่านั้น แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาว มองว่า การดิ่งลงแรงของตลาดจะเป็นจังหวะที่ดีของการลงทุน แต่การเข้าซื้อควรรอให้ แรงขายนักลงทุนต่างชาติสะเด็ดน้ำกว่านี้ก่อน หรือควรตั้งซื้อและซื้อคืนที่แนวรับหลัก

สำหรับหุ้นที่แนะนำลงทุนคือ หุ้นกลุ่มที่ปลอดภัยสูงหรือกลุ่มที่ มีข่าวดีรออยู่ ได้แก่ GLOW, TUF, GFPT, CPF, BLA, IVL, IRPC และ PTTAR.


ไทยรัฐ : ฝรั่งขายหุ้นหนีตาย 3.1 หมื่นล้าน ผวาไทยเข้าสู่กลียุค!
ต่างชาติผวาสงครามกลางเมือง ถอดใจเทขายหนีตายหุ้นไทยต่อเนื่อง กดตลาดหุ้นทรุดกว่า 15 จุด แค่ 9 วันทำการต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 30,000 ล้านบาท ....

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันที่ 17 พ.ค. หลังเกิดการปะทะรุนแรงจนทำให้รัฐบาลต้องสั่งหยุดราชการเป็นเวลา 2 วัน (17-18 พ.ค.) ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ปิดการซื้อขายในเวลา 15.30 น. เร็วกว่าปกติ 1 ชั่วโมง ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมือง ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาอย่างหนัก กดดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงแรงทันทีที่เปิดตลาด โดยลงไปต่ำสุดที่ 744.55 จุด ลดลง 24.24 จุด ก่อนมาปิดที่ 753.26 จุด ลดลง 15.53 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 17,662.76 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิหนีตายต่ออีก 4,219.30 ล้านบาท เพียง 9 วันทำการ (3-17 พ.ค.) ต่างชาติขายสุทธิรวมทั้งสิ้น 31,305.43 ล้านบาท

นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒน์กุล รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ ยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้ต่างชาติเทขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อเช้าวันที่ 17 พ.ค. ค่าประกันความเสี่ยงของการกู้เงินต่างประเทศหรือ Default swap ของประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงที่มีเหตุรุนแรงทางการเมืองเดือน เม.ย.ปี 52 นั่นหมายถึงการระดมทุนหรือการออกหุ้นกู้รวมถึงการกู้เงินต่างประเทศของไทยจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนต่างชาติ เริ่มให้ความเห็นถึงกรณีว่า ประเทศไทยจะมีโอกาสเข้าสู่ภาวะการเป็น Failed State หรือประเทศที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้หรือไม่ จากเหตุรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้น เพราะภาพที่ถูกสื่อออกไปต่างประเทศนั้นรุนแรงมาก จึงคาดว่าต่างชาติน่าจะยังคงเทขายหุ้นออกมาเพื่อลดความเสี่ยง โดยจะเห็นว่าช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยกว่า 30,000 ล้านบาท จากที่ซื้อสะสมมาตั้งแต่ต้นปีกว่า 50,000 ล้านบาท โดยต้นทุนเฉลี่ยของต่างชาติที่เข้าซื้อในปีนี้อยู่ในช่วงดัชนี 730 จุด ดังนั้นต่างชาติอาจขายหุ้นในมือออกมา และดัชนีมีโอกาสลงไปถึง 720-730 จุด แต่หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อรุนแรง ต่างชาติก็อาจจะเทขายหุ้นออกมาหนักอีก โดยอาจขายหุ้นที่ซื้อมาตั้งแต่ปีที่แล้วออกมาด้วย ซึ่งราคาต้นทุนของต่างชาติที่เข้าซื้อในปีที่แล้วเฉลี่ยอยู่ที่ดัชนี 678 จุด และหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์อาจได้รับผลกระทบมากถูกต่างชาติเทขายออกมามากที่สุด เพราะเป็นหุ้นที่ต่างชาติถืออยู่ในสัดส่วนที่สูงมากกว่าหุ้นกลุ่มพลังงาน

