Code 82 : ฝรั่งรวย 2 เด้ง

วันพฤหัสที่ 27 พฤษภาคม 2553

ATT Code : ฝรั่งรวย 2 เด้ง
>>ฝรั่งยังขายออกมาอย่างต่อเนื่องอยู่ 5 พันกว่าล้าน ซึ่งก็ยังเป็นการขายที่ยังมีกำไรอยู่และก็ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ SET เช้านี้ เปิด 726.61 ลบ 2.33 ตามภูมิภาค แต่พอ HSKI กลับมาเป็นบวก SET ก็มายืนเหนือ 730 ได้ โดยมีแนวรับ BB Bottom ที่ 724 และแนวต้านเส้น 5 วัน ที่ 737
>>ภาคบ่าย SET ปิดที่ 737.28 จุด +8.34 จุด V.22,307 MB. โดยต่างชาติยังขายอยู่ แต่ขายน้องลงแล้ว โดยขาย 3,195 ล.บ. ทางด้านเทคนิด มีแนวต้าน 2 แนวคือ เส้น 5 วัน ได้ขยับไปอยู่ที่ 740 แล้ว และเส้น 10 วัน อยู่ที่ 747 ส่วนแนวรับก็อยู่ที่ 730 และ 724 จุด

ข่าวจากไทยรัฐรายงานว่า ฝรั่งฟันปลิ้นรวยหุ้นพ่วงค่าเงิน แบงก์ชาติเผยขนดอลลาร์กลับ 5.2 หมื่นล้าน เปิดพอร์ตฝรั่งหลังเทขายหุ้นไทยพรวด งวดนี้กำไร 2 เด้งกว่า 30% ทั้งจากค่าเงินและราคาหุ้น ใช้กลยุทธ์ขายหุ้นปุ๊บล็อกอัตราแลกเปลี่ยนขายเงินบาทออกทันที....

FSS : ประเด็นข่าว
-Dow Jones ปิดต่ำกว่า 10,000 จุดเป็นครั้งที่ 2 ของปี
กลยุทธ์: เราจึงยังแนะนำเพียงเทรดดิ้งตามรอบสั้นๆ และควรหาจังหวะขายทำกำไรเมื่อ SET ดีดขึ้น
-PTTAR-IRPC หากภายใน 2Q10 ไม่ประกาศแผนควบ ดีลนี้อาจเลื่อนยาว
-คดีมาบตาพุดมีความหวัง
-CYBER เข้าตลาดวันนี้วันแรก ในตลาด MAI ราคา IPO 1.60 บาท

---------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
ไทยรัฐ - By...อินเด็กซ์ 51 : เงาหุ้น-เด้งปลอบใจ!!
ดัชนีหุ้นไทยวันที่ 26 พ.ค.53 ปิดที่ 728.94 จุด เพิ่มขึ้น 7.65 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 21,777.62 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิ 5,265.88 ล้านบาท

หุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุด นำโดย TMB ปิดที่ 1.26 บาท ลดลง 0.10 บาท, PTT ปิดที่ 237.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท, BANPU ปิดที่ 582.00 บาท เพิ่มขึ้น 28.00 บาท, PTTCH ปิดที่ 89.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท และ CPF ปิดที่ 17.40 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท

ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินแนวโน้มตลาดระยะสั้นว่า จะผันผวนแกว่งตัวในกรอบแนวรับ 718 จุด และแนวต้าน 740 จุด ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาคที่อยู่ในช่วงรีบาวน์

ประเด็นที่ต้องติดตามคือความคืบหน้าและความชัดเจนของปัญหาวิกฤติหนี้กรีซที่สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่าจะส่งผลลุกลามไปยังประเทศอื่นๆเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ ส่วนการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจประจำเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าตัวเลขที่ออกมาจะเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ จึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ

แนะกลยุทธ์การลงทุนระยะสั้นให้ซื้อเมื่อดัชนีปรับตัวลงตามแนวรับที่ 718 จุด และไปรอขายทำกำไรเมื่อดัชนีดีดตัวขึ้น

ด้าน บล.เอเซียพลัส ระบุในบทวิเคราะห์รายวันว่า ตลาดหุ้นยังมีปัจจัยกดดันรอบด้าน แต่คาดว่าดัชนีหุ้นไทยน่าจะยืนได้ที่ PER 12 เท่า หรือ 711 จุด โดยเชื่อว่า ธปท.น่าจะกลับมาใช้นโยบายการเงินอ่อนตัวจนถึงสิ้นปี 2553 ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยบวกประการเดียวที่จะประคองตลาดหุ้นไทยในยามวิกฤติความเชื่อมั่นระบาดทั่วโลก

กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นไปที่นักลงทุนระยะกลางและยาว ให้เลือกหุ้นที่มี PER ต่ำกว่า 10 เท่า และยังจ่ายเงินปันผลต่อเนื่องคือ GFPT, TVO, LANNA, EASTW, RATCH

รวมถึงหุ้นโภคภัณฑ์ที่คาดว่าราคาลงมาลึกคือ TTA และ PTTEP

FSS : เน้นเป็นแค่เทรดดิ้งสั้นๆ ดังนั้นตลาดบวกขึ้นให้ขายทำกำไร แล้วถือเงินสดไว้...
แนวโน้ม: เมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงแกว่งตัวผันผวนมากอีกวัน แต่มีทิศทางตรงข้ามกับวันก่อน โดยระหว่างวัน DJIA สามารถขยับบวกกลับขึ้นไปได้กว่า 1% จากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ยังออกมาดีต่อเนื่อง ก่อนที่จะแรงขายกดดันให้ย้อนลงในช่วงท้ายทำให้มาปิดทำการที่ -69.30 จุด ซึ่งเป็นการปิดต่ำกว่า 1 หมื่นจุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. จากความกังวลต่อข่าวลือที่ว่าจีนกำลังประเมินการถือครองตราสารหนี้ของยูโรโซน แสดงให้เห็นว่าความวิตกต่อปัญหาหนี้สินในยุโรปยังเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ อย่างไรก็ตามความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในเอเชียก็ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียช่วงนี้จะมีจังหวะของการแกว่งทรงตัวและรีบาวด์กลับขึ้นได้เป็นพักๆ รวมถึง SET ด้วย ซึ่ง FSS คาดว่า SET ยังมีโอกาสลุ้นรีบาวด์ขึ้นมาเคลื่อนไหวในด้านบวกต่อจากวานนี้ได้ แต่จะเป็นเพียงรอบสั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มปรับพักตัวลงใหม่ เพราะคาดว่าแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศจะยังมีออกมากดดันอยู่ โดยเรามองว่าระดับดัชนีที่จะน่าดึงดูดใจสำหรับการกลับเข้ามาลงทุนรอบใหม่ของนักลงทุนต่างประเทศจะอยู่ที่บริเวณใกล้เคียง 680 จุดมากกว่า
กลยุทธ์: เราจึงยังแนะนำเพียงเทรดดิ้งตามรอบสั้นๆ และควรหาจังหวะขายทำกำไรเมื่อ SET ดีดขึ้น จากนั้นให้กลับมาเน้นถือเงินสดไว้เพื่อรอตลาดปรับตัวลงไปแถว 700 จุดหรือต่ำกว่า ก่อนที่จะเริ่มมองหาจังหวะซื้อกันใหม่ โดยหุ้นที่น่าสนใจเมื่อตลาดปรับตัวลงอีกครั้ง ได้แก่ กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี (BANPU, PTTEP, PTTCH) โรงไฟฟ้า (GLOW) กลุ่มวัสดุฯ (SCC, SCCC, TSTH, DCC) กลุ่มอาหารและเกษตร (CPF, GFPT, TUF, TVO, STA) กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ (KCE, DELTA) และกลุ่มยานยนต์ (SAT, STANLY)