ด้านนายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้หยั่งรากลึกและมีความเห็นที่แตกต่างกันสุดขั้วมาก ทำให้ใช้เวลาในการแก้ปัญหานาน โดยการชุมนุมที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่แทบหยุดชะงัก ขณะที่การบริโภคของคนในกรุงเทพมหานครก็ชะลอลง รวมทั้งความเสี่ยงด้านธุรกิจจากภาคการลงทุนจริงคงชะลอตัว นักลงทุนที่จะขยายการลงทุนอาจทบทวนหรือชะลอการลงทุนออกไป "ปัญหาการเมืองที่ลากยาวขณะนี้ เหมือนบาดแผลลึกที่ส่งผลกระทบกับทุกด้าน ทำให้ต้องระมัดระวังและมีความเสี่ยงว่าประเทศไทยอาจถูกลดอันดับเครดิต ซึ่งยิ่งกดดันให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงมาสู่ระดับ 730-700 จุดได้"

ผู้บริหารระดับสูงโบรกเกอร์ต่างชาติกล่าวว่า ตลอดทั้งวันมีผู้จัดการกองทุนต่างชาติจำนวนมากสอบถามถึงสถานการณ์ในไทย ซึ่งต่างชาติมีความกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก เพราะปัญหาครั้งนี้หนักที่สุดและเลวร้ายกว่าที่คาดคิด มีการนำอาวุธสงครามมาต่อสู้กันกลางเมืองหลวง ทำให้ต่างชาติเริ่มถอดใจกับการลงทุนในไทย เพราะที่ผ่านมาต่างชาติประเมินว่าตลาดหุ้นไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจดี ส่วนปัญหาการเมืองคาดว่าน่าจะจบลงได้ไม่น่ารุนแรงลากยาว จึงเข้ามาซื้อหุ้นไทยหลังจากที่กระแสเงินทุนจำนวนมหาศาลทั่วโลกไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวดีขึ้นกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคหลายแห่ง ดังนั้น จึงเห็นว่าหากสถานการณ์ยังรุนแรงวุ่นวายต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ น่าจะทำให้ต่างชาติยิ่งถอดใจเทขายหุ้นไทยออกมา ส่วนต่างชาติที่เคยเข้าใจและกล้าเข้ามาลงทุนในไทยในช่วงก่อนหน้านี้ ก็น่าจะกล้าน้อยลง

"หากใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมมีคำถามว่า เป็นการยุติหรือจบจริงหรือไม่ จะมีความเคียดแค้นหรือปัญหาอื่นบานปลายตามมาอีกหรือไม่ ต่างชาติไม่คิดว่าการใช้ความรุนแรงจะเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ ขณะที่ไทยมีน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI เพียง 1.8% เท่านั้นถือว่าน้อยมาก หากปัญหายังวุ่นวายไม่รู้จบ ต่างชาติอาจตัดสินใจได้ไม่ยากในการทิ้งตลาดหุ้นไทย"

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า หลังบอร์ดตลาดหลักทรัพย์ได้ประชุมและหารือกับนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประเมินเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้น จึงมีมติให้ยังคงกำหนดเวลาปิดการซื้อขายเร็วขึ้น 1 ชั่วโมง ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ โดยปิดทำการเวลา 15.30 น. ขณะที่นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีหุ้นที่ปรับตัวลง 15 จุด ไม่ถือว่าเป็นความตื่นตระหนกเทขายของนักลงทุนมากเกินไป ส่วนการที่ต่างชาติยังคงเทขายออกมากนั้น ยอมรับว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคงทำให้ต่างชาติเกิดความไม่มั่นใจ เพราะเป็นภาวะที่ผิดปกติ แต่ขอให้นักลงทุนเข้าใจว่า พื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่งหากเหตุรุนแรงยุติหรือสงบลงเราน่าจะฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว.


-------------------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
TNN : น้ำมันดิบปิดร่วง$1.53-ดาวโจนส์ปิดขยับขึ้น5.67จุด
น้ำมันดิบปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน หลังวิกฤตการณ์การเงินในยุโรปทรุด ส่วนดาวโจนส์ปิดบวกหลังจากสกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้น

18 พ.ค. 53 : สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 5.67 จุด หรือ 0.05% แตะที่ 10,625.83 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 1.26 จุด หรือ 0.11% แตะที่ 1,136.94 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 7.38 จุด หรือ 0.31% แตะที่ 2,354.23 จุด

ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กมีอยู่ราว 1.068 หมื่นล้านหุ้น มีจำนวนหุ้นบวกมากกว่าหุ้นลบในอัตราส่วน 3 ต่อ 2 ส่วนปริมาณการซื้อขายในตลาด Nasdaq มีอยู่ราว 9.65 พันล้านหุ้น