ประเด็นสำคัญวันนี้
-Dow Jones ปิดต่ำกว่า 10,000 จุดเป็นครั้งที่ 2 ของปี โดยปรับลดลง 69 จุด ทั้งที่รายงานเศรษฐกิจเดือน เม.ย. ออกมาดีต่อเนื่อง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้านใหม่ดีกว่าคาด Moody’s คงอันดับเรทติ้งของสหรัฐฯ AAA และ Stable Outlook แต่ข่าวที่จีนจะประเมินการถือครองตราสารหนี้ของยูโรโซน (ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนลงมาอยู่ที่ 1.2169 ดอลลาร์/ยูโร) กดดันให้ดัชนีปิดลดลง แต่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 4% กลับมายืนเหนือ US$70 ได้อีกครั้งแม้ว่าสต็อกน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นถึง 2.4 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาด ทั้งนี้เพราะ EIA รายงานว่าอุปสงค์นำมันในสหรัฐฯในเดือนที่ผ่านมาเพิ่มถึง 7% Y-Y ทำให้นักลงทุนกลับมาเก็งกำไรในราคาน้ำมันอีกครั้ง

-TCAP ขยายเวลา Tender offer SCIB เป็นวันที่ 9 มิ.ย. ผู้ขายจะได้รับเงินสุทธิ 32.413 บาท นอกจากนี้ บอร์ด TCAP ได้อนุมัติการซื้อหุ้นคืน 78 ล้านหุ้น วงเงินไม่เกิน 2 พันล้านบาท ในช่วง 15 มิ.ย.-14 ธ.ค. นี้ ข่าวนี้เป็น Sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้น และถือเป็นจังหวะดีที่จะขายไปก่อนหากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมา เพราะเราคาดว่าราคาซื้อคืนน่าจะต่ำกว่า 20 บาท ราคาหุ้น TCAP ที่เคยขึ้นไปถึง 26.50 บาท (ราคาเป้าหมายของเรา 27 บาท) ถือว่าสะท้อนข่าวดีเรื่องการซื้อ SCIB ไปแล้ว หลังจากนี้ต้องติดตามว่ากำไรจะดีตามนักวิเคราะห์คาด และค่าใช้จ่ายในการควบรวมจะมากกว่าคาดหรือไม่

-PTTAR-IRPC หากภายใน 2Q10 ไม่ประกาศแผนควบ ดีลนี้อาจเลื่อนยาว การประชุมบอร์ดของ PTTAR และ IRPC วานนี้ไม่มีมติอะไรออกมา เราเห็นว่าไม่มีการประกาศภายในกลางปีนี้ก็จะมีความเป็นไปได้สูงที่แผนนี้จะเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนด ข่าวนี้เป็นลบกับราคาหุ้นทั้ง PTTAR และ IRPC เพราะที่ผ่านมามีการเก็งกำไรในประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะ IRPC ที่ราคาหุ้นยังปรับลงมาน้อยกว่า PTTAR

-คดีมาบตาพุดมีความหวัง คดีมาบตาพุดมีโอกาสที่จะจบภายในเดือน ก.ย. นี้ เพราะปัจจุบันองค์กรอิสระถูกจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่รอประกาศประเภทโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และอยู่ระหว่างการสรุปจากคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อนำเสนอต่อ ครม. ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ PTT, PTTCH, SCC จะเริ่มดำเนินการผลิตได้ใน 4Q10 ในจำนวนหุ้นทั้ง 3 ตัวนี้ PTTCH มี beta สูงสุด เหมาะในการเก็งกำไรมากสุด มีโอกาสรีบาวนด์ได้ถึง 95 – 100 บาท มากกว่า PTT และ SCC ที่มีโอกาสรีบาวนด์ได้เพียง 244 – 246 บาท

-CYBER เข้าตลาดวันนี้วันแรก ในตลาด MAI ราคา IPO 1.60 บาท จำนวนหุ้นที่เสนอขาย 60 ล้านหุ้น (พาร์ 0.50 บาท) CYBER เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อจำหน่าย และรับจ้างพัฒนาซอฟต์แวร์เกมให้แก่ลูกค้า

ไทยรัฐ - ฝรั่งฟันปลิ้นรวยหุ้นพ่วงค่าเงิน แบงก์ชาติเผยขนดอลลาร์กลับ 5.2 หมื่นล้าน
เปิดพอร์ตฝรั่งหลังเทขายหุ้นไทยพรวด งวดนี้กำไร 2 เด้งกว่า 30% ทั้งจากค่าเงินและราคาหุ้น ใช้กลยุทธ์ขายหุ้นปุ๊บล็อกอัตราแลกเปลี่ยนขายเงินบาทออกทันที....

นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒน์กุล กรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ทรีนีตี้ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาที่นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมาหนักๆ พบว่า ทันทีที่ขายหุ้นออกมา ต่างชาติได้ล็อกอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินบาทเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯทันที หรืออีกนัยหนึ่งคือการสั่งขายเงินบาทออกมาทันที จนทำให้ค่าเงินบาทในช่วง 1-2 วันนี้ อ่อนค่าลงมาก ทั้งที่โดยปกติในทุกๆรอบที่ต่างชาติขายหุ้นออกมา จะโยกเงินไปพักไว้ที่ตลาดบอนด์หรือตลาดพันธบัตร แต่รอบนี้เห็นชัดมากว่าต่างชาติขายหุ้นแล้วขายเงินบาทออกมาทันที ซึ่งถือเป็นการล็อกกำไรค่าเงินไว้ด้วย เพราะหากต่างชาติประเมินว่าค่าเงินบาทมีโอกาสจะอ่อนค่าลงไปกว่านี้ ก็จะรีบขายเงินบาทออกมาก่อน "ตอนนี้ต่างชาติขายหุ้นออกมาทั้งเอเชีย ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงแรงเกือบทั้งหมด แม้ในวันที่ 26 พ.ค. จะดีดตัวกลับขึ้นได้บ้าง แต่คาดว่าต่างชาติจะยังคงขายหุ้นออกมาต่อ"

ถล่มขายหุ้นทั่วกระดานเอเชีย
สาเหตุของการขายหุ้นทั่วเอเชียรอบนี้ของต่างชาติมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งจากวิกฤติหนี้กรีซที่หากลุกลามอาจทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯและเป็นผลให้ค่าเงินเอเชีย รวมทั้งเงินบาทอ่อนค่าลงไปด้วย นอกจากนี้ นโยบายการเงินในสหรัฐฯเอง ก็เริ่มจำกัดการนำเงินฝากของประชาชนออกไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งกระทบต่อการนำเงินออกไปลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งยังมีการประเมินว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเริ่มอืดจากวิกฤติยุโรปและเศรษฐกิจจีนที่เป็นความหวังอาจลดความร้อนแรงลง

นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าไทยมีโอกาสขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 2 และ 3 ซึ่งอาจมีผลต่อการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ต่างชาติจึงจำเป็นต้องล็อกกำไรค่าเงินที่ระดับปัจจุบันนี้ไว้ก่อน

ทั้งนี้ จากการรวมรวบตัวเลขการขายสุทธิของต่างชาติที่ได้ขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.ถึง 26 พ.ค. (หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน 7 เม.ย. เรื่อยมาจนเกิดจลาจลเผาบ้านเมืองและการประกาศกฎอัยการศึก) พบว่า ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยรวมทั้งสิ้น 67,066 ล้านบาท เมื่อหักจากยอดซื้อสะสมที่ต่างชาติเข้ามาซื้อช่วงต้นปี (22 ก.พ. ถึงต้น เม.ย.) รวม 58,900 ล้านบาทนั้น นั่นหมายความว่ายอดซื้อสุทธิสะสมที่ต่างชาติซื้อมาตั้งแต่ต้นปีนั้นได้ถูกเทขายออกมาหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น หุ้นที่ต่างชาติขนออกมาขายหลังจากนี้ จะเป็นหุ้นที่ซื้อสะสมไว้ในปี 52 ที่มียอดซื้อสุทธิ 38,000 ล้านบาท

กำไร 2 เด้งทั้งค่าเงินราคาหุ้น
และหากโฟกัสเจาะลึกถึงการเข้ามาซื้อหุ้นของต่างชาติในปี 52 ที่เข้ามาซื้อหุ้นไทยรอบใหญ่ ในช่วง มี.ค.-ส.ค.52 ต่างชาติซื้อสุทธิหนักสุดถึง 76,800 ล้านบาท ซึ่งช่วงนั้นต้นทุนค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ 35-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหากนำหุ้นมาขายในช่วงนี้ที่ค่าบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.50 บาทนั้น ถือว่าต่างชาติได้กำไรค่าเงินร่วม 8-10% ยังไม่นับกำไรจากราคาหุ้นที่ต้นทุนเฉลี่ยตอนเข้ามาซื้อดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 550-620 จุด ซึ่งหมายถึงต่างชาติยังได้กำไรจากราคา