นักวิเคราะห์จากจีเอเอ็มซีโอ โกร็ธ ฟันด์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้น เนื่องจากค่าเงินยูโรฟื้นตัวขึ้น ขณะที่นักลงทุนเข้าซื้อเก็งกำไรหลังจากตลาดปิดร่วงติดต่อกัน 2 วันทำการที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากความกังวลที่ว่าปัญหาหนี้สินของกรีซอาจส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินในยุโรป และจากความกังวลที่ว่ามาตรการรัดเข็มขัดและการควบคุมงบประมาณการใช้จ่ายของหลายประเทศในยุโรป อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วย

ส่วนรัฐบาลสเปนประกาศใช้มาตรการลดการขาดดุลงบประมาณขั้นเฉียบขาด รวมถึงการลดเงินเดือนข้าราชการเฉลี่ย 5% ตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปีนี้ และระงับการขึ้นเงินเดือนในปี 2554 ซึ่งรัฐบาลสเปนคาดว่าจะช่วยลดรายจ่ายได้มากกว่า 1.5 หมื่นล้านยูโร (1.9 หมื่นล้านดอลลาร์) ภายในระยะเวลาสองปี
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นนิวยอร์กถูกกดดันหลังจากสหรัฐเปิดเผยว่า ภาคการผลิตในรัฐนิวยอร์กขยายตัวในอัตราที่ช้าลงในเดือนพ.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงเปราะบาง
ขณะที่สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเอกชนของสหรัฐ ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนอาจมาถึงจุดสูงสุดแล้ว โดยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมี.ค.ของจีนพุ่งขึ้น 1.1% สู่ระดับ 144.5 จุด หลังจากขยับขึ้นเพียง 0.4% ในเดือนก.พ.

นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันอังคาร กระทรวงพาณิชย์จะเปิดเผยข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย. และกระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.

สำหรับวันพุธ กระทรวงแรงงานจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเปิดเผยรายงานการประชุมเมื่อวันที่ 27-28 เม.ย. วันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานจะรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด จะรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย. ส่วนวันศุกร์ไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ

ขณะที่ สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.53 ดอลลาร์ ปิดที่ 70.08 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 70.30 - 69.50 ดอลลาร์

สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์เดือนมิ.ย.ลดลง 6.36 เซนต์ ปิดที่ 1.9970 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินเดือนมิ.ย.ร่วงลง 7.43 เซนต์ ปิดที่ 2.047 ดอลลาร์/แกลลอน

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 2.83 ดอลลาร์ ปิดที่ 75.10 ดอลลาร์/บาร์เรล

ด้านนักวิเคราะห์จากออยล์ไพรซ์ อินฟอร์เมชัน เซอร์วิส กล่าวว่า ตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังคงถูกดดันอย่างหนักจากความกังวลที่ว่าวิกฤตการณ์การเงินในยุโรปอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและดีมานด์พลังงานทั่วโลก

นอกจากนี้ ตลาดได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย รวมถึงข้อมูลที่บ่งชี้ว่าภาคการผลิตในรัฐนิวยอร์กชะลอตัวลง รายงานที่ระบุว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนได้มาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว และยอดขายรถยนต์ในยุโรปที่หดตัวลง

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กเปิดเผยว่า ดัชนีการผลิตในรัฐนิวยอร์กร่วงลงแตะระดับ 19.11 จุดในเดือนพ.ค. จากเดือนเม.ย.ที่ระดับ 31.86 จุด ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 30.00 จุดในเดือนพ.ค

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์แห่งยุโรป (ACEA) รายงานว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ร่วงลง 7.4% ต่อปี ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือน
สำนักงานคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยเอกชนของสหรัฐ ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนอาจมาถึงจุดสูงสุดแล้ว ขณะที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เร่งดำเนินงานด้านการก่อสร้างก่อนที่รัฐบาลจะประกาศใช้มาตรการชะลอการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์

คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมี.ค.ของจีนพุ่งขึ้น 1.1% สู่ระดับ 144.5 จุด หลังจากขยับขึ้นเพียง 0.4% ในเดือนก.พ.

ทั้งนี้บิล อดัมส์ นักวิเคราะห์ของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะไม่ขยายตัวสูงไปกว่านี้ในตลอดช่วงฤดูร้อนนี้ ส่วนบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็พยายามเร่งโครงการก่อสร้างให้แล้วเสร็จก่อนที่รัฐบาลจะบังคับใช้มาตรการควบคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์

---------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น