หุ้นอีกร่วม 20% ที่ดัชนีล่าสุด 728 จุด
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซียพลัส กล่าวว่า น้ำหนักการขายหุ้นของต่างชาติอาจกดให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงไม่มากนักจากนี้ เพราะน่าจะมีแรงซื้อกลับของนักลงทุนสถาบันในประเทศเข้ามาช่วยพยุงดัชนีไว้ โดยเฉพาะสถาบันที่เน้นการลงทุนระยะยาว เพราะราคาหุ้นไทยที่ปรับตัวลงมาขณะนี้ก็ถือว่าพอสมควรแล้ว น่าจะประคองตลาดที่ระดับนี้ไปได้

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยวันที่ 26 พ.ค. ปิดที่ 728.94 จุด เพิ่มขึ้น 7.65 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 21,777.62 ล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิต่อ 5,265.88 ล้านบาท

ขนดอลลาร์กลับ 5.2 หมื่นล้าน
ด้านนางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายตลาดการเงิน กล่าวว่า ช่วงเดือน เม.ย.และ พ.ค.ที่ผ่านมา เงินทุนต่างชาติที่ออกจากตลาดหุ้นไทยจากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติ ถูกแลกกลับเป็นเงินดอลลาร์และไหลออกไปแล้วตั้งแต่ต้นปี 2553 จนถึงวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา 52,000 ล้านบาท จากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาเพื่อซื้อหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีกว่า 40,000 ล้านบาท เงินทุนที่ไหลออกจากตลาดหุ้นตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้มากกว่าเงินที่ไหลเข้ามาซื้อหุ้น 12,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เงินทุนต่างประเทศในส่วนที่ลงทุนในตลาดพันธบัตร และการลงทุนโดยตรงในช่วงที่ผ่านมา เช่นการเข้ามาซื้อธนาคารพาณิชย์ และการลงทุนในกิจการอื่นยังไม่ไหลออกไป ขณะเดียวกันก็ยังคงมีเงินไหลเข้าต่อเนื่องและจำนวนค่อนข้างสูงจากการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไม่มาก เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียอื่นๆ ที่ช่วงนี้มีเงินไหลออกต่อเนื่องเช่นกัน

"สาเหตุของการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ มาจากทั้งเหตุการณ์ทางการเมืองของประเทศเรา และปัจจัยหลักคือความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจยุโรป โดยเฉพาะปัญหาหนี้สาธารณะในกรีซและสเปน ซึ่งมีแนวโน้มลุกลามไปยังประเทศอื่นในยุโรปได้ ขณะที่มาตรการช่วยเหลือแม้จะเป็นเม็ดเงินถึง 750,000 ล้านยูโร แต่ยังมีเม็ดเงินที่เข้าไปช่วยเหลือได้ทันทีไม่มาก ทำให้เกิดความไม่แน่ใจ"

ต้นทุนกู้ยืมพุ่งความเสี่ยงเพิ่ม
นางสุชาดายังกล่าวถึงต้นทุนการกู้ยืมของไทยในตลาดต่างประเทศว่า ยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนความเสี่ยงที่สูงขึ้น โดยผลตอบแทนของตราสารอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อื่นค้ำประกัน (ซีอีเอส) ของไทย ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ 1.3% ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พ.ค.เพิ่มขึ้น เป็น 1.7% แต่ยังกระทบการลงทุนของไทยไม่มาก เพราะนักธุรกิจไทยกู้ยืมเงินต่างประเทศในอัตราที่ต่ำ

น.ส.วงษ์วธู โพธิรัชต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าประมาณ 2% เทียบกับก่อนหน้าที่แข็งค่าประมาณ 3% ซึ่งเงินบาทอ่อนค่าไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าเกิดจากปัญหาการขาดดุลงบประมาณของกลุ่มประเทศยุโรปและความเสี่ยงถือสินทรัพย์ (Risk Aversion) เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติหันไปถือสินทรัพย์สกุลดอลลาร์สหรัฐฯมากขึ้น ประกอบกับในเอเชียมีปัญหาความตึงเครียดระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าลงไม่มาก เพราะแม้จะมีนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นเอาเงินออกไป แต่ผู้ส่งออกนำเข้าซื้อเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น "ความผันผวนของเรายังน้อยกว่าคนอื่น โดยคนอื่นอยู่ที่ระดับ 5-6%โดยเฉพาะค่าเงินวอนของเกาหลีใต้และค่าเงินริงกิตมาเลเซียอ่อนค่ามากกว่าเงินบาทไทย โดยของเราอ่อนค่าประมาณ 2-3%".

-----------------------------------------------------------
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้น ตปท.
หุ้นมะกันร่วงหนัก น้ำมันขยับเพิ่ม 2.76ดอลล์
หุ้นสหรัฐฯติดลบลงไปปิดต่ำกว่า 10,000 จุด โดยดัชนีดาวโจนส์ ปิดที่ 9,974.45 จุด ลดลง 69.30 จุด ส่วนราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นเหนือ 71 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล...

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ปิดการซื้อขายตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันที่ 26 พ.ค.ดัชนีปรับเพิ่มในช่วงแรก จากยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในภาคอุตสาหกรรมในเดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 2.9% เช่นเดียวกับยอดขายบ้านเดี่ยวในช่วงเวลาเดียวกัน ที่เพิ่มขึ้น 14.8% ชี้ว่าเศรษฐกิจในประเทศกำลังฟื้นตัว ก่อนที่นักลงทุนจะขยับเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรระยะสั้น ทำให้ดัชนีลงมาอยู่ในแดนลบ

ด้านราคาน้ำมันดิบตลาดไนเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 2.76 ดอลลาร์สหรัฐ ไปปิดที่ 71.65 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ทำให้หลังปิดตลาด เป็นการปิดต่ำกว่า 10,000 จุด ครั้งแรก นับตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ดัชนีดาวโจนส์ ปิดที่ 9,974.45 จุด ลดลง 69.30 จุด หรือ 0.69% ดัชนีเอสแอนด์พี ปิดที่ 1,067.95 จุด ลดลง 6.08 จุด หรือ 0.57% ดัชนีแนสแดค ปิดที่ 2,195.88 จุด เพิ่มขึ้น 15.07 จุด หรือ 0.68%

ตลาดหุ้นสำคัญของยุโรป ดัชนี FTSE 100 ตลาดลอนดอน ปิดที่ 5,038.08 จุด เพิ่มขึ้น 97.40 จุด หรือ 1.97% ดัชนี DAX ตลาดแฟรงก์เฟิร์ต ปิดที่ 5,758.02 จุด เพิ่มขึ้น 87.98 จุด หรือ 1.55% ดัชนี CAC 40 ปิดที่ 3,408.59 จุด เพิ่มขึ้น 77.30 จุด หรือ 2.32% ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนต์ ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้น 2.19 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดที่ 71.74 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล

ราคาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปิดที่ 1,213.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 15.50 ดอลลาร์สหรัฐ จากเมื่อวันอังคารซึ่งปิดที่ 1,197.80 ดอลลาร์สหรัฐ.

------------------------------------------------------------
Technical View : FSS
“ดัชนียังแกว่งทรงตัวเหนือแนวรับ 720-715 จุดได้ ทำให้ยังมีลุ้นดีดขึ้นหาแนวต้านต่างๆ เพื่อทำกำไรตามรอบต่อ แต่ยังเน้นขายทำกำไรเมื่อทดสอบแนวต้าน โดยต้องผ่านต้านหนึ่งได้ถึงจะเทรดตามต่อไปขายที่อีกแนวต้าน...”
แนวรับ : 720-718** , 715***
แนวต้าน : 733-736* , 742-744** , 748-752***

------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น